อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2558

อัลลอฮฺเป็นผู้ทรงสูงส่ง ทรงประทานทุกสิ่งทุกอย่าง



.
ทรงประทานให้มากยิ่งกว่าที่สมองของคนเราจะคาดคิด มากยิ่งกว่าการจินตนาการของคนเราเสียอีก
พระองค์จะไม่สกัดกั้นความยิ่งใหญ่ของพระองค์ จากการที่คนเราได้ย่อท้อ
และไม่เพียงแค่ทรงประทานให้แก่เรา ซึ่งความใฝ่ฝันที่คนเราต้องการเพียงอย่างเดียว หากแต่พระองค์ทรงสร้างให้แก่คนเรานั้น ซึ่งความใฝ่ฝันที่ดีงามยิ่งกว่าที่คนเราต้องการมันเสียอีก
.


ข้อความดี ๆ โดย : حياتى كلها لله
ถอดความและเรียงคำโดย : อูลุล อัลบ๊าบ



ขึ้นเรือของบรรดาคนยากจน แต่ดันไปทำให้เรือของพวกเขานั้นเสียหาย



เจอเด็กผู้ชาย แต่ก็กลับไปฆ่าเขา
ผู้คนปฎิเสธที่จะต้อนรับเด็กกำพร้าทั้งสองคน แต่เขาก็ดันไปช่วยซ่อมแซมกำแพงเพื่อไม่ให้มันล้มลง
หรือว่าจะมีความดีอันใด ที่ซุกซ่อนอยู่ในมวลปัญหาทั้งหมดนี้?
มีความอดทนที่น้อยนิดนั้น ก็เลยทำให้รู้ความจริงขึ้นมา
ถ้าหากว่าเรือทุกลำดี ก็ต้องโดนกษัตริย์ที่นั่นยึดทั้งหมด
ถ้าหากเด็กผู้ชายมีชีวิตจนเติบใหญ่ พ่อแม่ของเขาที่มีความศรัทธาต่ออัลลอฮฺกลับต้องตกเป็นผู้ปฎิเสธศรัทธาต่อพระองค์
และถ้าหากว่ากำแพงไม่ถูกซ่อมแซม ทรัพย์สินของเด็กกำพร้าทั้งสองคนหมดเกลี้ยงอย่างแน่นอน
ถ้าหากว่าเราอ่านซูเราะฮฺ อัลกะฮฺฟียฺ ทุก ๆ วันศุกร์แล้ว เราจะเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า ถ้าหากว่าอัลลอฮฺไม่ทรงมอบให้แก่เรากับสิ่งที่เราปรารถนา แต่ทรงมอบให้แก่เราซึ่งสิ่งที่เราไม่ต้องการ พึงให้รู้ไว้เถิดว่า สิ่ง ๆ นั้น เป็นสิ่งที่คู่ควรสำหรับเราแล้ว แต่กว่าเราจะรับรู้นิอฺมัตนี้ได้ กาลเวลาจะเป็นตัวที่สอนเรา ซึ่งจะทำให้เราได้เข้าใจและยอมรับมันในสักวัน
‪#‎วันนี้ท่านอ่านซูเราะฮฺอัลกะฮฺฟียฺแล้วหรือยัง‬?
.
บทความดี ๆ โดย : شاركنا كل يوم بدعاء وأيه من كتاب الله وحديث من احاديث الرسول
ถอดความและเรียงคำโดย : อูลุล อัลบ๊าบ

ตอบโต้ผู้อยากทำบิดอะฮ์

โต๊ะครูอะชาอิเราะฮฺท่านหนึ่งกล่าวว่า

การโตะครูวะฮาบีย์กล่าวว่า..ข้างต้น โดยกล่าวหาว่า ผมเข้าใจผิดและเป็นการบิดเบือน โดยอ้างว่า ชาวสะลัฟทำบิดอะฮ สิ่งที่นบีไม่เคยทำ เพื่อยืนยันว่า คนเหล่านี้ทำบิดอะฮที่ดี ความจริง
การกระทำข้างต้น เป็นการทำละหมาด สุนัตมุฏลัก ในการทำละหมาดสุนัตมุฏลักนั้น ...
...........................
ชี้แจง:นี้คือความมุสาของโตะครูท่านนี้..ที่ไม่เข้าใจนิยามในคำว่าบิดอะฮ์..จากนิยามของบรรดาปราชญ์มัสหับสลัฟ..ที่พวกเขาให้ความหมายว่า..บิดอะคือ..สิ่งที่เกิดขึ้นและไม่มีในสมัยท่านนบี(ซล)..นีคือนิยามที่บรรดาอุลามะเขารู้กัน..จะมีก็เฉพาะบังอะลุลและคณะใหม่บางคนเท่านั้นที่ไม่รู้คำนิยามนี้...

ดังนั้น สิ่งที่ผมยกตัวอย่างจากตำราว่าการกระทำของสลัฟซอลิห์ที่กล่าวมานั้น.. คือการกระทำของบรรดาสลัฟเหล่านั้นเกิดขึ้นหลังจากท่านนบี(ซล)ได้จากไปแล้วโดยที่ไม่มีรูปแบบหรือคำสั่งใช้จากท่านนบี(ซล)จากที่ตัวอย่างที่ผมยกมาทั้งหมดนั้น....
ฉนั้น.อยากถามว่า..สิ่งเหล่านี้ตรงกับนิยามคำว่าบิดอะหรือไม่และสิ่งเหล่านี้ท่านนบี(ซล)เคยใช้กระทำหรือมีปรากฎในสมัยท่านนบีหรือไม่...คำตอบคือไม่เคยใช้และไม่มี.

..ดังนั้นนี้.คือ นิยามคำว่า..บิดอะก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นและไม่เคยปรากฎในสมัยท่านนบี(ซล)นั้นเอง......แต่โตะครูท่านนี้ไม่มีจุดยืนและความเข้าใจ..แต่แดกดันหัวชนฝาลูกเดียว..นีคือการไร้ความรู้จากปวงปราชญ์ที่มีคุณธรรม..นั้นเอง...

ประเด็นต่อมาการอ้างคำกล่าว..ที่ไม่มีความเข้าใจโดยอ้างว่า..

ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า
( الصلاة خير موضوع ، فمن استطاع أن يستكثر فليستكثر )
การละหมาด เป็นสิ่งที่ถูกวางไว้ที่ดี ดังนั้น ผู้ใดสามารถเพิ่มให้มากได้ ก็จงเพิ่มให้มากเถิด – รายงานโดย อัฏฏอ็บรอนีย์ และอัลบานีย์ ระบุไว้ใน เศาะเหียะญามุอัศเศาะฆัยร หะดิษหมายเลข 3870 ว่า เป็นหะดิษหะซัน..
................................

การยกหะดิษนี้นั้น มันไม่เกี่ยวกับกับการกระทำของสลัฟที่อยู่ในหลักการครอบคุลุม..แต่การกระทำของสลัฟซอลิห์ที่กล่าวมานั้นเป็นการเจาะจง..ที่ไม่มีปรากฎแบบอย่างของท่านนบี(ซล)เลยในการที่สลัฟเหล่านั้นเขานำมาปฎิบัติ..

ฉนั้น..ปัญหานี้มันเกิดจากความไมเข้าใจของโตะครูวะฮาบีย์ท่านนี้นั้นเองแล้วให้ผู้อื่นที่ไม่มีความรู้คล้อยตาม..ด้วยการ
พยายามหาความชอบธรรมในการที่จะสร้างบิดอะดอลาละที่ไม่ยอมรับการแบ่งบิดอะออกเป็น2ประเภท โดยอ้างว่า.ไม่มีในสิ่งเหล่านี้ที่ดี..โดยการไม่ยอมรับหลักฐานการกระทำของสะลัฟและบรรดานักปราชญ์โดนการหลอกให้คนอาวามเข้าใจว่าผิด..โดยอ้างว่าทุกๆบิดอะคือ..การหลงผิดและต้องตกนรกทั้งๆที่ปราชญ์มัสหับสลัฟเหล่านั้นเขาไม่มีความเข้าใจอย่างโตะครูท่านนี้เลย-นะอูซุบิลละฮ..

..........................................................

การตอบโต้ คำกล่าวของอะชาอิเราะฮ์

ท่านพยายามหาความชอบธรรมในการที่จะสร้างบิดอะดอลาละที่ไม่ยอมรับการแบ่งบิดอะออกเป็น2ประเภท โดยอ้างว่าไม่มีในสิ่งเหล่านี้ดี โดยการไม่ยอมรับหลักฐานการกระทำของสะลัฟและบรรดานักปราชญ์โดนการหลอกให้คนอาวามเข้าใจว่าผิด..โดยอ้างว่าทุกๆบิดอะคือการหลงผิดและต้องตกนรกทั้งๆที่ปราชญ์มัสหับสลัฟเหล่านั้นเขาไม่มีความเข้าใจอย่างโตะครูท่านนี้เลย-นะอูซุบิลละฮ..
>>>>>
พูดผิด พูดไหม่ได้ครับ ถ้าบิดอะฮ ในศาสนา เป็นสิ่งที่ดี คงไม่มีใครหาเรื่องให้มันเป็นเฎาะลาละฮ หรือสิ่งหลงผิดหรอกครับ เพราะบิดอะฮ หลายเรื่อง ที่สร้างประโยชน์ให้กับนักหากินกับศาสนา แต เพราะนบี ศอ็ลฯบอกว่า

وَإِيَّاكُمْ وَمُحْدَثَاتِ الأمُوْرِ فَإِنَّ كُلَّ بِدْعَةٍ ضَلَالَةٌ "
และพวกท่านจงพึงระวังต่ออุตริกรรมทั้งหลายในศาสนา เพราะทุกๆ อุตริกรรม (บิดอะฮฺ) นั้นคือความหลงผิด (หะดีษนี้บันทึกโดยอบูดาวูด และอัต-ติรมิซีย์ และท่านกล่าวว่า หะดีษอยู่ในระดับหะสันเศาะหี้หฺ)
ด้วยผลประโยชน์มากมาย จึงมีคนพยายามที่ให้บิดอะฮ เป็นสิ่ง ดี และอนุญาต พยายามชงหลักการที่เด็ดขาดให้เป็นสีเทา เพื่อสนองตอบความต้องการและความนิยมมวลชนคนอาวาม

.วิภาษข้อชี้แจงโตะครูแกนนำคณะใหม่วะฮาบีย์ที่ชอบเอา..
บทความผมแล้วไปแอบวิจารณ์และหากผมกระทำบ้างก็จะสาปแช่งด่าหรือว่า..ไม่ฮาล้าลให้ผมอย่างนั้นอย่างนี้....นี้คือนิสัยของใคร..
>>>>>>>
ที่ผมนำมาตอบโต้ เพราะมีการใส่ร้ายปราชญ์ และใส่ร้ายพี่น้องที่ท่านเรียกวะฮบีย์ ผมได้ตั้งกระทู้เพื่อให้ท่านมาเสวนาการด้วยหลัก วิชาการเพราะท่านกล่าวหาวะฮบีย์มากมาย และมีเงื่อนไขว่าให้สาบานกันก่อนเพื่อป้องกันการบิดเบือนและกล่าวเท็จ ตรงใหนที่ผมแช่งคุณ คุณโกหก


وعَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ، أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ: «مَنْ دَعَا إِلَى هُدًى، كَانَ لَهُ مِنَ الْأَجْرِ مِثْلُ أُجُورِ مَنِ اتَّبَعَهُ، لَا يَنْقُصُ ذَلِكَ مِنْ أُجُورِهِمْ شَيْئًا، وَمَنْ دَعَا إِلَى ضَلَالَةٍ، فَعَلَيْهِ مِنَ الْإِثْمِ مِثْلُ آثَامِ مَنِ اتَّبَعَهُ، لَا يَنْقُصُ ذَلِكَ مِنْ آثَامِهِمْ شَيْئًا»
“ผู้ใดเชิญชวนผู้อื่นไปสู่แนวทางที่ถูกต้อง เขาก็จะได้รับผลบุญเท่ากับผลบุญของผู้ปฏิบัติตามคำเชิญชวนของเขา โดยที่ผลบุญของเขาเหล่านั้นไม่ได้ขาดหายไปแต่ประการใด และผู้ใดที่เชิญชวนผู้อื่นสู่ทางหลงผิด เขาก็จะได้รับผลบาปเท่ากับผลบาปของผู้ปฏิบัติตามคำเชิญชวนของเขา โดยที่ผลบุญของเขาเหล่านั้นไม่ได้ขาดหายไปแต่ประการใด และผู้ใดที่เชิญชวนผู้อื่นสู่ทางหลงผิด เขาก็จะได้รับผลบาปเท่ากับผลบาปของผู้ปฏิบัติตามคำเชิญชวนของเขา โดยที่ผลบาปของเขาเหล่านั้นไม่ได้ขาดหายไปแต่ประการใด” (รายงานโดย มุสลิม / ๒๖๗๔)
จากหะดิษข้างต้น จึงถามบาบอญิฮาด อักซอ ว่า คำว่า "ฮุดัน (ทางนำ) หมายถึง บิดอะฮ ที่ท่านบอกว่าดี ด้วยใช่ไหมครับ


เมื่อมีการกล่าวเท็จแก่อิบนุตัยมียะฮว่าห้ามเยี่ยมกุบูรนบี




ท่านบาบอผู้ทรงคุณวุฒิผู้นำทางวิญญานอาชาอิเราะฮบางกลุ่มกล่าวหาอิบนุตัยมียะฮว่า
ท่านชัยค์อิบนุตัยมียะฮ์ ผู้นำจิตวิญญาณของกลุ่มคณะใหม่วะฮ์ฮาบี เสียชีวิตในปีที่ 728 ฮ. ช่วงบั่นปลายชีวิตของท่าน ท่านได้ถูกกักขังจำนวน 7 ครั้งด้วยกันในเรื่องมัสอะละฮ์ทางด้านหลักความเชื่อและทางด้านฟิกฮ์และครั้งสุดท้ายท่านได้ถูกกักขังที่กรุงอามัสกัส(อัดดิมัชกี้ย์)ในประเทศซีเรียและเสียชีวิตในที่กักขังนั้นจากมัสอะละฮ์ที่ท่านได้ดูหมิ่นเกียรติของท่านนะบีย์มุฮัมหมัดศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวัซซัล จากหนังสือ “ มัจมั๊วอ์ ฟะตาวา ” ของท่านในยุซฺ หน้า 520 ว่า
“ การตั้งใจออกเดินทางเพื่อไปเยี่ยมเยียนสุสานจากบรรดาสุสานต่างๆ(ไม่ว่าจะเป็น)สุสานของท่านนะบีย์ หรืออื่นจากนี้(เช่นบรรดาสุสานของศ่อฮาบะฮ์และคนศอลิห์)นั้น ถือว่าเป็นสิ่งที่ถูกห้ามตามมติของบรรดาปรวงปราชญ์ จนกระทั้งบรรดาปราชญ์เหล่านั้นไม่อนุญาตให้ทำการย่อละหมาดในการเดินทางเนื่องจากเรื่องนี้ เพราะถือว่า เป็นการเดินทางที่เป็นความชั่ว ”
โดยท่านอิบนุตัยมียะฮ์ได้ตัดสินหะดีษตามความเข้าใจของเขาเองค้านกับบรรดาอุลามาอฺอะลุสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์จากหะดีษที่ว่า
“ ไม่มีการตั้งใจที่จะออกเดินทาง ยกเว้นการเดินไปยังมัสยิดสามแห่ง คือมัสยิดอัลหะรอม มัสยิดอัลอักศอ และมัสยิดของฉัน (คือมัสยิดอันนะบาวีย์)


>>>>>>>>>>>>>>
ขอชี้แจงดังนี้

มาดูความจริง ที่แสดงให้เห็นว่าข้างต้น คือความเท็จ
ไม่มีคนใดบอกว่า การเยี่ยมกุบูรนบี เป็นมะอศียะฮ หรือเป็นบาป แต่ที่เขาพูดคือ การเตรียมเสบียงเดินทางเพื่อเจาะจงเยี่ยมกุบูรนบี เป็นการเฉพาะ เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ส่วนคนที่เดินทางไปทำหัจญ์ และเดินทางไปละหมาดที่มัสยิดอัลนะบะวีย์และถือโอการเยี่ยมกุบูรนบีนั้น เป็นสิ่งที่ชอบให้กระทำ
ดังที่ท่านอิบนุตัยมียะฮกล่าวว่า
قَدْ ذَكَرْت فِيمَا كَتَبْته مِنْ الْمَنَاسِكِ أَنَّ السَّفَرَ إلَى مَسْجِدِهِ وَزِيَارَةَ قَبْرِهِ - كَمَا يَذْكُرُهُ أَئِمَّةُ الْمُسْلِمِينَ فِي مَنَاسِكِ الْحَجِّ - عَمَلٌ صَالِحٌ مُسْتَحَبٌّ .
แท้จริงข้าพเจ้าได้ระบุในสิ่งที่ข้าพเจ้าได้เขียนมัน จากพิธีการทำหัจญ์ ว่า แท้จริงการเดินทาง ไปยังมัสยิดของท่านนบี และเยี่ยมกุบูรของท่านนบี ดังที่บรรดาอิหม่ามแห่งมุสลิมได้ระบุเอาไว้ในเรื่องการบำเพ็ญหัจญ์นั้น คือ การงานที่ดี ส่งเสริมให้กระทำ(มุสตะหับบะฮ) – ดู มัจญมัวะฟาตาวา เล่ม ๒๗ หน้า ๓๓๐

อิบนุตัยมียะฮกล่าวต่อไปว่า
وَالصَّلَاةُ تُقْصَرُ فِي هَذَا السَّفَرِ الْمُسْتَحَبِّ بِاتِّفَاقِ أَئِمَّةِ الْمُسْلِمِينَ لَمْ يَقُلْ أَحَدٌ مِنْ أَئِمَّةِ الْمُسْلِمِينَ إنَّ هَذَا السَّفَرَ لَا تُقْصَرُ فِيهِ الصَّلَاةُ . وَلَا نَهَى أَحَدٌ عَنْ السَّفَرِ إلَى مَسْجِدِهِ وَإِنْ كَانَ الْمُسَافِرُ إلَى مَسْجِدِهِ يَزُورُ قَبْرَهُ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بَلْ هَذَا مِنْ أَفْضَلِ الْأَعْمَالِ الصَّالِحَةِ وَلَا فِي شَيْءٍ مِنْ كَلَامِي وَكَلَامِ غَيْرِي نَهْيٌ عَنْ ذَلِكَ وَلَا نَهْيٌ عَنْ الْمَشْرُوعِ فِي زِيَارَةِ قُبُورِ الْأَنْبِيَاءِ وَالصَّالِحِينَ وَلَا عَنْ الْمَشْرُوعِ فِي زِيَارَةِ سَائِرِ الْقُبُورِ ; بَلْ قَدْ ذَكَرْت فِي غَيْرِ مَوْضِعٍ اسْتِحْبَابَ زِيَارَةِ الْقُبُورِ
การละหมาด จะถูกย่อในการเดินทางที่ชอบให้กระทำนี้ ด้วยมติเห็นฟ้องของบบรรดาอิหม่ามแห่งมุสลิม และไม่มีคนใดจากบรรดาอิหม่ามมุสลิม พูดว่า การเดินทางนี้ การละหมาดจะไม่ถูกย่อ และไม่มีคนใดห้ามไม่ให้เดินทางไปยังมัสยิดนบี และแม้การเดินทางไปยังมัสยิดนบี นั้น เขาได้เยี่ยมกุบูรนบี ศอ็ลฯ ด้วยก็ตาม แต่ทว่า นี้คือ ส่วนหนึ่งจาก บรรดาการงานดีที่ประเสริฐ กว่า และไม่มีในสิ่งใดจากคำพูดของข้าพเจ้า และคำพูดของคนอื่นอื่นจากข้าพเจ้า ที่ห้ามจากดังกล่าวนั้น และไม่มีการห้ามใดๆ จากสิ่งที่ถูกบัญญัติ ในเรื่องการเยี่ยมบรรดากุบูรนบีและบรรดาคนดีๆ และไม่มีการห้ามจากสิ่งที่ถูกบัญญัติในการเยียมบรรดากุบูรอื่นๆ ยิ่งไปกว่านั้น ข้าพเจ้าได้ระบุไว้หลายแห่ง ว่า ส่งเสริมให้กระทำ(มุสตะหับ)ให้เยี่ยมบรรดากุบูร.................ดู มัจญมัวะฟาตาวา เล่ม ๒๗ หน้า ๓๓๐

.....................
สรุปว่า ข้อความของท่านโต๊ะครูข้างต้นทีกล่าวหาว่าอิบนุตัยมียะฮห้ามเยี่ยมกุบูรนบี และห้ามย่อละหมาด เป็นการกล่าวเท็จตัดตอนคำพูดมาใส่ร้ายอิบนุตัยมียะ
บรรดาปราชญ์ยุคสะลัฟ ได้ห้ามการเดินทางเพื่อจุดประสงค์เพียงการเยี่ยมกุบูรนบี ศอ็ลฯเป็นการเฉพาะ โดยไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อที่จะละหมาด ณ มัสยิดนะบะวีย์ โดยอาศัยหลักฐานต่อไปนี้
ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า :
لَا تُشَدُّ الرِّحَالُ إِلَّا إِلَى ثَلَاثَةِ مَسَاجِدَ المَسْجِدِ الحَرَامِ، وَمَسْجِدِ الرَّسُولِ صلى الله عليه وسلم، وَمَسْجِدِ الْأَقْصَى
ความว่า “ไม่มีการตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะเดินทาง ยกเว้นการเดินไปยังมัสยิดสามแห่ง มัสยิดอัล-หะรอม มัสยิดเราะสูล และมัสยิดอัล-อักศอ” (มุตตะฟะกุนอะลัยฮฺ : อัล-อัล-บุคอรีย์ย์ 1189 และมุสลิม 1397)
อัลมะนาวีย์ กล่าวว่า
من زار قبري) أي من زارني في قبري فقصد البقعة نفسها ليس بقربة كذا ذكره السبكي في الشفاء وحمل عليه ما نقل عن مالك من منع شد الرحل لمجرد زيارة القبر من غير إرادة إتيان المسجد للصلاة فيه
ผู้ใดเยี่ยมกุบูรของฉัน) หมายถึง ผู้ใดเยี่ยมฉัน ที่กูบูรของฉัน แล้วเขามุ่งหมายเฉพาะสถานที่ไม่ได้เพื่อการแสดงการใกล้ชิด(ไม่ใช่เพื่อแสดงการอิบาดะฮต่อหลุมศพ) ,ในทำนองเดียวกันนั้น อัสสุบกีย์ ได้ระบุมัน ในหนังสือ อัชชิฟาอฺ และเขาได้ถือมันตาม สิ่งที่รายงานจากมาลิก จากการห้าม ตั้งใจเดินทางเพียงเพื่อการเยี่ยมกุบูรนั้น โดยไม่มีความประสงค์ที่จะไปมัสยิดนั้น(มัสยิดอันนะบะวีย์) เพื่อละหมาดในนั้น – ดู ฟัยฎุลเกาะดีร ชัรหุญามิอุศเศาะฆีร ของอัลมะนาวีย์ เล่ม 6 หน้า 140

