อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

จำเป็นที่จะต้องน้อมรับปฏิบัติตามบัญญัติต่าง ๆ แห่งอิสลาม


จำเป็นที่จะต้องน้อมรับปฏิบัติตามบัญญัติต่าง ๆ แห่งอิสลามและอย่าปฏิบัติตามคำชักจูงและแบบอย่างอันเลวของชัยฏอน ...



อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ดำรัสว่า

ความว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงเข้าอยู่ในอิสลามโดยสมบูรณ์ และจงอย่าปฏิบัติตามก้าวเดินของชัยฏอน แท้จริงมันคือศัตรูที่ชัดแจ้งของพวกเจ้า แต่ถ้าพวกเจ้าหันเหออกไป หลังจากที่ได้มีบรรดาหลักฐานอันชัดเจนมายังพวกเจ้าแล้ว ก็พึงรู้เถิดว่า แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงเดชานุภาพ ทรงปรีชาญาณ” (สูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 208-209)

@@@@ เนื้อหาสาระและข้อคิดที่ได้รับจากคำเรียกร้อง @@@@

**** อัลลอฮฺทรงสั่งใช้ให้บ่าวผู้ศรัทธาต่อพระองค์อย่างแท้จริง ให้เข้ามาสู่อิสลามอย่างสมบูรณ์ทุกประการ โดยไม่มีอะไรค้างคาอยู่ ทั้งในเรื่องความคิด ทฤษฎี วัฒนธรรม วิชาการ อุปนิสัยใจคอ การทำมาค้าขาย และทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตจะต้องอยู่ภายใต้อิสลามทั้งหมด จะต้องไม่แบ่งชีวิตเป็นส่วน ๆ โดยที่ส่วนหนึ่งปฏิบัติตามอิสลามและละทิ้งมันอีกส่วนหนึ่ง

**** แบบฉบับและแนวทางของบรรดาผู้ศรัทธาไม่ได้มีให้เลือกอย่างหลากหลาย เพื่อให้เลือกทางใดทางหนึ่ง หรือนำแบบหนึ่งไปผสมผสานเข้ากับอีกแนวทางหนึ่งเพื่อให้เกิดแนวทางในรูปแบบใหม่ เปล่าเลยเพราะแนวทางสำหรับผู้ศรัทธานั้นชัดเจนแน่นอน หากไม่ยอมจำนนหรือเข้าสู่แนวทางของอิสลามทั้งหมดทั้งร่างกายและจิตใจ นั่นหมายถึงเขากำลังเดินตามรอยของมารร้าย

**** ทางเลือกมีเพียงทางใดทางหนึ่ง เมื่อไม่เลือกทางหนึ่งก็จะเป็นการเลือกอีกทางหนึ่งโดยปริยาย มีแค่คำว่าสัจธรรมกับโมฆะธรรม มีเพียงทางนำกับทางหลงผิด มีเพียงอิสลามกับญาฮีลียะฮฺ มีเพียงแนวทางของอัลลอฮฺและการหลอกลวงของชัยฏอน

**** การปฏิบัติตามคำชักจูงและแบบอย่างอันเลยของชัยฏอนในเรื่องต่าง ๆ ถือเป็นพฤติกรรมของผู้ที่ไร้สติปัญญา เพราะชัยฏอนเป็นศัตรู แน่นอนที่สุดผู้ที่มีสติปัญญาและมีความศรัทธาย่อมไม่ปฏิบัติตามพฤติกรรมของผู้ที่เป็นศัตรู ยิ่งกว่านั้นเขาจะต้องประกาศการเป็นศัตรูกับมันและไม่ยอมให้มันหลอกลวงได้

**** เล่ห์เหลี่ยมของชัยฏอนมีอยู่หลากหลายรูปแบบ จำเป็นที่ผู้ศรัทธาต้องเรียนรู้และพยายามหลีกห่างและหาวิธีป้องกันจากมัน ซึ่งแผนปฏิบัติการของมันจะใช้วิธีการค่อยเป็นค่อยไปในการหลอกล่อมนุษย์ ดังนี้
.....................พยายามให้มนุษย์ปฏิเสธศรัทธาหรือไม่ก็ตั้งภาคี
...................... พยายามให้มุสลิมอุตริการงานต่าง ๆ ขึ้นมาในศาสนา และให้ปฏิบัติอุตริกรรมนั้น ๆ
...................... พยายามให้ทำบาปใหญ่
...................... พยายามให้ทำบาปเล็ก
...................... พยายามให้หมกมุ่นและหมดเวลาไปกับสิ่งที่เราปฏิบัติหรือละทิ้ง ก็จะไม่ได้รับบุญหรือบาปใด ๆ
...................... พยายามให้หมกมุ่นอยู่กับสิ่งที่ประเสริฐน้อยกว่าและทิ้งการปฏิบัติสิ่งที่ดีกว่า

**** ชัยฏอนจะพยายามล่อลวงมนุษย์ทีละนิดละหน่อยและค่อยเป็นค่อยไปจนถึงเป้าหมายของมัน และมันจะเข้าหามนุษย์ทุกประเภทด้วยวิธีเฉพาะที่เหมาะสมกับคนนั้น ๆ
...................... เข้าหาผู้ที่มีความสมถะ ด้วยรูปแบบสมถะ
...................... เข้าหานักวิชาการผ่านประตูความรู้
...................... และเข้าหาคนโง่อวิชาผ่านประตูความขลาดเขลา

**** การปฏิบัติตามพฤติกรรมของบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาถือเป็นการปฏิบัติตามคำชักจูงและแบบอย่างอันเลวของชัยฏอน

**** การเป็นศัตรูของชัยฏอนต่อลูกหลายอาดัม ถือเป็นสิ่งที่มีความชัดแจ้งเป็นอย่างยิ่ง และมันได้ประกาศการเป็นศัตรูกับมนุษย์ทุกคนนับตั้งแต่ท่านนบีอาดัมและลูกหลานของท่านตราบจนถึงวันแห่งการฟื้นคืนชีพ

**** เป็นไปไม่ได้ที่ชัยฏอนจะจูงลูกหลานอาดัมสู่หนทางที่ดีงามเพราะไม่มีศัตรูใดที่จะคิดดีและทำดีต่อคู่อริของเขาอย่างแน่นนอน

**** วิธีป้องกันจกาการล่อลวงของชัยฏอน
.............. การศรัทธาตอ่อัลลออฺ
.............. ศึกษาหาความรู้ศาสนาจากแหล่งที่ถูกต้อง
.............. มีความบริสุทธิ์ใจในกิจการงานศาสนา
.............. รำลึกถึงอัลลอฮฺ และขอความคุ้มครองต่อพระองค์ให้พ้นจากชัยฏอนที่ถูกสาปแช่ง
............. การอ่านอัล-มุเอาวิซะตาน (นั่นคือสูเราะอัน-นาส และอัล-ฟะลัก) ซึ่งมีตัวบทหลักฐานบอกถึงความประเสริฐของมัน และสามารถคุ้มครองให้พ้นจากชัยฏอนได้ รวมถึงการอ่านอายะฮฺกุรสีย์ เพราะอายะฮฺกุรสีย์สามารถปกป้องให้พ้นจากชัยฏอนได้เช่นกัน

**** อัลลอฮฺจะไม่ทรงลงโทษผู้ใด เว้นแต่พระองค์จะทรงนำหลักฐานต่าง ๆ มายังพวกเขาก่อน

**** ในวันกิยามะฮฺมนุษย์จะไม่มีข้ออ้างในสิ่งที่ตนได้กระทำความชั่ว เพราะอัลลอฮฺได้ทรงแจกแจงหลักฐานและได้บัญญัติกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ไว้ครบถ้วนแล้ว

**** เป็นข้อเตือนสำหรับผู้ที่หันหลังให้กับบัญญัติต่าง ๆ แห่งอิสลาม หลังจากที่หลักฐานต่าง ๆ ได้มายังพวกเขาแล้วว่า อัลลอฮฺนั้นทรงมีความสามารถที่จะจัดการเขาตามที่พระองค์ทรงประสงค์ เพราะ “พระองค์ทรงเดชานุภาพ”

**** อัลลอฮฺยังกล่าวในตอนท้ายว่า “พระองค์ทรงปรีชาญาณ” เพื่อต้องการบอกว่า สิ่งที่อัลลอฮฺทรงเลือกให้กับบรรดาผู้ศรัทธานั้นเป็นทางเชือกที่ดีกว่าอย่างแน่นอน และสิ่งที่พระองค์ทรงห้ามนั้น หากยังฝ่าฝืนย่อมต้องเผชิญกับความขาดทุนอย่างแน่นนอนเช่นเดียวกัน และพระองค์ทรงมีอำนาจโดยสมบูรณ์ที่จะลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนและรู้ว่าจะจัดการกับคนเช่นนั้นอย่างไร


………………………………………………………..
เรียบเรียง โดย : อบูอิบานะฮฺ ฟิตยะตุลฮัก
(จากหนังสือ : ได้ยินไหมโอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ? [หนังสือที่รวบรวม 90 คำเรียกร้องสำหรับผู้ศรัทธา] )
อดทน เพื่อชัยชนะ โพสต์




การถือศรลอดและผลต่อจิตใจของผู้ที่ปฏิบัติ


อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ดำรัสว่า

ความว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย การถือศีลอดนั้นได้ถูกกำหนดแก่พวกเจ้าแล้ว เช่นเดียวกับที่ได้ถูกกำหนดแก่บรรดาผู้ก่อนหน้าพวกเจ้ามาแล้ว เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง” (สูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 183)

@@@@ เนื้อหาสาระและข้อคิดที่ได้รับจากคำเรียกร้อง @@@@

**** อัลลอฮฺได้ทรงกล่าวกับผู้ศรัทธาในประชาชาตินี้โดยที่บัญญัติให้พวกเขาถือศีลอด นั่นคือ การงดจากการรับประทานอาหาร เครื่องดื่ม และร่วมหลับนอนกับภรรยา ด้วยเจตนารมณ์ที่บริสุทธิ์เพื่ออัลลอฮฺ อัซซะวะญัลละ

**** การที่อัลลอฮฺทรงบัญญัติในเรื่องนี้ก็เพราะว่าจะได้เป็นการชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ สะอาด ปราศจากสิ่งเลวร้ายที่ปะปนอยู่ในการกระทำและมารยาทที่เลวทราม

**** การที่อัลลอฮฺได้กำหนดการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนแก่บรรดาผู้ศรัทธาเช่นเดียวกับที่ได้กำหนดให้แก่ประชาชาติก่อนหน้าที่ ก็เพื่อให้บรรดาผู้ศรัทธานั้นได้มีแบบฉบับอันดีงาม และทำให้พวกเขามีความขะมักเขม้นในการปฏิบัติศาสนากิจนี้ให้มีความสมบูรณ์แบบมากกว่าประชาชาติก่อนหน้านี้

**** เป้าหมายสูงสุดของการถือศีลอดนั้นถูกทำให้เห็นอย่างเด่นชัดขึ้นในอายะฮฺ และเป้าหมายที่ว่านั้นคือการยำเกรงต่ออัลลอฮฺ

**** ความยำเกรงที่จะทำให้จิตใจตื่นตัวและนำไปสู่การปฏิบัติตามบัญญัติดังกล่าว เป็นการแสดงความภักดีต่อัลลอฮฺ และแสวงหาความโปรดปรานจากพระองค์ ความยำเกรงจะเป็นตัวแปรในการช่วยปกป้องจิตใจมิให้สิ่งเลวร้ายมาทำลายการถือศีลอด หากผู้ที่อัลกุรอานได้เรียกร้องและพวกเขาใส่ใจและเข้าใจถึงคุณค่าและน้ำหนักของความยำเกรงที่มีอยู่ ณ อัลลออฺ แน่นอนที่สุดมันก็จะเป็นเป้าหมายสูงสุดของจิตใจไปในทันที และการถือศีลอดคือสื่อประเภทหนึ่งที่จะนำไปสู่ความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ เป็นแนวทางที่จะนำไปสู่การยำเกรง ด้วยเหตุนี้เองเราจึงพบว่าความยำเกรงจึงถูกหยิบยกขึ้นมาให้เป็นเป้าหมายสูงสุด ที่พวกเขาจะต้องมุ่งไปหาโดยผ่านการถือศีลอด “ทั้งนี้เพื่อพวกเจ้าจะได้มีความยำเกรง”

**** ความยำเกรงจะเป็นตัวแปรสำคัญในการช่วยปกป้องจิตใจมิให้สิ่งเลวร้ายมาทำลายการถือศีลอดของเรา

**** ความยำเกรงได้ถูกหยิบยกขึ้นมาให้เป็นเป้าหมายสูงสุด ที่พวกเราจะต้องมุ่งไปหาโดยผ่านทางการถือศีลอดและการปฏิบัติอิบาดะฮฺในระหว่างการถือศีลอด

**** ความสำเร็จในการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนนั้นก็คือ การที่เราสามารถบริหารและระงับอารมณ์ของเราได้

**** เมื่อเข้าสู่เดือนเราะมะฎอนแล้ว เราต้องสัมผัสและลิ้มรสแห่งความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ สุบหานะฮู วะตะอาลา ทั้งยังสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการใช้ชีวิตของเราภายใต้จิตสำนึกในการเป็นบ่าวที่ดีของอัลลอฮฺ สุบหานะฮู วะตะอาลา ให้ได้

**** เป็นหน้าที่ของเราทุกคนที่ต้องศึกษาและทบทวนว่าการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนจะทำอย่างไรให้มีคุณภาพและประสบกับเป้าหมายที่อัลลอฮฺ สุบหานะฮู วะตะอาลา ได้กำหนดไว้

**** จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ศรัทธาต้องใช้โอกาสของเดือนเราะมะฎอนในการแข่งขันกันทำความดีให้ได้มากที่สุด รวมทั้งหมีความขะมักเขม้นในการทำอิบาดะฮฺให้มีคุณภาพมากที่สุด

**** อัลลอฮฺไม่ประสงค์ที่จะให้เราหิวหรือกระหาย โดยที่เราไม่สามารถที่จะงดความชั่วที่เป็นวาจาหรือการกระทำได้

**** สำหรับผู้ศรัทธาแล้วเขาจะต้องไม่เลือกปฏิบัติในคำสั่งใช้ของอัลลอฮฺ สุบหานะฮู วะตะอาลา เขาจะไม่แบ่งแยกในสิ่งที่พระองค์ทรงกำหนดเหมือนพวกเซคคิวลาร์ เพราะอัลลอฮฺ สุบหานะฮู วะตะอาลา ไม่ได้ให้สิทธิแก่เราในการเลือกปฏิบัติตามคำสั่งใช้ของพระองค์


………………………………………………………..
เรียบเรียง โดย : อบูอิบานะฮฺ ฟิตยะตุลฮัก
(จากหนังสือ : ได้ยินไหมโอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ? [หนังสือที่รวบรวม 90 คำเรียกร้องสำหรับผู้ศรัทธา] )
อดทน เพื่อชัยชนะ โพสต์





การประหารฆาตกรให้ตายตามในกรณีที่มีผู้ถูกฆ่าตาย และการจ่ายค่าสินไหมทดแทน รวมถึงการให้อภัย


อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ดำรัสว่า

ความว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย การประหารฆาตกรให้ตายตามในกรณีที่มีผู้ถูกฆ่าตายนั้นได้ถูกกำหนดแก่พวกเจ้าแล้ว คือชายอิสระต่อชายอิสระ และทาสต่อทาส และหญิงต่อหญิง แล้วผู้ใดที่สิ่งหนึ่งจากพี่น้องของเขาถูกอภัยให้แก่เขาแล้ว ก็ให้ปฏิบัติไปตามนั้นโดยชอบ และให้ชำระแก่เขาโดยดี นั่นคือการผ่อนปรนจากพระเจ้าของพวกเจ้า และคือการเอ็นดูเมตตาด้วย แล้วผู้ใดละเมิดหลังจากนั้นเขาก็จะได้รับการลงโทษอันเจ็บแสบ * และในการประหารฆาตกรให้ตายตาม นั้น คือการธำรงไว้ซึ่งชีวิตสำหรับพวกเจ้า โอ้ผู้มีสติปัญญาทั้งหลาย ! เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง” (สูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 178-179)

@@@@ เนื้อหาสาระและข้อคิดที่ได้รับจากคำเรียกร้อง @@@@

**** ความสวยงามและความยุติธรรมของบทบัญญัตินี้และบทบัญญัติต่าง ๆ ของอิสลาม ถือเป็นข้อพิสูจน์ที่สำคัญว่า “อิสลาม” เป็นศาสนาที่สมบูรณ์ และเป็นศาสนาของพระผู้ทรงสร้างสรรค์สิ่งทั้งหลาย และเป็นการยืนยันในความเมตตาของอัลลอฮฺ สุบหานะฮูวะตะอาลา ที่มีต่อบ่าวของพระองค์

**** หลักการอิสลามมีความลึกซึ้งกว้างขวางยิ่งนัก อิสลามได้เล็งเห็นถึงจิตใจของมนุษย์ก่อนที่จะกำหนดบัญญัติใด ๆ อิสลามรู้ถึงธรรมชาติและความรู้สึกของมนุษย์เป็นอย่างดี

**** อิสลามเป็นศาสนาที่ผดุงความยุติธรรมให้สังคมเต็มไปด้วยความสงบปลอดภัยได้ครอบคลุมมากที่สุด ซึ่งความยุติธรรมที่เด็ดขาดจะเป็นตัวช่วยขจัดความรู้สึกที่เกิดจากอารมณ์ชั่วร้าย และจะช่วยบรรเทาความเคียดแค้นที่มีอยู่ในอกให้ลดหย่อนลง รวมถึงได้ป้องกันไม่ให้ผู้กระทำความผิด กระทำความผิดต่อไปอีก

****หนึ่งในความสวยงามและความยุติธรรมของศาสนาอิสลามนั้น คือ การที่อัลลอฮฺทรงเรียกร้องบรรดาผู้ศรัทธาให้รับรู้และปฏิบัติตามบทบัญญัติอันสวยงามและเที่ยงธรรมอีกประการหนึ่งของศาสนา คือ ถ้าชายอิสระถูกฆ่าตายก็ต้องชดใช้ชีวิตของผู้ตายด้วยของชายอิสระด้วยกัน และถ้าผู้ตายเป็นทาสก็ชดใช้ด้วยชีวิตของทาสด้วยกัน หรือถ้าผู้ตายเป็นหญิงก็ชดใช้ด้วยชีวิตหญิงด้วยกัน ดังกล่าวนี้ในกรณีที่มีการต่อสู้กันเป็นหมู่ เพราะร่วมกันฆ่าหลายคน แต่ถ้าการฆ่าแต่เพียงผู้เดียว แน่นนอนผู้ที่ฆ่าเขาก็จะต้องถูกฆ่าให้ตายตามกัน จะเอาคนอื่นมาแทนไม่ได้

**** การกิศอศ (การประหารฆาตกรให้ตายตาม) นั้นเมื่อมีการยืนยันครบตามเงื่อนไข ก็จำเป็นจะต้องดำเนินการโดยผู้ปกครองรัฐหรือผู้แทนเขา เมื่อญาติของเหยื่อผู้ถูกฆ่าได้ร้องให้ผู้ปกครองดำเนินโทษกิศอศต่อฆาตกร และการกิศอศจะต้องไม่ลงมือเว้นแต่ว่าผู้ปกครองหรือผู้แทนจะต้องร่วมอยู่ในพิธีนั้นด้วย และจะต้องไม่ทำการกิศอศ ยกเว้นด้วยเครื่องมือที่มีความคม อาทิ ดาบ ด้วยการฟันลงไปที่ลำคอของฆาตกร หรือให้ประหารด้วยเครื่องมือชนิดเดียวกันกับที่ฆาตกรใช้ฆ่าเหยื่อ เช่น ถ้าเหยื่อถูกฆ่าด้วยการทุบหัวด้วยหิน ก็ให้ใช้หินทุบหัวฆาตกรจนเสียชีวิต เป็นต้น

**** และหนึ่งในความเมตตาของอัลลอฮฺที่มีต่อบ่าวของพระองค์ นั้นคือ ผู้ใดที่ฆ่าคนตาย โดยที่คนหนึ่งคนใดในบรรดาญาติของผู้ถูกฆ่าให้อภัยแก่เขา โดยไม่ปรารถนาจะให้ผู้ฆ่าถูกฆ่าให้ตายตามกันนั้นก็ให้ถือปฏิบัติไปตามนั้น แม้ว่าพี่น้องคนอื่นจะไม่ยินดีก็ตาม ซึ่งคำว่า “สิ่งหนึ่งจากพี่น้องของเขา” นั้นหมายถึงว่าได้มีการอภัยส่วนหนึ่งจากญาติผู้ตาย

****ญาติของผู้ตายที่มีสิทธิ์ในการฟ้องร้องในการดำเนินโทษกิศอศหรือยกโทษให้ ก็คือญาติทั้งหมดที่มีสิทธิในมรดกของเขาไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือคนแก่ ถ้าหากพวกเขาทุกคนเรียกร้องให้มีการกิศอศก็จำเป็นต้องดำเนินการตามที่เรียกร้องนั้น และถ้าหากทุกคนยกโทษให้ การกิศอศก็ตกไป และถ้าหากว่ามีบางคนเท่านั้นที่ยกโทษให้ และถ้าหากว่ามีการพยายามหาช่องทางเพื่อจะหลีกเลี่ยงไม่ให้มีการยกโทษให้ฆาตกรแล้วละก็ ให้จำกัดสิทธในการยกโทษเฉพาะแก่ญาติผู้ชายเท่านั้น โดยไม่รวมญาติที่เป็นผู้หญิง

**** การใช้คำว่า “พี่น้องของเขา” นั้น ก็เพื่อให้เกิดความรู้สึกว่า ถึงแม้ว่าฆาตกรได้ทำให้ญาติผู้ที่ถูกฆ่าได้รับความทุกข์โศกมากมาย เหนืออื่นใดเขาก็ยังเป็นพี่น้องโดยความสัมพันธ์แห่งการเป็นมนุษย์ ดังนั้นถ้าหากสามารถระงับความโกรธต่อพี่น้องผู้ทำผิด และเลิกที่จะแก้แค้นด้วยการเอาชีวิตเขาตอบแทน มันจะเป็นการยกมาตรฐานแห่งความเป็นมนุษย์ให้สูงขึ้นไปอีก อย่างไรก็ตาม ฆาตกรที่ได้รับการอภัยให้ไม่ต้องถูกฆ่าให้ตายตามนั้น ก็ต้องจ่ายค่าทำขวัญให้แก่ญาติของผู้ตายโดยดีตามธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติกัน

**** อิสลามสนับสนุนการให้อภัย และเปิดทางให้ด้วยการกำหนดขอบเขตที่ชัดเจน และอิสลามยังเรียกร้องให้มีการให้อภัยด้วยความสมัครใจต่อผู้กระทำผิด ไม่ใช่บัญญัติบังคับที่ขัดแย้งกับธรรมชาติที่เป็นการบีบบังคับให้กระทำในสิ่งที่ฝืนความรู้สึกหรือไม่สามารถกระทำได้

