อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

อุลามาอ์มัซฮับชาฟีอีย์ ยืนยันอิหม่ามชาฟีอีย์ไม่เคยให้กล่าวคำเหนียต


อิหม่ามอัลมาวัรดีย์กล่าวว่า

قَالَ أَبُو عَبْدِ اللَّهِ الزُّبَيْرِيُّ - مِنْ أَصْحَابِنَا - : لَا يُجْزِئُهُ حَتَّى يَتَلَفَّظَ بِلِسَانِهِ تَعَلُّقًا بِأَنَّ الشَّافِعِيَّ قَالَ فِي كِتَابِ " الْمَنَاسِكِ " : وَلَا يَلْزَمُهُ إِذَا أَحْرَمَ بِقَلْبِهِ أَنْ يَذْكُرَهُ بِلِسَانِهِ وَلَيْسَ كَالصَّلَاةِ الَّتِي لَا تَصِحُّ إِلَّا بِالنُّطْقِ فَتَأَوَّلَ ذَلِكَ عَلَى وُجُوبِ النُّطْقِ فِي النِّيَّةِ

อบูอับดุลลอฮ อัซซุบัยรีย์ จากสะหายของเรา กล่าวว่า “ มัน(การเนียต)จะใช้ไม่ได้ จนกว่า เขาจะกล่าวด้วยวาจาของเขา โดยอ้างว่า ชาฟิอีกล่าวในหนังสือ อัลมะนาสิกว่า “และเมื่อเขาเจตนาเอียะรอม ด้วยใจของเขาแล้ว ก็ไม่จำเป็นแก่เขาว่าจะต้องกล่าวมันด้วยวาจาของเขา โดยที่ไม่เหมือนกับละหมาด ซึ่ง มันจะใช้ไม่ได้ นอกจากต้องด้วยการกล่าวเป็นคำพูด ดังนั้น ดังกล่าวนั้น หมายถึงจำเป็นจะต้องกล่าวด้วยวาจาในการเนียต 
– ดูอัลหาวีย์อัลกะบีร เล่ม 2 หน้า 204

แล้วอิหม่ามอัลมาวัรดี ก็กล่าวแย้ง ข้ออ้างของอัซซุบัยดีย์ว่า

وَهَذَا فَاسِدٌ ، وَإِنَّمَا أَرَادَ وُجُوبَ النُّطْقِ بِالتَّكْبِيرِ

และนี้คือ เป็นคำพูดที่ผิดพลาด ความจริง เขา(อิหม่ามชาฟิอี) หมายถึง การกล่าวตักบีร ด้วยวาจา 
-ดูอัลหาวีย์อัลกะบีร เล่ม 2 หน้า 204

อิหม่ามนะวาวีย์ ก็ได้ชี้แจงไว้เช่นกัน วาเป็นการเข้าใจที่ผิดพลาด
ท่านกล่าวว่า

قَالَ أَصْحَابُنَا : غَلِطَ هَذَا الْقَائِلُ ، وَلَيْسَ مُرَادُ الشَّافِعِيِّ بِالنُّطْقِ فِي الصَّلَاةِ هَذَا ، بَلْ مُرَادُهُ التَّكْبِيرُ وَلَوْ تَلَفَّظَ بِلِسَانِهِ وَلَمْ يَنْوِ بِقَلْبِهِ لَمْ تَنْعَقِدْ صَلَاتُهُ بِالْإِجْمَاعِ فِيهِ

บรรดาสหายของเรากล่าวว่า ผู้พูดคนนี้(คนที่อ้างคำพูดชาฟิอี)นั้นผิดพลาด ความต้องการของอิหม่ามชาฟิอี ไม่ได้หมายถึงกล่าว(คำเนียต)เป็นคำพูดในละหมาด ในกรณีนี้ แต่ทว่า เขา(อิหม่ามชาฟิอี)หมายถึงการกล่าวตักบีร และหากแม้กล่าวคำเนียตด้วยวาจา ของเขา และไม่ได้เนียตด้วยใจของเขา การละหมาดของเขาใช้ไม่ได้ ด้วยมติเอกฉันท์ของนักปราชญ์ในมัน
 – อัลมัจญมัวะ เล่ม 3 หน้า 241

วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

การอวดโฉมถือเป็นการนิฟาก (หน้าไหว้หลังหลอก)


.
อบูอัดนาน อะหมัด อัลฟารีตี : เขียน
.
มันศูร อับดุลลอฮฺ : แปล
........................................
.
.
จากอิบนิ มัสอูด รอฏิยัลลอฮุอันฮู เล่าว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า และผู้หญิงที่เลวที่สุดในหมู่สูเจ้าคือ ผู้หญิงที่อวดโฉม (ตะบัรฺรุจ) เย่อหยิ่งในเสื้อผ้าอาภรณ์ พวกนางนั้นแหละคือมุนาฟิก ซึ่งพวกนางจะไม่ได้เข้าสวรรค์จนกระทั่ง (ถูกลงโทษ) ประหนึ่งอีกาดำ (ชนิดที่มีตีนสีแดง)
(รายงานโดย อัลบัยฮะกี ใน อัซซุนันอัลกุบรอ : 7/82 และอบูนะอีม ใน หิลยะตุลเอาลิยาอฺ : 8/376 ดู ซิลซิละฮฺ 1849)
.
........... บทเรียนจากอัลหะดีษ ...........
.
1. หะดีษแจ้งให้ทราบถึงผู้หญิงที่เลวที่สุดในดุนยาและจะได้รับการลงทัณฑ์ในวันอาคิเราะฮฺ
.
2. ลักษณะประการหนึ่งของหญิงชั่วคือเปิดเผยสิ่งพึงสงวน และเย่อหยิ่งลำพองกับเสื้อผ้าอวดตัวยั่วยวน
.
3. การอวดโฉมและความรู้สึกลำพองเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของซีฟัตกลับกลอก
.
4. สภาพของผู้หญิงมุนาฟิกในวันปรโลกช่างรุนแรงยิ่ง เนื่องจากพวกนางจะถูกโยนลงสู่ขุมนรกและถูกเผาด้วยไฟนรกจนไหม้เกรียม จากนั้นจึงสามารถเข้าสวรรค์ได้ในสภาพร่างกายดำเมี่ยมประหนึ่งอีกา
.
5. หะดีษตักเตือนผู้หญฺงทั้งหลายว่าอย่าได้อวดเรือนร่าง อย่าได้ยโสลำพองและอย่าได้มีลักษณะนิสัยกลับกลอก
.
6. กำชับให้สวมฮิญาบ เพราะฮิญาบสามารถป้องกันความเลวร้ายในโลกดุนยาและความทุกข์ทรมานในโลกอาคิเราะฮฺ


………………………………………
(จากหนังสือ : ช่อบุปผชาติ แด่....สตรีมุสลิม)