อัลมะนาวีย์ ได้ระบุว่า อิหม่ามาลิก ก็ห้ามเรื่องการเจตนาตั้งใจเดินทางเพียงเพื่อเยี่ยมกุบูรนบี ศอ็ลฯ โดยไม่ประสงค์จะไปละหมาดที่มัสยิดอันนะบะวีย์ ชี้เห็นว่า การห้ามดังกล่าวมีมาก่อนหน้าอิบนุตัยมียะฮด้วยซ้ำ
อิบนุกุดามะฮ กล่าวว่า
فإن سافر لزيارة القبور والمشاهد، فقال ابن عقيل: لا يباح له الترخص لأنه منهي عن السفر إليها قال النبي صلى الله عليه وسلم: ((لا تشد الرحال إلا إلى ثلاثة مساجد)) متفق عليه
ดังนั้น หากเขาเดินทางไปเยี่ยมกุบูร และการเยี่ยมชม อิบนุอะกีลกล่าวว่า “ไม่อนุญาต ผ่อนปรนแก่เขา เพราะ แท้จริงมันถูกห้ามจากการเดินทางไปยังมัน ,นบี ศอ็ลฯกล่าวว่า ( ไม่มีการจงใจเดินทาง ยกเว้น ไปยังสามมัสยิด – ดูอัลมุฆนีย์ เล่ม 2 หน้า 200
............
แม้แต่ปราชญมัซฮับชาฟิอีเองบางท่านก็ได้ยึดตามความหมายที่ปรากฏในหะดิษ ข้างต้น เช่น
อัลหาฟีซอิบนุหะญัร กล่าวว่า
قال الشيخ أبو محمد الجويني يحرم شد الرحال إلى غيرها عملاً بظاهر هذا الحديث وأشار القاضي حسين إلى اختياره وبه قال عياض وطائفة
เช็ค อบูมุหัมหมัด อัลญุวัยนีย์ ได้ห้ามการจงใจเดินทาง ไปยังที่อื่นจากมัน (อื่นจากสามมัสยิด) โดยปฏิบัติตามความหมายที่ปรากฏของหะดิษนี้ และ อัลกอฏีย์หุสัยนฺ ได้แสดงให้เห็นว่าเขาได้เลือกมัน(เลือกทัศนะนี้) และ อิยาฎ และนักวิชาการกลุ่มหนึ่ง ได้กล่าวด้วยมัน (ด้วยทัศนะนี้) - ดู ฟัตหุลบารีย์ เล่ม 3 หน้า 65
..............
จะเห็นได้ว่า อุลามาอฺมัซฮับชาฟิอี บางท่านก็ถือตามหะดิษที่ห้ามจงใจเตรียมสัมภาระเดินทาง ยกเว้นสามมัสยิด ดังที่กล่าวข้างต้น ท่านครูผู้สร้างฟิตนะฮ น่าจะแนบเนียนมากกว่านี้
อัศศอ็นอานีย์ กล่าวว่า
والحديث دليلٌ على فضيلة المساجد هذه ودلَّ بمفهوم الحصر أنه يحرم شد الرحال لقصد غير الثلاثة كزيارة الصالحين أحياءً وأمواتاً لقصد التقرب ولقصد المواضع الفاضلة لقصد التبرك بها والصلاة فيها
และหะดิษนี้ เป็นหลักฐาน แสดงถึง ความประเสริฐของ บรรด่มัสยิดเหล่านี้ และด้วยความหมายสรุป แสดงว่า ห้ามไม่ให้ตั้งใจเดินทาง เพื่อจุดมุ่งหมายอื่นจากมัสยิดทั้งสาม เช่น การเยี่ยมคนดีๆ ที่มีชีวิตอยู่หรือเสียชีวิตแล้ว เพื่อจุดประสงค์การแสดงตนเพื่อความใกล้ชิด(อิบาดะฮ) และตั้งใจไปยังสถานที่ที่ประเสริฐ เพื่อจุดประสงค์เอาบะเราะกัตด้วยมัน และละหมาดในนั้น – ดู สุบุลุสสลาม เล่ม 3 หน้า 394
อิบนุตัยมียะฮกล่าวว่า
وسئل مالك عن رجل نذر أن يأتي قبر النبي، فقال مالك: إن كان أراد القبر فلا يأته وان أراد المسجد فليأته ثم ذكر الحديث: ((لا تشد الرحال إلا إلى ثلاثة مساجد)) ذكره القاضي إسماعيل في مبسوطه
มาลิก ถูกถามเกี่ยวกับชายคนหนึ่ง ได้บนบานว่าจะไปที่หลุมศพนบี แล้ว มาลิก กล่าวว่า “ หากเขาประสงค์จะไปยังกุบูร (เป็นการเฉพาะ) เขาจงอย่าไป และหากเขาประสงค์จะไปมัสยิดนั้น ก็จงไป หลังจากนั้นเขาได้ระบุหะดิษที่ว่า
لا تشد الرحال إلا إلى ثلاثة مساجد
ไม่มีการตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะเดินทาง ยกเว้นการเดินไปยังมัสยิดสามแห่ง
อัลกอฎีย์อิสมาอีล ได้กล่าวไว้ใน มับสูฏของเขา – ดูมัจญมัวฟะตาวา เล่ม 1 หน้า 304
.............
อิบนุตัยมียะฮ มีทัศนะเรื่องนี้เช่นเดียว กับอิหม่ามมาลิก และนักวิชาการคนอื่นๆหลายท่าน รวมถึงอุลามาอฺมัซฮับชาฟิอีด้วย แต่ แปลก ที่ ท่านครู เจาะจงใส่ร้ายอิบนุตัยมียะฮ แสดงให้เห็นถึงความอคติ ไร้อามานะฮทางวิชาการ ใช้ อารมณ์ และความเคียดแค้นตัดสินคน


والله أعلم بالصواب

.....................
อะสัน หมัดอะดั้ม



การตะฮลีลอุทิศผลบุญให้ผู้ตาย



وَسُئِلَ عَمَّنْ " هَلَّلَ سَبْعِينَ أَلْفَ مَرَّةٍ وَأَهْدَاهُ لِلْمَيِّتِ يَكُونُ بَرَاءَةً لِلْمَيِّتِ مِنْ النَّارِ " حَدِيثٌ صَحِيحٌ ؟ أَمْ لَا ؟ وَإِذَا هَلَّلَ الْإِنْسَانُ وَأَهْدَاهُ إلَى الْمَيِّتِ يَصِلُ إلَيْهِ ثَوَابُهُ أَمْ لَا ؟

เขา(อิบนุตัยมียะฮ)ได้ถูกถามเกี่ยวกับผู้ที่ทำการตะฮลีล หนึ่งพันครั้งและเขาอุทิศผลบุญของมันให้แก่ผู้ตาย เพื่อที่จะให้ผู้ตายปลอดภัยจากไฟนรก ว่า มีหะดิษเศาะเฮียะหรือไม่?
فَأَجَابَ : إذَا هَلَّلَ الْإِنْسَانُ هَكَذَا : سَبْعُونَ أَلْفًا أَوْ أَقَلَّ أَوْ أَكْثَرَ . وَأُهْدِيَتْ إلَيْهِ نَفَعَهُ اللَّهُ بِذَلِكَ وَلَيْسَ هَذَا حَدِيثًا صَحِيحًا وَلَا ضَعِيفًا . وَاَللَّهُ أَعْلَمُ .
แล้วเขา(อิบนุตัยมียะฮ)ตอบว่า เมื่อผู้คนทำการตะฮลีล เท่านั้น เท่านี้ เช่น เจ็ดหมื่นครั้ง หรือน้อยกว่านั้นหรือมากกว่านั้น และมันได้ถูกอุทิศแก่ผู้ตาย (โดยเข้าใจว่า)อัลลอฮจะให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ตายด้วยการกระทำดังกล่าวนั้น ,และการกระทำนี้ ไม่มีหะดิษเศาะเฮียะ และไม่มีหะดิษเฎาะอีฟใดๆเลย – วัลลอฮุอะลัม – ดู มัจญมัวะฟาตาวา อิบนุตัยมียะฮ เล่ม 24 หน้า 323


والله أعلم بالصواب

สาเหตุของความแตกแยกในเรื่องศาสนา


ความเห็นต่างของมนุษย์ในประเด็นต่างๆนั้น เป็นปกติธรรมดาของมนุษย์ แต่ถ้าให้มนุษย์มามีความเห็นและเข้าใจตรงกันในทุกเรื่องนั้น ถือว่า เป้นสิ่งผิดปกติ ในเรื่องศาสนาก็เช่นกัน มีมากมายที่บรรดาผู้รู้ในแต่ละยุคในแต่ละสมัย มีหลายประเด็นที่พวกเขามีความเข้าใจไม่ตรงกัน ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ ...ที่แปลกคือ ทำไม่ความแตกต่างจึงต้องแตกแยก"? เราแตกแยกกันเพื่ออะไร เพื่อหวังในความโปรดปรานของพระเจ้าหรือ? คงไม่ใช่แน่..เพราะพระเจ้าย่อมไม่ประสงค์เช่นนั้น ดังนั้น "เราจะทำอย่างไรที่จะทำให้ความเห็นต่างกัน ไม่เป็นฉนวนที่นำไปสู่ความแตกแยกของอุมมะฮมุสลิม

อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลาตรัสว่า
{وَاعْتَصِمُواْ بِحَبْلِ اللَّهِ جَمِيعاً وَلاَ تَفَرَّقُواْ} [آل عمران :103].
และพวกเจ้าจงยึดสายเชือก(ศาสนา)ของอัลลอฮ์โดยพร้อมกันทั้งหมดและจงอย่าแตกแยกกัน
{وَلاَ تَنَـازَعُواْ فَتَفْشَلُواْ وَتَذْهَبَ رِيحُكُمْ} [الأنفال:46].
และพวกเจ้าจงอย่าขัดแย้งกัน แล้วจะทำให้พวกเจ้าย่อท้อ และทำให้ความเข้มแข็งของพวกเจ้าหมดไป
{وَلاَ تَكُونُواْ كَالَّذِينَ تَفَرَّقُواْ وَاخْتَلَفُواْ مِن بَعْدِ مَا جَاءهُمُ الْبَيّنَـاتُ} [آل عمران:105].
และพวกเจ้าจงอย่าเป็นเช่นบรรดาผู้ที่แตกแยกกัน และขัดแย้งกันหลังจากที่บรรดาหลักฐานอันชัดแจ้งได้มายังพวกเขาแล้ว

สาเหตุที่ทำให้เกิดความแตกแยกในเรื่องศาสนา เช่น
๑. ผู้รู้ที่รู้ไม่จริง แล้วทำการวินิจฉัยประเด็นต่างๆผิดพลาดแล้วมีมุสลิมส่วนหนึ่งเชื่อตามอย่างหลับหูหลับตา ใครนำข้อเท็จจริงมาบอกก็กลับกลายเป็นศัตรูหรือ คนละฝ่าย ของพวกเขาไป

๒. ผู้รู้ที่รู้ความจริง แต่ไม่ได้สอนหรือบอกศิษย์ไปตามความเป็นจริง เพราะเกรงว่าตนจะเสียมวลชนหรือผลประโยชน์ที่มวลชนยิบยื่นให้ แล้วถ้ามีใครมาชี้แจงว่าสิ่งเขาสอนนั้นผิด เขาก็จะยุยงให้มวลชนต่อต้านกับคนผู้นั้น เพราะเขาเกรงว่าเขาจะเสียประโยชน์หากมวลชนทั้งหลายรู้ข้อเท็จจริง จึงเป็นเหตุทำให้เกิดความแตกแยกขึ้นในหมู่ประชาชน

