อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ซัยยิด กุฏบ์ อดีตแกนนำและผู้ทรงอิธิพลของพวกอิควาน สนับสนุนการวางระเบิด



ซัยยิด กุฏบ์ อดีตแกนนำและผู้ทรงอิธิพลของพวกอิควาน สนับสนุนการวางระเบิด การลอบสังหาร ....



ซัยยิดกุฏบ์ได้กล่าวใว้ในเอกสารชื่อว่า “เหตุใดพวกเขาจึงจับฉันประหาร (ลิมาซาอะอ์ดะมูนี หน้าที่ 34 ) :

"وهذه الأعمال هي الرد فور وقوع اعتقالات لأعضاء التنظيم بإزالة رءوس في مقدمتها رئيس الجمهورية ورئيس الوزراء ومدير مكتب المشير ومدير المخابرات ومدير البوليس الحربي، ثم نسف لبعض المنشآت التي تشل حركة مواصلات القاهرة لضمان عدم تتبع الإخوان فيها وفي خارجها كمحطة الكهرباء والكباري...

ความว่า : และการกระทำเหล่านี้ (การวางระเบิด ) คือการตอบโต้อย่างทันควันเมื่อมีการจับกุมสมาชิกของขบวนการ ด้วยการกำจัดพวกหัวโจกทั้งหลายเริ่มจากประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี ผอ.สำนักจอมพล ผอ.หน่วยสืบราชการลับ ผอ.ตำรวจ จากนั้นก็มีการระเบิดถล่มอาคารต่างๆซึ่งทำให้การจราจรในกรุงไคโรเป็นอัมพาตไปเลย ทั้งนี้ทั้งนั้นเพื่อเป็นการประกันไม่ให้พวกอิควานถูกตามตัวได้ทั้งในกรุงไคโรและนอกกรุงไคโร อาคารต่างๆที่โดนถล่มนั้นเช่นโรงไฟฟ้า สะพานเป็นต้น.


Cr : อ. Khalid Pantrakul
อ.คอลิด ปานตระกูล



วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

รายอแน” ออกอีด (อีกครั้ง) หลังถือศีลอด 6 วันเดือนเชาวาล





แปลและเรียบเรียงโดย Om Omar Muktar

ในอียิปต์ก็มีเรื่องทำนองนี้ คือ เรียกวันออกบวช 6 ว่า ‘อีดิลอับรอร’ โดยผู้คนจะไปรวมตัวกันที่มัสญิดอัลหุสัยน์ หรือมัสญิดซัยนับ แล้วก็มีการกลับไปทำอาหารพิเศษ เช่น ข้าวหุงกับนมรับประทานกันที่บ้าน โดยชัยค์มุหัมมัด อะห์มัด อับดุสสะลาม คิฎร์ อัชชุก็อยรี กล่าวว่า การกระทำดังกล่าวเป็นอุตริกรรม (บิดอะฮ์) และท่านเรียกอีดนี้ว่า ‘อีดิลฟุจญาร’ คือ อีดของคนชั่ว ไม่ใช่ ‘อีดิลอับรอร’ คือ อีดของคนดี
[ดูเพิ่มเติมได้ที่ มุหัมมัด อะห์มัด อับดุสสะลาม คิฎร์ อัชชุก็อยรี, อัสสุนัน วัลมุบตะดะอาตฯ, (ไคโร: ดารุลกิตาบ วัสสุนนะฮ์, 2010), น. 186.]


อิบนุหะญัร อัลฮัยตะมี กล่าวว่า เป็นที่ชัดเจนยิ่งว่า ไม่อนุญาตให้ผู้ใดยึดมั่นและศรัทธาว่าวันที่ 8 ของเดือนเชาวาลเป็นวันอีดที่มีถูกบัญญัติไว้ในอิสลาม ดั่งเช่นวันอีดิลฟิฏร์และอีดิลอัฎหา ยิ่งกว่านั้นอุละมาอ์บางท่านถึงกับระบุว่า ไม่อนุญาตให้เรียกวันนั้นว่าวันอีดที่ควรแก่การแสดงออกด้วยสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของวันอีด เช่น การสวมเสื้อผ้าที่สวยงาม การจัดเลี้ยงอาหารที่หลากหลายชนิด และการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เฉกเช่นการปฏิบัติในวันอีดิลฟิฏร์และอีดิลอัฎหา
[ดูเพิ่มเติมได้ที่ อิบนุหะญัร อัลฮัยตะมี, อัลฟะตาวา อัลกุบรอ อัลฟิกฮียะฮ์, (อียิปต์: อับดุลหะมีด อะห์มัด หะนะฟี, ม.ป.ป.), ล. 1 น. 272.]
#อิบนุหะญัร_อัลฮัยตะมี (ฮ.ศ. 909-974) #ปราชญ์แห่งมัซฮับอิมามอัชชาฟิอี ในระดับปราชญ์ผู้จดจำหลักการแห่งมัซฮับ (حفظة المذهب) –เช่นเดียวกับชัมสุดดีน อัรร็อมลี (ฮ.ศ. 919-1004)– อิบนุหะญัร อัลฮัยตะมีได้ประพันธ์ตำรานิติศาสตร์อิสลามนามอุโฆษ เช่น “ตุห์ฟะตุลมุห์ตาจญ์ บิชัรห์ อัลมินฮาจญ์” ฯลฯ


❝ส่วนการยึดถือเอาเทศกาลหนึ่งเทศกาลใด (นำมาสมโภชเฉลิมฉลอง) –นอกเหนือไปจากเทศกาลที่มีระบุไว้ตามศาสนบัญญัติ– เช่น บางคืนของเดือนเราะบีอุลเอาวัลที่เรียกกันว่า ‘คืนเมาลิด’ หรือบางคืนของเดือนเราะญับ หรือวันที่ 18 เดือนซุลหิจญะฮ์ หรือศุกร์แรกของเดือนเราะญับ หรือวันที่ 8 เดือนเชาวาลซึ่งผู้โง่เขลาเรียกมันว่า ‘อีดิลอับรอร’ แท้จริงมันเป็นส่วนหนึ่งจากอุตริกรรม (บิดอะฮ์) ที่บรรดาชาวสะลัฟไม่ได้สนับสนุนให้กระทำมันและพวกเขาก็ไม่ได้กระทำมันเช่นกัน –วัลลอฮุ สุบหานะฮุ วะตะอาลา อะอ์ลัม–❞
[อะห์มัด อิบนุตัยมียะฮ์, มัจญ์มูอ์ ฟะตาวา, (มะดีนะฮ์: มุญัมมะอ์ อัลมะลิก ฟะฮฺด์ฯ, 2004), ล. 25 น. 298.]


❝และสำหรับวันที่ 8 ของเดือนเชาวาลนั้น ไม่ใช่วันตรุษ (อีด) สำหรับบรรดาคนดี (อับรอร) และคนชั่ว (ฟุจญาร) และไม่อนุญาตแก่คนหนึ่งคนใด ที่จะเชื่อว่ามันคือวันอีด และเขาจะไม่ประดิษฐ์สิ่งใด ๆ ขึ้นมาใหม่จากบรรดาสิ่งที่เป็นเครื่องหมายของบรรดาวันอีด❞
[ตะกียุดดีน อิบนุตัยมียะฮ์, อัลฟะตาวา อัลกุบรอ, มุหัมมัด อับดุลกอดิร อะฏอ และมุศเฏาะฟา อับดุลกอดิร อะฏอ (บรรณาธิการ), (เบรุต: ดารุลกุตุบ อัลอิลมียะฮ์, 1987), ล. 5 น. 379.]