ผู้หญิงที่ใช้น้ำหอมออกจากบ้าน


.
อบูอัดนาน อะหมัด อัลฟารีตี : เขียน
.
มันศูร อับดุลลอฮฺ : แปล
........................................
.
.
จาก อบีมูซา รอฏิยัลลอฮุอันฮู เล่าว่า ท่านรอซูลุลลอฮิ ฮูอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า ผู้หญิงคนใดที่ใช้เครื่องหอมออกจากบ้าน หลังจากนั้นนางเข้าใกล้ชิดกลุ่มผู้ชายเพื่อให้พวกเขาได้กลิ่นหอมของนาง นั่นเท่ากับนางทำซินาแล้ว และทุก ๆ การมอง (ผู้ที่ไม่อนุญาตให้มอง) ถือเป็นการทำซินา (รายงานโดย อันนะซาอี : 8/153, อะหมัด : 4/414 และหากิม : 2/396)
.
.
จาก ซัยนับ ภรรยาของอับดุลลอฮฺ เล่าว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮูอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวแก่เราว่า เมื่อใดที่พวกเธฮออกไปมัสยิด (เพื่อนนมาซญะมาอะฮฺ) ก็จงอย่าแตะเครื่องหอม (อย่าใช้เครื่องหอม) (รายงานโดย มุสลิม : 443)
………………………………..
........... บทเรียนจากอัลหะดีษ ...........
.
1. สาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดฟิตนะฮฺ (ความเลวร้าย) ระหว่างเพศชายและหญิง คือ การได้กลิ่นหอมจากผู้หญิง
.
2. ผู้หญิงคนใดออกจากบ้านโดยใช้น้ำหอมและมีเป้าหมายให้ชายอื่นที่มิใช่มะหฺรอมได้กลิ่นหอมจากน้ำหอมนั้น นั่นเท่ากับนางได้ทำซินาแล้ว
.
3. ตาที่มองผู้หญิงหรือตามที่มองผู้ชายที่ต้องห้ามนั้น ถือว่าตานั้นได้ทำซินาแล้ว
.
4. อนุญาตให้ผู้หญิงออกไปนมาซญะมาอะฮฺที่มัสยิดได้โดยมีเงื่อนไขบางประการหนึ่งในนั้นคือ ต้องไม่ทาเครื่องหอม
.
5. อนุญาตให้ผู้หญิงใช้น้ำหอมที่บ้านของนางและสำหรับสามี โดยมีเงื่อนไขว่าต้องไม่หอมฟุ้งแตะจมูกชายอื่น
.
6. หะดีษนี้ชี้ให้เห็นถึงความละเอียดอ่อนในคำสอนของอิสลามซึ่งควบคุมปัญหาต่าง ๆ อันจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชาติ
.
7. อิสลามรักษาเกียรติยศของผู้หญิงและรักษาความปลอดภัยแก่พวกนางเสมอ แม้กระทั่งเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ จนถึงเรื่องใหญ่ ๆ


………………………………………
(จากหนังสือ : ช่อบุปผชาติ แด่....สตรีมุสลิม)


ผู้หญิงกับการเดินทางออกนอกบ้าน


.
อบูอัดนาน อะหมัด อัลฟารีตี : เขียน
.
มันศูร อับดุลลอฮฺ : แปล
........................................
.
.
จาก อบีฮุร็อยเราะฮฺ รอฎิยัลลอฮุอันฮู เล่าว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงที่ศรัทธาในอัลลอฮฺและวันอาคิเราะฮฺ เดินทางออกจากบ้านเป็นเวลาหนึ่งวันหนึ่งคืนโดยไม่มีมะหฺรอม (ผู้ปกครอง) ไปด้วย (รายงานโดย บุคอรี : 2/36)
.
.
........... บทเรียนจากอัลหะดีษ ...........
.
1. รอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ให้คำชี้แนะแก่มุมินถึงมารยาทในการเดินทาง
.
2. ไม่อนุญาตให้ผู้หญฺงมุมินะฮฺเดินทางตัวคนเดียวโดยไม่มีมะหฺรอม เมื่อการเดินทางนั้นใช้เวลาหนึ่งวันหนึ่งคืน
.
3. เข้าใจได้จากหะดีษนี้ว่า เมื่อใดที่การเดินทางไม่ถึงกับข้ามวันข้ามคืนก็อนุญาตให้เดินทางโดยตัวคนเดียวได้ แต่กระนั้นก็ต้องเมื่อมีเหตุจำเป็นและปลอดภัยจากฟิตนะฮฺเท่านั้น
.
4. อิสลามคุ้มครองป้องกันความเลวร้ายที่จะมาประสบกับผู้หญิงและปกป้องความเลวร้ายที่จะออกมาจากผู้หญิงเช่นเดียวกัน
.
5. กฎระเบียบการสอนของอิสลามที่ยากแก่การที่มนุษย์จะรับได้นั้น มุ่งไปยังผู้ที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ ซุบหานะฮูวะตะอาลา และวันอาคิเราะฮฺ เพราะด้วยความศรัทธาพวกเขาจะเชื่อฟังและปฏิบัติตามได้ด้วยความพึงพอใจ
.
6. หะดีษชี้ให้เห็นถึงผลลัพธ์และบทบาทของการศรัทธาในการจัดระบบให้แก่ชีวิตของมนุษย์ต่อการยึดมั่นในครรลองของอัลลอฮฺ ซุบหานะฮูวะตะอาลา
.
7. คำสอนของอิสลามเป็นคำสอนที่ครอบคลุมเรื่องราวทุกอย่างของการดำเนินชีวิตของมนุษย์