**** อิสลามปฏิเสธผู้ที่สนับสนุนให้ยกเลิกการลงโทษประหารชีวิต ถ้าหากใครคิดว่าการปล่อยให้มีการแก้แค้นตอบแทนเป็นสิ่งที่ไร้มนุษยธรรม โดยไม่คิดถึงข้อพิจารณาอื่น ๆ แล้ว มันก็เป็นการไร้มนุษยธรรมพอ ๆ กันที่ไปส่งเสริมการฆาตกรรม โดยการยกเลิกการลงโทษด้วยการประหารชีวิตโดยสิ้นเชิง ดังที่ปฏิบัติกันอยู่ในประเทศที่เจริญแล้วหลายประเทศ นั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไมอัลลอฮฺถึงได้ประกาศว่ากฎหมายแห่งการตอบแทนที่เท่าเทียมกันนั้นทำให้ชีวิตมีความปลอดภัย ถ้าหากว่าสังคมไม่ให้ความเคารพต่อความศักดิ์สิทธิ์ของชีวิตและพยายามที่จะปกป้องฆาตกรแล้ว ก็เท่ากับเป็นการให้รางวัลแก่การฆาตกรรม และเป็นการผลักให้ชีวิตของคนที่บริสุทธิ์อีกหลายชีวิตตกอยู่ในอันตรายบ


………………………………………………………..
เรียบเรียง โดย : อบูอิบานะฮฺ ฟิตยะตุลฮัก
(จากหนังสือ : ได้ยินไหมโอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ? [หนังสือที่รวบรวม 90 คำเรียกร้องสำหรับผู้ศรัทธา]
อดทน เพื่อชัยชนะ โพสต์





การบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ หะลาล และการขอบคุณ (ซุกูร) ต่ออัลลอฮฺ


อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ดำรัสว่า

ความว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงบริโภคสิ่งที่เราได้ให้เป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเจ้าจากสิ่งดี ๆ ทั้งหลาย และจงขอบคุณอัลลอฮฺเถิด หากเฉพาะพระองค์เท่านั้นที่พวกเจ้าจักเป็นผู้เคารพสักการะ” (สูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 172)

@@@@ เนื้อหาสาระและข้อคิดที่ได้รับจากคำเรียกร้อง @@@@

**** อัลลอฮฺทรงเรียกบรรดาผู้ศรัทธาด้วยคุณลักษณะที่เฉพาะ ซึ่งเป็นลักษณะที่บ่งบอกถึงความผูกพันที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้าอย่างเหนียวแน่น และพระองค์ทรงสั่งใช้ให้พวกเขารับข้อกฎหมายต่าง ๆ จากพระองค์ รับบัญญัติหะลาลและหะรอมจากพระองค์

**** การบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ และหะลาลนั้น เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องเอาใจใส่และปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ส่วนการบริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์ และไม่หะลาลนั้น เป็นสิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยงและละทิ้งมันอย่างเด็ดขาด เพราะหากบุคคลหนึ่งประกาศว่าเขาได้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺจริง เขาก็จะต้องละเว้นจากการบริโภคสิ่งที่อัลลอฮฺทรงห้ามและบริโภคสิ่งที่อัลลอฮฺได้ให้เป็นที่อนุมัติโดยไม่ต้องลังเล

**** คนที่ยังตะขิดตะขวงใจใด ๆ เกี่ยวกับสิ่งที่อัลลอฮฺทรงให้เป็นสิ่งที่อนุมัติก็แสดงว่าเขาผู้นั้นยังไม่ได้เป็นผู้ศรัทธาที่แท้จริง ถึงแม้ว่าเขาจะละหมาดและหันหน้าไปยังกิบลัตก็ตาม และการที่เขาได้ถือปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมและประเพณีเก่า รวมถึงการเชื่อในเรื่องโชคลาง ไสยศาสตร์นั้น เป็นข้อพิสูจน์อันหนึ่งว่าตัวเขายังมีพิษแห่งความโง่เขลาแทรกซึมอยู่

**** อัลลอฮฺทรงให้บรรดาผู้ศรัทธารู้สึกว่าหากเป็นสิ่งที่มีประโยชน์แล้ว พระองค์จะไม่ทรงห้ามพวกเขาบริโภคโดยเด็ดขาด แต่หากพระองค์ทรงห้ามสิ่งใด สิ่งนั้นไม่ใช่สิ่งที่มีประโยชน์อย่างแน่นอน

**** การที่อัลลอฮฺทรงห้ามบริโภคสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ ไม่ได้หมายความว่าพระองค์ต้องการให้เกิดความลำบากหรือความคับแคบใด ๆ ก็ในเมื่อพระองค์ทรงเป็นผู้ที่ประทานปัจจัยยังชีพอยู่แล้ว พระองค์ทรงต้องการให้เกิดความคับแคบด้วยเหตุผลอันใดอีก

**** อาหารที่มีประโยชน์ และหะลาลนั้นเป็นปัจจัยยังชีพที่อัลลออฺทรงประทานให้ ส่วนการแสวงหาของบุคคลหนึ่งนั้นเป็นเพียงสาเหตุที่จะได้รับเท่านั้น

**** จำเป็นที่ทุกคนต้องวอนขอปัจจัยจากอัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียว เพราะปัจจัยยังชีพทั้งหลายล้วนมาจากพระองค์

**** การบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ และหะลาลนั้นเป็นสาเหตุสำคัญที่จะทำให้การวิงวอนขอดุอาอ์และการทำอิบาดะฮฺถูกตอบรับ

****การที่พระองค์ทรงสั่งใช้ให้บริโภคอาหารที่มีประโยชน์ และหะลาลนั้น ถือเป็นความเมตตาของพระองค์ที่ล้นเหลือ เพราะเป็นการรักษาสุขภาพของบ่าวทั้งหลาย

**** การขอบคุณ (ซุกูร) ต่ออัลลอฮฺด้วยการปฏิบัติอะมัลความดีที่มีความบริสุทธิ์ใจ เนื่องด้วยพระองค์ทรงประทานปัจจัยยังชีพให้แก่เรา นั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องปฏิบัติ เพราะถือเป็นความกตัญญูและสำนึกในบุญคุณของบ่าวคนหนึ่งที่มีต่อพระผู้อภิบาลของเขา

**** การขอบคุณ (ซุกูร) ต่ออัลลอฮฺนั้น ถือเป็นการยืนยันสถานะของความเป็นบ่าวที่มีต่อพระองค์


………………………………………………………..
เรียบเรียง โดย : อบูอิบานะฮฺ ฟิตยะตุลฮัก
(จากหนังสือ : ได้ยินไหมโอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ? [หนังสือที่รวบรวม 90 คำเรียกร้องสำหรับผู้ศรัทธา] )
อดทน เพื่อชัยชนะ โพสต์




ความอดทนและการละหมาด คือหนทางสู่ความสำเร็จ



อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ดำรัสว่า

ความว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงขอความช่วยเหลือด้วยความอดทนและการละหมาดเถิด แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงอยู่ร่วมกับผู้อดทนทั้งหลาย” (สูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 153)

@@@@ เนื้อหาสาระและข้อคิดที่ได้รับจากคำเรียกร้อง @@@@

**** ความอดทนและการละหมาด เป็นสิ่งที่จะช่วยให้ผู้ศรัทธามีความมั่นคงและยืนหยัดในหลักการของศาสนา

**** การปฏิบัติหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ศรัทธาที่ได้รับมอบหมายจากอัลลอฮฺนั้น แน่นอนต้องประสบกับอุปสรรคและความยากลำบาก และหนทางของมันนั้นไม่ใช่หนทางที่ปูลาดด้วยกลีบกุหลาบ หากแต่เต็มไปด้วยขวากหนาม พวกเขาจะต้องเผชิญกับความทุกข์ยากลำบากและการทดสอบอันหนักหน่วง และพวกเขาจะต้องพบกับความทุกข์และความสูญเสียที่ไม่อาจบรรยายได้ แต่ถ้าหากพวกเขาผ่านการทดสอบอันหนักหน่วงอันทรหดนี้ไปด้วยความอดทนและยังคงอยู่ในหนทางของอัลลอฮฺ พวกเขาก็จะได้รับความโปรดปรานและรางวัลอันยิ่งใหญ่สุดคณะนับจากพระองค์

**** ทุก ๆ ปัญหาที่เราได้พบเจอมันคือบททดสอบที่อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮู วะตะอาลา ได้วางไว้เพื่อที่จะทดสอบพวกเราว่า ผู้ใดบ้างที่มีผลงานดียิ่งและเป็นผู้ศรัทธาที่เที่ยงแท้ ซึ่งสิ่งที่ดีที่สุดที่จะช่วยในการแบกรับภาระการทดสอบต่าง ๆ จากอัลออฮฺนั้นคือความอดทนและการละหมาด

**** การที่อัลลอฮฺทรงกล่าวถึงความอดทนหลายต่อหลายครั้งในอัลกุรอาน นั่นก็เพราะว่าอัลลอฮฺทรงรู้ดีว่าเรื่องบางเรื่องจะต้องใช้ความพยายามทุ่มเทอย่างมากมายจึงจะสามารถทำสิ่งนั้นให้สำเร็จลุล่วงไปได้ เพราะในระหว่างทางมีตัวแปรและสิ่งชักจูงมากมาย และผู้ที่จะอยู่ในแนวทางที่อัลลอฮฺทรงเรียกร้องได้ ผู้ที่จะยืนต่อสู้กับอุปสรรคและสิ่งที่กีดขวางต่าง ๆ ได้ ผู้ที่จะให้จิตใจยึดมั่น มั่นคงตื่นตัวทั้งภายในและภายนอกตลอดเวลาได้ จำเป็นที่จะต้องมีความมานะอดทนสูงในทุกประการ

**** ความอดทน คือ ความอดทนในการภักดีต่ออัลลอฮฺ มีความอดทนต่อสิ่งที่ชั่วร้ายทั้งหลายทั้งปวง อดทนที่จะต่อสู้กับอุปสรรคด้วยความบริสุทธิ์ใจต่ออัลลอฮฺ อดทนต่อเล่ห์เหลี่ยมของศัตรูรอบด้าน อดทนต่อความล่าช้าของชัยชนะ อดทนต่อความยากลำบาก อดทนเพื่อเอาชนะโมฆะธรรม อดทนต่อชัยชนะที่มีน้อย อดทนต่อหนทางอันยาวไกล อดทนต่อการถูกโดดเดี่ยว และการหลงผิดของจิตใจผู้คน อดทนต่อสิ่งที่กีดขวางที่หนักหน่วง และความเจ็บปวดกว่าจะไปถึงจุดหมายปลายทาง

**** ความอดทนในการภักดีต่อัลลอฮฺนั้น เนื่องมาจากการที่ตัวตนของมนุษย์นั้นไม่อาจยืนหยัดในการปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮฺได้อย่างง่ายดาย หากแต่ต้องมีการพยายามฝึกฝนและบังคับตน ดังนั้นจึงต้องอาศัยความอดทน ส่วนการอดทนต่อการไม่ละเมิดคำสั่งห้ามของอัลลอฮฺ เพราการอดทนต่อความชอบในความสุขต่าง ๆ ของดุนยาและตัณหาอารมณ์ที่ต้องห้ามต่าง ๆ นั้นต้องอาศัยความอดทนเช่นเดียวกัน

**** เหตุผลที่อัลลอฮฺทรงให้เราขอความช่วยเหลือหรืออาศัยด้วยการละหมาดนั้นก็เพราะว่า การละหมาดเป็นการสร้างสัมพัน์ระหว่างบ่าวกับพระผู้อภิบาล เป็นความสัมพันธ์ที่จะทำให้จิตใจได้รับพลังความแข็งแกร่ง ทำให้จิตวิญญาณรู้สึกถึงความสัมพันธ์ที่มีต่อองค์อภิบาล จากความสัมพันธ์นี้เช่นกันที่จิตจะได้รับเสบียงสำหรับการดำรงชีวิตในปรโลก

**** สำหรับมนุษย์ผู้อ่อนแอ จำเป็นอย่างยิ่งที่เขาจะติดต่อกับพลังอันยิ่งใหญ่เพื่อรับความช่วยเหลือ ในขณะที่เขาต้องพบกับกิจการงานที่เกินพละกำลังความสามารถของเขาที่มีอยู่อย่างจำกัด ในขณะที่เขารู้สึกหนักหน่วงกับการยึดมั่นอยู่กับแนวทางที่จะต้องต่อสู้กับอารมณ์ชั่วร้ายและความโลภ

**** การละหมาดเป็นศาสนกิจที่จะช่วยสานสัมพันธ์อันดีและมั่นคงระหว่างบ่าวกับพระผู้อภิบาล เพราะว่าตั้งแต่ตักบีรจนถึงการให้สลาม เราจะเห็นได้ว่ากิริยามารยาทและทุกอิริยาบถที่ถูกแสดงออกมาในช่วงประกอบพิธีละหมาดนั้น คืออิริยาบทของบ่าวผู้อ่อนแอที่กำลังเข้าเฝ้าพระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ คือ อัลลอฮฺ

**** แน่นอนที่สุด สำหรับผู้ที่อดทนและละหมาดนั้น อัลลอฮฺจะทรงอยู่ร่วมกับพวกเขา สนับสนุนพวกเขา ให้ความเข้มแข็งกับพวกเขา ให้พวกเขาสุขุมขึ้น ไม่ปล่อยพวกเขาผ่านทางไปโดยลำพัง ไม่ปล่อยให้พวกเขาหยุดอยู่กับพละกำลังอันจำกัด พละกำลังอันเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่มีอยู่ พระองค์ทรงสนับสนุนและเพิ่มพูนเสบียงให้กับพวกเขา ให้กำลังใจให้พวกเขามีความตั้งใจตลอดการเดินทางแม้จะยาวไกล


………………………………………………………..
เรียบเรียง โดย : อบูอิบานะฮฺ ฟิตยะตุลฮัก
(จากหนังสือ : ได้ยินไหมโอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ? [หนังสือที่รวบรวม 90 คำเรียกร้องสำหรับผู้ศรัทธา] )
อดทน เพื่อชัยชนะ โพสต์



ได้ยินไหม โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ?


“ได้ยินไหม โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ?” เป็นหนังสือที่เรียบเรียงขึ้นมา โดยการรวบรวมอายะฮฺอัลกุรอานที่อัลลอฮฺทรงเรียกบ่าวของพระองค์ด้วยกับสำนวน “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย” ซึ่งมีทั้งหมก 90 อายะฮฺหรือ 90 คำเรียกร้อง ซึ่งในการเรียบเรียงหนังสือในครั้งนี้ได้มีการนำเสนอเนื้อหาสาระและข้อคิดต่าง ๆ ที่ได้รับจากคำเรียกร้องดังกล่าว ที่ผ่านการศึกษา การวิเคราะห์ และพินิจใคร่ครวญจากตำรับตำราต่าง ๆ รวมถึงจากมุมมองของบรรดานักวิชาการทั้งในอดีตและปัจจุบัน...
(ข้อความส่วนหนึ่งจาก “คำนำของผู้เรียบเรียง” หนังสือ : ได้ยินไหม โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ?”)
//////////////////////////////////////////////////////


...... คำเรียกร้องที่ 1 .....

การมีมารยาทต่อท่านรสูลุลลอฮ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และห้ามเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ปฏิเสธศรัทธา 


อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ดำรัสว่า

ความว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงอย่าพูดว่า รออินา แต่จงพูดว่า อุนซุรนา และจงฟัง และสำหรับผู้ปฏิเสธการศรัทธานั้น คือการลงโทษอันแสนเจ็บปวด” (สูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 104)

@@@@ เนื้อหาสาระและข้อคิดที่ได้รับจากคำเรียกร้อง @@@@

**** อัลลอฮฺทรงเรียกบรรดาผู้ศรัทธาด้วยคุณลักษณะเฉพาะที่แตกต่างไปจากผู้อื่น คือคุณลักษณะที่มีความผูกพันกับองค์อภิบาลและศาสนทูตของพวกเขา คุณลักษณะที่ความศรัทธาได้ซึมซับเข้าสู่หัวใจของพวกเขาด้วยการตอบรับองค์อภิบาลและศาสนทูตของพระองค์

****.คำว่า “รอฮินา” เป็นคำที่บรรดาเศาะหาบะฮฺเคยใช้กับท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เพื่อต้องการที่จะให้สนใจฟังในสิ่งหนึ่งสิ่งใด ด้วยคำพูดที่ว่า “รออินา ยารสูลุลลอฮฺ” ซึ่งหมายความว่า “ขอความกรุณาฟังเราสักนิดหนี่ง โอ้ท่านศาสนทุตของอัลลอฮฺ” แต่คำนี้จะมีความหมายอื่นด้วยเช่นกัน เช่น ในภาษาฮิบรูมีคำที่ออกเสียงคล้ายกับคำนี้และมีความหมายว่า “จงฟัง ขอให้เจ้าจงหูหนวก” ยิ่งไปกว่านั้น ในภาษาอาหรับมันยังหมายความอีกด้วยว่า “คนโง่แกมหยิ่ง” นอกจากนี้แล้ว ในภาษาที่ใช้ในการสนทนาของคนสนิทสนมกันยังหมายถึง “ถ้าหากท่านฟังเรา เราก็จะฟังท่าน” แล้วถ้าหากบิดลิ้นให้ออกเสียงผิดเพี้ยนไปนิดหนึ่งเป็น “รออิยะนา” มันก็จะหมายความว่า “เด็กเลี้ยงแกะของเรา” ดังนั้น เพื่อที่จะป้องกันการใช้คำพูดกำกวมที่ฟังดูดีแต่อาจจะมีคนชั่วนำไปใช้ในทางผิด บรรดาผู้ศรัทธาจึงได้ถูกแนะนำให้พูดว่า “อุนซุรนา” ซึ่งแปลว่า “จงฟังเรา” ซึ่งจะมีความหมายที่ตรงกว่าและไม่มีความมายที่เลวแอบแฝงอยู่

**** การใช้วิธีการพลิกแพลงคำพูดหรือใช้ถ้อยคำที่กำกวมหรือไม่ก็บิดเบนมันให้เป็นการดูถูกโดยการออกเสียงให้ผิดไปเล็กน้อยของชาวยิวที่มีต่อท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั้นก็เพื่อเป็นการดูถูกและเหยียดหยาม รวมถึงเพื่อตอบสนองความโกรธแค้นและความอิจฉาริษยาของพวกเขาที่มีท่านและบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย การห้ามที่ถูกนำมากล่าวในสถานการณ์นี้ทำให้เราเข้าใจได้ว่า อัลลอฮฺทรงปกป้องท่านศาสนทูตของพระองค์และทรงปกป้องบรรดาผู้ศรัทธาและเป็นการป้องกันคนที่พระองค์ทรงรักไว้ ให้รอดพ้นจากกลอุบายและเจตนาร้ายของศัตรูเจ้าเล่ห์ทั้งหลายมาตลอด

****ผู้ศรัทธาเมื่อจะพูดหรือกล่าวถึงท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม สมควรที่สุดที่จะต้องมีการเลือกสรรคำพูดที่คู่ควรกับตำแหน่งอันสูงส่งของท่าน

**** เมื่อท่านนบีถูกด่าทอ ใส่ร้าย หรือล้อเลียนเป็นหน้าที่สำหรับผู้ศรัทาทุกคนที่จะต้องยอมเสียสละทั้งชีวิตและทรัพย์สินเพื่อปกป้องเกียรติและศักดิ์ศรีของท่าน

****การเป็นศัตรูระหว่าวชาวยิวกับมุสลิมจะมีตราบจนถึงวันกิยามะฮฺ ฉะนั้นย่อมเป็นภารกิจสำหรับผู้ศรัทาที่จะต้องตระเตรียมตัวเองใมหพร้อมในทุกสถานการณ์ เพื่อนำชัยชนะกลับมาสู่อิสลาม

**** ไม่อนุญาตให้ผู้ศรัทธาเลียนแบบผู้ปฏิเสธศรัทธา ทั้งในด้านคำพูด อิริยาบถหรือการกระทำ การแต่งกาย การเฉลิมฉลอง การปฏิบัติศาสนกิจ หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่ศาสนาไม่บัญญัติให้แก่เราและไม่อนุญาตให้ปฏิบัติ

**** ความแตกต่างระหว่างผู้ศรัทธากับผู้ที่ปฏิเสธศรัทธาไม่ใช่เพียงเชื่อว่าพระเจ้านั้นมีจริงหรือไม่เพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นความแตกต่างในการเชื่อฟังและการตอบสนองในคำสั่งสอนหรือบทบัญญํติของอัลลอฮฺอีกด้วย



………………………………………………………..
เรียบเรียง โดย : อบูอิบานะฮฺ ฟิตยะตุลฮัก
(จากหนังสือ : ได้ยินไหมโอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ? [หนังสือที่รวบรวม 90 คำเรียกร้องสำหรับผู้ศรัทธา] )
อดทน เพื่อชัยชนะ โพสต์





คำแนะนำสำหรับมุสลิมีน?



