อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2559

แปลก....เอาเคาะลัฟมาหุกุมว่าผู้แปลอายาตสิฟาตคือสะลัฟแอบอ้าง


อะหมัดรอชีดี อิสมัญ อัลอัชอะรีย์
อะหมัดรอชีดี อิสมัญ อัลอัชอะรีย์ ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ ได้กล่าวถึงแก่นแท้อะกีดะฮ์สะลัฟที่ไม่แอบอ้างแบบวะฮฺฮาบีว่า
اَلإِمْسَاكُ عَنِ التَّصَرُّفِ فِيْ أَلْفَاظٍ وَارِدَةٍ وَيَجِبُ عَلَى عُمُوْمِ الْخَلْقِ الْجُمُوْدُ عَلَى أَلْفَاظِ هَذِهِ الأَخْبَارِ وَالإِمْسَاكِ عَنِ التَّصَرُّفِ فِيْهَا...مِنْ تَبْدِيْلِ اللَفْظِ بِلُغَةٍ أُخْرَى يَقُوْمُ مَقَامَهَا فِي الْعَرَبِيَّةِ أَوْمَعْنَاهَا بِالْفَارِسِيَّةِ أَوِ التُّرْكِيَّةِ بَلْ لاَ يَجُوْزُ النُّطْقُ إِلاَّ بِاللَفْظِ الْوَارِدِ
“ คือ ต้องงดเว้นจากการเปลี่ยนแปลงถ้อยคำที่มีระบุมา(ในอัลกุรอานและซุนนะฮ์)และ จำเป็น(วาญิบ)แก่ผู้คนทั่วไปให้หยุดอยู่บนถ้อยคำของบรรดาหะดีษ และจำเป็นต้องงดเว้นจากการไปเปลี่ยนแปลงถ้อยคำศิฟาตเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงถ้อยคำให้เป็นภาษาอื่นมาแทนที่ภาษาอาหรับ หรือเปลี่ยนความหมายภาษาอาหรับให้เป็นภาษาเปอร์เซียหรือภาษาตุรกีย์ ยิ่งกว่านั้น ไม่อนุญาตให้พูดนอกจากด้วยถ้อยคำที่ระบุมา (เช่น อิสตะวา ก็พูดว่า อิสตะวา วัจญฺฮ์ ก็พูดว่า วัจญฺฮ์ เป็นต้นไม่ใช่แปลเป็นภาษาไทยภายนอกแบบวะฮฺฮาบี) ”
อัลฆ่อซาลีย์, อิลญามุลเอาวาม อัน อิลมิลกะลาม, หน้า 41.
2 นาที · ถูกใจ · 1
>>>>>
ชี้แจง
อิหม่ามเฆาะซาลี มีชีวิตอยู่ ระหว่างปี ฮ.ศ 450- 505 ท่านมีอะกีดะฮแนวอาชาอิเราะฮ ไม่ใช่ปราชญสะลัฟ การห้ามแปลสิฟาตอัลลอฮ หรืออายาตเป็นภาษาอื่นที่ผู้ฟังเข้าใจ ไม่ปรากฏในอัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮ เพราะ การศรัทธาต่ออัลลอฮนั้น ผู้ทีศรัทธาจะต้องเข้าใจรู้ความหมายในสิ่งที่ศรัทธา มันเป็นไปไม่ได้ที่ให้ยืนยันหรืออิษบาตสิฟาต โดยที่ไม่รู้ว่าคืออะไร
อิบนุกุตัยบะฮ (ฮ.ศ 213-276) ปราชญ์ยุคสะลัฟกล่าวว่า
ولم ينزل الله "شيئاً" من القرآن إلا لينفع به عباده، ويدل به على معنىً أراده
และอัลลอฮ จะไม่ทรงประทานสิ่งใดๆ จากอัลกุรอ่านลงมา นอกจาก เพื่อให้บ่าวของพระองค์ได้รับประโยชน์ด้วยมัน และ แสดงบอกถึงความหมาย ที่พระองค์ต้องการด้วยมัน – ดู มุชกิลุลกุรอ่าน หน้า 98-99
............
เมื่อรู้ความหมาย ทำไมจึงถ่ายทอดความหมายตามภาษาที่ผู้ฟังเข้าใจไม่ได้ ปราชญ์ยุคสะลัฟ เขาอธิบายความหมายอายาตเป็นภาษาอาหรับ เช่น