………………………………………
(จากหนังสือ : ช่อบุปผชาติ แด่....สตรีมุสลิม)


อนุญาตให้ผู้หญิงออกจากบ้านเนื่องจากความจำเป็น


.
อบูอัดนาน อะหมัด อัลฟารีตี : เขียน
.
มันศูร อับดุลลอฮฺ : แปล
........................................
.
.
จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ รอฎิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า ครั้งหนึ่งท่านหญิงเซาดะฮฺ รอฎิยัลลอฮุอันฮา ออกจากบ้านเพื่อทำธุระข้างนอกหลังจากบัญญัติว่าด้วยฮิญาบถูกประทานลงมาแล้ว และเธอเป็นหญิงที่มีรูปร่างอ้วนที่จะหลบเลี่ยงคนรู้จักไม่ได้ ต่อมา อุมัรฺ บิน ค็อฏฏอบ ก็เห็นเธอ เขากล่าวขึ้นว่า นี่เซาดะฮฺ ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ซุบหานะฮูวะตะอาลา เธอมอาจหลบเราได้หรอก ลองดูสิว่าเธอออกมาจากบ้านได้ยังไง ท่านหญิงอาอิชะฮฺ รอฎิยัลลอฮุอันฮา เล่าว่า ท่านหญิงเซาะดะฮฺจึงกลับเข้าบ้านในขณะที่ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม อยู่ที่บ้านท่านกำลังรับประทานอหารค่ำในมือถือกระดูกอยู่ ท่านหญิงเซาดะฮฺถามท่านว่า โอ้ท่านรอซูลุลลกฮ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่จริงฉันได้ออกไปข้างนอกเพื่อเหตุผลบางอย่าง อุมัรได้กล่าวแก่ฉันเช่นนั้นเช่นนี้ ท่านหญิงอาอิชะฮฺ รอฎิยัลลอฮุอันฮา เล่าว่า หลังจากนั้นอัลลอฮฺ ซุบหานะฮูวะตะอาลา ได้ทรงประทานวะหยูลงมาแก่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม แล้วมันถูกยุติไปขณะที่กระดูกยังคงอยู่ในมือของท่านโดยที่ท่านไม่ได้วางลง ท่านได้กล่าวว่า แท้จริงเป็นที่อนุญาตแก่เธอที่จะออกไปเนื่องด้วยความประสงค์บางประการ (มุตตะฟะกุนอะลัยฮฺ : อัลลุลุ มัรฺญาน 197 – 196/2)
.
.
........... บทเรียนจากอัลหะดีษ ...........
.
1. ชื่อเซาดะฮฺที่ถูกเอ่ยถึงในหะดีษนี้หมายถึงท่านหญิงเซาดะฮฺ บินติ ซูมอะฮฺ มารดาแห่งศรัทธาชน ภรรยาคนหนึ่งของท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
.
2. เป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคนที่จะต้องยับยั้งการกระทำที่ไม่ถูกต้องตามคำสอนทางศาสนา
.
3. เตือนให้ตระหนักถึงแก่นสาระสำคัญของการฮิญาบ กล่าวคือการที่ต้องปกปิดทุกส่วนของร่างกายจนไม่มีใครเห็นส่วนใด ๆ ของร่างกาย
.
4. ส่งเสริมให้ปกปิดเอาเราะฮฺอย่างสมบูรณ์ถูกต้อง
.
5. วะหฺยูจากอัลลอฮฺ ซุบหานะฮูวะตะอาลา ที่เป็นกฎหมายนั้นจะประทานลงมาให้แก่ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
.
6. อนุญาตให้ผู้หญิงอออกจากบ้านได้เพื่อทำธุระของนาง ซึ่งถือเป็นการผ่อนคลายและให้ความเหมาะสมแก่ผู้หญิง
.
7. หะดีษบอกให้เห็นถึงคุณลักษณะที่ดีของท่านอุมัร รอฏิยัลลอฮุอันฮู ต่อคำสอนของอัลลอฮฺ ซุบหานะฮูวะตะอาลา ซึ่งท่านดำรงตนอยู่ในกรอบคำสอนอยู่เสมอและไม่พอใจที่จะให้ใครฝ่าฝืนแม้ว่าจะเป็นภรรยาของท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ก็ตามดังที่ปรากฏในหะดีษข้างต้น
………………………………………
(จากหนังสือ : ช่อบุปผชาติ แด่....สตรีมุสลิม)