ท่านนบี กล่าวว่า
القضاة ثلاثة: قاضيان في النار، وقاضي في الجنة، فأما الذي في الجنة فرجل علم فقضى به، وأما اللذان في النار فرجل قضى للناس على جهل، ورجل علم الحق وقضى بخلافه
ผู้พิพากษานั้น แบ่งออกเป็นสามจำพวก ผู้พิพากษาสองจำพวกจะได้อยู่ในนรกและผู้พิพากษาหนึ่งจำพวกจะได้อยู่ในสวรรค์ แล้วสำหรับผู้พิพากษาที่ได้อยู่ในสวรรค์นั้น คือ ชายคนหนึ่ง ที่มีความรู้และเขาได้ตัดสินด้วยความรู้นั้น และสำหรับผู้พิพากษาสองจำพวกที่จะได้อยู่ในนรกนั้น คือ ชายคนหนึ่ง เขาได้ตัดสินให้แก่ประชาชน บนความไม่รู้ และ ชายคนหนึ่งเขารู้ความจริง และเขาได้ตัดสินขัดแย้งกับมัน(กับความจริงที่เขารู้) - รายงานโดย อบูดาวูด,อิบนุมาญะฮและอัตติรมิซีย์
๓. ผู้รู้ได้ปลูกฝังประชาชนให้ยึดติดกับมัซฮับ จนประชาชนเข้าใจว่า มัซฮับเป็นส่วนหนึ่งของนิกายในศาสนาที่เขาจำเป็นจะต้องยึดถือนิกายใดนิกายหนึ่งเป็นการเฉพาะ และสมาชิกที่ยึดติดกับมัซฮับจะมองมัซฮับที่ต่างกันเหมือนคนละพวกกับพวกเขา

อัสสัยยิดสาบิก(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า
وبالتقليد والتعصب للمذاهب فقدت الأمة الهداية بالكتاب والسنة، وحدث القول بانسداد باب الاجتهاد، وصارت الشريعة هي أقوال الفقهاء، وأقوال الفقهاء هي الشريعة، واعتُبر كل من يخرج عن أقوال الفقهاء مبتدعاً لا يوثق بأقواله، ولا يُعتد بفتاويه.
การเลียนแบบและการทิฐิ(ยึดติดโดยไม่ยอมเปลี่ยนแปลง) ต่อมัซฮับต่างๆ ทำให้อุมมะฮอิสลาม ไม่ได้รับทางนำ แห่งอัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮ จนถึงกับมีทัศนะให้ปิดประตูอิจญติฮาด จนเป็นเหตุให้บทบัญญัติศาสนาขึ้นอยู่กับบรรดาคำพูดของนักนิติศาสตร์อิสลาม(ฟุเกาะฮาอฺ) และบรรดาคำพูดของฟุเกาะฮาอฺ คือ ศาสนบัญญัติ และถือว่า ทุกคนที่ออกจากบรรดาคำพูดของบรรดาฟุเกาะฮาอฺ เป็นผู้อุตริบิดอะฮ และ คำพูดของบุคคล(ที่ไม่ยึดติดกับฟุเกาะฮฮาอฺ)จะไม่ได้รับการเชื่อถือ และฟัตวาของเขาจะไม่ได้รับการยอมรับ.....- ฟิกฮอัสสุนนะฮ เล่ม ๑ หน้า ๑๐
..........
ปัจจุบัน พิสูจน์ได้ว่า เป็นจริงตามที่ท่านสัยยิด สาบิก กล่าวไว้ คือ ใครไม่สังกัดมัซฮับ จะถูกต่อต้านและถูกตั้งฉายาด้วยฉายาต่างๆ และจะไม่ถูกยอมรับแม้สิ่งที่เขานำมานั้น คือ อัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮที่ถูกต้องก็ตาม
والله أعلم بالصواب

....................
อะสัน หมัดอะดั้ม


อนาคตที่ไม่มีใครอยากเป็น


อดีต คือ สิ่งที่ผ่านมาแล้วอาจจะสิบปีที่แล้ว หนึ่งปี หนึ่งวัน หนึ่งวินาที นั่นคืออดีต
ปัจจุบัน คือ สิ่งที่อยู่กับเราตอนนี้ หรือเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับตัวเราในขณะนี้ ซึ่งปัจจุบันมันสั้นมาก เพราะเพียงเสี่ยววินาที่ที่ผ่านก็กลายเป็นอดีตเสียแล้ว
อนาคต คือ สิ่งที่ยังมาไม่ถึง แต่มันมาแน่นอน
อนาคต อยากเป็นอะไร หลายคนบอกว่า .....
ผมอยากเดินทางไปเที่ยวรอบโลกไปตามหาตนเอง
ผมอยากเป็นแต่งนิยาย
ผมอยากทำงานในองการลับๆ
อยากเป็นนักสืบ
อยากเก่งภาษา
อยากทำงานเกี่ยวกับโรงแรม
ผมอยากสร้างบ้านของตัวเองทำฟาร์มเปิดที่พักในฟาร์ม
อยากมีธุรกิจที่ยิ่งใหญ่เป็นของตัวเอง
อยากเป็นครู
อยากเป็นตำรวจ
อย่ากมีบ้าน มีแฟน มีลูก
ฯลฯ
ทุกอย่างที่กล่าวมา มันเป็นเพียง ทางผ่าน ของอนาคต แต่อนาคตจริงๆ ที่เป็นบั้นปลายของอนาคต และทุกคนไม่อยากเป็นคือ การเป็นศนตาย เป็นชาวกุโบร

قُلْ إِنَّ الْمَوْتَ الَّذِي تَفِرُّونَ مِنْهُ فَإِنَّهُ مُلَاقِيكُمْ ثُمَّ تُرَدُّونَ إِلَى عَالِمِ الْغَيْبِ وَالشَّهَادَةِ فَيُنَبِّئُكُم بِمَا كُنتُمْ تَعْمَلُونَ

จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด แท้จริงความตายที่พวกท่านหนีจากมันไปนั้น มันจะมาพบกับพวกท่าน แล้วพวกท่านจะถูกนำกลับไปยังพระผู้ทรงรอบรู้สิ่งเร้นลับและสิ่งเปิดเผย แล้วพระองค์จะทรงแจ้งแก่พวกท่านตามที่พวกท่านได้ประกอบกรรมไว้- อัล-ญุมอะฮฺ :8

والله أعلم بالصواب


...................
อะสัน หมัดอะดั้ม



ความเชื่อว่าค่ำวันศุกร์วิญญาณจะกลับ


ความเชื่อ
“มีอยู่ความเชื่อหนึ่ง เช่น พฤหัสบดีค่ำลง หรือคืนวันศุกร์ จะมีวิญญาณกลับมา ซึ่งอันนี้ไม่มีหลักฐานปรากฎ ถ้าบอกว่าคนตายจะกลับมา ผมให้แง่คิดไว้อย่างหนึ่งกับคนที่คิดอย่างนั้น แง่คิดแรก คือ สมมติว่าถ้าภรรยาเสียชีวิต และสามียังอยู่บ้าน ต่อมาคืนวันศุกร์ วิญญาณภรรยากลับมาบ้าน เห็นสามีนอนกับเมียใหม่ เตียงเดิมที่นอนเดิมชุดเดิม ถามว่าวิญญาณจะเครียดไหม ขนาดอยู่บนดุนยายังเครียดเลย

แง่คิดที่สอง คือ ที่ท่านนบี(ซ.ล.) บอกว่าคนชั่วที่ตายไปแล้วจะอยู่ต่ำๆ แต่คนดีจะอยู่สูง ฉะนั้นวิญญาณที่กลับมาจะเป็นคนชั่วหรือคนดีล่ะให้เราคิด ถ้าเราบอกว่าวิญญาณพ่อเรากลับมาแสดงว่าพ่อเราชั่ว เพราะนั้นถ้าคิดแบบนี้หลักการนั้นก็ไม่เกิด”

ฉะนั้น ฝันดี ให้เราขอบคุณอัลลอฮฺ(ซบ.) ดังที่ท่านรอซูล(ซ.ล.) กล่าวไว้ความว่า "การฝันดีมาจากพระองค์อัลลอฮฺ ส่วนการฝัน (ที่ไม่ดี) มาจากชัยตอน ดังนั้นบุคคลใดที่ฝันเห็นสิ่งที่เขารังเกียจ เขาจงเป่าทางด้านซ้ายของเขา 3 ครั้ง และเขาจงขอความคุ้มครอง (ต่อพระองค์อัลลอฮฺ) ให้พ้นจากชัยตอน (ซึ่งการกระทำเช่นนั้น) ชัยฏอนไม่สามารถทำอันตรายเขาได้" (บันทึกโดยบุคอรีย์ หะดิษที่ 6480 และมุสลิม หะดิษที่ 4195) หะดิษข้างต้นชี้ให้รู้ว่า หากเราฝันดีนั่นมาจากอัลลอฮฺและศาสนาอนุญาตให้เราเล่าเรื่องราวความฝันให้ผู้อื่นฟังได้

ส่วนกรณีที่เราฝันไม่ดี นั่นมาจากชัยฏอน หากตกใจตื่นขึ้นมา ศาสนาก็สั่งใช้ให้เราถ่ม หรือเป่าไปทางด้านซ้าย 3 ครั้ง แล้วกล่าวว่า “อะอูซุบิ้ลลาฮิมินัชชัยตอนิรร่อญีม” ความว่า "ฉันขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺให้พ้นจากชัยตอนที่ถูกสาปแช่ง" เปลี่ยนอิริยาบทท่านอน และมีซุนนะห์ไม่ต้องเล่าความฝันที่ไม่ดีนั้นให้แก่ผู้อื่นฟัง ข้อแนะนำ ก่อนนอนท่านอาบน้ำละหมาด อ่านดุอาอฺ ตามด้วยกุลอะอูซุบิร็อบบิ้ลนาซ 3 ครั้ง เป่าและลูบตัวของเรา แล้วอ่านอายะห์กุรซีย์ อินชาอัลลอฮฺท่านจะได้รับความคุ้มครองจนกระทั้งเช้า”

บัรซัค
ความหมายทางภาษา
บัรซัคในภาษาอาหรับ หมายถึงสิ่งที่ปิดกันระหว่างสองสิ่ง อัลลอฮ์ตรัสว่า
وَجَعَلَ بَيْنَهُمَا بَرْزَخاً
“และ(พระองค์)ทรงทำให้มีบัรซัคระหว่างมันทั้สอง”
ซึ่งหมายถึงสิ่งที่กั้นกลาง

ความหมายทางศาสนา
สถานที่หรือห้วงเวลานับจากตายจนถึงการฟื้นคืนชีวิต อัลลอฮ์ตรัสว่า
وَمِنْ وَرَائِهِمْ بَرْزَخٌ إِلَى يَوْمِ يُُّبْعَثُونَ
“และเบื้องหลังของพวกเขา (ผู้ที่ตายไป) คือบัรซัคตราบวันที่พวกเขาจะถูกฟื้นคืนชีวิต “
ท่านมุญาฮิดกล่าวว่า “หมายถึงห้วงเวลานับจากหลังตายตราบวันฟื้นคืนชีพ”
มีผู้กล่าวแก่ท่านชะอ์บี่ย์ว่า “มีผู้หนึ่งได้ตายแล้ว ท่านจึงกล่าวว่า เขามิได้อยู่ในดุนยาและมิได้อยู่ในอาคิเราะห์”
ท่านอิบนุกอยยิม กล่าวว่า “บัรซัค คือห้วงเวลาระหว่างดุนยา (โลกนี้) และอาคิเราะห์ (ห้วงเวลาหลังฟื้นคืนชีพ) “

วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

เศาะหาบะฮพวกเขาไม่ผูกขาดกับมัซฮับ



อัลเกาะรอฟีย์ กล่าวว่า
وَأَجْمَعَ الصَّحَابَةُ عَلَى أَنَّ مَنِ اسْتَفْتَى أَبَا بَكْرٍ وَعُمَرَ وَقَلَّدَهُمَا فَلَهُ أَنْ يَسْتَفْتِيَ أَبَا هُرَيْرَةَ وَمُعَاذَ بْنَ جَبَلٍ وَغَيْرَهُمَا ، وَيَعْمَلَ بِقَوْلِهِمْ بِغَيْرِ نَكِيرٍ
และมติเอกฉันของบรรดาเศาะหาบะฮ ว่า ผู้ใดขอคำฟัตวา ต่ออบูบักร์ และอุมัร และเขาได้เชื่อตามคนทั้งสองนั้น แล้วก็อนุญาตแก่เขา ขอคำฟัตวา ต่ออบูฮุรัยเราะฮ ,มุอาซ บิน ญะบัล และอื่นจากทั้งสองและปฏิบัติตามคำพูดของพวกเขาได้โดยปราศการคัดค้าน- ดูตัฟสีรอัฎวาอุลบะยาน ของอัชชันกิฏีย์ เล่ม 7 หน้า 307
......
จากคำพูดของอัลเกาะรอฟีย ที่ท่านอิหม่ามอัชชันกิฏีย์ รายงานไว้ แสดงให้เห็นว่า เหล่าเศาะหาบะฮเขาไม่มีการผูกขาด หรือ ยึดติดมัซฮับ คนหนึ่งคนใดโดยเฉพาะ
อิบนุกอ็ยยิม ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน ได้ตอบไว้
وَهَلْ يَلْزَمُ الْعَامِّيَّ أَنْ يَتَمَذْهَبَ بِبَعْضِ الْمَذَاهِبِ الْمَعْرُوفَةِ أَمْ لَا ؟ فِيهِ مَذْهَبَانِ : [ هَلْ عَلَى الْعَامِّيِّ أَنْ يَتَمَذْهَبَ بِمَذْهَبٍ وَاحِدٍ مِنْ الْأَرْبَعَةِ أَوْ غَيْرِهِمْ ؟ ] أَحَدُهُمَا : لَا يَلْزَمُهُ ، وَهُوَ الصَّوَابُ الْمَقْطُوعُ بِهِ ; إذْ لَا وَاجِبَ إلَّا مَا أَوْجَبَهُ اللَّهُ وَرَسُولُهُ ، وَلَمْ يُوجِبْ اللَّهُ وَلَا رَسُولُهُ عَلَى أَحَدٍ مِنْ النَّاسِ أَنْ يَتَمَذْهَبَ بِمَذْهَبِ رَجُلٍ مِنْ الْأُمَّةِ فَيُقَلِّدَهُ دِينَهُ دُونَ غَيْرِهِ
และคนทั่วไป(คนอาวาม) จำเป็นจะต้อง สังกัดมัซฮับ ด้วยส่วนหนึ่งของบรรดามัซฮับที่เป็นที่รู้จักหรือไม่...
ในประเด็นนี้ มี 2 ทัศนะด้วยกัน ( จำเป็นแก่คนทั่วไป(คนอาวาม)ต้องสังกัดมัซฮับคนหนึ่งคนใดจากบุคคลทั้งสี่ หรืออื่นจากพวกเขาหรือไม่
ทัศนะที่หนึ่ง : ไม่จำเป็นแก่เขา (ว่าต้องสังกัดมัซฮับ) และมันคือ ทัศนะที่ถูกต้อง ที่เป็นข้อยุติด้วยมัน
เพราะ ไม่เป็นที่วาญิบ (เหนือผู้ใด)นอกจากสิ่งที่อัลลอฮและรอซูลของพระองค์ได้กำหนดให้เป็นวาญิบมันเท่านั้น ,อัลลอฮและรอซูลของพระองค์ ไม่ได้กำหนดให้เป็นวาญิบ(ข้อบังคับ) แก่มนุษย์คนหนึ่งคนใด สังกัดมัซฮับ ด้วยมัซฮับของคนๆหนึ่ง จากอุมมะฮแล้วเชื่อตามศาสนาของเขา ต่อเขาผู้นั้น โดยไม่เชื่อตามคนอื่นๆจากเขา(หมายถึงอื่นจากผู้ที่เขาสังกัด) – ดูเอียะลามอัลมุวักกิอีน เล่ม 4 หน้า 202
อิบนุกอ็ยยิม ได้ยืนยันว่า อัลลอฮและรซูลลุลฮ ศอ็ลฯ ไม่ได้กำหนดให้บุคคลใดสังกัดมัซฮับแบบผูกขาด โดยที่จะตามมัซฮับอื่นจากมัซฮับตัวเองไม่ได้
และท่านอิบนุกอ็ยยิมได้กล่าวอีกว่า
وَلَا يَلْزَمُ أَحَدًا قَطُّ أَنْ يَتَمَذْهَبَ بِمَذْهَبِ رَجُلٍ مِنْ الْأُمَّةِ بِحَيْثُ يَأْخُذُ أَقْوَالَهُ كُلَّهَا وَيَدْعُ أَقْوَالَ غَيْرِهِ .
وَهَذِهِ بِدْعَةٌ قَبِيحَةٌ حَدَثَتْ فِي الْأُمَّةِ ، لَمْ يَقُلْ بِهَا أَحَدٌ مِنْ أَئِمَّةِ الْإِسْلَامِ
และ ไม่จำเป็นแก่คนหนึ่งคนใด เลย ต่อการที่เขาสังจะสังกัดมัซฮับ ของคนหนึ่งคนใดจากอุมมะฮ โดยที่เขายึดถือ บรรดาคำพูดของเขาผู้นั้น ทั้งหมด และทิ้งบรรดาคำพูดของคนอื่นๆจากผู้ที่เขาสังกัด และนี้คือ บิดอะฮที่น่าเกลียด ที่เกิดขึ้นใหม่ในอุมมะฮนี้ ,ไม่มีคนหนึ่งคนใดจากบรรดานักปราชญ์ระดับอิหม่ามแห่งอิสลาม เคยกล่าวด้วยมัน –จากตำราที่อ้างแล้ว
......
อิบนุก็อยยิมกล่าวว่า การผูกขาดมัซฮับเป็นการเฉพาะโดยไม่ยอมรับคำพูดของนักวิชาการมัซฮับอื่นนั้น
เป็นบิดอะฮที่น่าเกลียด และบรรดาปราชญ์ระดับอิหม่ามแห่งอิสลาม ไม่ได้พูดว่า วาญิบต้องสังกัดมัซฮับ การไม่ยึดมัซฮับหนึ่งมัซอับใดเป็นเป็นการเฉพาะไม่ใช่เป็นสิ่งชั่วร้าย ตามที่คนบางกลุ่มกล่าวหาและตั้งข้อรังเกียจ

والله أعلم بالصواب


อะสัน หมัดอะดั้ม



ข้ออ้างสำหรับคนอยากทำบิดอะฮ เกี่ยวกับการทำละหมาดสุนัตมุฏลัก



มีพี่น้องอาชาอิเราะฮท่านหนึ่งอ้างว่า
.ท่านอุมัยรฺ บิน ฮานิอฺ (เจาะจงละหมาดให้ได้ครบ1000 ซูญูดแล้วเจาะจงตัชบีฮ์100000ครั้งต่อวัน)
كان عمير بن هانئ يصلي كل يوم الف سجدة ويسبح مائة الف تسبيحة
ความว่า
“ ท่าน อุมัยรฺ บิน ฮานิอฺ ได้ทำการละหมาด ในทุกๆวันนั้น
ถึง 1000 ซูญุด และทำการตัซบีฮฺ ถึง 100000 ครั้ง”
(โปรดดู تهذيب التهذيب ส่วนที่ 8 หน้าที่ 134 )......
........................................................
...นีคือส่วนหนึ่งของบิดอะที่เกิดขึ้นที่ไม่เคยปรากฎในสมัยท่านนบี(ซล)..
..ดังนั้นสิ่งเหล่านี้ขอเชิญให้เหล่าวะฮาบีย์ทั้งหลายจงทำการฮุกมต่อบรรดาปราชญ์มัสหับเหล่านั้นตามใจชอบต่อไปเถิด....วัลอิยาซุ้บิ้ลลามินซาลิก
>>>>>>>>>>>>>

ชี้แจง
ข้างต้น เป็นการบิดเบือน โดยอ้างว่า ชาวสะลัฟทำบิดอะฮ สิ่งที่นบีไม่เคยทำ เพื่อยืนยันว่า คนเหล่านี้ทำบิดอะฮที่ดี ความจริง
การกระทำข้างต้น เป็นการทำละหมาด สุนัตมุฏลัก ในการทำละหมาดสุนัตมุฏลักนั้น ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า
( الصلاة خير موضوع ، فمن استطاع أن يستكثر فليستكثر )
การละหมาด เป็นสิ่งที่ถูกวางไว้ที่ดี ดังนั้น ผู้ใดสามารถเพิ่มให้มากได้ ก็จงเพิ่มให้มากเถิด – รายงานโดย อัฏฏอ็บรอนีย์ และอัลบานีย์ ระบุไว้ใน เศาะเหียะญามุอัศเศาะฆัยร หะดิษหมายเลข 3870 ว่า เป็นหะดิษหะซัน
ورواه أيضا الطبراني عن أبي ذر بلفظ الصلاة خير موضوع من شاء أقل، ومن شاء أكثر،
ورواه أحمد وابن حبان والحاكم وصححه عن أبي ذر
และอัฏฏอ็บรอนีย์ ได้รายงานจากอบีซัรรินอีก ด้วนสำนวน ที่ว่า “การละหมาด เป็นสิ่งที่ถูกวางไว้ที่ดี ผู้ใดประสงค์จะทำน้อยก็ได้ ผู้ใดประสงค์จะทำมากก็ได้ – รายงานโดยอะหมัด อิบนุหิบบาน และอัลหากิม และเขาระบุว่า เป็นหะดิษเศาะเฮียะ จาก อบีซัรริน
ส่วนการกล่าวตัสเบียะก็เช่นกัน ท่านนบีส่งเสริมให้ทำ
عَنْ جَابِرٍ , عَنِ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ , قَالَ : " مَنْ قَالَ : سُبْحَانَ اللَّهِ الْعَظِيمِ وَبِحَمْدِهِ غُرِسَتْ لَهُ نَخْلَةٌ فِي الْجَنَّةِ " .
รายงานจากญาบีร (ร.ฎ) ว่า นบี ศอ็ลนกล่าวว่า ผู้ใดกล่าวว่า “ซุบฮานัลลอฮ อัลอะซีม วะบิฮัมดิฮี “ต้นอินผลัมจะถูกปลูกให้แก่เขาในสวรรค์
رواه الترمذي (3464) وقال : هذا حديث حسن صحيح غريب ، لا نعرفه إلا من حديث أبي الزبير عن جابر . وقال المنذري (2/347) : إسناده جيد . وحسنه الحافظ ابن حجر في "نتائج الأفكار" (1/104) ، وصححه الألباني في "السلسلة الصحيحة" (حديث رقم/64)
>>>>>
พยายยามหาความชอบธรรมในการที่จะอุตริบิดอะฮ โดยอ้างว่าดี โดยการนำหลักฐานการกระทำของสะลัฟและบรรดานักปราชญ์คนสำคัญ มาชง ให้คนอาวามเข้าใจว่า สิ่งที่นบีไม่ทำ ก็ทำได้ เพราะปราชญ์เขาทำกัน -นะอูซุบิลละฮ
มีสุนนะฮมากมายให้ดำเนินตาม แต่ก็พยายามดันทุรังทำบิดอะฮ มันไร้สาระ ไม่อยากชี้แจงให้เสียเวลา แต่ดันมากล่าวหา คนที่ตัวเองเรียกว่า “วะฮบีย”ว่าไปหุกุม นักปราชญ์ยุคสะลัฟ


والله أعلم بالصواب


..........................
อะสัน  หมัดอะดั้ม




การกล่าวคำเนียตมีหลักฐานจริงหรือ ?