หากคุณปรารถนาที่จะมี "ภรรยาที่ดี"
ดังนั้นจงแต่งงานกับสตรีที่มีคุณสมบัติ
ของ "การเป็นลูกสาวที่ดี" ของพ่อแม่เธอ
คำแนะนำสำหรับมุสลิมะฮฺ?
หากคุณปรารถนาที่จะมี "สามีที่ดี"
ดังนั้นจงแต่งงานกับบุรุษที่มีคุณสมบัติ
ของ "การเป็นลูกชายที่ดี" ของพ่อแม่เขา
คุณจะรู้ได้อย่างไรหรือ?
ก็ลองพิจารณาดู (สืบดู) ว่าเขา/เธอ
ดูแลและปฏิบัติต่อพ่อแม่ของ เขา/เธอ อย่างไร
เพราะอะไร?
เพราะว่า "ลูกชายที่ดี" มักจะกลายเป็น "สามีที่ดี"
และ "ลูกสาวที่ดี" มักจะเป็น "ภรรยาที่ดี"
หากพวกเขาทราบว่าพวกเขาควร
"เคารพหรือให้เกียรติพ่อและแม่ของพวกเขา" อย่างไร
พวกเขาย่อมปฏิบัติต่อคุณด้วย "ความเคารพหรือการให้เกียรติ" เช่นกัน

..................................
ชัยคฺ อับดุลบารียฺ ยะหฺยา
-แปลบินติ อิสลาม-



เมื่อลูกหลานของอาดัมเสียชีวิตลง



การงานของเขาก็จะยุติลงทันที เว้นแต่ 3 สิ่งนี้ คือ...
1. การเศาะดาเกาะฮฺญารียะฮฺ
2. ความรู้ที่มีประโยชน์ของเขา และ...
3. ลูกที่ดี-เศาะลิหฺ-ที่ขอดุอาอฺ ให้แก่เขา"
(รายงานโดยมุสลิม)
จากหะดีษดังกล่าว หากเราพิจารณาให้ดี
เราจะพบว่า เราสามารถได้ผลบุญจากการงานทั้งสาม
ด้วยการกระทำเพียงอย่างเดียว คือ...
"การอบรมเลี้ยงดูลูกให้เป็นบ่าวที่ดีของอัลลอฮฺ"
เพราะหากเราสอนอัลกุรอาน หรือสั่งสอนความดีงามให้กับลูก
ลูกของเราย่อมนำสิ่งที่เราสอนไปใช้ไปปฏิบัติตลอดชีวิตของเขา
เช่นว่าหากเราสอนอัลฟาติหะฮฺให้แก่เขา
ในทุกๆ การละหมาดของเขา เราย่อมได้รับผลบุญนั้นด้วย
แม้ว่าเราจะเสียชีวิตไปแล้วก็ตาม
อีกทั้งเขาย่อมถ่ายทอดความรู้ที่มีประโยชน์ที่ได้รับจากเรา
ให้กับบุตรหลานของเขาสืบเนื่องต่อไป
และแน่นอนว่า หากว่าเขาเป็นบุตรที่เศาะลิฮฺ
เขาย่อมขอดุอาอฺให้กับเราอยู่สม่ำเสมอ หลังจากที่เราเสียชีวิตลง"
สรุปเรียบเรียงจากการตอบคำถามของ ชัยคฺมุหัมมัด ศอลาฮฺ
-บินติ อิสลาม-
ข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์ ขอพระองค์โปรดประทานความจำเริญ
แก่ลูกหลานของข้าพระองค์ โปรดปกป้องคุ้มครองพวกเขา
โปรดช่วยเหลือพวกเขาในการเชื่อฟังพระองค์และขอพระองค์
ประทานการกตัญญูของพวกเขาแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด


..............................
อับดุลรอมาน หะระตี โพสต์



กลุ่มต่างๆ ที่แตกไปจากแนวทางอิสลามอันถูกต้อง





กลุ่มแรก “อัลก้อดะรียะฮฺ”

           คือกลุ่มแรกที่เกิดขึ้นในปลายยุค “ศ่อฮาบะฮฺ” พวกเขาปฏิเสธการบันทึกและกำหนดของพระผู้เป็นเจ้า โดยเชื่อว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้นและดำเนินไปในโลกนี้ล้วนไม่เกี่ยวข้องกับการบันทึกหรือกำหนดล่วงหน้าใดๆ จากพระองค์ หากแต่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ทั้งสิ้น พวกเขาปฏิเสธหลักศรัทธาพื้นฐานที่สำคัญในศาสนาอิสลาม คือ “อัลก้อดัร” ซึ่งเป็นหลักศรัทธาพื้นฐานประการที่หก

          เหตุนี้พวกเขาจึงถูกขนานนามว่า “อัลก้อดะรียะฮฺ” และยังถูกขนานนามว่าเป็นพวกเมไจ (อัลมะญู๊ซ) แห่งประชาชาตินี้ ที่ถูกขนานนามเช่นนั้นก็เพราะว่า พวกเขาเชื่อว่าแต่ละคนคือผู้สร้างการกระทำของตัวเองโดยปฏิเสธการสร้างและกำหนดของอัลลอฮฺ พวกเขายืนยันว่ามีผู้สร้างอื่นจากพระองค์ ซึ่งไม่แตกต่างจากพวกเมไจหรือเรียกตามภาษาอาหรับว่า “อัลมะญู๊ซ” ในอดีตพวกนี้เชื่อว่ามีพระผู้สร้างสององค์ องค์หนึ่งคือแสงสว่างซึ่งสร้างแต่สิ่งดีๆ และอีกองค์หนึ่งคือความมืดสร้างแต่สิ่งชั่วร้าย

          พวก “อัลก้อดะรียะฮฺ” เลวร้ายกว่า พวก “อัลมะญู๊ซ” เพราะพวก “อัลก้อดะรียะฮฺ” เชื่อว่ามีผู้สร้างมากกว่าสอง โดยพวกเขากล่าวว่ามนุษย์คือผู้สร้างการกระทำของตัวเอง อย่างไรก็ดีพวกเขาก็ถูกขนานนามว่าเป็นพวก “อัลมะญู๊ซ” แห่งประชาชาตินี้ เพราะเชื่อว่าผู้สร้างมีมากกว่าหนึ่ง

          ต่อมาเกิดกลุ่มที่มีแนวคิดตรงข้ามโดยสิ้นเชิงกับกลุ่มอัลก้อดะรียะฮฺขึ้นโดยได้รับการขนานนามต่อมาว่ากลุ่ม “อัลญะบะรียะฮฺ” พวกเขาเชื่อว่ามนุษย์ถูกบังคับโดยทุกกรณีกล่าวคือมนุษย์ไม่มีอิสระใดๆ ในการเลือกเฟ้น พฤติกรรมหรือการกระทำของมนุษย์เป็นไปในลักษณะถูกบังคับให้กระทำทั้งสิ้น พวกเขาพยายามจะยืนยันเรื่องการบันทึกและกำหนดของอัลลอฮฺแต่เป็นการยืนยันที่สุดโต่งและผิดพลาดซึ่งไม่แตกต่างจากพวก “อัลก้อดะรียะฮฺ” ในแง่ของความสุดโต่ง พวกอัลก้อดะรียะฮฺสุดโต่งในแง่ของการยืนยันความมีอิสระของมนุษย์แต่พวกอัลญะบะรียะฮฺสุดโต่งในแง่การยืนยันการบันทึกและกำหนดของอัลลอฮฺ

ต่อมากลุ่ม อัลก้อดะรียะฮฺ แตกออกเป็นอีกหลายกลุ่มซึ่งแต่ละกลุ่มมีแนวความเชื่อในส่วนย่อยที่แตกต่างกันออกไปแต่ก็มีหลักใหญ่ๆ ตรงกัน ดังนั้นจึงยังจัดอยู่ในหลุ่ม อัลก้อดะรียะฮฺอยู่


กลุ่มที่สอง “อัลค่อวาริจญ์”

           คือกลุ่มที่ไม่เชื่อฟังผู้ปกครองและมีความคิดลักษณะขบทซึ่งเกิดขึ้นในปลายยุคของท่านอุษมาน อิบนุ อัฟฟาน ค่อลีฟะฮฺลำดับที่สาม เหตุการณ์วุ่นวายในปลายยุคของท่านเป็นเหตุพาไปสู่การสังหารท่านในที่สุด

           ในยุคของท่านอาลี อิบนุ อะบีฎอลิบ แนวคิดลักษณะ “อัลค่อวาริจญ์” ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น พวกเขาตัดสินเหล่าศ่อฮาบะฮฺที่เห็นด้วยกับพวกเขาว่าสิ้นสภาพการเป็นมุสลิม (มุรตัด) โดยพวกเขาเชื่อและเข้าใจว่าโทษของผู้กระทำผิดในบาปใหญ่ทั้งหลายคือการสิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิม นี้คือความหลงผิดใหญ่หลวงของพวกเขา อันเป็นเหตุให้พวกเขาตัดสินเหล่าศ่อฮาบะฮฺที่ไม่เห็นด้วยกับพวกเขาว่าถึงกับสิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิม

           แนวคิดความเชื่อของพวกเขาคือไม่ดำเนินตามแนวทางของชาวซุนนะฮฺ (ผู้ยึดมั่นในแบบฉบับและคำสอนของนบี ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ) พวกเขาไม่เชื่อฟังผู้นำโดยมีแนวคิดว่าการปฏิวัติคือศาสนาหากเห็นว่าผู้นำอธรรม การก่อขบทคือแนวทางสร้างสังคมให้เที่ยงตรงได้แม้จะจากชนหมู่น้อยก็ตาม โดยเป็นแนวคิดที่ต่างจากคำสั่งเสียของท่านนบี ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม อย่างสิ้นเชิง

“ฉันสั่งเสียพวกพวกท่านให้เชื่อฟังและปฏิบัติตามแม้ผู้นำจะมาจากทาสก็ตาม ผู้ใดที่มีชีวิตยืนยาวเขาจะได้เห็นความชัดแย้งมากมาย”
 
           การเชื่อฟังผู้นำมุสลิมถือเป็นศาสนา แต่พวก “อัลค่อวาริจญ์” กลับกล่าวว่า “เราคืออิสระชน” นี้คือรากเง้าของแนวคิดปฏิวัติทั้งหลายในยุคนี้

           พฤติกรรมของพวก “ค่อวาริจญ์” สร้างความแตกแยก ร้าวฉาน และสับสนขึ้นในหมู่มุสลิม เป็นการฝืนคำสอนของอัลลอฮฺและร่อซู้ลของพระองค์ในเรื่องดังกล่าว พวกเขายังเห็นว่าผู้ประพฤติผิดในบาปใหญ่คือผู้สิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิมอีกด้วย

           บาปใหญ่เช่น การซินา (พฤติผิดในกามวิสัย) การกินเหล้าเมายา การลักขโมย การกินดอกเบี้ย ฯลฯ หากผู้ใดล่วงละเมิดไปกระทำเข้า ผู้นั้นถือสิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิมตามคติความเชื่อของพวก “อัลค่อวาริจญ์” ซึ่งเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้องอย่างร้ายแรง และต่างไปจากความเชื่อของชาวซุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺ (อัลญะมาอะฮฺแปลว่ากลุ่มชนที่รวมตัวกันเป็นปึกแผ่นไม่แตกแยก-ซึ่งหมายถึงมุสลิมีนในยุคต้นๆ) ที่เข้าใจโดยถูกต้องว่าผู้กระทำบาปใหญ่หากมิได้ปฏิเสธหลักการนั้นๆ เขาก็ยังเป็นมุสลิม เพียงแต่เขาเป็นผู้ฝ่าฝืนเท่านั้น และการกระทำบาปแม้จะเป็นบาปใหญ่ก็มิได้ทำให้ผู้นั้นสิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิมแต่อย่างใด แต่พวกอัลค่อวาริจญ์กลับเชื่อว่าผู้กระทำบาปใหญ่สิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิม และเชื่อว่าจะไม่ได้รับการอภัยและต้องตกนรกตลอดกาล ซึ่งตรงกันข้ามกับคำสอนของศาสนา

           สาเหตุสำคัญที่ทำให้พวกเขาคิดและเชื่อเช่นนั้นคือ ความไม่เข้าใจในตัวบทของศาสนาและไม่ยินยอมรับฟังคำอธิบายใดๆ จากปราชญ์ในยุคนั้นๆ (ในยุคเริ่มต้นคือเหล่าสาวกของท่านนบี ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ) พวกเขามักมีความเข้มงวดในการปฏิบัติศาสนกิจ จริงจังกับการเคารพภัคดีต่ออัลลอฮฺ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปฏิบัติบละหมาด ถือศีลอด อ่านอัลกุรอ่าน และ ฯลฯ พวกเขามีความเคร่งครัดมาก แต่ส่วนใหญ่กระทำไปบนพื้นฐานของความไม่เข้าใจมากกว่า ท่านนบี ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวถึงพวกเขาว่า “พวกเขาหลุดออกจากศาสนาดุจลูกธนูที่พุ่งออกจากคันศร”    กล่าวคือหลุดออกไปจากศาสนาทั้งๆ ที่พวกเขาปฏิบัติศาสนกิจอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็นการละหมาด ถือศีลอด อ่านอัลกุรอ่าน และ ฯลฯ

           พวกอัลค่อวาริจญ์สังหารมุสลิมด้วยกันมาตั้งแต่อดีต เช่น ท่านอุษมาน อิบนุอัฟฟาน ท่านอาลี อิบนุ อะบีตอลิบ และท่านซุเบร อิบนุ้ล เอาวาม เป็นต้น พวกเขาเข่นฆ่าสาวกหลายท่านและพวกเขายังไม่วางมือจากการเข่นฆ่ามุสลิมตราบเท่าทุกวันนี้

           ความรักความหวงแหนศาสนาเพียงลำพังมิอาจนำพาคนให้รอดพ้นจากความหลงผิดได้ หากแต่จะเป็นหนทางสู่ความหายนะเสียด้วยซ้ำไป ดังนั้นความรักความหวงแหนศาสนาต้องตั้งอยู่บนความรู้และความเข้าใจอันถูกต้องด้วย จึงจะเป็นพลังสร้างสรรค์ยิ่งใหญ่หาไม่แล้วจะกลายเป็นพลังร้ายแรงทำลายทุกสิ่งโดยพลิบตา

 ในยุคต่อๆ มากลุ่มแนวคิดนี้ได้แตกออกกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยอีกจนนับไม่ถ้วน และถูกส่งผ่านมาถึงยุคเราด้วยเช่นกัน


กลุ่มที่สาม “อัชชีอะฮฺ”

           คือกลุ่มที่สนับสนุนสายตระกูลของท่านนบี ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ซึ่งเรียกว่า “อะฮฺลุ้ลบัยตฺ” เพราะความเหมายเดิมของชีอะฮฺคือการปฏิบัติตามและให้การช่วยเหลือ

         ต่อมากลายเป็นชื่อของคนกลุ่มหนึ่งที่อ้างว่าเจริญรอยตามแนวทางของสายตระกูลของท่านนบี ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ซึ่งก็คือท่านอาลี อิบนุ อบีตอลิบและลูกหลาน พวกเขาอ้างว่าท่านอาลี ร่อฎิยัลลอฮุอัลฮุ (ขออัลลอฮฺทรงพอพระทัยท่าน) คือผู้ได้รับพินัยกรรมให้สืบทอดตำแหน่งผู้นำหลังจากท่านนบี ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ล่วงลับไปแล้ว ดังนั้นท่านอบูบักรฺ อุมัร และอุษมาน ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ้ม (ขออัลลอฮฺทรงพอพระทัยท่านเหล่านั้น) จึ่งเป็นผู้อธรรมเพราะแย่งตำแหน่งผู้นำไปจากท่านอาลี นี้คือความเชื่อของพวกเขา

           ตามจริงแล้วเรื่องราวมิได้เป็นที่พวกเขาเชื่อแต่ประการใดเพราะเหล่าศ่อฮาบะฮฺ(สาวก) ส่วนใหญ่ต่างเหลือกและสนับนุนท่านเหล่านั้นให้เป็นผู้นำสืบต่อกันมาจวบจนเลือกท่านอาลีเป็นผู้นำลำดับที่สี่ ทั้งสามท่านมิได้แย่งชิงตำแหน่งมาแต่อย่างใด

            พวกเขาหลงไหลคลั่งไคล้ในคำว่า “อะฮฺลุ้ลบัยตฺ” จนเป็นเหตุให้ตัดสินศ่อฮาบะฮฺ (สาวก) ส่วนใหญ่ว่าสิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิม เพราะสนับสนุนให้ผู้อื่นขึ้นมาเป็นผู้นำสืบต่อจากท่านนบี ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม บางกลุ่มถึงกับเชื่อว่าผู้นำจากสายสกุลของท่านนบี ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม มีสิทธิ์ออกข้อบัญญัติทางศาสนาได้รวมถึงเป็นผู้ปราศจากความผิดบาปใดๆ และอีกหลายๆ กลุ่มเชื่อว่าอัลกุรอ่านถูกตัดทอน ต่อเติม และบิดเบือนไปจากฉบับจริงโดยน้ำมือของศ่อฮาบะฮฺ (สาวก)

 ทั้งสามกลุ่มที่กล่าวแล้วข้างต้น ในกาลต่อมาก็แตกออกเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยจนนับไม่ถ้วน


กลุ่มที่สี่ “อัลญะฮฺมียะห์” 

            “อัลญะฮฺมียะฮฺ” เป็นกลุ่มอ้างถึงบุคคลๆ หนึ่งชื่อว่า อัลญะฮฺม์ อิบนุ ศ็อฟวาน (الجهم بن صفوان )มีชีวิตระหว่างปีฮ.ศ ๗๘-๑๒๘ ผู้เป็นลูกศิษย์ของ อัลญะอฺ อิบนุ ดิรฮัม ผู้เป็นศิษย์ของ ฎอลู๊ต ผู้เป็นศิษย์ของ ละบี๊ด อิบนุ้ล อะอฺศ็อม ซึ่งเป็นคนยิว


           แนวคิดความเชื่อของกลุ่ม “อัลญะฮฺมียะฮฺ” คืออะไร แนวคิดความเชื่อของพวกเขาคือปฏิเสธพระนามและคุณลักษณะของอัลลอฮฺ พวกเขายืนยันแต่เพียงอาตมันของพระองค์เท่านั้น กล่าวคือยืนยันเพียงว่าพระองค์ทรงมีอยู่แต่จะมีอยู่แต่ปฏิเสธที่เรียกพระนามของพระองค์และปฏิเสธที่จะยืนยันคุณลักษณะต่างๆ ของพระองค์โดยอ้างว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการตั้งภาคีต่อพระองค์ และเป็นการทำให้พระองค์ซึ่งมีอยู่องค์เดียวกล่ายเป็นหลายองค์

           ไม่ทราบเหมือนกันว่าเหตุใดพวกเขาถึงคิดและเชื่อเช่นนั้น เพราะหากจะกล่าวถึงคนๆ หนึ่งที่มีคุณลักษณะหลากหลายก็มิได้สื่อใดๆ ว่าผู้นั้นมีหลายคนแต่ประการใด แล้วเหตุใดจึงต้องเชื่อว่าการยืนยันพระนามและคุณลักษณะต่างๆ แก่อัลลอฮฺจะทำให้เกิดภาคีแก่พระองค์เล่า

           การที่เราทราบว่าอัลลอฮฺมีพระนามและคุณลักษณะมากมายจากตัวบทอัลกุรอ่าน เป็นทำให้เรารู้ลึกซึ้งว่าพระองค์คือใคร และเป็นการบอกถึงความสมบูรณ์ยิ่งของพระองค์อีกทางหนึ่งด้วย ดังนั้นจึงฟังไม่ขึ้นว่าการยืนยันพระนามและคุณลักษณะของอัลลอฮฺจะเป็นการเพิ่มภาคีแก่พระองค์

           สรุปง่ายๆ ว่าพวกกลุ่ม “อัลญะฮฺมียะฮฺ” มีความผิดเพี้ยนในด้านพระนามและคุณลักษณะของอัลลอฮฺ ในเวลาเดียวกันกลุ่มนี้ก็มีความเชื่อในด้านการบันทึกและกำหนดของอัลลอฮฺตรงกับกลุ่ม “อัลญะบะรียะฮฺ” ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยที่ตรงข้ามกลุ่ม “อัลก้อดะรียะฮฺ” ที่กล่าวแล้วข้างต้น พวกเขาปฏิเสธเรื่องสิทธิ์การเลือกกระทำของมนุษย์ กล่าวโดยย่อคือมนุษย์ถูกบังคับให้กระทำไปตามที่ได้มีการกำหนดไว้ล่วงหน้า อุปมาเหมือนขนนกที่ตกอยู่จะเคลื่อนไหวได้ก็ด้วยแรงลมที่พัดมาเท่านั้น

          ต่อมามีกลุ่มเกิดขึ้นใหม่อีกหลายกลุ่มที่มีส่วนเชื่อมโยงกับความเชื่อของกลุ่ม “อัลญะฮฺมียะฮฺ” ซึ่งก็คือกลุ่ม“อัลมั๊วอฺตะซิละฮฺ” กลุ่ม “อัลอัชอะรียะฮฺ” และกลุ่ม “อัลมาตุรีดียะฮฺ”


          กลุ่ม “อัลมั๊วอฺตะซิละฮฺ” ยืนยันเรื่องพระนามของอัลลอฮฺแต่ปฏิเสธคุณลักษณะต่างๆ ของพระองค์ กล่าวคือยืนยันและยอมรับพระนามต่างๆ แต่ปฏิเสธที่จะให้ความหมายใดๆ ในพระนามเหล่านั้นซึ่งก็คือคุณลักษณะต่างๆ ของพระองค์นั่นเอง

           กลุ่มนี้มีความเป็นมาดังนี้  ผู้เป็นผู้นำกลุ่มคือ “วาศิล อิบนุ อะฎออฺ” ผู้เป็นลูกศิษย์ของท่าน ฮะซัน อัลบะศ่อรี่ ผู้เป็นปราชญ์ในยุคของตาบิอีน (ลูกศิษย์ของศ่อฮาบะฮฺ) ตามประวัติกล่าวได้มีผู้ถามท่านฮะซันถึงโทษของผู้กระทำบาปใหญ่ ท่านตอบไปตามแนวทางความเชื่อชาวซุนนะฮฺว่า “เขายังนับว่าเป็นผู้ศรัทธาอยู่ (กล่าวคือยังไม่สิ้นสภาพการเป็นมุสลิมแม้จะประพฤติผิดในบาปใหญ่) แต่การศรัทธาของเขาบกพร่องไม่สมบูรณ์ เขาศรัทธาตามศรัทธาที่เขามีอยู่และเขาเป็นคนไม่ดีตามความผิดใหญ่หลวงที่เขากระทำ” เมื่อวิศิล อิบนุ อะฎออฺ ได้ยินดังนี้ก็รู้สึกไม่พอใจและแยกจากมาพลางกล่าวว่า “ฉันเห็นว่าเขาไม่เป็นทั้งผู้ศรัทธา(มุอฺมิน) และไมเป็นทั้งผู้ปฏิเสธ (กาฟิร) แต่เขาอยู่ในกึ่งกลางระหว่างทั้งสอง (การศรัทธาและการปฏิเสธ)” เมื่อเขาแยกจากมาก็มีผู้คนที่เขลาบางกลุ่มแยกตัวตามเขามาโดยเชื่อว่าคำพูดของวาศิลถูกต้องกว่าคำพูดของท่านฮะซัน ตั้งแต่นั้นมาผู้คนกลุ่มนั้นถูกขนานนามว่า “อัลมั๊วอฺตะซะละฮฺ” หากแปลตามภาษาหมายถึงการแยกตัวหรือปลีกตัวออกมานั่นเอง ต่อมากลุ่มนี้มีความเชื่อที่ผิดๆ เพิ่มขึ้นอีกหลายประการ

           ต่อมาเกิดกลุ่ม “อัลอัชอะรียะฮฺ” ขึ้น หากจะกล่าวแล้วก็คือเป็นการแตกแขนงของกลุ่มอัลมั๊วอฺตะละฮฺนั่นเอง ชื่อกลุ่มนี้ได้จากชื่อสกุลของผู้ก่อตั้งกลุ่มคือฮะซัน อัลอัชอะรีย์ เดิมทีเขามีความเชื่อแบบอัลมั๊วอฺตะซิละฮฺ ต่อมาศึกษาจนทราบถึงความผิดพลาดใหญ่ของกลุ่มดังกล่าวจึงได้ประกาศตัวเพื่อปฏิเสธความเชื่อดังกล่าว แต่ก็ยังสลัดไม่พ้นความผิดในด้านพระนามและคุณลักษณะของอัลลอฮฺ กล่าวคือหลังจากปฏิเสธที่จะเชื่อแบบอัลมั๊วอฺตะซิละฮฺก็หันไปยึดแนวทางของบุคคลผู้หนึ่งชื่อว่า “มุฮัมมัด อิบนุ สอี๊ด อัลกัลล้าบ” ซึ่งเขายืนยันคุณลักษณะของอัลลอฮฺเพียงเจ็ดคุณลักษณะเท่านั้นคือ