ตะบัรฺรุจ (การอวดโฉม) คือความมืดมนในวันอาคิเราะฮฺ


.อบูอัดนาน อะหมัด อัลฟารีตี : เขียน
.
มันศูร อับดุลลอฮฺ : แปล


Jiyah Abdulloh โพสต์
........................................
.
.
จาก มัยมูนะฮฺ บินติ สะอัด ซึ่งเป็นคนรับใช้ของท่านนบี เล่าว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
.
เปรียบผู้หญิงที่อวดโฉมด้วยเสื้อผ้าของนางต่อหน้าบุคคลอื่นที่มิใช่สามีของนาง ประหนึ่งความมืดในวันกิยามะฮฺที่ไม่มีแสงสว่างใด ๆ สำหรับนางอยู่เลย (รายงานโดย ติรมีซี : 1167)
.
หมายถึง ผู้หญิงที่อวดโชว์ความสวยของนางต่อหน้าบุคคลอื่นที่ไม่ใช่สามีของนาง นางจะมาในวันกิยามะฮฺในสภาพที่ตัวดำมืด และจะมัวเมาอยู่ในความมืดโดยที่ไม่มีแสงสว่างใด ๆ สำหรับนางเลย
.
.
........... บทเรียนจากอัลหะดีษ ...........
.
1. นบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้เปรียบเทียบการอวดโฉมของผู้หญิงกับความมืดในวันกิยามะฮฺก็เพื่อเตือนบรรดาผู้หญิงให้ห่างไกลจากการตะบัรฺรุจ (การอวดโฉม) นั่นเอง
.
2. ตะบัรฺรุจ มีทั้งที่ห้ามกระทำละที่สนับสนุนให้กระทำ ที่ห้ามคือกระทำต่อหน้าบุคคลอื่นที่มิใช่สามี และที่สนับสนุนคือ กระทำต่อหน้าสามีของนาง
.
3. ผลตอบแทนสำหรับหญิงที่ตะบัรฺรุจในวันกิยามะฮฺคือ การอยู่ในความมืดมนที่ไม่มีแสงสว่างใด ๆ
.
4. ส่งเสริมให้สวมฮิญาบเพื่อจะได้รับรับแสงสว่างในวันกิยามะฮฺ
.
5. แสงสว่างหรือรัศมีเป็นบรรยากาศแห่งสรวงสวรรค์ ในขณะที่ความมืดป็นบรรยากาศแห่งนรกอเวจี
.
6. การสวมฮิญาบเป็นหนึ่งในอามัลของชาวสวรรค์ แต่การอวดโฉมเป็นหนึ่งในการงานของชาวนรก

………………………………………
(จากหนังสือ : ช่อบุปผชาติ แด่....สตรีมุสลิม)