อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558

ข้อเท็จจริง เรื่องอะซีมัต





ท่านนะบี ได้กล่าวว่า

مَنْ عَلَّقَ تَمِيمَةً فَقَدْ أَشْرَكَ

ใครห้อยหรือสวมใส่เครื่องรางของขลังใดๆ แน่นอนเขาได้ทำชิริกแล้ว” (บันทึกโดยอะหมัดและฮากิม)

إن الرقى، والتمائم، والتولة شرك

“อันที่จริงการเสกเป่า เครื่องรางของขลังต่าง ๆ และเครื่องของเสน่ห์ต่าง ๆ นั้น เป็นการตั้งภาคี...” (บันทึกโดยอบูดาวุด : 3883 อะหฺมัด : 3604 อิบนุมาญะฮฺ : 3530

บรรดาเศาะหาบะฮคนสำคัญอีกหลายท่าน ไม่ยอมรับการกระทำนี้ เช่น

وذهب ابن عباس، وابن مسعود، وحذيفة، والأحناف، وبعض الشافعية، ورواية عن أحمد، إلى أنه لا يجوز تعليق شيء من ذلك؛ لما تقدم من النهي العام في الأحاديث السابقة.

อิบนุอับบาส,อิบนุมัสอูด, หุซัยฟะฮ ,อัลอะหฺนาฟ (นักวิชาการมัซฮับหะนะฟี) และ ส่วนหนึ่งของนักวิชาการมัซฮับชาฟิอี และรายงานหนึ่งจากอะหมัด มีทัศนะว่า ไม่อนุญาตให้แขวนสิ่งใดๆจากดังกล่าว(หมายถึงบทดุอาจากอัลกุรอ่านและสุนนะฮ) เพราะคำสั่งห้ามที่ระบุไว้กว้างๆในบรรดาหะดิษที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ – ดู ฟิกฮอัสสุนนะฮ กิตาบุลญะนาอิซ

หะดิษที่ท่านสัยยิดซาบิก กล่าวถึง ส่วนหนึ่งคือ

إن الرقى، والتمائم، والتولة شرك

“อันที่จริงการเสกเป่า เครื่องรางของขลังต่าง ๆ และเครื่องของเสน่ห์ต่าง ๆ นั้น เป็นการตั้งภาคี...” (บันทึกโดยอบูดาวุด : 3883 อะหฺมัด : 3604 อิบนุมาญะฮฺ : 3530

………………….



ขอเรียนว่า ไม่ปรากฏแม้หะดิษสักบทเดียวที่ท่านนบี ศอ็ล สอนให้นำกุรอ่านมาทำเครื่องราง มีแต่สอนให้ปฏิบัติตามคำสอนในอัลกุรอ่าน

เช็คศอลิหอัลเฟาซาน กล่าวว่า
* وقد يكون المعلق من القرآن ، فإذا كان من القرآن فقد اختلف العلماء في جوازه وعدم جوازه 0 والراجح عدم جوازه سدا للذريعة فإنه يفضي إلى تعليق غير القرآن ، ولأنه لا مخصص للنصوص المانعة من تعليق التمائم كحديث ابن مسعود – رضي الله عنه – قال : سمعت رسول الله صلى الله عليه وسلم يقول : ( إن الرقى والتمائم والتولة شرك ) ( صحيح الجامع 1632 ) رواه أحمد وأبو داوود وعن عقبة بن عامر - رضي الله عنه - مرفوعا ( من علق تميمة فقد أشرك ) ( صحيح الجامع 6394 ) ، وهذه نصوص عامة لا مخصص لها
และบางที สิ่งที่ถูกนำมาแขวน(เป็นอะซีมัตนั้น) มาจากอัลกุรอ่าน แท้จริง บรรดานักวิชาการได้เห็นต่างกัน ในเรื่องอนุญาตและไม่อนุญาต และที่มีน้ำหนักนั้น ไม่อนุญาต เป็นการป้องกันสิ่งที่ไม่ถูกต้องที่จะตามมาภายหลัง เพราะแท้จริงมันจะนำไปสู่ การแขวน อื่นจากอัลกุรอ่าน และเพราะแท้จริง ไม่มีสิ่งที่มาจำกัด ตัวบทที่ห้ามการแขวนเครื่องราง ดังหะดิษมัสอูด(ร.ฎ เขากล่าวว่า “ข้าพเจ้าได้ยินรซูลุลลอฮ สอ็ลฯ กล่าวว่า ( อันที่จริงแล้วการเสกเป่าต่าง ๆ เครื่องรางของขลังต่าง ๆ และเครื่องของเสน่ห์ต่าง ๆ นั้น เป็นการตั้งภาคี..- อัศเศาะเฮียะญาเมียะ หะดิษหมายเลข ๑๖๓๒ รายงานโดยอะหมัด และอบูดาวูด และรายงานจากอุกบะฮ บิน อามีร (ร.ฎ) เป็นหะดิษมัรฟัวะ(หมายถึงสืบไปถึงนบี)ว่า ผู้ใดแขวนเครื่องราง แน่นอน เขาได้ตั้งภาคีแล้ว) - เศาะเฮียะอัลญาเมียะ หะดิษหมายเลข ๖๓๙๔ และนี้คือ ตัวบท/หลักฐาน ที่ระบุเอาไว้โดยกว้างๆ โดยไม่มีสิ่งที่ถูกให้มาจำกัด/หรือยกเว้น สำหรับมัน – ดู อัลอิรชาดอิลาเศาะเฮียะอัลเอียะติกอด เล่ม ๒ หน้า ๘๓