๑. ความรู้

๒. ความสามารถ

๓. พระประสงค์

๔. ชีวิต

๕. ได้ยิน

๖. มองเห็น

๗. และตรัส

        โดยให้เหตุผลว่าปัญญาสามารถยอมรับได้เพียงเจ็ดคุณลักษณะเท่านั้น และสิ่งใดที่ปัญญามิอาจรับได้จะยืนยันว่าเป็นคุณลักษณะของอัลลอฮฺมิได้

           ต่อมาอัลลอฮฺทรงประทานทางนำอันถูกต้องแก่ฮะซัน อัลอัชอะรีย์ เขาได้สลัดความเชื่อเดิมๆ และหันมายึดถือความเชื่อที่ถูกต้องตามตัวบทจากอัลกุรอ่านและอัซซุนนะฮฺ ซึ่งผู้นำทางความรู้ที่ถูกต้องในยุคนั้นคือท่านอิหม่ามอะฮฺหมัด อิบนุ ฮัมบัล ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เขาฮะซัน อัลอัชอะรีย์กล่าวในห่วงสุดท้ายของชีวิตคือหลังจากที่กลับตัวกลับใจว่า “ฉันเชื่อตามแนวทางของผู้นำชาวซุนนะฮฺวัลญะมาอะอฺ อะฮฺหมัด อิบนุ ฮัมบัล”

           ดังนั้นบรรดาผู้ที่อ้างว่ายึดถือความเชื่อของเขาในยุคปัจจุบัน แท้ที่จริงแล้วเป็นการถือเอาความเชื่อของ “มุฮัมมัด อิบนุ สอี๊ด อัลกัลล้าบ” ต่างหาก เพราะอะบุลฮะซัน อัลอัชอะรีย์ประกาศกลับตัวกลับใจแล้ว ดังปรากฏในตำราที่เขาเขียนขึ้น เช่น หนังสือ “อัลอิบานะฮฺ ฟี อุศู้ลลิดดิยานะฮฺ” และ “อัลมะกอลาตอัลอิสลามียะฮฺ” เป็นต้น ดังนั้นกลุ่มอัชอะรียะฮฺในยุคปัจจุบันจึงมิใช่ความเชื่อใดๆ ของอะบุ้ลฮะซัน อัลอัชอะรีย์แต่อย่างใด แม้จะเรียกกันอยู่ว่ากลุ่มอัลอัชอะรียะฮฺ

ย่อความมาจากข้อเขียนของ

ดร.ศอและฮ์ อิบนุ เฟาซาน อัลเฟาซาน

สมาชิกสภาอุละมาอฺาวุโสของประเทศซาอุดิอาราเบีย

http://www.alfawzan.ws


           สรุปแล้วรากเง้าของกลุ่มหลงผิดต่างๆ ในปัจจุบันล้วนมีที่มาจากสี่กลุ่มหลักในอดีตทั้งสิ้น  ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มศูฟีเฎาะรีเกาะฮฺ กลุ่มตับลีฆ (หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากลุ่มดะอฺวะฮฺ) กลุ่มอิควานมุสลิมูน กลุ่มญิฮาด กลุ่มตักฟีร กลุ่มปัญญานิยมยุคใหม่ กลุ่มก็อดยานี และฯลฯ

          หากจะตั้งคำถามว่าแล้วกลุ่มใดคือกลุ่มที่ถูกต้องที่สุด คำตอบง่ายๆ คือกลุ่มที่ดำเนินตามคัมภีร์อัลกุรอานและอัซซุนนะฮฺของท่านศาสดามุอัมหมัด ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม บนพื้นฐานการเข้าใจของบรรพชนที่ดี (สะละฟุศศอและฮฺ) ในยุคต้นๆ อิสลาม โดยไม่บิดเบือน เปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือตีความให้เปลี่ยนไปจากที่ปรากฏในตัวบททางศาสนา


......................................
อาจารย์ อิสฮาก   พงษ์มณี ผู้แปลและย่อความ





อะกีดะฮของอิหม่ามอัดดาริมีย์ เกี่ยวกับการอยู่เบื้องสูงของอัลลอฮ




อิหม่ามอัดดาริมีย์ หรือ มีชื่อเต็มว่า อุษมาน บิน สะอีด อัดดาริมีย์ ปราชญ์หะดิษ เจ้าของ สุนันอัดดาริมีย์ มีชีวิต อยู่ใน ระหว่าง ปี ฮ.ศ 200 - 280 กล่าวว่า

فقد أخبر الله العباد أين الله وأين مكانه وأينه رسول الله في غير حديث فقال:" من لم يرحم من في الأرض لم يرحمه من في السماء
แท้จริง อัลลอฮทรงบอกบรรดาบ่าวว่า อัลลอฮยู่ใหน และสถานที่พระองค์อยู่ใหน และ รซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮูอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ระบุว่าพระองค์อยู่ใหน มากกว่าหนึ่งหะดิษ

และท่านนบีได้กล่าวว่า
مَنْ لَمْ يَرْحَمْ مَنْ فِي الأَرْضِ لَمْ يَرْحَمْهُ مَنْ فِي السَّمَاءِ
ผู้ใดไม่เมตตาต่อ ผู้ที่อยู่ บนพื้นดิน ผู้ที่อยู่บนฟ้า ก็จะไม่เมตตาเขา -ดู อัลมะริสีย์อัลญะฮมีย์ เล่ม 1 หน้า 509

อิหม่ามอัดดาริมีย์ ตอบโต้ผู้ปฏิเสธหะดิษญารียะฮ ที่ตอบว่า อัลลอฮอยู่บนฟ้า ดังนี้

อิหม่ามอัดดาริมีย์ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่านกล่าวว่า

فلو لم يوصف بأين كما ادعيت أيها المعارض لم يكن رسول الله يقول للجارية أين الله فيغالطها في شيء لا يؤين وحين قالت هو في السماء لو قد أخطأت فيه لرد رسول الله عليها وعلمها، ولكنه استدل على إيمانها بمعرفتها أن الله في السماء،
แล้วถ้าหากอัลลอฮ ไม่ได้ทรงบอกลักษณะว่า พระองค์อยู่ใหน ดังที่ท่านอ้างโอ้ บรรดาผู้ที่คัดค้าน แน่นอนรซูลลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม คงไม่กล่าวแก่ทาสหญิงคนนั้นว่า “อัลลอฮอยู่ใหนหรอก เพราะจะทำให้นางผิดพลาดในสิ่งที่ไม่ได้อยู่ที่ใหน และในขณะทีนางกล่าวว่า “พระองค์อยู่บนฟ้า “ แน่นอนถ้านาง ผิดพลาดในคำตอบนั้น รซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จะต้องคัดค้านนาง และสอนนาง แต่ในทางกลับกัน ท่านรซูลุลลอฮ กลับแสดงบอกถึงความศรัทธาของนาง ด้วยการรู้จักของนาง ว่า อัลลอฮอยู่บนฟากฟ้า- ดู อัลมะริสีย์อัลญะฮมีย์ เล่ม 1 หน้า 511

>>>>>

อิหม่ามอัดดาริมีย์ ปราชญ์ยุคสะลัฟ ยืนยันหะดิษญารียะฮ ที่ตอบคำถามท่านนบี ศอ็ลฯที่ว่า "อัลลอฮอยู่ใหน? นางตอบว่า "อัลลอฮอยู่บนฟ้า" ซึ่งเป็นหะดิษเศาะเฮียะ แต่อะฮลุลกาลาม ที่ปฏิเสธหะดิษนี้ บอกว่า เป็นหะดิษที่สับสน
นักวิชากาลาม(วิภาษวิทยา) ที่พยายายามปฏิเสธ หลักฐานต่างๆที่ไม่กินกับปัญญาและเหตุผล อิหม่ามชาฟิอีเองต่อต้านวิชานี้มาก เพราะอันตราย

อิหม่ามชาฟีอี ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮ์ กล่าวว่า
حُكْمِي فِي أهْلِ الكلاَمِ أنْ يُضْرَبُوا بِالْجَرِيْدِ وَالنِعَالِ وَيُطَافُ بِهِمْ فِي العَشَائِرِ وَالقَبَائِلِ وَيُقَالُ : هَذَا جَرَاءُ مَنْ تَرَكَ الكِتَابَ وَالسُنَّةَ وَأقْبَلَ عَلَى الكلاَمِ
“คำตัดสินของฉันเกี่ยวกับนักวิพากษ์นิยมนั้นคือ ให้หวดด้วยก้านอินผลัม และรองเท้า แล้วจับแห่รอบวงศาคณาญาติและชนเผ่าต่างๆ โดยให้กล่าวว่า นี่คือรางวัลของผู้ละทิ้งอัลกุรอานและซุนนะห์แล้วไปรับเอาวิชากะลาม” ซิยะรุ้ลอะอ์ลามิลนุบะลาอ์ 10/29

คำพูดอหม่ามชาฟิอีข้องต้น เป็นรายงานที่เศาะเฮียะ ดูที่มา

أخرجه البيهقي في مناقب الشافعي 1/462، والخطيب والغدادي في شرف أصحاب الحديث رقم: 163، وابن عبد البر في الانتقاء في مناقب الأئمة الثلاثة الفقهاء ص 123-124، وأبو نعيم في حلية الأولياء 9/116، والبغوي في شرح السنة 1/218، وابن حجر في توالي التأسيس ص 111، وذكره الذهبي في سير أعلام النبلاء 10/29، وعلي القاري في شرح الفقه الأكبر ص 2-3، والسيوطي في الأمر بالإتباع والنهي عن الابتداع ص 72، وفي صون المنطق والكلام ص 31 و65، وابن مفلح الحنبلي في الآداب الشرعية 1/225،

والله أعلم بالصواب


.....................
อะสัน  หมัดอะดั้ม



คำพูดที่อ้างอิหม่ามอะหมัด เกี่ยวกับการกล่าวการมีรูปร่างของอัลลอฮฺ



คำต่อไปนี้ มีคนนำมาอ้างว่า เป็นคำพูดอิหม่ามอะหมัด (ร.ฮ) เพื่อเป็นเครื่องมือหรืออาวุธโจมตี ผู้ที่ยืนยันคุณลักษณะอัลลอฮ และแปลความหมายตาม ความหมายที่ปรากฏตามตัวบท ว่า เป็นพวก มุญัสสิม หรือ พวกเชื่อว่าอัลลอฮเป็นรูปร่าง คือ

قال الإمام أحمد بن حنبل : "من قال الله جسم لا كالأجسام كفر" (رواه الحافظ بدر الدين الزركشي في كتابه تشنيف المسامع
อิม่ามอะหมัด บินฮัมบัล (ร.ฎ.) กล่าวว่า ผู้ใดกล่าวว่า อัลเลาะฮ์ มีเรือนร่าง ไม่เหมือนเช่นเรือนร่างต่างๆ เขาได้เป็นผู้ปฏิเสธเสียแล้ว
ฮาฟิซบัดรุดดีน อัลซัรกะชีรายงานมันเอาไว้ในหนังสือของเขาชื่อ ตัชนีฟุลมะซาเมี๊ยะอ์

>>>>>>
ชี้แจง
คำพูดข้างต้น นักวิชาการอาชาอิเราะฮ ยุคหลัง เช่น อัซซัรกะชีย์ อ้างว่า เป็นคำพูด อิหม่ามอะหมัด แต่กล่าวอ้าง โดยไม่ระบุสายรายงาน โดยอ้างผู้รายงาน คือ

الإمام أحمد أبو محمد البغدادي
เสียชีวิตปี ฮ.ศ 772 ดู ตัชนีฟุลมะสาเมียะ 4/684

อิหม่ามอัซซัรกะชีย์ มีชื่อ เต็มว่า
أبو عبد الله، بدر الدين، محمد بن بن بهادر بن عبد الله الزركشي المصري
เกิดที่ ไคโร ประเทศ อิยิปต์ มีชีวิตอยู่ ระหว่างปีฮ.ศ 745 -794 

ส่วนอิหม่ามอะหมัด บิน หัมบัล มีชื่อเติมว่า
أبو عبد الله أحمد بن محمد بن حنبل الشيباني الذهلي
เกิดที่ เมือง แบกแดด ประเทศอิรัก มีชีวิตอยู่ระหว่างปี ฮ.ศ 164-241
ทั้งสองท่าน ห่างกัน 553 ปี จึงเป็นข้อ กังขาและสงสัยว่า “ อิหม่ามอัซซัรกะชีย์ ได้รายงานมาจากใครบ้างที่สืบไปถึง อิหม่ามอะหมัด

ในข้อความในตำราของอิหม่ามอัซซัรกะชีย์ ระบุแบบเต็มๆว่า

نقل صاحب الخصال من الحنابلة عن أحمد عن من قال عن الله جسم لا كالأجسام كفر

เจ้าของอัลคิศอ็ล ได้รายงานจาก นักปราชญ์มัซฮับอัลหะนาบะละฮ จาก อะหมัด ว่า “
ว่า ผู้ใดกล่าวว่า อัลเลาะฮ์ มีเรือนร่าง ไม่เหมือนเช่นเรือนร่างต่างๆ เขาได้เป็นผู้ปฏิเสธเสียแล้ว......

อย่างไรก็ตาม ในอัลกุรอ่าน และอัสสุนนะฮ ไม่ได้ระบุไว้เลยว่า อัลลอฮ เป็นรูปร่าง (الجسم หรือ ไม่ใช่รูปร่าง

การเอาคำว่า “ตัจญซีม” หรือ การพรรณนาว่าอัลลอฮมีรูปร่างนั้น ไม่ปรากฏในสมัยนบี ศอ็ลฯ และเหล่าสาวกวก ในการหุกุมเกี่ยวกับเรื่องนี้

คำว่า “ตัจญซีม” เป็นคำที่อะชาอิเราอุตริขึ้นมาที่หลัง

ดังที่ท่านอิบนุตัยมียะฮ (ร.ฮ) กล่าวว่า

ثُمَّ لَفْظُ " التَّجْسِيمِ " لَا يُوجَدُ فِي كَلَامِ أَحَدٍ مِنْ السَّلَفِ لَا نَفْيًا وَلَا إثْبَاتًا فَكَيْفَ يَحِلُّ أَنْ يُقَالَ : مَذْهَبُ السَّلَفِ نَفْيُ التَّجْسِيمِ أَوْ إثْبَاتُهُ بِلَا ذِكْرٍ لِذَلِكَ اللَّفْظِ وَلَا لِمَعْنَاهُ عَنْهُمْ

ต่อมา คำว่า “อัตตัจญซีม” (การมีรูปร่าง) ไม่พบในคำพูดของคนหนึ่งคนใดจากชาวสะลาฟ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิเสธ หรือ การรับรอง ดังนั้น
จะอนุญาตให้พูดว่า “มัซฮับสะลัฟ ปฏิเสธการมีรูปร่าง หรือ รับรองมัน ได้อย่างไร โดยที่ไม่การกล่าวถึงถ้อยคำดังกล่าวและไม่ได้กล่าวถึงความหมายของมัน จากพวกเขา – ดู มัจญมัวะ ฟะตาวา อิบนุตัยมียะฮ เล่ม 4 หน้า 152 เรื่อง อะกีดะฮ

........
กล่าวคือ คำว่า “ตัจญซีม” ไม่เคยปรากฏว่าปราชญ์ชาวสะลัฟ กล่าวถึงคำนี้ ไม่ว่า ในเชิงปฏิเสธ หรือ ในเชิง การรับรองให้แก่อัลลอฮ จึงไม่ควรนำมาตัดสิน คนที่ยืนยัน สิฟาตอัลลอฮ ตามตัวบท

อิบนุอับดิลบัร (ร.ฮ) กล่าวว่า

مُحالٌ أن يكون مَن قال عن اللهِ ما هو في كتابه منصوصٌ مُشبهًا إذا لم يُكيّف شيئا، وأقرّ أنه ليس كمثله شيء

เป็นไปไม่ได้ ว่า ผู้ที่กล่าวจากอัลลอฮ สิ่ง ที่มันอยู่ในคัมภีร์ของพระองค์ ที่มีตัวบทชัดเจน ว่าเป็นการตัชบีฮ (การเปรียบอัลลอฮว่าเหมือนกับมัคลูค) และเขายืนยันด้วยมันว่า ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์ –
لاستذكار لابن عبد البر (ج8 ص150) تحقيق الدكتور عبد المعطي أمين قلعجي / الناشر: دار قتيبة ودار الوعي؛ الطبعة الأولى 1414 هـ - 1993م

والله اعلم بالصواب


.........................
อะสัน  หมัดอะดั้ม






การไม่แปล เพราะอ้างว่า ไม่รู้ความหมาย นอกจากอัลลอฮ


ไม่แปล เพราะอ้างว่า ไม่รู้ความหมาย นอกจากอัลลอฮ คนประเภทนี้ อิบนุกัยยิม บอกว่า "เป็นพวกอัศหาบุตตัจญฮีล อิบนุกอ็ยยิม (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวถึง أصحاب التجهيل (อัศหาบุตตัจญฮีล)ว่า


والصنف الثالث: أصحاب التجهيل: الذين قالوا: نصوص الصفات ألفاظ لا تعقل معانيها، ولا ندري ما أراد الله ورسوله منها. ولكن نقرأها ألفاظاً لا معاني لها، ونعلم أن لها تأويلاً لا يعلمه إلا الله. وهي عندنا بمنزلة كهيعص

และมนุษย์ประเภทที่สาม คือ อัศหาบุตตัจญฮีล คือ บรรดาผู้ที่กล่าวว่า
 “ ตัวบทของสิฟัตนั้น เป็น คำต่างๆ เราไม่เข้าใจบรรดาความหมายของมัน และเราไม่รู้ สิ่งที่อัลลอฮและรอซูลของพระองค์ มีจุดประสงค์จากมัน แต่เราอ่านมัน เป็นคำต่างๆ โดยไม่มีความหมายของมัน และเรารู้ว่า การอธิบายของมันไม่มีใครรู้ นอกจากอัลลอฮ และในทัศนะของพวกเรา มัน อยู่ในฐานะ เหมือนกับ กาฟ ,ฮา,ยา,อัยน์ ศอด -
-อัศเศาวาอิก อัลมุรสะละฮ เล่ม 2 หน้า 422



อิสตะวา แปลว่า อิสเตาลา (การครอบครอง)เป็นทัศนะของใครกันแน่ ?



อิบนุกะษีร (ร.ฮ) กล่าวว่า

وَالْجَهْمِيَّةُ تَسْتَدِلُّ عَلَى الِاسْتِوَاءِ عَلَى الْعَرْشِ بِأَنَّهُ الِاسْتِيلَاءُ بِبَيْتِ الْأَخْطَلِ، فِيمَا مَدَحَ بِهِ بِشْرَ بْنَ مَرْوَانَ،
وَهُوَ قَوْلُهُ: قَدِ اسْتَوَى بِشْرٌ عَلَى الْعِرَاقِ ... مِنْ غَيْرِ سَيْفٍ وَدَمٍ مُهْرَاقِ
وَلَيْسَ فِيهِ دَلِيلٌ ; فَإِنَّ هَذَا اسْتِدْلَالٌ بَاطِلٌ مِنْ وُجُوهٍ كَثِيرَةٍ، وَقَدْ كَانَ الْأَخْطَلُ نَصْرَانِيًّا

“ญะฮฺมียะฮฺชอบอ้างหลักฐาน ว่า อิสติวาอฺ บน อะรัช หมายถึง อัลอิสติลาอฺ (แปลว่าการครอบครอง) ด้วยบทลำนำ(บทกลอน)ของอัคฏ็อล ในสิ่งที่ชมชมเชย บะชีร บิน มัรวาน โดยเขากล่าวว่า

قَدِ اسْتَوَى بِشْرٌ عَلَى الْعِرَاقِ * مِنْ غَيْرِ سيف ودم مهراق
บิชรฺ ได้ครอบครองอิรัก โดยไม่ใช้ดาบและ ไม่นองเลือด

. ในคำกลอนดังกล่าวไม่มีหลักฐานใดเลย เพราะการยกอ้างกลอนดังกล่าวเป็นหลักฐานนั้นเป็นโมฆะในหลายๆด้าน ส่วนอัคฏอลเองก็เป็นชาวนะศอรีย์ - อัลบิดายะฮวัลนิฮายะฮ 9/10 ( البداية والنهاية (9\10)ط: احياء التراث )

สรุปคือ ทัศนะที่ว่า อิสตะวา แปลว่า อิสเตาลา(การครอบครอง) เป็นทัศนะของญะฮฺมียะฮฺ

และอิบนุกะษีร (ร.ฮ) กล่าวไว้อีกว่า
บิชรฺ บิน มัรวาน ได้กล่าวถึง บทลำนำ ของ อบูมาลิก ฆอ็ยยาษ บิน เฆาษ์ ชาวอาหรับคริสเตียน ที่ว่า
قَدِ اسْتَوَى بِشْرٌ عَلَى الْعِرَاقِ * مِنْ غَيْرِ سيف ودم مهراق
บิชรฺ ได้ครอบครองอิรัก โดยไม่ใช้ดาบและ ไม่นองเลือด

อิหม่ามอิบนุกะษีร กล่าวว่า

وهذا البيت تستدل به الجهمية على أن الاستواء على العرش بمعنى الاستيلاء، وهذا من تحريف الكَلِم عن مواضعه، وليس في بيت هذا النصراني حجة ولا دليل على ذلك، ولا أراد الله عز وجل باستوائه على عرشه استيلاءه عليه، تعالى الله عن قول الجهمية علواً كبيراً.
นี่คือ บทกวี ที่พวกยะฮมียะฮอ้างเป็นหลักฐาน ว่า “อิสติวาอฺ อะลัลอัรชิ มีความหมายว่า “ครอบครอง และนี้คือ ส่วนหนึ่งจากการบิดเบือนคำพูดจากที่ของมัน และในบทกวี ของชาวคริสเตียนคนนี้ ไม่ใช่เหตุผลและไม่ใช่หลักฐานแสดงบอกดังกล่าว และ การสถิตของพระองค์ เหนืออะรัช อัลลอฮ ผู้ทรงสูงส่ง ทรงเลิศยิง ไม่ได้หมายถึง การครอบครองของพระองค์เหนือมัน ,อัลลอฮทรงอยู่เหนือจากคำพูดของพวกญะมียะฮ เป็นการอยู่เหนืออันยิ่งใหญ่ – ดู อัลบิดายะฮวัลนิฮายะฮ เล่ม 9 หน้า 290 ..