ได้มีผู้อ้างว่า
การกล่าวอุซ่อลลีก่อนจะตักบิรนั้นสุนัต โดยอ้างหลักฐาน *จากหะดิษ
انما الاعمال بالنيات
*เมื่อท่านนาบีได้อ่านหะดิษนี้ ท่านและซอหาบัตก็อ่านไม่ดังแต่ก้ไม่เบาเกินไป
……………….
ชี้แจง
การกล่าวอ้างหะดิษข้างต้นนั้น เป็นการบิดเบือนหะดิษ เพราะหะดิษข้างต้น เป็นการกล่าวถึงเจตนาในการกระทำ ว่า มนุษย์จะได้รับผลตอบแทน ตามที่เขาเจตนา อันหมายถึง ถ้าเจตนาดี เพื่ออัลลอฮเขาก็ได้ผลบุญ หากมีเจตนาไม่ดีก็ได้บาปเป็นผลตอบแทน
หะดิษเต็มๆมีอยู่ว่า
عَنْ عُمَرَ بْنِ الْخَطَّابِ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ ، قَالَ : سَمِعْتُ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَقُولُ : إِنَّمَا الْأَعْمَالُ بِالنِّيَّاتِ وَإِنَّمَا لِكُلِّ امْرِئٍ مَا نَوَى ، فَمَنْ كَانَتْ هِجْرَتُهُ إِلَى اللَّهِ وَرَسُولِهِ ، فَهِجْرَتُهُ إِلَى اللَّهِ وَرَسُولِهِ ، وَمَنْ كَانَتْ هِجْرَتُهُ لِدُنْيَا يُصِيبُهَا أَوِ امْرَأَةٍ يَنْكِحُهَا ، فَهِجْرَتُهُ إِلَى مَا هَاجَرَ إِلَيْهِ . رَوَاهُ الْبُخَارِيُّ وَمُسْلِمٌ

รายงานจากท่านอุมัร อิบนุลคอตตอบ รอดิยั้ลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่านนบีมุฮัมมัด ซ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า “แท้จริงกิจการงานทั้งหลายนั้นขึ้นอยู่กับเจตนาและแท้จริงสำหรับทุกคนนั้น เขาก็จะได้รับในสิ่งที่เขาได้ตั้งเจตนาไว้ ดังนั้นผู้ใดที่การอพยพของเขา(มีเจตนา)เพื่ออัลลอฮ์และศาสนทูต(รอซูล)ของพระองค์ ก็ถือว่าการอพยพของเขานั้นมีขึ้นเพื่ออัลลอฮ์และศาสนทูตของพระองค์(เพื่อแสวงความพอพระทัยจากอัลลอฮ์) และผู้ใดที่การอพยพของเขาเพื่อโลกนี้( ทรัพย์สินเงินทอง หรือเพื่อความสุขทางโลกเพียงอย่างเดียว ) หรือเพื่อสตรีที่เขาต้องการจะสมรสด้วย ดังนั้นการอพยพของเขานั้นจึงนำไปสู่สิ่งที่เขาตั้งเป้าหมายเอาไว้ – รายงานโดย บุคอรีและมุสลิม
>>>>>>>>
ความมุ่งหมายของหะดิษ คือ ให้ทำความดีโดยมีเจตนาเพื่ออัลลอฮ
มาดูคำอธิบายหะดิษ เรื่อง บิดอะฮ ของอิบนุเราะญับ (ร.ฮ) ดังนี้
مَنْ أَحْدَثَ فِي دِينِنَا مَا لَيْسَ فِيهِ فَهُوَ رَدٌّ "
ผู้ใด ประดิษฐ์สิ่งใหม่ในศาสนาของเรา สิ่งซึ่ง ไม่ได้อยู่ในมัน มันถูกปฏิเสธ (ไม่ถูกรับ)
. وَهَذَا الْحَدِيثُ أَصْلٌ عَظِيمٌ مِنْ أُصُولِ الْإِسْلَامِ ، وَهُوَ كَالْمِيزَانِ لِلْأَعْمَالِ فِي ظَاهِرِهَا كَمَا أَنَّ حَدِيثَ : الْأَعْمَالُ بِالنِّيَّاتِ مِيزَانٌ لِلْأَعْمَالِ فِي بَاطِنِهَا ، فَكَمَا أَنَّ كُلَّ عَمَلٍ لَا يُرَادُ بِهِ وَجْهُ اللَّهِ تَعَالَى فَلَيْسَ لِعَامِلِهِ فِيهِ ثَوَابٌ ، فَكَذَلِكَ كُلُّ عَمَلٍ لَا يَكُونُ عَلَيْهِ أَمْرُ اللَّهِ وَرَسُولِهِ ، فَهُوَ مَرْدُودٌ عَلَى عَامِلِهِ ، وَكُلُّ مَنْ أَحْدَثَ فِي الدِّينِ مَا لَمْ يَأْذَنْ بِهِ اللَّهُ وَرَسُولُهُ ، فَلَيْسَ مِنَ الدِّينِ فِي شَيْءٍ
และหะดิษนี้คือ รากฐานอันสำคัญ จากบรรดารากฐานอิสลาม และมันคือ ตราชู สำหรับ(ชั่ง)บรรดาการงาน ที่แสดงออกมาภายนอก และ ดังที่ หะดิษ ที่ว่า แท้จริง บรรดาการงานนั้น ขึ้นอยู่กับ การเจตนา ? มันเป็นตราชู สำหรับ(ชั่ง)การกระทำภายในจิตใจ ดังเช่น แท้จริง ทุกๆการงาน (อะมั้ลอิบาดะฮ) ที่ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่ออัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ดังนั้น ก็จะไม่มีการตอบแทนแก่ผู้ที่กระทำ ในการงานนั้น
และในทำนองเดียวกัน ทุกๆการกระทำ ที่ไม่ปรากฏคำสั่งของอัลลอฮ และรอซูลของพระองค์ มันก็ถูกตี กลับไปหาผู้กระทำมัน (คือไม่ถูกรับ) และ ทุกคนที่อุตริสิ่งใหม่ขึ้นมาในศาสนา สิ่งซึ่ง อัลลอฮและรอซูล ของพระองค์ไม่อนุญาต ดังนั้น มันก็ไม่ใช่ศาสนาแต่ประการใดเลย - ญามิอุลอุลูม วัล หิกัม เล่ม 1 หน้า 176
..........
สรุปจากคำอธิบายของอิบนุเราะญับคือ
หนึ่ง- หะดิษที่ว่า “ผู้ใด ประดิษฐ์สิ่งใหม่ในศาสนาของเรา สิ่งซึ่ง ไม่ได้อยู่ในมัน มันถูกปฏิเสธ
เป็นหลักการที่เป็นเครืองวัด การกระทำที่แสดงออกทางกาย ว่า ตรงกับสิ่งที่อัลอฮหรือนบีสั่งหรือไม่
สอง – หะดิษที่ว่า
إِنَّمَا الْأَعْمَالُ بِالنِّيَّاتِ
“แท้จริงบรรดาการงานขึ้นอยู่กับการเจตนา
เป็นหลักการที่ใช้วัดการกระทำทางใจ คือ การเนียต หรือเจตนา ว่า เพื่ออัลลอฮหรือไม่
อิบนุเราะญับ กล่าวว่า
كَمَا أَنَّ حَدِيثَ : الْأَعْمَالُ بِالنِّيَّاتِ مِيزَانٌ لِلْأَعْمَالِ فِي بَاطِنِهَا ، فَكَمَا أَنَّ كُلَّ عَمَلٍ لَا يُرَادُ بِهِ وَجْهُ اللَّهِ تَعَالَى فَلَيْسَ لِعَامِلِهِ فِيهِ ثَوَابٌ
และ ดังที่ หะดิษ ที่ว่า แท้จริง บรรดาการงานนั้น ขึ้นอยู่กับ การเจตนา ? มันเป็นตราชู สำหรับ(ชั่ง)การกระทำภายในจิตใจ ดังเช่น แท้จริง ทุกๆการงาน (อะมั้ลอิบาดะฮ) ที่ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่ออัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ดังนั้น ก็จะไม่มีการตอบแทนแก่ผู้ที่กระทำ ในการงานนั้น- ญามิอุลอุลูม วัล หิกัม เล่ม 1 หน้า 176

َالَ الْفَضْلُ بْنُ زِيَادٍ : سَأَلْتُ أَبَا عَبْدِ اللَّهِ - يَعْنِي أَحْمَدَ - عَنِ النِّيَّةِ فِي الْعَمَلِ ، قُلْتُ كَيْفَ النِّيَّةُ ؟ قَالَ : يُعَالِجُ نَفْسَهُ ، إِذَا أَرَادَ عَمَلًا لَا يُرِيدُ بِهِ النَّاسَ
อัลฟาฎีล บิน ซียาดกล่าวว่า “ขาพเจ้าถามอบูอับดุลลอฮ – หมายถึงอิหม่ามอะหมัด- เกี่ยวกับการเนียตในการประกอบอะมั้ล ,ข้าพเจ้ากล่าวว่า “ เนียตนั้นเป็นอย่างไร? เขา(อิหม่ามอะหมัด)กล่าวว่า “ เขาลงมือปฏิบัติแก่ตัวเขา เมื่อเขาต้องการกระทำ โดยไม่มีจุดประสงค์เพื่อมนุษย์ด้วยมัน – ญามิอุลอุลูมวัลหิกัม หน้า 63
وقال ابن عجلان : لا يصلح العمل إلا بثلاث : التقوى لله ، والنية الحسنة ، والإصابة
อิบนุอัจญลาน กล่าวว่า “ การงาน(อะมั้ล)นั้น จะดีไม่ได้ นอกจาก(ต้องประกอบ)ด้วยสามประการ คือ
(1) การยำเกรงต่ออัลลอฮ
(2) การเจตนาที่ดี
(3) ความถูกต้อง -
– ดูญามิอุลอุลูมวัลหิกัม ของ อิบนุเราะญับ หน้า 63
>>>>>>
จึงสรุปว่า การอ้างว่าหะดิษที่ว่า
إِنَّمَا الْأَعْمَالُ بِالنِّيَّاتِ
คือ หลักฐานสุนัตให้กล่าวอุศอ็ลลี ก่อนการตักบีรนั้น เป็นการเจตนาบิดเบือน ความมุ่งหมายของหะดิษ


.........................

