อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

รายอแน” ออกอีด (อีกครั้ง) หลังถือศีลอด 6 วันเดือนเชาวาล





แปลและเรียบเรียงโดย Om Omar Muktar

ในอียิปต์ก็มีเรื่องทำนองนี้ คือ เรียกวันออกบวช 6 ว่า ‘อีดิลอับรอร’ โดยผู้คนจะไปรวมตัวกันที่มัสญิดอัลหุสัยน์ หรือมัสญิดซัยนับ แล้วก็มีการกลับไปทำอาหารพิเศษ เช่น ข้าวหุงกับนมรับประทานกันที่บ้าน โดยชัยค์มุหัมมัด อะห์มัด อับดุสสะลาม คิฎร์ อัชชุก็อยรี กล่าวว่า การกระทำดังกล่าวเป็นอุตริกรรม (บิดอะฮ์) และท่านเรียกอีดนี้ว่า ‘อีดิลฟุจญาร’ คือ อีดของคนชั่ว ไม่ใช่ ‘อีดิลอับรอร’ คือ อีดของคนดี
[ดูเพิ่มเติมได้ที่ มุหัมมัด อะห์มัด อับดุสสะลาม คิฎร์ อัชชุก็อยรี, อัสสุนัน วัลมุบตะดะอาตฯ, (ไคโร: ดารุลกิตาบ วัสสุนนะฮ์, 2010), น. 186.]


อิบนุหะญัร อัลฮัยตะมี กล่าวว่า เป็นที่ชัดเจนยิ่งว่า ไม่อนุญาตให้ผู้ใดยึดมั่นและศรัทธาว่าวันที่ 8 ของเดือนเชาวาลเป็นวันอีดที่มีถูกบัญญัติไว้ในอิสลาม ดั่งเช่นวันอีดิลฟิฏร์และอีดิลอัฎหา ยิ่งกว่านั้นอุละมาอ์บางท่านถึงกับระบุว่า ไม่อนุญาตให้เรียกวันนั้นว่าวันอีดที่ควรแก่การแสดงออกด้วยสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของวันอีด เช่น การสวมเสื้อผ้าที่สวยงาม การจัดเลี้ยงอาหารที่หลากหลายชนิด และการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เฉกเช่นการปฏิบัติในวันอีดิลฟิฏร์และอีดิลอัฎหา
[ดูเพิ่มเติมได้ที่ อิบนุหะญัร อัลฮัยตะมี, อัลฟะตาวา อัลกุบรอ อัลฟิกฮียะฮ์, (อียิปต์: อับดุลหะมีด อะห์มัด หะนะฟี, ม.ป.ป.), ล. 1 น. 272.]
#อิบนุหะญัร_อัลฮัยตะมี (ฮ.ศ. 909-974) #ปราชญ์แห่งมัซฮับอิมามอัชชาฟิอี ในระดับปราชญ์ผู้จดจำหลักการแห่งมัซฮับ (حفظة المذهب) –เช่นเดียวกับชัมสุดดีน อัรร็อมลี (ฮ.ศ. 919-1004)– อิบนุหะญัร อัลฮัยตะมีได้ประพันธ์ตำรานิติศาสตร์อิสลามนามอุโฆษ เช่น “ตุห์ฟะตุลมุห์ตาจญ์ บิชัรห์ อัลมินฮาจญ์” ฯลฯ


❝ส่วนการยึดถือเอาเทศกาลหนึ่งเทศกาลใด (นำมาสมโภชเฉลิมฉลอง) –นอกเหนือไปจากเทศกาลที่มีระบุไว้ตามศาสนบัญญัติ– เช่น บางคืนของเดือนเราะบีอุลเอาวัลที่เรียกกันว่า ‘คืนเมาลิด’ หรือบางคืนของเดือนเราะญับ หรือวันที่ 18 เดือนซุลหิจญะฮ์ หรือศุกร์แรกของเดือนเราะญับ หรือวันที่ 8 เดือนเชาวาลซึ่งผู้โง่เขลาเรียกมันว่า ‘อีดิลอับรอร’ แท้จริงมันเป็นส่วนหนึ่งจากอุตริกรรม (บิดอะฮ์) ที่บรรดาชาวสะลัฟไม่ได้สนับสนุนให้กระทำมันและพวกเขาก็ไม่ได้กระทำมันเช่นกัน –วัลลอฮุ สุบหานะฮุ วะตะอาลา อะอ์ลัม–❞
[อะห์มัด อิบนุตัยมียะฮ์, มัจญ์มูอ์ ฟะตาวา, (มะดีนะฮ์: มุญัมมะอ์ อัลมะลิก ฟะฮฺด์ฯ, 2004), ล. 25 น. 298.]


❝และสำหรับวันที่ 8 ของเดือนเชาวาลนั้น ไม่ใช่วันตรุษ (อีด) สำหรับบรรดาคนดี (อับรอร) และคนชั่ว (ฟุจญาร) และไม่อนุญาตแก่คนหนึ่งคนใด ที่จะเชื่อว่ามันคือวันอีด และเขาจะไม่ประดิษฐ์สิ่งใด ๆ ขึ้นมาใหม่จากบรรดาสิ่งที่เป็นเครื่องหมายของบรรดาวันอีด❞
[ตะกียุดดีน อิบนุตัยมียะฮ์, อัลฟะตาวา อัลกุบรอ, มุหัมมัด อับดุลกอดิร อะฏอ และมุศเฏาะฟา อับดุลกอดิร อะฏอ (บรรณาธิการ), (เบรุต: ดารุลกุตุบ อัลอิลมียะฮ์, 1987), ล. 5 น. 379.]



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น