สรุปว่า การตีความอายะฮที่ว่า

الرَّحْمَن عَلَى الْعَرْش اسْتَوَى
พระเจ้าผู้ทรงเมตตา ทรงสถิต เหนือบัลลังค์

ว่า "หมายถึง อิสติลาอฺ หรือ อิสเตาลาอฺ ( การครอบครอง) นั้น เป็นอะกีดะฮของพวกญะฮมียะฮ ไม่ใช่ อะกีดะฮสะลัฟผู้ทรงธรรม

والله أعلم بالصواب

...........................
อะสัน  หมัดอะดั้ม




หะดิษเศาะเฮียะที่เป็นหลักฐานการอยู่เบื้องสูงของอัลลอฮ



حَدَّثَنَا أَحْمَدُ، حَدَّثَنَا مُحَمَّدُ بْنُ أَبِي بَكْرٍ الْمُقَدَّمِيُّ، حَدَّثَنَا حَمَّادُ بْنُ زَيْدٍ، عَنْ ثَابِتٍ، عَنْ أَنَسٍ، قَالَ جَاءَ زَيْدُ بْنُ حَارِثَةَ يَشْكُو فَجَعَلَ النَّبِيُّ صلى الله عليه وسلم يَقُولُ " اتَّقِ اللَّهَ، وَأَمْسِكْ عَلَيْكَ زَوْجَكَ ". قَالَتْ عَائِشَةُ لَوْ كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم كَاتِمًا شَيْئًا لَكَتَمَ هَذِهِ. قَالَ فَكَانَتْ زَيْنَبُ تَفْخَرُ عَلَى أَزْوَاجِ النَّبِيِّ صلى الله عليه وسلم تَقُولُ زَوَّجَكُنَّ أَهَالِيكُنَّ، وَزَوَّجَنِي اللَّهُ تَعَالَى مِنْ فَوْقِ سَبْعِ سَمَوَاتٍ. وَعَنْ ثَابِتٍ {وَتُخْفِي فِي نَفْسِكَ مَا اللَّهُ مُبْدِيهِ وَتَخْشَى النَّاسَ} نَزَلَتْ فِي شَأْنِ زَيْنَبَ وَزَيْدِ بْنِ حَارِثَةَ.

อะหมัด ได้เล่าเรา ว่า มุหัมหมัด บิน อบีบักร อัลมุกอ็ดดิมีย์ ว่า หัมมาด บิน เซด ได้เล่าเราว่ารายงานจาก ษาบิด จากอะนัส เขากล่าวว่า “ เซด บิน หาริษะฮ ได้มาร้องทุกข์(เกี่ยวกับภรรยาของเขา) ทำให้นบี ศอ็ลฯ กล่าวแก่เขาว่า “ท่านจงยำเกรงต่ออัลลอฮ และจงดูแลรักษาภริยาของเจ้าไว้ให้อยู่กับเจ้าเถิด “ ,นางอาอีฉะฮ (ร.ฎ) กล่าวว่า หากปรากฏว่ารซูลุลลอฮ ศอ็ลฯ ปิดบังสิ่งใด เขาก็ปิดบังสิ่งนี้ เขา(ท่านนบี)กล่าวว่า “ซัยหนับ ได้แสดงความภาคภูมิใจอวด บรรดาภรรยาของนบี ศอ็ลฯ กล่าวว่า “โดยนางกล่าวว่า “ ครอบครัวของพวกเธอจัดการแต่งงานให้พวกเธอ (กับท่านนบี) โดยที่ อัลลอฮ ตะอาลา จัดการแต่งงานฉัน(กับนบี) จากเบื้องบน เจ็ดชั้นฟ้า และรายงานจากษาบีต ว่า (และเจ้าได้ซ่อนไว้ในจิตใจของเจ้าเรื่องที่อัลลอฮฺจะทรงเปิดเผยมัน) ว่า มัน(อายะฮนี้ )ถูก ประทานลงมาเกี่ยวกับ ซัยหนับและเซด บิน หาริษะฮ - รายงานโดยบุคอรี

>>>>
หะดิษข้างต้น ประโยคที่ว่า

وَزَوَّجَنِي اللَّهُ تَعَالَى مِنْ فَوْقِ سَبْعِ سَمَوَاتٍ.

โดยที่ อัลลอฮ ตะอาลา จัดการแต่งงานฉัน(กับนบี) จากเบื้องบน เจ็ดชั้นฟ้า
แสดงให้เห็นชัดเจนแก่ผู้มีสติปัญญาปกติว่า “อัลลอฮทรงอยู่เบื้องสูง เหนือบรรดาชั้นฟ้า
เรื่องนี้ อัลลอฮ์ ตะอาลา ทรงตรัส เกี่ยวกับ ไซหนับ บุตรีของ ญะฮ์ช ร่อฏิยัลลอฮุอันฮาว่า

فَلَمَّا قَضَى زَيْدٌ مِنْهَا وَطَرًا زَوَّجْنَاكَهَا لِكَيْ لا يَكونَ عَلَى الْمُؤْمِنِينَ حَرَجٌ فِي أَزْوَاجِ أَدْعِيَائِهِمْ إِذَا قَضَوْا مِنْهُنَّ وَطَرًا وَكَانَ أَمْرُ اللَّهِ مَفْعُولاً.
"ครั้นเมื่อเซดได้หย่ากับนางแล้ว เราได้ให้เจ้าแต่งงานกับนางเพื่อที่จะไม่เป็นที่ลำบากใจแก่บรรดาผู้ศรัทธาชาย ในเรื่องการ (สมรสกับ) ภริยาของบุตรบุญธรรมของพวกเขา เมื่อพวกเขาหย่ากับพวกนางแล้ว และพระบัญชาของอัลลอฮฺนั้น จะต้องบรรลุผลเสมอ"- อัลอะหซาบ/37

......................................................

หะดิษรายงานโดยอิหม่ามมุสลิม /หมวดที่1/บทที่76/ฮะดีษเลขที่ 0309

ได้กล่าวถึงเหตุกรณ์ในคืนเมียะรอจญ ที่ท่านนบี ศอ็ลฯ ขึ้นไปรับบัญชาการละหมาดห้าเวลา ว่า
فَأَوْحَى اللَّهُ إِلَىَّ مَا أَوْحَى فَفَرَضَ عَلَىَّ خَمْسِينَ صَلاَةً فِي كُلِّ يَوْمٍ وَلَيْلَةٍ فَنَزَلْتُ إِلَى مُوسَى صلى الله عليه وسلم فَقَالَ مَا فَرَضَ رَبُّكَ عَلَى أُمَّتِكَ قُلْتُ خَمْسِينَ صَلاَةً . قَالَ ارْجِعْ إِلَى رَبِّكَ فَاسْأَلْهُ التَّخْفِيفَ فَإِنَّ أُمَّتَكَ لاَ يُطِيقُونَ ذَلِكَ فَإِنِّي قَدْ بَلَوْتُ بَنِي إِسْرَائِيلَ وَخَبَرْتُهُمْ . قَالَ فَرَجَعْتُ إِلَى رَبِّي فَقُلْتُ يَا رَبِّ خَفِّفْ عَلَى أُمَّتِي . فَحَطَّ عَنِّي خَمْسًا فَرَجَعْتُ إِلَى مُوسَى فَقُلْتُ حَطَّ عَنِّي خَمْسًا . قَالَ إِنَّ أُمَّتَكَ لاَ يُطِيقُونَ ذَلِكَ فَارْجِعْ إِلَى رَبِّكَ فَاسْأَلْهُ التَّخْفِيفَ . - قَالَ - فَلَمْ أَزَلْ أَرْجِعُ بَيْنَ رَبِّي تَبَارَكَ وَتَعَالَى وَبَيْنَ مُوسَى - عَلَيْهِ السَّلاَمُ - حَتَّى قَالَ يَا مُحَمَّدُ إِنَّهُنَّ خَمْسُ صَلَوَاتٍ كُلَّ يَوْمٍ وَلَيْلَةٍ لِكُلِّ صَلاَةٍ عَشْرٌ فَذَلِكَ خَمْسُونَ صَلاَةً . وَمَنْ هَمَّ بِحَسَنَةٍ فَلَمْ يَعْمَلْهَا كُتِبَتْ لَهُ حَسَنَةً فَإِنْ عَمِلَهَا كُتِبَتْ لَهُ عَشْرًا وَمَنْ هَمَّ بِسَيِّئَةٍ فَلَمْ يَعْمَلْهَا لَمْ تُكْتَبْ شَيْئًا فَإِنْ عَمِلَهَا كُتِبَتْ سَيِّئَةً وَاحِدَةً - قَالَ - فَنَزَلْتُ حَتَّى انْتَهَيْتُ إِلَى مُوسَى صلى الله عليه وسلم فَأَخْبَرْتُهُ فَقَالَ ارْجِعْ إِلَى رَبِّكَ فَاسْأَلْهُ التَّخْفِيفَ . فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم فَقُلْتُ قَدْ رَجَعْتُ إِلَى رَبِّي حَتَّى اسْتَحْيَيْتُ مِنْهُ "

แล้วพระองค์อัลลอฮ์ได้ทรงวะฮีย์ให้แก่ฉันว่า พระองค์ทรงกำหนดการละหมาดในวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ห้าสิบเวลา หลังจากนั้นฉันก็ลงมาที่มูซา ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ท่านกล่าวว่า องค์อภิบาลของเจ้าบัญญัติเรื่องใดให้แก่ประชาชาติของเจ้า ฉันตอบว่า พระองค์บัญญัติการละหมาดห้าสิบเวลา ท่านกล่าวว่า เจ้าจงกลับไปยังองค์อภิบาลของเจ้าเถิด และขอลดหย่อนต่อพระองค์ เพราะประชาชาติของเจ้าย่อมไม่สามารถปฏิบัติได้ครบถ้วน และฉันเองก็เคยทดสอบและฝึกฝนชาวบะนีอิสรออีลมาแล้ว (และพบว่าพวกเขาอ่อนแอมากเกินกว่าที่จะรับภาระหนักเช่นนั้นได้) ท่านนบีกล่าวว่า ฉันจึงได้กลับไปยังองค์อภิบาลของฉัน โดยร้องขอว่า โอ้องค์อภิบาลของฉันได้โปรดลดหย่อนแก่ประชาชาติของฉันด้วยเถิด ดังนั้นพระองค์จึงทรงลดหย่อนให้แก่ฉันเหลือเพียงห้าเวลา หลังจากนั้นฉันก็กลับมาที่นบีมูซา แล้วกล่าวกับท่านว่า พระองค์ทรงลดหย่อนให้แก่ฉันเหลือเพียงห้าเวลา ท่านกล่าวว่า ประชาชาติของเจ้าจะไม่สามารถรับภาระนี้ จงกลับไปยังองค์อภิบาลของเจ้าอีกครั้งเถิด แล้วขอลดหย่อนต่อพระองค์อีก ดังนั้นฉันจึงเทียวไปเทียวมาระหว่างองค์อภิบาลของฉันผู้ทรงจำเริญและสูงส่ง กับนบีมูซา อลัยฮิสสลาม จนกระทั่งพระองค์ทรงตรัสว่า โอ้มูฮัมหมัดเอ๋ย การละหมาดห้าเวลาในวันหนึ่งกับคืนหนึ่งนั้น แต่ละเวลาละหมาดเทียบเท่ากับสิบ ดังนั้น (การละหมาดห้าเวลา) จึงเท่ากับการละหมาดห้าสิบเวลา และผู้ใดตั้งใจกระทำความดีโดยที่ยังไม่ได้ลงมือปฏิบัติ ก็จะถูกบันทึกให้กับเขาหนึ่งความดี แต่หากเขาได้กระทำความดีนั้น ก็จะถูกบันทึกให้กับเขาสิบเท่าตัว และผู้ใดตั้งใจกระทำความชั่ว แต่ยังไม่ได้ลงมือทำ ความชั่วนั้นก็จะยังไม่ถูกบันทึก แต่หากเขาลงมือกระทำมัน ก็จะถูกบันทึกเพียงความชั่วเดียว
แล้วฉันก็กลับลงมาจนกระทั่งมาถึงท่านนบีมูซา ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม และแจ้งข่าวให้ท่านทราบ แต่ท่านก็ยังกล่าวอีกว่า จงกลับไปยังองค์อภิบาลของเจ้า และขอลดหย่อนต่อพระองค์อีก ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า ฉันตอบกับท่านนบีมูซาว่า ฉันกลับไปหาองค์อภิบาลของฉัน (หลายครั้งเพื่อขอลดหย่อน) จนกระทั่งฉันละอายต่อพระองค์
มุสลิม/หมวดที่1/บทที่76/ฮะดีษเลขที่ 0309

มาดูหลักฐานที่ชี้ให้เห็นการอยู่เบื้องสูงของอัลลอฮ จากข้อความตอนหนึ่งในหะดิษข้างต้นว่า

فَنَزَلْتُ حَتَّى انْتَهَيْتُ إِلَى مُوسَى صلى الله عليه وسلم فَأَخْبَرْتُهُ فَقَالَ ارْجِعْ إِلَى رَبِّكَ فَاسْأَلْهُ التَّخْفِيفَ
แล้วฉันก็กลับลงมาจนกระทั่งมาถึงท่านนบีมูซา ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม และแจ้งข่าวให้ท่านทราบ แต่ท่านก็ยังกล่าวอีกว่า ท่านจงกลับไปยังองค์อภิบาลของเจ้า และขอลดหย่อนต่อพระองค์อีก

>>>>>>>>

คือ เมื่อท่านนบี ศอ็ลฯ ลงมา ถึงชั้นฟ้าที่ นบีมูซา (ศอลฯ)อยู่ นบีมูซา ก็สั่งให้นบีมุหัมหมัด ศอ็ลฯ กลับขึ้นไปยังอัลลอฮ แสดงว่า นบี ทั้งสองท่านรู้ว่า อัลลอฮ อยู่ใหน เมื่อให้กลับขึ้นไป ก็แสดงถึงการอยู่เบื้องสูงของอัลลอฮ ส่วนจะเป็นอย่างไรนั้น ไม่มีใครรู้นอกจากอัลลอฮ


والله أعلم بالصواب


...............................
อะสัน  หมัดอะดั้ม





วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ขอให้ทุกๆคน มีครอบครัวที่ดีงาม



.. ดุอาจากอัลกุรอาน ขอให้เรามีครอบครัวที่มีความสุขและดีงาม

"رَبَّنَا هَبْ لَنَا مِنْ أَزْوَاجِنَا وَذُرِّيَّاتِنَا قُرَّةَ أَعْيُنٍ وَاجْعَلْنَا لِلْمُتَّقِينَ إِمَامًا"
คำอ่าน
(ร๊อบบ้านา ฮับล่านา มินอัซวาญี่นา ว่าซุ้รรี่ยาตี้นา กุ๊รร่อต้า อะยู่นิว วัจญฺอั้ลนา ลิ้ลมุตต้ากีน่า อี้มามา)
ความหมาย
(โอ้พระเจ้าของพวกเรา โปรดประทานความสุขใจแก่พวกเรา อันเกิดจากคู่ครองและลูกหลานของพวกเรา และโปรดบันดาลพวกเราเป็นผู้นำแก่มวลผู้มีความยำเกรง)
ซูเราะฮฺอัลฟุรกอน อายะฮฺที่ 74

... อามีน อามีน อามีน ...


การลดการทำบาป



ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า
.
“หากคนคนหนึ่งกระทำบาปมากมายและไม่มีสิ่งอื่นใดที่จะมา
ลบล้างบาปเหล่านั้นได้ เช่นนั้นอัลลอฮฺก็จะทรงทดสอบเขา
ด้วยความโศกเศร้าเสียใจบางอย่างที่จะเป็นการช่วยลบล้างบาป
ทั้งหลายของเขา” (อะหมัด เศาะหีฮฺ)
.
.
ดังนั้น ปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้นในชีวิตนี้ของเรานั้นก็เป็นเพราะ
บาปมากมายที่เราได้ทำไว้ ข้อเท็จจริงนี้อาจจะดูค่อนข้างแรง
เกินกว่าที่เราจะยอมรับได้ในตอนต้น แต่เราก็ควรที่จะลองพิจารณา
ใคร่ครวญถึงช่วงชีวิตที่ผ่านมาของเราอย่างลึกซึ้งและดูสิว่าบางสิ่ง
บางเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตของเรานั้นสอดคล้องกับข้อเท็จจริง
นี้หรือไม่
.
ตอนนี้เรารู้แล้วว่าอะไรคือต้นเหตุของปัญหาทั้งหลายในชีวิตของเรา
แล้วอะไรคือทางออกหละ .. ทางออกสำหรับปัญหาทั้งหลายนั้น
ทำได้โดยง่าย หากทว่ามุสลิมหลายคนไม่ทราบ
.
ทางออกของปัญหาทั้งหลายในชีวิตที่ว่านั้นมีอยู่สองประการ คือ
.
หนึ่ง:: วิงวอนขอการอภัยโทษจากอัลลอฮฺต่อบาปทั้งหลายที่คุณ
ได้กระทำอย่างจริงใจและปฏิญาณตนว่าจะปรับปรุงหนทางการใช้ชีวิต
ของคุณใหม่ เช่นการไม่กลับไปทำบาปทั้งหลายเหล่านั้นอีกอย่าง
สุดความสามารถ
.
สอง:: เพิ่มพูนเวลาและคุณภาพของการทำอิบาดะฮฺให้มากขึ้น
เมื่อมุสลิมถูกทดสอบโดยอัลลอฮฺ ขอให้จงอดทนและรอคอย
โดยให้ “สวนสวรรค์” นั้นเป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นให้เราพร้อมฝ่าฟัน
ต่อสู้กับความยากลำบากในชีวิตโดยไม่ละทิ้งความศรัทธาของเรา
และรำลึกไว้ว่า
.
“ทางออกสำหรับทุกๆ ปัญหาในชีวิตนี้” คือการลดการทำบาปของคุณ สำนึกผิดกลับเนื้อกลับตัว และเพิ่มพูนการทำความดีให้มากขึ้น และเมื่อคุณต้องการกำลังใจให้กับตัวเอง ก็ให้ทำการซิเกรฺ (รำลึกถึงอัลลอฮฺ) อ่านอัลกุรอาน และอ่านคำอธิบายของอายะฮฺในอัลกุรอานเพื่อเป็นการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ให้ตัวคุณในช่วงเวลาแห่งความยากลำบากในชีวิต
.
.
แหล่งที่มา: Real Life Lessons from the Noble Quran
ผู้เขียน: Muhammad Bilal Lakhani
แปลเรียบเรียง: บินติ อัลอิสลาม

การดื่มนมของสามีจากเต้าของภรรยา

ชัยค์  อบูฮามิด  ได้กล่าวไว้ในการตะอฺลีกของท่านท้ายบท  อัสสะลัมว่า  ชาวมุสลิมเห็นพ้องเป็นมติว่าน้ำนมของคนเป็นสิ่งที่สะอาด  (กิตาบอัลมัจญ์มูอฺ  ชัรฮุ้ลมุฮัซซับ  ;  อันนะวาวีย์  เล่มที่  2  หน้า  587)  เมื่อเป็นสิ่งที่สะอาดก็สามารถดื่มได้?


ทั้งนี้มีรายงานมาว่า มีชายคนหนึ่งมาหาท่านอบูมูซา  อัลอัชอะรีย์  (ร.ฎ.)  และบอกว่าตนได้ดูดนมจากเต้าภรรยาของตนและกลืนลงท้องไป  ท่านอบูมูซา  (ร.ฎ.)  ก็ตอบว่า  ภรรยาของเขาเป็นที่ต้องห้ามสำหรับเขาแล้ว  แต่ท่านอับดุลลอฮฺ  อิบนุ  มัสอู๊ด  (ร.ฎ.)  ได้ค้านคำฟัตวาของท่านอบูมูซา  (ร.ฎ.)  และบอกว่าการดื่มนมจากภรรยาของชายผู้นั้นไม่มีผลแต่อย่างใด  กล่าวคือ  ไม่มีผลในการทำให้ภรรยาของเขาเป็นที่ต้องห้ามเนื่องจากการดูดนมจากเต้าของภรรยาเพราะชายผู้นั้นมีอายุเลยกำหนด  2  ปีบริบูรณ์  (กิตาบ  อัลมัจญ์มูอฺ  ชัรฮุ้ลมุฮัซซับ  ,อัลมุฏีอีย์  เล่มที่  20  หน้า  85)


สังเกตจากรายงานนี้ว่า  ซอฮาบะฮฺทั้ง  2  ท่านไม่ได้พูดถึงข้อชี้ขาดของการดื่มนมจากภรรยาว่าเป็นที่ต้องห้ามหรือไม่?  แต่พูดถึงกรณีว่า  ถ้าสามีดื่มนมจากเต้าของภรรยาแล้วจะมีผลทำให้ภรรยาเป็นที่ต้องห้ามเนื่องจากการดื่มนมหรือไม่?  อย่างไรก็ตามนักวิชาการมีความเห็นต่างกันว่า  น้ำนมของสตรีที่ให้นมบุตรนั้นเป็นสิทธิของนางหรือเป็นสิทธิของสามี  ฝ่ายหนึ่งระบุว่าเป็นสิทธิของสามี  ถ้าถือตามฝ่ายนี้ก็ถือว่าสามีดื่มนมภรรยาของตัวเองได้โดยไม่ต้องขออนุญาตภรรยา  อีกฝ่ายหนึ่งระบุว่าเป็นสิทธิของภรรยา  ถ้าถือตามฝ่ายนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากภรรยาก่อนเพราะน้ำนมเป็นสิทธิของนาง


ส่วนในเรื่องที่ว่า  การที่สามีดื่มนมจากเต้าของภรรยาจะทำให้ภรรยาเป็นแม่นมของสามีหรือไม่  นักวิชาการทั้ง  4  มัซฮับเห็นพ้องตรงกันว่า  การดื่มนมของคนที่โตแล้วคือ  คนที่มีอายุเกินกว่า  2  ขวบนั้นไม่มีผลในการทำให้เกิดสถานะภาพอันเป็นที่ต้องห้ามในเรื่องการนิกาฮฺ  หรือการอยู่ร่วมกันฉันท์สามีภรรยาแต่อย่างใด  (อัลฟิกฮุ้ลอิสลามีย์  ว่า  อะดิลละตุฮู  เล่มที่  7  หน้า  708)  วัลลอฮุวะอฺลัม


والله أعلم بالصواب

อย่าได้ไปแคร์มนุษย์


ครั้งหนึ่ง อิหม่ามชาฟิอีย์ ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮ์ ได้ยินชาย 2 คนถกเถียงกันอยู่ จากนั้นท่านได้กล่าวแก่ ชายคนหนึ่งว่า :

إِنَّكَ لَا تَقْدِرُ تُرْضِي النَّاسَ كُلَّهُمْ فَأَصْلِحْ مَا بَيْنَكَ وَبَيْنَ اللَّهِ عَزَّ وَجَلَّ، فَإِذَا أَصْلَحْتَ مَا بَيْنَكَ وَبَيْنَ اللَّهِ عَزَّ وَجَلَّ؛ فَلَا تُبَالِ بِالنَّاسِ