มีผู้อ้างหลักฐานต่อไปนี้ เป็นหลักฐานสุนัตให้กล่าวคำเนียต โดยอ้างว่า
*และเมื่อท่านนาบีจะทำอุมเราะท่านนาบีก็พูดดังว่า
لبيك عمرة وحج
..............
ชี้แจง
ไม่ใช่การกล่าวคำเนียต แต่อย่างใด มาดูฟัตวาของอิบนุอุษัยมีนในเรื่องนี้
الحمد لله
"إذا قال في النسك : لبيك حجاً ، لبيك عمرة ، ليس هذا من باب ابتداء النية ، لأنه قد نوى من قبل ، ولهذا لا يشرع أن نقول : اللهم إني أريد العمرة ، اللهم إني أريد الحج ، بل انو بقلبك ولب بلسانك ، وأما التكلم بالنية في غير الحج والعمرة فهذا أمر معلوم أنه ليس بمشروع ، فلا يسن للإنسان إذا أراد أن يتوضأ أن يقول : اللهم إني أريد أن أتوضأ ، اللهم إني نويت أن أتوضأ أو بالصلاة : اللهم إني أريد أن أصلى ، اللهم إني نويت أن أصلى . كل هذا غير مشروع ، وخير الهدي هدي محمد صلى الله عليه وسلم" انتهى .
อัลหัมดุลิลละฮ
เมื่อเขากล่าว ในการประกอบพิธีหัจญ์ว่า “ลับบัยกะหัจญัน,ลับบัยกะอุมเราะตัน” กรณีนี้ไม่ใช่เรื่องการเริ่มต้นการเนียต เพราะเขาได้เนียตมาก่อนแล้ว และเพราะเหตุนี้ ไม่มีบัญญัติให้เรากล่าวว่า “โอ้อัลลอฮ ข้าพระองค์ต้องการทำหัจญ์,โอ้อัลลอฮ ข้าพระองค์ต้องการทำอุมเราะฮ แต่ทว่า จงเนียตด้วยใจของท่าน และจงกล่าวตัลบียะฮด้วยวาจาของท่าน และสำหรับการกล่าวคำเนียต ในอื่นจากหัจญและอุมเราะฮนั้น นี้เป็นสิ่งที่รู้กันว่าไม่ได้ถูกบัญญัติไว้ ดังนั้นจึงไม่สุนัตให้ผู้คน กล่าวว่า “โอ้อัลลอฮ ข้าพระองค์ต้องการจะเอาเอาน้ำละหมาด, โอ้อัลลอฮ ข้าพระองค์เจตนาจะเอาน้ำละหมาด เมื่อเขาต้องการอาบน้ำละหมาด หรือ กล่าวเกี่ยวกับละหมาดว่า โอ้อัลลอฮ ข้าพระองค์ต้องการจะละหมาด ,โอ้อัลลอฮ ข้าพระองค์เจตนาจะละหมาด ทั้งหมดนี้ ไม่ได้ถูกบัญญัติไว้ และ ทางนำที่ดีนั้น คือ ทางนำของมุหัมหมัด ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม –มัจญมัวะฟะตาวาอิบนุอุษัยมีน เล่ม 22 หน้า 20
มีรายงานว่า
وَصَحَّ عَنِ ابْنِ عُمَرَ أَنَّهُ سَمِعَ رَجُلًا عِنْدَ إِحْرَامِهِ يَقُولُ : اللَّهُمَّ إِنِّي أُرِيدُ الْحَجَّ أَوِ الْعُمْرَةَ ، فَقَالَ لَهُ : أَتُعْلِمُ النَّاسَ ؟ أَوَ لَيْسَ اللَّهُ يَعْلَمُ مَا فِي نَفْسِكَ
และ มีรายงานเศาะเฮียะ จากอิบนุอุมัร (ร.ฎ) ว่าเขาได้ยิน ชายคนหนึ่ง กล่าวขณะครองเอียะรอมว่า "โอ้อัลลอฮ ข้าพระองค์ ต้องการที่จะทำฮัจญ หรืออุมะเราะฮ ,เขา(อิบนุอุมัร)จึงได้กล่าวแก่เขาว่า "ท่านจะบอก บรรดาผู้คนให้รู้หรือ?หรือว่า อัลลอฮไม่รู้สิ่งที่อยู่ในใจของท่าน? -ดู ญามิอุลอุลูม วัลฮิกัม ของอิบนุเราะญับ เล่ม 1 หน้า 59
وَقَالَ أَبُو دَاوُدَ : قُلْتُ لِأَحْمَدَ : أَتَقُولُ قَبْلَ التَّكْبِيرِ - يَعْنِي فِي الصَّلَاةِ - شَيْئًا ؟ قَالَ : لَا . وَهَذَا قَدْ يَدْخُلُ فِيهِ أَنَّهُ لَا يَتَلَفَّظُ بِالنِّيَّةِ . وَاللَّهُ أَعْلَمُ .
และอบูดาวูด กล่าวว่า "ข้าพเจ้า กล่าวแก่อะหมัดว่า ท่านกล่าวสิ่งใดบ้างก่อน การตักบีร หมายถึงในละหมาด เขา(อิหม่ามอะหมัด)ตอบว่า "ไม่" และนี้ บางที่อยู่ในความหมายที่ว่า ไม่มีการกล่าวคำเนียตเป็นถ้อยคำ -วัลลอฮุอะลัม
ท่านอิบนุตัยมียะฮ(ร.ฮ) ได้กล่าวอีกว่า - ที่มาอ้างแล้ว
محل النية القلب دون اللسان باتفاق أئمة المسلمين في جميع العبادات : الصلاة والطهارة والزكاة والحج والصيام والعتق والجهاد وغير ذلك . ولو تكلم بلسانه بخلاف ما نوى في قلبه كان الاعتبار بما نوى بقلبه لا باللفظ ولو تكلم بلسانه ولم تحصل النية في قلبه لم يجزئ ذلك باتفاق أئمة المسلمين
“ที่ของการเนียตคือ หัวใจ ไม่ใช่ลิ้น ด้วยมติของบรรดาผู้นำมุสลิม ในเรื่องทั้งหมดของอิบาดะฮ เช่น การละหมาด,การทำความสะอาด,การจ่ายซะกาต,การทำหัจญ์,การถือศีลอด,การปลดปล่อยทาส,การญิฮาด และอื่นจากนั้น และถ้าหากว่า เขาพูดด้วยวาจาของเขา ขัดแย้ง(ไม่ตรง) กับสิ่งที่ได้เนียต ในหัวใจของเขา การพิจารณา ก็เป็นไปตามสิ่งที่เขาได้เนียต ด้วยใจของเขา ไม่ใช่ด้วย คำกล่าว และแม้เขาจะกล่าวโดยวาจาของเขา โดยที่ไม่เกิดการเนียตในใจของเขา ดังกล่าวนั้น ย่อมใช้ไม่ได้ โดยมติของบรรดาอิหม่ามของบรรดามุสลิม – ดูมัจญมัวะอัลฟะตาวา 1/ 218
.........
เพราะฉะนั้น การเอาคำที่ใช้ในการกล่าวตัลบีฮ เวลาทำฮัจญ์หรืออุมเราะฮ มาเป็นหลักฐาน ให้กล่าวคำเนียต เช่นกล่าวคำว่าอุศอ็ลลี.......ก่อนตักบีรนั้น เป็นการอ้างที่ไม่ถูกต้อง

............................


มีคนอ้างว่า ที่นบี ศอ็ลฯกล่าวต่อไปนี้เป็นหลักฐานสุนัตให้กล่าวคำเนียตคือ
فاني اذن صائم
ถ้าเช่นนั้นฉันก็จะถือศีลอด
........
ชี้แจง
ข้างต้น เป็นการบิดเบือนหะดิษ อ้างว่าเป็นหลักฐานการกล่าวคำเนียต
มาดูข้อเท็จจริงหะดิษข้างต้นที่ถูกนำมาอ้างว่านบี ศอ็ลฯกล่าวคำเนียตในการถือศีลอด
จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ มารดาของศรัทธาชน ได้เล่าว่า:
دَخَلَ عَلَيَّ النَّبِيُّ ذَاتَ يَوْمٍ فَقَالَ هَلْ : عِنْدَكُمْ شَيْءٌ؟، فَقُلْنَا : لَا، قَالَ : فَإِنِّي إِذَنْ صَائِمٌ;، ثُمَّ أَتَانَا يَوْمًا آخَرَ، فَقُلْنَا : يَا رَسُولَ اللهِ أُهْدِيَ لَنَا حَيْسٌ، فَقَالَ : أَرِينِيهِ فَلَقَدْ أَصْبَحْتُ صَائِمًا فَأَكَلَ.
ความว่า: ในวันหนึ่งท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้เข้ามาหาฉัน แล้วกล่าวว่า “พวกท่านมีอะไรให้ฉันรับประทานไหม ?”
พวกเราตอบว่า ไม่มี แล้วท่านก็กล่าวว่า “ถ้าเช่นนั้นฉันก็จะถือศีลอด”
หลังจากนั้นท่านก็ได้มาหาพวกเราอีกวันหนึ่ง พวกเราก็กล่าวแก่ท่านว่า โอ้เราะสูลุลลอฮฺ มีคนมอบอิทผาลัมกวนให้แก่พวกเรา ท่านกล่าวว่า “ไหนให้ฉันดูหน่อยซิ แท้จริง เช้านี้ฉันถือศีลอด” แล้วท่านก็กิน. (บันทึกโดยมุสลิม เลขที่: 1154)
………….
คำว่า “فَإِنِّي إِذَنْ صَائِمٌ “ถ้าเช่นนั้นฉันก็จะถือศีลอด”
เป็นประโยคสนทนาระหว่างท่านรซูลุลลอฮ ศอ็ลฯ กับท่านหญิงอาอีฉะฮ หลงจากท่านนบี ถามว่า “พวกท่านมีอะไรให้ฉันรับประทานไหม ?” ท่านหญิงอาอีฉะฮตอบว่า “ไม่มี” เลยท่านนบี ศอ็ล บอกกับท่านหญิงอาอีฉะฮว่า
“فَإِنِّي إِذَنْ صَائِمٌ “ถ้าเช่นนั้นฉันก็จะถือศีลอด”
ข้อความข้างต้น ไม่ใช่การกล่าวคำเนียต ไม่มีเศาะหาบะฮ หรืออิหม่ามมุจญตะฮิดคนใด เอาคำว่า
“فَإِنِّي إِذَنْ صَائِمٌ
มาเป็นหลักฐานว่า มีสุนัตให้กล่าวคำเนียตเวลาจะถือศีลอด การนำหะดิษนี้มาอ้าง เป็นการใช้หะดิษผิดที่ ส่อไปในทางบิดเบือนข้อเท็จจริงของหะดิษ
หะดิษบทนี้ ท่านอิหม่ามมุสลิม ได้จัดอยู่ในหัวเรื่องที่ว่า
بَاب جَوَازِ صَوْمِ النَّافِلَةِ بِنِيَّةٍ مِنَ النَّهَارِ
บทว่าด้วยเรื่อง การอนุญาตให้ถือศีลอดสุนัต ด้วยการเนียตในตอนกลางวัน –
..............
ผู้อ่านที่เคารพ เรียนเถอะครับ อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน แล้วจะจนใจเอง
การบิดเบือนคำสอนศาสนา มีให้พบอีกมากมาย โปรดระวัง


والله أعلم بالصواب

..................
อะสัน หมัดอะดั้ม



เมื่อมีผู้เอาการกระทำของท่านอุษมาน มาอ้าง ทำบิดอะฮ

หะดิษมีอยู่ว่า

รายงานโดยท่าน อัลบุคคอรีย์ จาก ท่าน อัลซาอิบ บิน ยะซีด เขากล่าวว่า

كان النداء يوم الجمعة أوله إذا جلس الإمام على المنبر على عهد النبي وإبي بكر وعمر رضي الله عنهما ، فلما كان عثمان
وكثر الناس زاد النداء الثالث على الزوراء