หลายคนอ้างสะลัฟ มาเป็นหลักฐาน โดยคิดว่าถ้าชาวสะลัฟคนใดคนหนึ่งทำอะไร ก็คือหลักฐานทางศาสนบัญญัติหมด ขอเรียนว่าผู้รู้ยุคสะลัฟมีมากมาย และหลายประเด็นพวกเขาก็เห็นต่างกัน เพราะฉะนั้น มาดูว่าเราจะอ้างสะลัฟมาเป็นหลักฐานอย่างไร
ความจริง คำพูดสะสัฟที่เป็นหลักฐานนั้นคือ อิจญมาอฺสะลัฟ ไม่ใช่คนใดคนหนึ่งพูดหรือทำในยุคสามร้อยปีแรกแล้วเป็นศาสนบัญญัติหมด



มาดูตัวอย่าง กฎ/หลักการ ของ อิบนุญะรีร ปราชญ์ยุคสะลัฟ ในประเด็น การกล่าวบิสมิลละฮ ในการเชือดสัตว์ดังนี้

وَقَدْ نَقَلَ ابْنُ جَرِيرٍ وَغَيْرُهُ . عَنِ الشَّعْبِيِّ ، وَمُحَمَّدِ بْنِ سِيرِينَ ، أَنَّهُمَا كَرِهَا مَتْرُوكَ التَّسْمِيَةِ نِسْيَانًا ، وَالسَّلَفُ يُطْلِقُونَ الْكَرَاهِيَةَ عَلَى التَّحْرِيمِ كَثِيرًا ، وَاللَّهُ أَعْلَمُ . إِلَّا أَنَّ مِنْ قَاعِدَةِ ابْنِ جَرِيرٍ أَنَّهُ لَا يَعْتَبِرُ قَوْلَ الْوَاحِدِ وَلَا الِاثْنَيْنِ مُخَالِفًا لِقَوْلِ الْجُمْهُورِ ، فَيُعِدُّهُ إِجْمَاعًا .

และแท้จริง อิบนุญะรีร และผู้อื่นจากเขา ได้รายงานจาก อัชชุอฺบีย์ และมุหัมหมัด บิน สิรีน ว่าทั้งสองกล่าวว่า มักรูฮ ละทิ้งการกล่าวบิสมิลละฮ เพราะลืม และชาวสะลัฟ กล่าวคำว่า “มักรูฮ”บนความหมายคำว่า หะรอมนั้นมีมากมาย และอัลลอฮเท่านั้นทรงรู้ยิ่ง นอกจาก ว่าแท้จริงส่วนหนึ่งจากกฎ/หลักการ ของอิบนุญะรีร แท้จริง คำพูดของคนๆเดียวและคนสองคน ที่ขัดแย้งกับทัศนะนักวิชาการส่วนใหญ่(ญุมฮูร) จะไม่ถูกพิจารณา (มาเป็นหลักฐาน) ที่จะถูกนับว่าเป็นอิจญมาอฺ - ตัฟสีร อิบนุกะษีร เล่ม 3 หน้า 326


………
กล่าวคือ กฎหรือหลักการของอิบนุญะรีรนั้น คำพูดของคนๆเดียวหรือคนสองคนจะไม่ถูกพิจารณา เมื่อมันขัด แย้งกับกับทัศนะนักวิชาการส่วนใหญ่(ญุมฮูร) ที่พิจารณาคือ อัลอิจญมาอฺ หมายถึง มติของชาวสะลัฟ

ในประเด็นการแขวนอะซีมัตที่ทำด้วยอัลกุรอ่าน ไม่ได้เป็นมติของชาวสะลัฟ

หมายเหตุ ถ้าเป็นคำพูดและการกระทำของเคาะลิฟะฮอัรรอชิดีนเป็นหลักฐานได้เพราะนบี ศอ็ลฯได้รับรองไว้แล้ว

والله أعلم بالصواب

........................
อะสัน หมัดอะดั้ม






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น