แท้จริงแล้ว ท่านไม่สามารถจะทำให้มนุษย์ทุกคนพึงพอใจ(ในตัวของท่าน ในคำพูดของท่าน หรือในการกระทำของท่าน)ได้หรอก ดังนั้น จงปรับปรุงระหว่างตัวท่านกับอัลลอฮ์ให้ดีก็แล้วกัน และเมื่อท่านปรับปรุงแล้ว ก็อย่าได้ไปแคร์มนุษย์เลย

|| กิตาบ อัซซุฮ์ดิ อัลกะบีร เล่ม 1 หน้า 105

.....................................
 อาจารย์มะห์มูด ศรีอุทัย

อะกีดะฮอิหม่ามอบูหะซัน อัลอัชอารีย์



อิหม่ามอบูหะซัน อัลอัชอะรีย์ นั้นยึดอะกีดะฮตามมัซฮับอิหม่ามอะหมัด บิน หัมบัล ดังที่ท่านได้ยืนยันว่า
قولنا الذي نقول به وديانتنا التي ندين بها التمسك بكتاب الله ربنا عز و جل وبسنة نبينا محمد صلى الله عليه وسلم وما روى عن السادة الصحابة والتابعين وأئمة الحديث ونحن بذلك معتصمون وبما كان يقول به أبو عبد الله أحمد بن محمد بن حنبل - نضر الله وجهه ورفع درجته وأجزل مثوبته
และทัศนะของเรา ที่เรา เรากล่าวด้วยมัน บรรดาความเชื่อมันของเรา ที่เรานักถือศาสนาด้วยมัน คือ การยึดถือ ต่อ คัมภีร์ของอัลลอฮ พระเจ้าของเราผู้ทรงสูงส่งและทรงเลิศยิ่ง และด้วยสุนนะฮของนบีของเรา มุหัมหมัด ศอ็ลฯ และสิ่งที่รายงานจาก บรรดาเหล่าเศาะหาบะฮ ,ตาบิอีน และ บรรดาอิหม่ามนักหะดิษ และด้วยดังกล่าวนั้น เราคือผู้ที่ยึดถือ และด้วยสิ่งที่ อบูอับดุลลอฮ อะหมัด บิน มุหัมหมัด บิน หัมบัล ได้กล่าวเอาไว้ด้วยมัน ,ขออัลลอฮได้โปรดประทานให้ใบหน้าของเขามีรัศมี , โปรดยกฐานะและประทานผลบุญอันมากมายแก่เขาด้วยเถิด – อัลอิบานะฮ หน้า 8-9
.............
จากคำพูดของ อิหม่ามอัลอัชอะรีย์ ข้างต้น แสดงให้เห็นชัดเจนว่า อิหม่ามอบูหะซันอัลอัชอะรีย์ มีทัศนะเรื่องอะกีดะฮ ตามอัลกุรอ่าน ,อัสสุนนะฮ ,เหล่าเศาะหาบะฮ ,ตาบิอีน ,อิหม่ามอะลุลหะดิษ และสิ่งที่อิหม่ามอะหมัด บิน หัมบัล ได้ กล่าวเอาไว้
ก่อนหน้านั้น อิหม่ามอบูหะซัน อัลอัชอะรีย์ ยึดอะกีดะฮตามแนวมุอตะซิละฮ
อิบนุกะษีร (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า
إن الأشعري كان معتزلياً فتاب منه بالبصرة فوق المنبر، ثم أظهر فضائح المعتزلة وقبائحهم
แท้จริง (อบูหะซัน)อัลอัชอะรีย์นั้น เป็นพวกมุอ์ตะซิละฮ แล้วท่านได้กลับตัวจากนั้น บนมินบัร ที่เมืองบัศเราะฮ ต่อมาท่านได้เปิดโป่งความน่าละอายและความชั่วร้ายของพวกนั้น
- อัลบิดายะฮ วัลนิฮายะฮ เล่ม 11 หน้า 187
อิหม่ามอบูหะซัน อัลอัชอะรีย์ กล่าวว่า
أما بعد فإن كثيرا من الزائغين عن الحق من المعتزلة وأهل القدر مالت بهم أهواؤهم إلى تقليد رؤسائهم ومن مضى من أسلافهم فتأولوا القرآن على آرائهم تأويلا لم ينزل به الله سلطانا ولا أوضح به برهانا ولا نقلوه عن رسول رب العالمين ولا عن السلف المتقدمين
ดังนั้น ส่วนมากจากบรรดาผู้ที่เบี่ยงเบนออกจากความจริง จาก พวกมุอตะซิละฮและพวกเกาะดะรียะฮ ซึ่ง อารมณ์ของพวกเขาทำให้พวกเขาเอนเอียงไปสู่การตักลิด บรรดาหัวหน้าของพวกเขาและ บรรดาบรรพชนของพวกเขาที่อยู่ก่อนหน้าของพวกเขา แล้วพวกเขาได้ตีความอัลกุรอ่านตามความเห็นของพวกเขา โดยเป็นการตีความ ที่อัลลอฮไม่ทรงประทานอำนาจ ด้วยการนั้น ,ไม่ได้ทรงชี้แจงหลักฐานด้วยมันและพวกเขาไม่ได้รายงานมันจากรซูลของพระเจ้าแห่งสากลจักรวาล และไม่ได้รายงานมาจากชาวสะลัฟยุคก่อน - อัลอิบานะฮ เล่ม 1 หน้า 14
.........
จะเห็นได้ว่า คำพูดอิหม่ามอัชอะรีย์ข้างต้น ท่านคัดค้านการตีความอัลกุรอ่านด้วยความเห็น โดยไม่ได้มีหลักฐานจากอัลลอฮและรอซูล

والله أعلم بالصواب

หนทางของอัลลอฮนั้นมีหนทางเดียว



แนวทางที่ถูกต้องและเที่ยงตรงนั้นมีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากแนวทางที่เบี่ยงเบนที่มีความหลากหลายและมากมาย ดังที่อัลลอฮฺ ได้ตรัสในอัลกุรอานว่า
وَأَنَّ هَـذَا صِرَاطِي مُسْتَقِيماً فَاتَّبِعُوهُ وَلاَ تَتَّبِعُواْ السُّبُلَ فَتَفَرَّقَ بِكُمْ عَن سَبِيلِهِ ذَلِكُمْ وَصَّاكُم بِهِ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُونَ
ความว่า “และแท้จริงนี้คือทางของข้าอันเที่ยงตรงพวกเจ้าจงปฏิบัติตามมันเถิด และอย่าปฏิบัติตามหลายๆ ทาง เพราะมันจะทำให้พวกเจ้าแยกออกไปจากทางของพระองค์ นั่นแหละที่พระองค์ได้สั่งเสียมันไว้แก่พวกเจ้า เพื่อว่าพวกเจ้าจะยำเกรง” (อัลอันอาม : 153
มีหะดีษรายงานจากอับดุลลอฮฺ เบ็น มัสอูด เล่าว่า : ท่านเราะสูล ศอ็ลฯ ได้อธิบายถึงแนวทางที่เที่ยงตรงว่ามีทางเดียวเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากแนวทางที่เบี่ยงเบนที่มีมากและหลากหลายโดยใช้วิธีอธิบายที่ง่ายต่อการเข้าใจอย่างมาก ดังนี้
((عن عبد الله بن مسعود قال:” خط لنا رسول الله صلى الله عليه وسلم خطا ثم قال: هذا سبيل الله، ثم خطّ خطوطا عن يمينه وعن شماله ثم قال: هذه سبل، قال: يزيد متفرقة على كل سبيل منها شيطان يدعو إليه ثم قرأ ( إن هذا صراطي مستقيما فاتبعوه ولا تتّبعوا السّبل فتفرق بكم عن سبيله) “ (رواه أحمد، رقم الحديث: 3928)
ความว่า “จากอับดุลลอฮฺ เบ็น มัสอูด เล่าว่า : “ท่านนบีมุหัมมัด ได้ขีดเส้นหนึ่งเส้นให้พวกเรา หลังจากนั้นท่านกล่าวว่า “นี่คือทางของอัลลอฮฺ” หลังจากนั้นท่านได้ขีดอีกเส้นอีกหลายๆ เส้นจากทางขวาของท่าน และทางซ้ายของท่าน หลังจากนั้นท่านก็กล่าวว่า “ นี้คือแนวทางที่หลากหลาย” ท่านก็กล่าวต่อไปว่ามันจะเพิ่มขึ้นบนทุกๆ เส้นทางที่หลากหลายนั้นมีชัยฏอนที่คอยเชิญชวนไปกับมัน หลังจากนั้นท่านนบีก็ได้อ่านอายะฮฺอัลกุรอานความว่า “และแท้จริงนี้คือทางของข้าอันเที่ยงตรงพวกเจ้าจงปฏิบัติตามมันเถิด และอย่าปฏิบัติตามหลายทาง เพราะมันจะทำให้พวกเจ้าแยกออกจากทางของพระองค์” (บันทึกโดย อะหมัด หมายเลขหะดีษ 3928 )
จากอัลกุรอานและสุนนะฮข้างต้นพอจะสรุปได้ว่าแนวทางที่เที่ยงตรงคือแนวทางที่ท่านนบีมุหัมมัดเศาะหาบะฮฺ และบรรพชนรุ่นแรกที่ได้ปฏิบัติไว้เป็นแบบอย่างตามอัลกุรอานและสุนนะฮฺอย่างครบถ้วนในทุกๆด้านไม่ว่าจะเป็นหลักการปฏิบัติ หลักการศรัทธา โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับเตาฮีด ทั้งนี้เนื่องจากว่าแนวทางในเรื่องดังกล่าวมีความหลากหลาย อาทิแนวทางของมุอฺตะซิละฮฺ แนวทางของญะฮฺมิยฺยะฮฺ แนวทางของอะชาอิเราะฮฺ ซึ่งแนวทางทั้งหมดนี้ขัดแย้งอย่างสิ้นเชิงกับแนวทางของอัลกุรอาน
และสุนนะฮฺ ดังที่อิหม่ามอัรรอซีย์ ได้กล่าวในบั้นปลายชีวิตของท่านว่า
لَقَدْ تَأَمَّلْتُ الطُّرُقَ الْكَلَامِيَّةَ وَالْمَنَاهِجَ الْفَلْسَفِيَّةَ فَمَا رَأَيْتُهَا تَشْفِي عَلِيلًا وَلَا تَرْوِي غَلِيلًا ، وَرَأَيْتُ أَقْرَبَ الطُّرُقِ طَرِيقَةَ الْقُرْآنِ ، أَقْرَأُ فِي الْإِثْبَاتِ : الرَّحْمَنُ عَلَى الْعَرْشِ اسْتَوَى إِلَيْهِ يَصْعَدُ الْكَلِمُ ، وَأَقْرَأُ فِي النَّفْيِ لَيْسَ كَمِثْلِهِ شَيْءٌ ، وَمِنْ جَرَّبَ مِثْلَ تَجْرِبَتِي عَرِفَ مِثْلَ مَعْرِفَتِي . ا
ความว่า“แท้จริงข้าพเจ้าได้สังเกตุแนวทางของกลุ่มอะฮฺลุลกะลาม และแนวทางของกลุ่มฟัลสะฟิยะฮฺ ข้าพเจ้าไม่เห็นเลยว่ามันสามารถรักษาผู้ป่วย(โรคเขลาได้) และไม่สามารถแก้กระหายความยากของผู้กระหายได้ และข้าพเจ้าเห็นว่าแนวทางที่ใกล้เคียง(กับความถูกต้องมากที่สุด) คือแนวทางของอัลกุรอาน จงอ่านในการยืนยัน(คุณลักษณะอัลลอฮ)ที่ว่า
الرَّحْمَنُ عَلَى الْعَرْشِ اسْتَوَى إِلَيْهِ يَصْعَدُ الْكَلِمُ
พระเจ้าผู้ทรงเมตตา ทรงสถิตเหนือบัลลังค์ ,บรรดาถ้อยคำ ขึ้นไปยังพระองค์
และจงอ่านใน การปฏิเสธ คือ
لَيْسَ كَمِثْلِهِ شَيْءٌ
ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์
และผู้ใดที่ผ่านประสบการณ์เหมือนข้าพเจ้า เขาจะได้รับรู้เหมือนกับความรู้ที่ข้าพเจ้าได้รับรู้
-ดู สิยะรุอัลเอียะลามอันนุบะลาอฺ ของอิหม่ามอัซซะฮะบีย์ 20/501 เรื่อง ประวัติฟัครุอัรรอซีย์
والله أعلم بالصواب

นางอยู่บนสวนสวรรค์


คอลิด บิน ซ็อฟวาน ได้เห็นคนกลุ่มหนึ่งในมัสญิดแห่งเมืองบัศเราะฮฺ และเขาได้ถามขึ้นมาว่า “นี่มันคือการรวมตัวเพื่ออะไรกัน” มีคนตอบเขาว่า..

“มีสตรีนางหนึ่งที่แจ้งแก่บรรดาบุรุษเกี่ยวกับบรรดาสตรีที่พร้อมเพื่อการแต่งงาน (สตรีที่เป็นโสด) ครับ”
จากนั้นคอลิดจึงเดินไปหาสตรีนางนั้นและกล่าวแก่นางว่า “ฉันต้องการแต่งงานกับสตรีนางหนึ่ง”
สตรีนางนั้นจึงกล่าวว่า “จงบรรยายคุณลักษณะของนางแก่ฉันเถอะ (ว่าท่านปรารถนาสตรีที่มีคุณสมบัติเช่นไร)”

เขาตอบว่า “ฉันปรารถนาให้นางนั้นเป็นสตรีพรหมจรรย์ ที่มีความฉลาดเฉลียวเสมือนสตรีที่แต่งงานแล้ว หรือสตรีที่ผ่านการแต่งงานมาแล้วหากแต่ยังบริสุทธิ์ไร้เดียงสาเป็นสตรีพรหมจรรย์ นางควรเป็นที่รักเมื่อนางอยู่ใกล้ฉัน แจ่มจรัสเมื่อนางอยู่ห่างไกลฉัน นางควรเคยดำเนินชีวิตอย่างหรูหรา จากนั้นนางก็ได้ประสบกับความทุกข์เนื่องด้วยความยากจน เพื่อที่นางจะมีมารยาทของผู้ที่ร่ำรวยและขณะเดียวกันนางก็มีคุณสมบัติแห่งความถ่อมตนของผู้ที่ยากจน เมื่อเราทั้งสองครอบครองซึ่งทรัพย์สิน เราควรเป็นเช่นผู้คนแห่งดุนยานี้ และเมื่อเราทั้งสองกลายเป็นผู้ยากจน เราควรเป็นเช่นผู้คนแห่งอาคิเราะหฺ”

หญิงผู้นั้นกล่าวว่า “ฉันรู้จักสตรีเฉกเช่นที่ท่านได้กล่าวไว้”

เขาจึงถามนางว่า “นางอยู่ ณ ที่ใดกัน”

หญิงผุ้นั้นตอบว่า “นางอยู่บนสวนสวรรค์ เช่นนั้นจงเพียรพยายามอย่างหนักเพื่อให้ได้นางมาเถิด”

วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การดื่มนมของผู้ที่ไม่ใช่แม่ของตน


อิสลามส่งเสริมให้เด็กแรกเกิดดื่มนมแม่ แต่หากผู้เป็นแม่ไม่สามารถจะให้นมเลี้ยงดูบุตรของตนได้ ศาสนาได้ผ่อนผันให้นำบุตรของตนไปให้หญิงอื่น เพื่อให้นมแทนการให้นมของตน ที่เรียกว่า "แม่นม"

"และถ้าพวกท่านต่างประสบความลำบาก ก็จงให้หญิงอื่นให้นมเพื่อเชา"
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัฏ-เฏาะลากฺ :6)

สำหรับแม่นมที่ให้นมแก่ทารกคนนั้น ถือเป็นเป็นที่ต้องห้ามสำหรับหญิงนั้นที่จะแต่งงานกับทารกที่ตนให้นม รวมถึงทารกอื่นที่ร่วมดื่มนมกับทารกนั้นด้วย

حُرِّمَتْ عَلَيْكُمْ أُمَّهَاتُكُمْ وَبَنَاتُكُمْ وَأَخَوَاتُكُمْ وَعَمَّاتُكُمْ وَخَالَاتُكُمْ وَبَنَاتُ الْأَخِ وَبَنَاتُ الْأُخْتِ وَأُمَّهَاتُكُمُ اللَّاتِي أَرْضَعْنَكُمْ وَأَخَوَاتُكُم مِّنَ الرَّضَاعَةِ وَأُمَّهَاتُ نِسَائِكُمْ وَرَبَائِبُكُمُ اللَّاتِي فِي حُجُورِكُم مِّن نِّسَائِكُمُ اللَّاتِي دَخَلْتُم بِهِنَّ فَإِن لَّمْ تَكُونُوا دَخَلْتُم بِهِنَّ فَلَا جُنَاحَ عَلَيْكُمْ وَحَلَائِلُ أَبْنَائِكُمُ الَّذِينَ مِنْ أَصْلَابِكُمْ وَأَن تَجْمَعُوا بَيْنَ الْأُخْتَيْنِ إِلَّا مَا قَدْ سَلَفَ إِنَّ اللَّهَ كَانَ غَفُورًا رَّحِيمًا ( 23 )

ที่ได้ถูกห้ามแก่พวกเจ้านั้นคือมารดา ของพวกเจ้า ลูกหญิงของพวกเจ้า พี่น้องหญิงของพวกเจ้า พี่น้องหญิงแห่งบิดาของพวกเจ้า และพี่น้องหญิงแห่งมารดาของพวกเจ้า บุตรหญิงของพี่หรือน้องชายของพวกเจ้า บุตรหญิงของพี่หรือน้องหญิงของพวกเจ้า และมารดาของพวกเจ้าที่ให้นมแก่พวกเจ้าและพี่น้องหญิงของพวกเจ้าเนื่องจากการดื่มนม และมารดาภรรยาของพวกเจ้าแลลูกเลี้ยงของพวกเจ้าที่อยู่ในตักของพวกเจ้า จากภรรยาของพวกเจ้าที่พวกเจ้ามิได้สมสู่นาง แต่ถ้าพวกเจ้ามิได้สมสู่นางแล้ว ก็ไม่มีบาปใด ๆ แก่พวกเจ้าและภรรยาของบุตรพวกเจ้าที่มาจากเชื้อสายของพวกเจ้า และการที่พวกเจ้ารวมระหว่างหญิงสองพี่น้องไว้ด้วยกัน นอกจากที่ได้ผ่านพ้นไปแล้วเท่านั้น แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงอภัยผู้เมตตาเสมอ" (อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัน-นิสาอฺ 4:23)

เงื่อนไขของการห้ามแต่งงานระหว่างแม่นมกับทารกที่ดื่มนม คือ

-ทารกผุ้นั้นต้องไม่เกิน 2 ปี
ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
"ไม่เรียกว่าเป็นการดูดนม (ที่มีผลบังคับใช้ตามหลักศาสนา) ยกเว้น(ทารก) มีอายุได้ 2 ขวบแล้ว" (บันทึกหะดิษโดยอิมามดารุ กุฏนีย์)

-ทารกจะต้องดูดนมของนางจำนวน 5 ครั้งขึ้นไป
รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ (ร่อฎียัลลอฮุอันฮา) เล่าว่า ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า
"ไม่ถือว่าต้องห้าม หากการดูดนมเพียงครั้งเดียว และดูดนมเพียง 2 ครั้ง (คือไม่ถือมีผลบังคับใช้)" (บันทึกหะดิษโดยอิมามอบูดาวูด เลขที่ 2063)

-การให้นมแก่ทารก จะต้องทิ้งช่วงในการดื่มแต่ละครั้ง
 (จากหนังสือ "อัลวารุล มะสาลิก" หน้า 237 "กฎเกณฑ์การทิ้งช่วงห่าง ใช้ประเพณีของท้องถิ่นนั้นๆ เป็นมาตราฐานวัด)


-น้ำนมต้องลงสู่กระเพาะของทารก

บรรดานักวิชาการส่วนใหญ่กล่าวว่า
"น้ำนมของแม่นมจะต้องเขาสู่กระเพาะของทารกถึงจะมีผลบังคับใช้ตามหลักการ ไม่ว่าด้วยวิธีดูดกรือการบีบนมแล้วป้อนทางปากทารก หรือเทเข้าทางจมูกแล้วลงสู่กระเพาะก็ถือว่ามีผลเช่นกัน" (หนังสือ "นีรุล เอาฏอร์" เล่ม 6 หน้า 350)








เขาบอกว่า "อัลบานีย์บอกว่า "การเรียกชื่อนำหน้าว่าฮัจญี เป็นบิดอะฮ






อุลามาอฺคลังอาวุธทางวิชาการ กล่าวหาชัยคฺอัลบานีย์ว่า
15 กุมภาพันธ์ เวลา 16:40 น. ·
เชคอัลบานีย์โต๊ะครูสายหะดีสของวะฮาบีย์บอกว่า
"ส่วนหนึ่งจากบิดอะห์นั่นก็คือการเรียกชื่อผู้ที่เคยไปประกอบพิธีฮัจญ์แล้วว่า "ฮัจยี"
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
ชี้แจง
ชัยคฺอัลบานีย ได้กล่าวในเอกสารของท่านชื่อ มะนาสิกอัลฮัจญวัลอุมเราะฮ ข้อ ๑๒๘ ว่าส่วนหนึ่งจากบิดอะฮ เกียวเรื่องฮัจญว่า
128 ـ مناداتهم لمن حج بـ الحاج
การเรียกของพวกเขาแก่ ผู้ทำฮัจญว่า "ฮัจญี"
ในประเด็นนี้ ไม่เฉพาะแต่ ชัยค์อัลบานีย์หรอกที่ไม่เห็นด้วย ยังมีคณะกรรมการถาวรเพื่อวิจัยวิชาการและการตอบปัญหาศาสนาของประเทศซาอุดี้ หรือที่เรียกว่า اللجنة الدائمة للبحوث العلمية والإفتاء ก็ฟัตวาว่า
ما حكم مناداة بعض الناس بـ (الحاج)؟
การเรียกบรรดาผู้คนบางส่วนว่า "ฮัจญญี มีหุกุมว่าอย่างไร
أمـا منـاداة مـن حـج بـ: (الحـاج) فـالأولى تركهـا؛ لأن أداء الواجبات الشرعية لا يمنح أسماء وألقابا، بل ثوابا من الله تعـالى لمن تقبل منه، ويجـب على المسلم ألا تتعلق نفسه بمثل هذه الأشياء، لتكون نيته خالصة لوجه الله تعالى.
ตอบ
สำหรับการเรียกผู้ที่ทำฮัจญว่า "ฮัจญญี"นั้น ที่ดีที่สุดควรละทิ้งมัน เพราะการปฏิบัติบรรดาสิ่งที่เป็นข้อบังคับในทางศาสนบัญญัตินั้น เขาจะไม่ได้รับบรรดาชื่อและฉายา แต่ทว่า เขาจะได้รับผลบุญ จากอัลลอฮตาอาลา แก่ผู้ที่ มัน(การทำฮัจญ)ถูกรับรองจากเขา และจำเป็นแก่มุสลิม อย่าได้เอาจิตใจของเขาไปผูกพันกับบรรดาเช่นสิ่งต่างๆเหล่านี้ เพื่อให้การเนียต(การเจตนา)ของเขา บริสุทธิิ์ เพื่อพระพักต์ของอัลลอฮตาอาลา
فتاوى اللجنة الدائمة للبحوث العلمية والإفتاء - المجموعة الأولى - فتوى :21718
จึงขอถามกลับไปว่า
มีคนใดในยุคสะลัฟ เรียกท่านนบีว่า " ฮัจญี มุหัมหมัด ศอ็ลฯ
มีไหม่ ที่มีการเรียก เคาลิฟะฮทั้งสี่ ว่า "ฮัจญี อบูบัก ,ฮัจญี อุมัร. ฮัจญีอุษมาน ,ฮัจญี อาลี ?....
..
หรือ เรียกฮัจญฺญี อบีฮุรัยเราะฮ หรือ เรียก ฮัจญะฮ อาอีฉะฮ ,ฟาตีมะฮ เป็นต้น
มีหะดิษสักบท หรือสักประโยคไหม ใหม ที่มีใช้คำว่า "ฮัจญี" นำหน้าชนยุคสะลัฟ ?
ถ้า การทำสิ่งที่เป็นวายิบ จะต้องมีฉายา เชน โต๊ะฮาญี
แล้วคนที่ละหมาด ๕ เวลา ก็ควรจะได้รับฉายาว่า "โต๊ะมุศอ็ลลี" ใช่หรือไม่
แล้วทำไมไม่เรียกกันล่ะครับ ช่วยตอบมาหน่อยซิ