อิบนุญะรีร ปราชญ์ตัฟสีรยุคสะลัฟต่อไปนี้ ซึ่งท่านอธิบายความหมาย “อัลอิสติวาอฺ”ในซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์อายะฮ์ที่ 29 ท่านอัฏเฏาะบะรีย์ได้เลือกความหมายที่ว่า
ว่า
وأوْلى المعاني بقول الله جل ثناؤه:"ثم استوى إلى السماء فسوَّاهن"، علا عليهن وارتفع،
บรรดาความหมายที่ดีที่สุด จากคำตรัสของอัลลอฮ์ ที่ว่า “หลังจากพระองค์ทรงอิสติวาสู่ฟากฟ้า แล้วพระองค์ก็ทรงสร้างมัน” คือ พระองค์ทรงอยู่สูงเหนือมันและสูง (เหนือมัน) -
บะชีร บิน อุมัร อัซซะฮรอนีย์ ปราชญ์ยุคสะลัฟ (ฮ.ศ 209) กล่าวว่า
سمعت غير واحد من المفسرين يقول : {الرَّحْمَنُ عَلَى الْعَرْشِ اسْتَوَى}: ارتفع
ข้าพเจ้า ได้ยิน บรรดานักตัฟสีร(นักอรรถาธิบายอัลกุรอ่าน)หลายท่าน กล่าวว่า (พระเจ้าผู้ทรงเมตตา ทรงอิสตะวา เหนืออะรัช ) หมายถึง สูง (เหนืออะรัช ) - ดูที่มา
مسند إسحاق بن راهويه (ت. 238 هـ) كما في اتحاف الخيرة المهرة للبوصيري (ج1 ص186)، والمطالب العالية لابن حجر (ج12 ص570)، فالإسناد صحيح؛ ورواها اللالكائي في شرح أصول اعتقاد أهل السنة والجماعة بسنده عن إسحاق بن راهويه (ج3 ص396
....... คำว่า " อิรตะฟะอะ " คำนี้ เป็นความอธิบาย คำว่า อิสตะวา อะลา " แสดงว่าสะลัฟรู้ความหมาย เขาจึงอธิบายความหมายเป็นภาษาอาหรับ ภาษาที่เขาเข้าใจ เขาไม่ได้แปลเป็นภาษาไทย เพราะไม่จำเป็น แต่คนไทยที่เป็นคนอาวาม ต้องแปลภาษาไทยจึงจะเข้าใจ แล้วมีคำสอนจากอายะฮ และหะดิษบทใดห้ามแปลอายาตสิฟาต
อัลลอฮตาอาลาตรัสว่า
إِنَّا أَنزَلْنَاهُ قُرْآنًا عَرَبِيًّا لَّعَلَّكُمْ تَعْقِلُونَ
แท้จริงพวกเราได้ให้อัลกุรอานแก่เขาเป็นภาษาอาหรับ เพื่อพวกเจ้าจะใช้ปัญญาคิด - ยูซุฟ :2
อิหม่ามอัลกุรฏุบีย์ อธิบายว่า
لَعَلَّكُمْ تَعْقِلُونَ أَيْ لِكَيْ تَعْلَمُوا مَعَانِيَهُ ، وَتَفْهَمُوا مَا فِيهِ
เพื่อพวกเจ้าจะใช้ปัญญาคิด หมายความว่า เพื่อพวกเจ้าจะได้รู้บรรดาความหมายของมันและเพื่อพวกเจ้าจะได้ทำความเข้าใจในมัน –ตัฟสีร อัลญาเมียะลิอะหกามอัลกุรอ่าน ๗/๑๐๕
คำพูดที่เอามาอ้างข้างต้นว่าห้ามแปลอายาตสิฟาต เป็นคำพูดที่ขัดแย้งกับเจตนารมณ์อัลกุรอ่านอย่างชัดเจน เพราะใส่กรอบให้อ่านเฉพาะอาหรับ ห้ามแปลความหมายภาษาอื่น ซึ่งไม่ได้เป็นคำสั่งหรือข้อห้ามทางศาสนบัญญัตเลย จะเอามาเป็นหุกุมได้หรือครับ
แปลกกล่าวหาผู้ที่แปลความหมายอายาตสิฟาต ให้ผู้คนเข้าใจ ว่าเป็นสะลัฟแอบอ้าง แต่ ...ที่สอนให้อีหม่านกับสิ่งที่ไม่รู้เรื่อง ไม่รู้ความหมายเพราะห้ามแปล กลับกลายเป็นสะลัฟแท้ - นะอูซุบิลละฮ
والله أعلم بالصواب
อะสัน หมัดอะดั้ม
๒๕/๑/๕๙

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น