والله أعلم باصواب


อะสัน หมัดอะดั้ม

ปราชญ์อะฮลุสสุนนะฮกับการยืนยันคุณลักษณะของอัลลอฮ





قال أبو عمر أهل السنة مجموعون عَلَى الْإِقْرَارِ بِالصِّفَاتِ الْوَارِدَةِ كُلِّهَا فِي الْقُرْآنِ وَالسُّنَّةِ وَالْإِيمَانِ بِهَا وَحَمْلِهَا عَلَى الْحَقِيقَةِ لَا عَلَى الْمَجَازِ إِلَّا أَنَّهُمْ لَا يُكَيِّفُونَ شَيْئًا مِنْ ذَلِكَ وَلَا يَحُدُّونَ فِيهِ صِفَةً مَحْصُورَةً وَأَمَّا أَهْلُ الْبِدَعِ وَالْجَهْمِيَّةُ وَالْمُعْتَزِلَةُ كُلُّهَا وَالْخَوَارِجُ فَكُلُّهُمْ يُنْكِرُهَا وَلَا يَحْمِلُ شَيْئًا مِنْهَا عَلَى الْحَقِيقَةِ وَيَزْعُمُونَ أَنَّ مَنْ أَقَرَّ بِهَا مُشَبِّهٌ وَهُمْ عِنْدَ مَنْ أَثْبَتَهَا نَافُونَ لِلْمَعْبُودِ وَالْحَقُّ فِيمَا قَالَهُ الْقَائِلُونَ بِمَا نَطَقَ بِهِ كِتَابُ اللَّهِ وَسُنَّةُ رَسُولِهِ وَهُمْ أَئِمَّةُ الْجَمَاعَةِ وَالْحَمْدُ لِلَّهِ
อบูอุมัร (หมายถึง อิบนุอับดิลบัร) กล่าวว่า อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ มีมติเห็นพ้องกัน ในการยอมรับบรรดาคุณลักษณะ(ซิฟาต) ทั้งหมดที่ปรากฏในอัลกุรอ่านและซุนนะฮ์ และศรัทธาต่อมัน และถือมันตามความหมายจริง(ฮะกีกัต) ไม่ใช่ตามความหมายในเชิงอุปมาอุปมัย นอกจากว่า แท้จริงพวกเขา ไม่ได้อธิบายวิธีการว่าเป็นอย่างไรจากซิฟัตดังกล่าวเลย และพวกเขาไม่ได้จำกัดในนั้น เป็นคุณลักษณะหนึ่งลักษณะที่เฉพาะ
และสำหรับ พวกบิดอะฮ์ พวกญะฮ์มียะฮ และพวกมุอฺตะซิละฮ์ และพวกเคาะวาริจญ์ ทั้งหมด ปฏิเสธมัน และไม่ได้ถือตามความหมายจริง(ฮะกีกัต)จากมัน(บรรดาซิฟาตดังกล่าว)
พวกเขาอ้างว่า ผู้ที่ยอมรับมัน(ตามความหมายจริง (ฮะกีกัต)นั้นเป็นพวกมุชับบะฮะฮ์ ( คือเป็นผู้ที่นำอัลลอฮ์ไปเทียบกับมัคลู๊ก )และในทัศนะของพวกเขาถือว่า ผู้ที่ยอมรับมัน เป็นผู้ที่ปฏิเสธพระเจ้าผู้ควรเคารพภักดี และความถูกต้องนั้น มันอยู่ในสิ่งที่บรรดาผู้ที่มีทัศนะตามที่กิตาบุลเลาะฮ์และซุนนะฮ์ของรอซูลของพระองค์ได้กล่าวเอาไว้ พวกเขาคือ ผู้นำแห่งอัลญะมาอะฮ์ อัลฮัมดุลิ้ลละฮ์ – อัตตัมฮีด ลิมา ฟิลมุวัฏฏอฮฺ มินัล มะอานีย์ วัลอะสานีด 7/145
สรุปจากคำพูดของ อิบนุอับดิลบัร (ร.ฮ) ดังนี้
1. ปราชญอะฮลุสสุนนะฮมีมติ บนการยืนยัน คุณลักษณะของอัลลอฮตามความหมายจริงที่ปรากฏตามตัวบท
2. ปราชญ์อะฮลุสสุนนะฮ ไม่ถามหรือไม่อธิบายรูปแบบวิธีการว่าคุณลักษณะของอัลลอฮว่าเป็นอย่างไร และ ไมพูดถึงขอบเขตของสิฟาต
3. พวกบิดอะฮ์ พวกญะฮ์มียะฮ และพวกมุอฺตะซิละฮ์ และพวกเคาะวาริจญ์ อ้างว่า ผู้ที่ถือบรรดาสิฟาตอัลลอฮตามความหมายจริง
คือ พวกมุชชับบะฮะฮ (พวกเปรียบอัลลอฮกับมัคลูค)
4. ความถูกต้องนั้น มันอยู่ในสิ่งที่บรรดาผู้ที่มีทัศนะตามที่กิตาบุลเลาะฮ์และซุนนะฮ์ของรอซูลของพระองค์ได้กล่าวเอาไว้

والله أعلم بالصواب

วะฮบีย์เชื่อว่า อัลลอฮ อาศัยมัคลูค เป็นสถานที่จริงหรือ




มีการวิจารณ์และโจมตีว่า พวกที่เขาฉายาว่า วะฮบีย์ ให้สถานที่แก่อัลลอฮ ว่าอัลลอฮอาศัยสถานที่ ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร มาดูคำอธิบายจากชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮ (ร.ฮ)
อิบนุตัยมียะฮอธิบาย ว่า
وَالسَّلَفُ وَالْأَئِمَّةُ وَسَائِرُ عُلَمَاءِ السُّنَّةِ إذَا قَالُوا " إنَّهُ فَوْقَ الْعَرْشِ وَإِنَّهُ فِي السَّمَاءِ فَوْقَ كُلِّ شَيْءٍ " لَا يَقُولُونَ إنَّ هُنَاكَ شَيْئًا يَحْوِيهِ أَوْ يَحْصُرُهُ أَوْ يَكُونُ مَحَلًّا لَهُ أَوْ ظَرْفًا وَوِعَاءً سُبْحَانَهُ وَتَعَالَى عَنْ ذَلِكَ بَلْ هُوَ فَوْقَ كُلِّ شَيْءٍ وَهُوَ مُسْتَغْنٍ عَنْ كُلِّ شَيْءٍ وَكُلُّ شَيْءٍ مُفْتَقِرٌ إلَيْهِ . وَهُوَ عَالٍ عَلَى كُلِّ شَيْءٍ .
และชาวสะลัฟ ,บรรดาอิหม่าม และ บรรดาปราชญสุนนะฮอื่นๆ เมื่อพวกเขากล่าวว่า แท้จริง พระองค์ อยู่เหนืออะรัช และแท้จริง พระองค์ อยู่บนฟ้า เหนือทุกสิ่ง พวกเขาจะไม่กล่าวว่า แท้จริงสิ่งใดๆ ณ ที่นี้ บรรจุ พระองค์ เอาไว้หรือ จำกัดขอบเขตพระองค์ หรือเป็นสถานที่ของพระองค์ หรือ เป็นสถานที หรือเป็นภาชนะบรรจุ (พระองค์) พระองค์ทรงบริสุทธิ์ และสูงส่งจาก ดังกล่าว แต่ทว่า ทรงอยู่เหนือทุกสิ่ง โดยที่พระองค์ ไม่พึ่งพา อาศัยทุกๆสิ่ง และทุกสิ่งพึงพาอาศัยต่อพระองค์ และพระองค์ทรงสูง เหนือทุกสิ่ง.... มัจญมัวะฟะตาวา เล่ม 11 หน้า 101
.........
ไม่มีคนที่พวกที่ถูกเรียกวะฮบีย์คนใหนเชื่อว่า อัลลอฮอาศัยมัคลูคเป็นสถานที่อยู่อาศัย
หลักฐานแสดงถึงการอยู่เบื้องสูของอัลลอฮ
ท่านอิมามอัลบุคอรีย์ ได้รายงานจากท่านอบูฮุร๊อยเราะฮ์ ความว่า ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
إِنَّ فِي الْجَنَّةِ مِائَةَ دَرَجَةٍ أَعَدَّهَا اللَّهُ لِلْمُجَاهِدِينَ فِي سَبِيلِ اللَّهِ، مَا بَيْنَ الدَّرَجَتَيْنِ كَمَا بَيْنَ السَّمَاءِ وَالأَرْضِ، فَإِذَا سَأَلْتُمُ اللَّهَ فَاسْأَلُوهُ الْفِرْدَوْسَ، فَإِنَّهُ أَوْسَطُ الْجَنَّةِ وَأَعْلَى الْجَنَّةِ، أُرَاهُ فَوْقَهُ عَرْشُ الرَّحْمَنِ، وَمِنْهُ تَفَجَّرُ أَنْهَارُ الْجَنَّةِ
"แท้จริงในสวรรค์นั้นมี 100 ระดับชั้น ที่อัลเลาะฮ์ทรงตระเตรียมมันไว้สำหรับบรรดานักรบในหนวิถีทางของอัลเลาะฮ์ ซึ่งระหว่างสองชั้นนั้นห่างกันระหว่างฟ้าและแผ่นดิน ดังนั้นเมื่อพวกท่านได้วอนขอต่ออัลเลาะฮ์ ก็จะขอพระองค์กับสวรรค์ฟิรเดาซ์เถิด เพราะมันเป็นสวรรค์ที่ดีเลิสที่สุดและชั้นสูงที่สุด ฉันได้เคยเห็นมันอยู่ใต้บัลลังก์ของอัลเลาะฮ์ และมีบรรดาแม่น้ำในสวรรค์ไหลพุ่งออกมาจากมัน" ซอฮิห์บุคอรีย์ บทเรื่อง อัลญะฮาด หะดิษที่ 2581
อิหม่ามอิบนุคุซัยมะฮ (ฮ.ศ 311) ปราชญ์มัซฮับชาฟิอี ในยุคสะลัฟ กล่าวว่า
فالخبر يصرح أن عرش ربنا –جل وعلا- فوق جنته، وقد أعلمنا – جل وعلا- أنه مستو على عرشه، فخالقنا عال فوق عرشه الذي هو فوق جنته
แล้ว หะดิษ ได้ทำให้ชัดเจน ว่า แท้จริง อะรัช(บัลลังค์)ของพระเจ้าของเรา ผู้ทรงเกรียงไกรและสูงส่ง อยู่ เหนือสวรรค์ของพระองค์ และ พระองค์ทรงบอกให้เรารู้ว่า แท้จริงพระองค์ อยู่บนอะรัชของพระองค์ ดังนั้น พระผู้ทรงสร้างพวกเรา ทรงอยู่สูงเหนือ อะรัชของพระองค์ ซึ่งมันอยู่เหนือสวรรค์ของพระองค์
التوحيد وإثبات صفات الرب عز وجل (ج1 ص241)
...........
จากหลักฐานความเข้าใจของปราชญ์ยุคสะลัฟข้างต้น เป็นสิ่งที่หักล้างความเชื่อของผู้ยึดแนวทาง อะฮลุลกาลาม ที่อาศัยแนวคิดตรรกวิทยา มาตีความเพื่อปฏิเสธการอยู่เบื้องสูงของอัลลอฮอย่างสิ้นเชิง


والله أعلم بالصواب

.......................
อะสัน หมัดอะดั้ม

มัซฮับสะลัฟกับการยืนยันคุณลักษณะของอัลลอฮ




อิหม่ามอัซซะฮะบีย์รายงานว่า

أخبرنا أبو علي بن الخلال ، أخبرنا أبو الفضل الهمداني ، أخبرنا أبو طاهر السلفي ، أخبرنا محمد بن مرزوق الزعفراني ، حدثنا الحافظ أبو بكر الخطيب ، قال : أما الكلام في الصفات ، فإن ما روي منها في السنن الصحاح ، مذهب السلف إثباتها وإجراؤها على ظواهرها ، ونفي الكيفية والتشبيه عنها
อบูอาลี บินเตาะลาล ได้บอกเรา ,อบูลฟัฎลี อัลฮัมดานีย์ได้บอกเรา ,อบูฏอฮีร อัสสะละฟีย ได้บอกเรา มุหัมหมัด บิน มัรซูก อัซซะฟะรอนีย ว่า อัลหาฟิซ อบูบักรฺ อัลเคาะฏีบ กล่าวว่า สำหรับ คำพูด ในบรรดาสิฟาต นั้น แท้จริง สิ่งที่ถูกรายงานเกี่ยวกับมัน ในบรรดาสุนัน ที่เศาะเฮียะ คือ มัซฮับสะลัฟ นั้น ยืนยัน(อิษบาต)มัน และปล่อยมัน บนความหมายที่ปรากฏของมัน และปฏิเสธ การอธิบายรูปแบบวิธีการและการเปรียบเทียบ จากมัน
ذم التأويل - موفق الدين ابن قدامة (ص15) بسند صحيح، وسير أعلام النبلاء للذهبي (ج18 ص283) بسند آخر صحيح.
>>
แนวทางของสะละลัฟเกี่ยวกับสิฟาตอัลลอฮ คือ พวกเขายืนยันและปล่อยมันบนความหมายที่ปรากฏตามตัวบท โดยปฏิเสธการอธิบายรูปแบบว่าเป็นอย่างไรและ ปฏิเสธ การนำไปเปรียบกับมัคลูค เพราะฉะนั้น การตีความ ไม่ใช่แนวทางสะลัฟ

والله أعلم بالصواب

.....................
อะสัน หมัดอะดั้ม



การเสด็จลงมาของอัลลอฮ เป็นอะกีดะฮยิวจริงหรือ





เขาประกาศว่า
ผมขอเริ่มการเตือนถึงอะกีดะฮ์วะฮาบีย์คณะใหม่ที่มาจากยะฮูดีย์ด้วยกับพระนามแห่งอัลลอฮฺเจ้าผู้ทรงบริสุทธิ์
นักวิชาการระดับแนวหน้าของวะฮาบีย์เป็นที่รู้จักนามว่า เชคอิบนุอุษัยมีน ที่ไม่ใช่นักวิชาการของชาวอะลุสซุนนะฮ์เราได้เขียนตำราเผยแพร่หลักความคิดที่มาจากศาสนายิวว่า
اذاً ينزل ربنا إلي السماء الدنيا نزولاً حقيقياً،والذي ينزل هو الله تعالى بذاته
" พระเจ้าของเราจะทรงลงมายังฟากฟ้าชั้นต่ำสุด โดยการลงมาจริงๆ และผู้ที่ลงมานั้นคืออัลลอฮฺตะอาลา (ทรงลงมา) ด้วยซฺาตของพระองค์เองเลย "
ดูตำรา ชาเราะห์อัลอะกีดะฮ์อัสซะฟารีนียะฮ์ หน้าที่ 274
‪#‎น่าอูซุบิ้ลลาฮิมินซฺาลิกกับแนวคิดที่อุตรินี้‬
>>>>>>>>>>

ขี้แจง
เรื่องนี้มีหะดิษระบุว่า
ท่านอิมามบุคอรีย์และท่านอิมามมุสลิมได้บันทึกไว้ในตำราศอเฮี๊ยฮฺของท่านจากการราย งานของท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ รอฏิฯ ความว่า
عن أبي هريرة رضي الله عنه ، أن النبي صلى الله عليه وسلم قال: " ينزل رَبُّنَا تَبَارَكَ وَتَعَالَى كُلَّ لَيْلَةٍ إِلَى السَّمَاءِ الدُّنْيَا حِينَ يَبْقَى ثُلُثُ اللَّيْلِ الآخِرُ يَقُولُ : مَنْ يَدْعُونِي فَأَسْتَجِيبَ لَهُ مَنْ يَسْأَلُنِي فَأُعْطِيَهُ مَنْ يَسْتَغْفِرُنِي فَأَغْفِرَ لَهُ"
“ท่านนบี ศ็อลฯ กล่าวว่า พระผู้อภิบาลจะเสด็จลงมา(นุซูล)ยังฟากฟ้าต่ำสุดในทุกค่ำคืนจนกระทั้งเหลือแค่ 1 ใน 3 สุดท้ายของกลางคืน โดยพระองค์จะทรงกล่าวว่า “ ผู้ใดวิงวอนต่อข้า ดังนั้นข้าจะตอบรับเขา และผู้ใดขอต่อข้า ข้าก็จะให้เขา และผู้ใดขออภัยโทษต่อข้า ก็จะอภัยโทษแก่เขา (หะดีษ บุคอรีย์ # 1145, มุสลิม # 1261)
หะดีษดังกล่าวนี้เป็นสายรายงานที่ถูกต้องตามเงื่อนไขของหะดีษศอเฮี๊ยฮฺโดยผ่านบรรดา ซอฮาบะฮฺเกือบ 29 คนดังนั้นจึงไม่อนุญาตแก่ชาวซุนนะฮฺคนใดที่จะทำการปฏิเสธหะดีษต้นนี้ ปัญหาที่ติดตามมาสำหรับผู้ศรัทธาก็คือเราจะเข้าใจหะดีษเหล่านี้ให้ถูกต้องอย่างไร? ผู้อ่านพึงตระหนักว่าการลงมายังฟากฟ้าต่ำสุดดังกล่าวนั้นคือสิ่งที่ศาสนทูตของพระองค์ได้ทรงพรรณนาไว้ถึงการกระทำของพระองค์ ผ่านความประสงค์และวิทย ปัญญาอันล้ำลึกของพระองค์ โดยทั้งนี้นั้นการลงมาดังกล่าวในความเป็นจริงแล้วก็คือการลงมายังฟากฟ้าต่ำสุดจริงๆและมิใช่เป็นการอุปมาอุปมัยของคำแต่อย่าง ใด
อิหม่ามอะหมัด บิน หัมบัล ยืนยัน หะดิษเกียวกับการเสด็จลงมาของอัลลอฮ ท่านมีอะกีดะฮยิวด้วยหรือ
อัลลาลุกาอีย์ (ฮ.ศ . 418) กล่าวว่า
قال حنبل رحمه الله : سألت أبا عبد الله أحمد بن حنبل عن الأحاديث التي تروى عن النبي صلى الله عليه وسلم إن الله ينزل إلى السماء الدنيا ، فقال أبو عبد الله : نؤمن بها ونصدق بها ولا نرد شيئا منها إذا كانت أسانيد صحاح ، ولا نرد على رسول الله قوله ، ونعلم أن ما جاء به الرسول حق ، حتى قلت لأبي عبد الله : ينزل الله إلى سماء الدنيا قال قلت نزوله بعلمه أم بماذا ؟ ، فقال لي : اسكت عن هذا ، مالك ولهذا امض الحديث على ما روي " انتهى
หัมบัล (บิน อิสหาก) ขออัลลอฮเมตตาต่อท่านกล่าวว่า “ ข้าพเจ้าได้ถามอบูอับดุลลอฮ ,อะหมัด บิน หัมบัล เกี่ยวกับบรรดาหะดิษที่รายงานจากนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮวะสัลลัม ว่า แท้จริงอัลลอฮ เสด็จลงมายังฟากฟ้าดุนยา แล้วอบูอับดุลลอฮ (หมายถึงอิหม่ามอะหมัด) กล่าวว่า เราศรัทธา ,เราเชื่อมัน และเราจะไม่ปฏิเสธสิ่งใดจากมัน ในเมื่อปรากฏบรรดาสายรายงาที่เศาะเฮียะ และเราจะไม่ปฏิเสธรซูลุลลอฮ ซึ่งคำพูดของท่าน และเรารู้ว่า แท้จริง สิ่งที่ท่านรอซูลนำมา เป็นความจริง จนกระทั้งข้าพเจ้า(หมายถึง หัมบัล บิน อิสหาก) กล่าวแก่อบีอับดุลลอฮว่า “อัลลอฮทรงเสด็จลงมายังฟากฟ้าดุนยา ,เขา (หัมบัล)กล่าวว่า ข้าพเจ้ากล่าวว่า การเสด็จลงมาของพระองค์ ด้วยความรู้ของพระองค์ หรือด้วยอะไร ? และเขา(อิหม่ามอะหมัด)กล่าวตอบว่า “ ท่านจงเงียบจากสิ่งนี้เสีย , ไม่มีสิทธิสำหรับท่านและสิ่งนี้ ท่านจงปล่อยหะดิษให้เป็นไปตามสิ่งที่ได้มีการรายงาน – ชัรหุอุศูลเอียะติกอด อะฮลิสสุนนะฮ เล่มที่ 3 หน้า 453
อิหม่ามกุรฏุบีย์ ซึ่ง อยู่ในสายอัชอะรีย์ กล่าวว่า
والذي عليه جمهور أئمة أهل السنة أنهم يقولون: يجيء وينزل ويأتي. ولا يكيفون لأنه "ليس كمثله شيء وهو السميع البصير
และ(ทัศนะ)ที่บรรดาอิหม่ามอะลิสสุนนะฮส่วนใหญ่ อยู่บนมัน แท้จริงพวกเขากล่าวว่า “ พระองค์เสด็จมา, เสด็จลงมา และ เสด็จมาถึง โดยที่พวกเขาไม่ได้อธิบายรูปแบบวิธีการ เพราะแท้จริง ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์ และพระองค์ ทรงได้ยิน ทรงเห็นยิ่ง – ตัฟสีรอัลกุฏุบีย์ เล่ม 7 หน้า 145
ยังมีหลักฐานมากมากมาย ที่ยืนยันคุณลักษณะแห่งการเสด็จลงมาของอัลลอฮ ซึ่งเราจะไม่ถามว่าเป็นอย่างไร เรายืนยันตามที่ท่านรซูลุลลอฮ ศอ็ลฯ บอกไว้ และเป็นหะดิษเศาะเฮียะ
ผมมีความสามารถก็เฉพาะชี้แจงทางวิชาการที่อัลลอฮ ซ.บ ให้มาเล็กน้อยเท่านั้น ไม่มีความสามารถที่จะเล่นนอกกติกาตอบโต้คนที่เห็นต่างโดยการทำลาย ให้เหล่าบริวารเอารูปมาประจาน ล่อเป้าให้คนอื่นด่าทอ กรรมใดใครก่อ สักวันมันจะคืนสนอง

والله أعلم بالصواب


............................
อะสัน หมัดอะดั้ม





วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ตัชบีฮตามความเข้าใจของปราชญ์สะลัฟ




وَقَالَ نُعَيْمُ بْنُ حَمَّادٍ : مَنْ شَبَّهَ اللَّهَ بِشَيْءٍ مِنْ خَلْقِهِ فَقَدْ كَفَرَ ، وَمَنْ أَنْكَرَ مَا وَصَفَ اللَّهُ بِهِ نَفْسَهُ فَقَدْ كَفَرَ ، وَلَيْسَ فِيمَا وَصَفَ اللَّهُ بِهِ نَفْسَهُ وَلَا رَسُولُهُ تَشْبِيهٌ
และ นุอัยมฺ บิน หัมมาด กล่าวว่า “ ผู้ใดเปลียบเทียบอัลลอฮ ว่าคล้ายคลึงด้วยสิ่งใดๆจากมัคลูคของพระองค์ แน่นอน เขาเป็นกุฟุร และผู้ใด ปฏิเสธ สิ่งที่อัลลอฮทรงพรรณนาคุณลักษณะแก่ตัวของพระองค์เองด้วยมัน แน่นอนเขาเป็นกุฟุร และ สิ่งที่อัลลอฮ ทรงพรรณนาคุณลักษณะแก่ตัวของพระองค์เองด้วยมันและสิ่งที่รอซูลของพระองค์ (พรรณนาคุณลักษณะแก่พระองค์ด้วยมัน)นั้น ไม่ใช่เป็นการตัชบีฮ(หมายถึงไม่ใช่เป็นเปรียบเทียบว่าอัลลอฮคล้ายคลึงกับมัคลูค) – ดู ชัรหุอะกีดะฮอัฏเฎาะหาวียะฮ เล่ม หน้า 85 และ ดู ชัรหุอุศูลเอียะติกอด อะฮลิสสุนนะฮวัลญะมาอะฮ เล่ม 2 หน้า 532 หะดิษหมายเลข 936
ท่านอิสหาก บิน รอฮาวียะฮ ปราชญ์ชาวสะลัฟ (ฮ.ศ 161 - 238 )กล่าวว่า
إِنَّمَا يَكُونُ التَّشْبِيهُ إِذَا قَالَ يَدٌ كَيَدٍ أَوْ مِثْلُ يَدٍ أَوْ سَمْعٌ كَسَمْعٍ أَوْ مِثْلُ سَمْعٍ. فَإِذَا قَالَ سَمْعٌ كَسَمْعٍ أَوْ مِثْلُ سَمْعٍ فَهَذَا التَّشْبِيهُ وَأَمَّا إِذَا قَالَ كَمَا قَالَ الله تَعَالَى يَدٌ وَسَمْعٌ وَبَصَرٌ وَلَا يَقُولُ كَيْفَ وَلَا يَقُولَ مِثْلُ سَمْعٍ وَلاَ كَسَمْعٍ فَهَذَا لَا يَكُونُ تَشْبِيهًا وَهُوَ كَمَا قَالَ الله تَعَالَى فِى كِتَابِهِ: { لَيْسَ كَمِثْلِهِ شَيْءٌ وَهُوَ السَّمِيعُ الْبَصِيرُ
การตัชบีฮฺ(เปรียบกับมัคลูก)นั้นคือการที่เรากล่าวว่า พระหัตถ์ของอัลลอฮฺก็เหมือนกับมือของฉันหรือใกล้เคียงกับมือของฉัน หรือการที่เขากล่าวว่า พระองค์อัลลอฮฺได้ยินเหมือนกับที่ฉันได้ยินหรือคล้ายกับที่ฉันได้ยิน แบบนี้แหละที่เขาเรียกว่าตัชบีฮฺ แต่หากเป็นการกล่าวในสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงตรัสไว้แล้ว เช่น พระหัตถ์, ทรงสดับฟัง, ทรงทอดพระเนตร พร้อมกับไม่ถามว่ามันเป็นอย่างไรแบบไหน ตลอดจนไม่กล่าวว่าอัลลอฮฺได้ยินเหมือนกับฉันได้ยิน ดังนั้นแบบนี้ไม่เป็นการตัชบีฮฺต่ออัลลอฮฺตะอาลา พระองค์กล่าวไว้ในคัมภีร์ของพระองค์ว่า ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนหรือคล้ายคลึงกับพระองค์แท้จริงพระองค์คือผู้ทรงได้ยินและทรงเห็น” (หนังสือ สุนันอัตติรมิซีย์ เล่ม 3 หน้าที่ 50-51)
……………………
เพราะฉะนั้น การที่เราเชื่อ ตามที่อัลลอฮทรงบอกว่า ทรงมี พระหัตถ์ หรือ สิฟัตอื่นๆ ตามที่ทรงบอกไว้ ไม่ใช่ว่า เป็นการเปรียบเทียบกับมัคลูค หรือ มีรูปร่างเหมือนมัคลูค เพราะพระองค์ทรงบอกไว้แล้วว่า
لَيْسَ كَمِثْلِهِ شَيْءٌ وَهُوَ السَّمِيعُ الْبَصِيرُ
ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนกับพระองค์แท้จริงพระองค์คือผู้ทรงได้ยินและทรงเห็น
والله أعلم بالصواب



อะสัน หมัดอะดั้,

พัฒนาการของวัยทารก




วัยทารก (มัรฺหะละฮฺ อัร-เราะฎออฺ)


          วัยทารกคือช่วงวัยที่เด็กกินนมแม่เป็นอาหารหลัก เริ่มตั้งแต่วันแรกที่เกิดไปจนถึงช่วงปลายของขวบปีที่สอง นั่นคือมีระยะเวลาทั้งหมดสองปีโดยประมาณ อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

(وَالْوَالِدَاتُ يُرْضِعْنَ أَوْلادَهُنَّ حَوْلَيْنِ كَامِلَيْنِ لِمَنْ أَرَادَ أَنْ يُتِمَّ الرَّضَاعَةَ)  البقرة : 233

 "และมารดาทั้งหลายนั้น จะให้นมแก่ลูกๆ ของนางภายในสองปีเต็ม สำหรับผู้ที่ต้องการจะให้ครบถ้วนในการให้นม"

(2:233)


คุณลักษณะเฉพาะของวัยทารก

          ความสำคัญของช่วงวัยนี้อยู่ที่การแยกตัวของทารกออกจากแม่หลังจากที่ต้องอาศัยอยู่ในท้องของนาง และต้องออกมาอยู่ในโลกภายนอกที่ตนไม่เคยรู้จักก่อนหน้านี้ การดูแลของครอบครัวจะมีผลต่อเด็กทั้งในแง่ของการให้อาหาร การเลี้ยงดู และการให้ความอบอุ่น

          การดูแลเด็กทารกหลังจากคลอดแล้วนั้นมีความสำคัญยิ่ง ควรต้องระแวงระวังให้มาก เพราะทารกนั้นเปรียบเหมือนกิ่งไม้ ตราบใดที่มันยังติดอยู่กับต้น ย่อมไม่ใช่เรื่องง่ายที่ลมพายุจะพัดหรือตีมันให้หักโค่น แต่เมื่อใดมันถูกย้ายไปปลูกที่อื่นเสีย แน่นอนว่าแค่ลมพายุเพียงเล็กน้อยก็สามารถถอนรากมันได้ ดั้งนั้น เด็กเมื่อแยกออกจากท้องแม่แล้ว ด้วยการย้ายจากสถานที่ที่ตนเคยชินแบบกระทันหันในคราวเดียว ย่อมเป็นสิ่งที่หนักหนาสำหรับเขามาก เพราะมันไม่ได้เป็นไปอย่างที่ละเล็กที่ละน้อยหรือแบบค่อยเป็นค่อยไป


ปัจจัยที่ส่งผลอย่างยิ่งต่อนิสัยของเด็กในช่วงวัยนี้ก็คือ การให้นม

          บรรดาผู้เชี่ยวชาญต่างยอมรับว่าเด็กทารกนั้น นอกจากจะได้รับประโยชน์จากนมที่เขาดูดแล้ว เขายังได้รับอิทธิพลในด้านนิสัยจากแม่นมมาด้วย ผ่านนมที่นางให้เขา หมายความว่า ควรต้องเลือกสรรแม่นมที่มีนิสัยดี ไม่ใช่คนเลวทราม เป็นผู้มีคุณธรรมความยำเกรง

         อิบนุ กุดามะฮฺ ได้กล่าวว่า อบู อับดิลลาฮฺ (อิมาม อะหฺมัด) ถือว่าการให้ลูกกินนมจากผู้หญิงที่มีนิสัยชั่วและผู้ที่ตั้งภาคีนั้น เป็นสิ่งที่มักรูฮฺ(น่ารังเกียจถึงขั้นต้องห้าม)

         อุมัรฺ อิบนุ อัล-ค็อฏฏอบ และ อุมัรฺ อิบนุ อับดิลอาซีซ รอฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ก็ได้กล่าวว่า น้ำนมมีผลทางความคล้ายคลึง ดังนั้นจึงอย่ารับน้ำนมจากหญิงชาวยิว หญิงชาวคริสต์ หรือหญิงโสเภณี ... เพราะน้ำนมจากหญิงที่ชั่วอาจจะทำให้เด็กเติบโตคล้ายคลึงกับผู้ให้นมเขาในการทำชั่ว และยังทำให้แม่นมกลายเป็นมารดาของเขา นั่นจะทำให้เขามีตำหนิและได้รับผลเสียในทางนิสัยใจคอ

การได้รับน้ำนมจากหญิงผู้ตั้งภาคีจะทำให้นางได้เป็นแม่ของเด็กเช่นกัน ซึ่งนางจะอยู่ในฐานะแม่ทั้งๆที่นางเป็นผู้ตั้งภาคี เด็กอาจจะผูกพันกับนางจนกระทั่งเห็นชอบในศาสนาของนางด้วย การให้นมจากหญิงที่โง่เขลาเบาปัญญาก็เป็นมักรูฮฺเช่นกัน เพื่อไม่ให้เด็กคล้ายกับนาง คือเติบใหญ่เป็นคนโง่เหมือนนาง เพราะมีผู้กล่าวว่า การให้นมนั้นสามารถเปลี่ยนนิสัยได้ วัลลอฮฺ อะอฺลัม



          สิ่งที่ควรให้ความสำคัญอีกประการคือ ไม่ควรให้นมจากน้ำนมที่หะรอม ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายด้วยค่าตอบแทนที่หะรอม หรือแม่นมเป็นคนที่ละเลยและทำเป็นเรื่องเล็กน้อยกับการดื่มกินของหะรอม อิมาม อัล-เฆาะซาลีย์ กล่าวว่า แท้จริงน้ำนมที่ได้มาจากสิ่งหะรอมนั้นไม่มีความประเสริฐอยู่เลย เมื่อใดที่ทารกได้รับมันแล้ว เลือดเนื้อของเขาก็จะก่อตัวจากสิ่งที่เลวทราม นิสัยใจคอก็จะเอนเอียงไปสู่สิ่งที่เลวทรามเช่นกัน

         ถ้าหากการให้นมที่ไม่ควรส่งผลเสียต่อเด็กแล้ว เช่นเดียวกันนั้นถ้าหากเป็นการให้นมที่ดีก็จะทำให้เด็กได้รับผลดีในด้านนิสัยใจคอตามไปด้วย แม่ที่ให้นมลูกด้วยความรักจะมอบความอบอุ่นและอาหารทางจิตใจให้เขาในขณะที่นางอุ้มเขาอยู่ นอกจากที่ลูกจะยังได้รับนมที่มีประโยชน์จากนางอีกด้วย การให้นมคือการสื่อสารระหว่างลูกกับแม่ เขาจะรู้สึกอุ่นและปลอดภัยในตักและอ้อมแขนทั้งสองของนาง

การให้นมไม่เพียงให้ความอิ่มทางร่างกายเท่านั้น แต่ยังให้ความอิ่มทางใจแก่เด็กที่โหยหาความรัก การดูแลเอาใจอีกด้วย การที่เขารู้สึกอบอุ่นและผ่อนคลายทางจิตใจจะทำให้เขาเป็นคนที่มีสมดุลในด้านความรู้สึกและนิสัยใจคอ เพราะไม่มีปัจจัยด้านลบที่เกิดจากความบกพร่องในการให้นมและความอบอุ่นทางใจที่มาพร้อมกับการให้นมนั้น



• ควรสังเกตว่าในวัยนี้เด็กจะยังไม่สามารถสื่อถึงความรู้สึกและอาการเจ็บปวดด้วยภาษาพูด แต่วิธีที่เขาสามารถสื่อได้ก็คือด้วยการร้อง และใช้มือจับที่ที่รู้สึกเจ็บ

• คุณลักษณะเฉพาะอีกประการหนึ่งก็คือ การไวต่อความรู้สึกเมื่อเห็นภาพที่น่ากลัว หรือสิ่งที่ทำให้ตกใจ สิ่งนี้อาจจะส่งผลต่อสติปัญญาของเด็กได้ด้วย

• วัยนี้มีลักษณะทางร่างกายที่ยังไม่แข็งแรงพอ เหตุเพราะเพิ่งออกจากท้องแม่ ดังนั้นควรต้องไม่ฝึกให้ลูกเดินก่อนถึงเวลาอันควร เพราะจะทำให้ขาโค้งงอได้ และไม่ควรนำเด็ก “เฏาะวาฟ” (เดินเวียนรอบกะอฺบะฮฺ) จนกว่าจะครบสามเดือน

• เด็กในวัยนี้อาจจะขี้ร้องเมื่อถึงเวลาหิว แต่พ่อแม่ไม่ควรรู้สึกหนักใจกับสิ่งนี้ การร้องของเด็กมีประโยชน์ที่ใหญ่หลวง เพราะมันจะช่วยพัฒนาอวัยวะกล้ามเนื้อ เปิดลำไส้ให้กว้าง ขยายปอด ทำให้สมองอุ่น ดูแลความสมดุล ช่วยกระเพาะและลำไส้ให้ขับถ่ายของเสีย และยังช่วยขับสิ่งที่ตีบตันในสมองได้ด้วย

• เด็กมักจะไม่หย่านมได้ในคราวเดียว ดังนั้นควรต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพราะการหย่านมในคราวเดียวขัดกับธรรมชาติของเด็กที่สามารถจะรับได้




คำแนะนำของอิสลามสำหรับช่วงวัยทารก

         อิสลามได้ให้ความสำคัญกับการดูแลอุปนิสัยของทารกตั้งแต่แรกเกิดหลังจากออกมาจากท้องแม่ โดยให้แวดล้อมด้วยการเลี้ยงดูและจริยธรรมอิสลาม สิ่งแรกที่ควรต้องเข้าไปสัมผัสโสตหูของเด็กคือถ้อยคำแห่งเตาฮีด ดังที่มีรายงานจากอบู รอฟิอฺ จากบิดาของท่านว่า

“ฉันได้เห็นท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ทำการอะซานตรงหูของหะสัน บุตรของอะลี เมื่อครั้งที่ฟาฏิมะฮฺได้ให้กำเนิดเขา”

ท่านอิบนุล ก็อยยิม ได้กล่าวถึงประโยชน์ของอะซานว่า

“ไม่ต้องปฏิเสธเลยว่า ผลดีของอะซานนั้นจะส่งผลไปยังหัวใจของเด็ก เขาจะมีปฏิกริยากับสิ่งนั้นถึงแม้จะไม่รู้สึกอะไรก็ตาม พร้อมกับข้อดีอีกประการ นั่นคือการหนีห่างของชัยฏอนจากเสียงอะซาน”

หลังจากนั้นให้ทำการ ตะหฺนีก (คือการเปิดปากตามที่เข้าใจกันในหมู่ชาวมุสลิม) ของเด็กด้วยผลอินทผาลัม มีหลักฐานที่เศาะฮีหฺจากท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ซึ่งเล่าโดย อบู มูซา ว่า

“ตอนที่ลูกคนหนึ่งของฉันเกิด ฉันได้นำเขาไปหาท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ท่านได้ตั้งชื่อเขาว่า อิบรอฮีม และได้เปิดปากเขาด้วยผลอินทผาลัม”

เหตุผลที่ให้ทำเช่นนั้น อาจจะเป็นเพราะเพื่อให้กล้ามเนื้อปากแข็งแรงด้วยการได้ขยับลิ้นและได้เปิดปากกว้างขึ้นจากการตะหฺนีก เพื่อให้พร้อมต่อการดูดนม



          หนึ่งในมารยาทของอิสลามคือการทำ อะกีเกาะฮฺ (การเชือดสัตว์เช่น แพะ แกะ วัว ตอนเด็กแรกเกิด) เพื่อแสดงถึงความดีใจและสุขใจที่มีสมาชิกใหม่กำเนิด

เล่าจากอุมมู กัรซ์ อัล-กะอฺบิยะฮฺ นางได้ถามท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ถึงการทำอะกีเกาะฮฺ ท่านรอซูลได้ตอบนางว่า

“สำหรับเด็กชายนั้นแพะสองตัว สำหรับเด็กผู้หญิงนั้นแพะตัวเดียว ไม่จำเป็นว่าแพะนั้นจะเป็นตัวผู้หรือตัวเมีย”

          ในจำนวนมารยาทของอิสลามเกี่ยวกับทารกก็คือ การขจัดสิ่งสกปรก(หมายถึงเส้นผลที่มีมาพร้อมเด็กตั้งแต่กำเนิด)จากศรีษะของเขาในวันที่เจ็ดหลังจากคลอด ท่านอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา เล่าว่า

"ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ทำอะกีเกาะฮฺให้กับหะสันและหุสัยน์ในวันที่เจ็ด ได้ตั้งชื่อให้ทั้งสอง และได้สั่งให้ขจัดสิ่งสกปรก"

         เป็นหนึ่งในมารยาทอันงดงามมากที่จะมอบให้เด็ก นั่นคือการเลือกชื่อที่สวยงามให้เขา ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า

“เมื่อคืนได้ถูกกำเนิดแก่ฉันซึ่งลูกชายคนหนึ่ง ดังนั้นฉันจึงได้ตั้งชื่อเขาด้วยชื่อของบิดาฉัน นั่นคือ(ท่านนบี)อิบรอฮีม”

ท่านยังได้กล่าวว่า

“แท้จริงชื่อของพวกเจ้าอันเป็นที่รักยิ่งที่สุดของอัลลอฮฺคือ อับดุลลอฮฺ และ อับดุรเราะห์มาน”

         อันเนื่องมาจากชื่อคือสิ่งที่บ่งชี้และแสดงถึงความหมาย ดังนั้นจึงเป็นวิทยปัญญาประการหนึ่งที่เราพบว่ามีความสัมพันธ์และความสอดคล้องกันระหว่างชื่อและความหมายนั้น ชื่อต่างๆ ยังมีส่วนต่อความรู้สึกของผู้เป็นเจ้าของ และเจ้าของชื่อเองจะมีความรู้สึกต่อชื่อของตนเองทั้งที่งดงามหรือน่าเกลียด เบาบางหรือหนักแน่น อ่อนโยนหรือแข็งกระด้าง เป็นต้น



กวีท่านกล่าวว่า “น้อยนักที่ตาท่านจะมองไปยังสิ่งใดที่มีชื่อ เว้นแต่ความหมายของมันจะซ่อนอยู่ในชื่อนั้นถ้าท่านพินิจดูให้ดี”

ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ชอบให้ตั้งชื่อที่ดี

          สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอีกประการคือ การคิตาน (การขลิบอวัยวะเพศ) ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวไว้ความว่า

“การดูแลความสะอาดที่นับเป็นธรรมชาติของคนนั้นมีห้าประการ คือ การคิตาน การโกนขนลับ การตัดหนวด การตัดเล็บ และการถอนขนใต้วงแขน”

         การคิตานมีประโยชน์ในด้านความสะอาดและความงาม โดยเฉพาะความสมดุลของอารมณ์ใคร่ ที่หากมีมากเกินไปก็จะเหมือนสัตว์เดรัจฉาน แต่ถ้าไม่มีเลยก็จะทำให้มนุษย์กลายเป็นเหมือนของแข็ง ดังนั้นการคิตานคือตัวที่ช่วยให้เกิดความสมดุล ด้วยเหตุนี้เราจะพบว่า ผู้ที่ไม่คิตานมักจะไม่รู้สึกพอกับการมีเพศสัมพันธ์ สิ่งนี้นี่เองที่อาจจะเป็นตัวช่วยปรับนิสัยของมนุษย์ในการสนองความใคร่ให้พอดี เขาจะไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์ใคร่ และจะไม่เป็นเจ้าของที่ไม่รู้จักใช้ประโยชน์ของมันในการสืบทอดเผ่าพันธุ์และวงศ์ตระกูล ดังนั้นจะต้องไม่เลยเถิดและต้องไม่ตกขอบ แต่ต้องมีความสมดุลและความพอดีระหว่างทั้งสองภาวะนั้น

          สิ่งที่เราเห็นได้ชัดเจนสำหรับวัยนี้คือ การให้ความสำคัญของอิสลามในเรื่องมารยาทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับทารกเช่น การตะหฺนีก(การเปิดปาก) การให้นม อะกีเกาะฮฺ การตั้งชื่อ การคิตาน ฯลฯ เหล่านี้เป็นคุณลักษณะเฉพาะของคำสอนอิสลามที่อาจจะไม่พบเห็นได้ในคำสอนอื่น




การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม

          - ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามซุนนะฮฺในการเปิดปากทารก การอะซานที่หูขวา การทำอะกีเกาะฮฺในวันที่เจ็ด การคิตานก่อนจะบรรลุเพศภาวะ(บาลิฆฺ) การเอาใจใส่เรื่องการให้นมจากแม่ ไม่หันไปใช้นมผงเว้นแต่มีความจำเป็นและไม่มีสิ่งใดที่ทดแทน เพราะนมแม่ประกอบด้วยธาตุต่างๆที่ไม่มีในนมชนิดอื่น

          - เลือกแม่นมที่มีคุณธรรม ถ้าหากจำเป็นต้องหาแม่นมให้กับทารก สิ่งเหล่านี้นี่เองที่อาจจะส่งผลในทางจริยธรรมแก่ทารก ตามวัยและการเจริญเติบโตทางร่างกายที่แข็งแรง เพราะร่างกายที่แข็งแรงจะส่งผลให้มีปัญญาที่ดี ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่มีผลต่อนิสัยและพฤติกรรมของมนุษย์

          - สถาบันต่างๆ ในสังคมควรต้องทำหน้าที่ในการให้ความรู้ความเข้าใจในสิ่งต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น


 .................................................................
บทความโดย ศ.ดร.คอลิด บิน หามิด อัล-หาซิมีย์
ถอดความโดย ซุฟอัม อุษมาน / www.e-daiyah.com