"การอะซาน ในช่วงแรกของวันศุกร์ นั้น เมื่ออิมามได้ทำการนั่งอยู่บนมิมบัร ซึ่งได้มีในสมัยของท่าน นบี(ซ.ล.) ท่านอบูบักร และท่านอุมัร (ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุมา) ดังนั้น เมื่อถึงสมัยท่านอุษมาน บรรดาผุ้คนก็มากขึ้น จึงเพิ่มการอะซานครั้งที่ 3 ณ ที่อัลเซฺารออ์
แล้วมีคน เอาการกระทำของท่านอุษมาน มาอ้าง ทำบิดอะฮ ที่ตนคิดขึ้นมาเองอีกแล้ว การอ้างการกระของท่านอุษมานข้างต้น มาสนับสนุน บิดอะฮ ในศาสนา ที่ คิดขึ้นเอง ย่อมไม่ถูกต้อง ด้วยเหตุผลดังนี้
1. การกระทำเช่นนี้เป็นสุนนะฮของเคาะลิฟะฮ อัร-รอชิดีน ที่ท่านนบีสั่งให้ปฏิบัติตาม
:"عليكم بسنتي وسنة الخلفاء المهديين الراشدين فتمسكوا بها وعضوا عليها بالنواجذ" الترمذي (2676)، وأبو داود (4607)، وابن ماجة (42)، وأحمد (17142

2. การกระทำในสมัยนั้น ทำในหอสูงในตลาดเมืองมะดีนะฮ เรียกว่า อัซ-เซารออฺ ท่านอุษมานไม่ได้ทำในมัสยิด

3. เนื่องจากมีประชากรเพิ่มมากขึ้น ท่านเกรงว่า การอะซานได้ยินไม่ทั่วถึง จึงมีความจำเป็นต้องทำเช่นนั้น และไม่มีเศาะหะบะฮคนใดคัดค้านเลย แบบนี้เขาเรียกว่า อิจญมาอเศาะหาบะฮ

4. การอะซานดังกล่าว เป็นการเรียกผู้คน ให้มาทำการละหมาด ไม่ใช่อาซาน ตามที่มีบัญญัติไว้
روى عبدالرزاق عن أبى جريح قال سليمان بن موس أول من زادالأذان بالمدينة عثمان قال عطاء كلا إنماكان يدعواالناس دعاء لايؤذن غيرأذان واحد
รายงานโดยอับดุรรอซซาก จากอบีญุรัยน ว่า สุลัยมาน บุตร มูซา กล่าวว่า บุคคลแรกที่เพิ่มการอาซานขึ้นที่มะดีนะฮ คือ ท่านอุษมาน ท่านอะฏออฺ กล่าวว่า ไม่ใช่เช่นนั้น แต่ ความจริงท่านได้เรียกผู้คน ด้วยคำเรียกธรรมดาเท่านั้น ท่านไม่ได้ทำการอาซาน นอกจากอาซานเพียงครั้งเดียวเท่านั้น - ดู ตัลคีศุลเคาะบีร เล่ม 4 หน้า 600
.............................................................

นี้คือ ข้อเท็จจริง คำว่า บิดอะฮในทางศาสนาที่นักวิชาการ
พูดถึง คือ

التعبد لله تعالى بما ليس عليه النبي ، صلى الله عليه وسلم ، ولا خلفاؤه الراشدون

การอิบาดะฮต่ออัลลอฮในสิ่งที่นบี ศอลฯและบรรดาเคาะลิฟะฮอัรรอชิดีน ไม่ได้ปฏิบัติ

هي كل عبادة أحدثها الناس ليس لها أصل في الكتاب ولا في السنة ولا في عمل الخلفاء الأربعة الراشدين ، لقول النبي ، صلى الله عليه وسلم ( من أحدث في أمرنا هذا ما ليس منه فهو رد ) متفق على صحته

บิดอะฮคือ ทุกอิบาดะฮที่มนุษย์อุตริขึ้นมา ไม่มีที่มาจากอัลกิตาบ(อัลกุรอ่าน)และอัสสุนนะฮ(แบบอย่างรซูล)และไม่มีการปฏิบัติจากเคาะลิฟะฮทั้งสี่ที่แนะนำสิ่งที่ถูกต้อง เพราะนบี ศอลฯกล่าวว่า"ผู้ใดอุตริในกิจการ(ศาสนา)ของเรานี้ สิ่งซึ่งไม่มีจากมัน เขาไม่ได้รับการรับรอง" – มุตตะฟัก

http://www.khayma.com/kshf/F/Ftawa.htm


والله أعلم بالصواب



............................
อะสัน  หมัดอะดั้ม


ถ้าจบที่สุนนะฮ บิดอะฮย่อมไม่เกิด



มีข้ออ้างกันมากมาย เพื่อจะให้สิ่งที่ไม่มีในอัสสุนนะฮ กลายเป็นสิ่งที่อนุญาต เป็นสิ่งที่ดี เพราะฉะนั้น ใช้สติปัญญา ที่อัลลอฮให้มา คิดพิจาณากันว่า สิ่งที่อัลลอฮ บอกว่าดี ,สิ่งที่นบี ศอ็ลฯบอกว่าดี กับสิ่งที่มนุษย์ยุคหลังจากศาสนาสมบูรณ์แล้วบอกว่าดี เราจะให้น้ำหนักสิ่งใดมากกว่า จะปฏิบัติสิ่งที่หวังผลในวันอาคีเราะฮแบบมั่่นใจ หรือ แบบลองผิดลองถูก คนฉลาดน่าจะตัดสินใจไม่ยาก
คำว่า บิดอะฮ คือ

التعبد لله بما لم يشرعه
การอิบาดะฮต่ออัลลอฮ ด้วยสิ่งที่พระองค์ไม่ได้บัญญัติไว้

وقوله صلى الله عليه وسلم : ( من أحدث في أمرنا هذا ما ليس منه فهو رد) . وفي رواية : (من عمل عملا ليس عليه أمرنا فهو رد) فدل الحديث على أن كل محدث في الدين فهو بدعة . وكل بدعة ضلالة مردودة . فكل البدع في العبادات والاعتقادات محرمة ، ولكن التحريم يتفاوت بحسب نوعية البدعة
และคำพูดของนบี ศอ็ลลัลลอฮูอะลัยฮิวะสัลลัม ที่ว่า (ผู้ใดประดิษฐ์สิ่งใหม่ขึ้นมาในกิจการ(ศาสนา)ของเรานี้ สิ่งซึ่ง ไม่ใช่ส่วนหนึ่งจากมัน มันถูกปฏิเสธ) และในรายงานหนึ่ง มีใจความว่า “ผู้ใดประกอบการงานหนึ่งการงานใด ที่ไม่ใช่กิจการของเราบนมัน มันถูกปฏิเสธ) หะดิษนี้ แสดงบอกว่า ทุกสิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ในศาสนา มันคือ บิดอะฮ และทุกบิดอะฮ เป็นการหลงผิด ที่ถูกปฏิเสธ ดังนั้น ทุกบิดอะฮ ในเรื่องอิบาดะฮ และ เรื่อง อะกีดะฮ เป็นสิ่งต้องห้าม แต่ว่า การห้ามนั้นแตกต่างกันไป ตามชนิดของบิดอะฮ – ดู อัลเอียะศอม เล่ม 2 หน้า 37

ในเมื่อไม่มีหลักฐาน แล้วไปอิจญติฮาดขึ้นมาเพื่อให้เกิดบัญญัติหรือหุกุมขึ้นมาใหม่ ว่า เป็น ฟัรดู หรือ เป็นสุนัต อย่างนี้ ใครเป็นให้อำนาจ ใครรับรอง

เพราะเหตุนี้ ท่านอิบนุมัสอูด (ร.ฎ) กล่าวว่า
الاِقْتِصَادُ فِي السُّنَّةِ خَيْرٌ مِنَ الاِجْتِهَادِ فِي الْبِدْعَةِ
“ความพอเพียงในสุนนะฮฺเป็นการประเสริฐกว่าความพยายาม(อิจญติฮาด)ในบิดอะฮฺ (สร้างสิ่งอุตริกรรม)”- อัดดาริมีย์
قال بعض الصحابة : اقتصاد في سبيل وسنة ، خير من اجتهاد في خلاف سبيل وسنة ، فاحرصوا أن تكون أعمالكم على منهاج الأنبياء عليهم السلام وسنتهم
เศาะหาบะฮบางคน กล่าวว่า “พอเพียงในแนวทางและสุนนะฮ ดีกว่า อิจญติฮาดในสิ่งที่ขัดแย้งกับแนวทางและสุนนะฮ ดังนั้น จงพยายาม ให้การงาน(อะมั้ล)ของพวกท่าน อยู่บนแนวทางของบรรดานบี (อะลัยฮิมุสสลาม)และสุนนะฮของพวกเขา” – ดู มะดาริญุสสาลิกีน เล่ม 2 หน้า 108
..............

เพราะฉะนั้น การอิจญติฮาด ในสิ่งที่ไม่มีบัญญัติ มันก็คือ บิดอะฮ อยู่ดี จะอ้างชื่อให้สวยหรูอย่างไรก็ตาม

والله أعلم بالصواب



อะสัน หมัดอะดั้ม_


เขาอ้างว่า อิหม่ามชาฟิอี ตะวัซซุล กับหลุมศพอบูหะนีฟะฮ


มีผู้ถามว่า
อาจารครับ ผมเคยได้ยินผ่านๆ มาว่า อิมามชาฟีอี อนุญาติให้ตะวัซซุลกับบรรดานบี และโต๊ะวาลีย์ที่ตายไปแล้วได้ เปนความจริงหรือป่าว ครับ

ตอบ
เรื่องมีอยู่ว่า
เคาะฏิบ อัลบัฆดาดีย์กล่าวว่า
أخبرنا القاضي أبو عبد الله الحسين بن علي بن محمد الصيمري ، قال : أنبأنا عمر بن إبراهيم المقرئ قال : نبأنا مُكرم بن أحمد قال : أنبأنا عمر بن إسحاق بن إبراهيم قال : نبأنا علي بن ميمون قال : سمعت الشافعي يقول : إني لأتبرك بأبي حنيفة ، وأجيء إلى قبره في كل يوم - يعني زائراً - فإذا عرضت لي حاجة صليتُ ركعتين وجئت إلى قبره ، وسألت الله تعالى عنده ، فما تبعد عني حتى تُقضى
อัลกอฎีย์ อบูอับดุลลอฮ อัลหุสัยนฺ บิน อาลี บิน มุหัมหมัด อัศเศาะมีรรีย์ กล่าวว่า อุมัร บิน อิบรอฮีม อัลมุกรีย์ ได้เล่าเรา โดยเขากล่าวว่า มุกริม บิน อะหมัด ได้เล่าเราโดยเขากล่าวว่า อุมัร บิน อิสหาก บิน อิบรอฮีม ได้เล่าเราโดยเขากล่าวว่า อาลี บิน มัยมูน ได้เล่าเรา โดยเขากล่าวว่า “ฉันได้ยิน ชาฟิอี กล่าวว่า “แท้จริง ฉัน จะไปเอาบะเราะกัต(ตะบัรรุก) กับ อบูหะนีฟะฮ และฉันได้มายังกุบูร ของเขา ทุกวัน หมายถึงเยี่ยมกุบูร แล้วเมื่อฉันมีความจำเป็นใด ๆ ฉันจะละหมาดสองเราะกะอัต และฉันได้มาที่กุบูรของเขา(ของอบูหะนีฟะฮ) แล้วฉัน ขอต่ออัลลอฮ ณ ที่กุบูรของเขา แล้วไม่นาน จนกระทั้งมันถูกให้บรรลุผล (หมายถึงได้รับตามที่ได้ขอ) – ดู ตาริคบัฆดาด เล่ม 1 หน้า 123

วิจารณ์ 

เช็คอัลบานีย์กล่าวว่า
فهذه رواية ضعيفة بل باطلة فإن عمر بن إسحاق بن إبراهيم غير معروف وليس له ذكر في شيء من كتب الرجال ، ويحتمل أن يكون هو " عمرو - بفتح العين - بن إسحاق بن إبراهيم بن حميد بن السكن أبو محمد التونسي وقد ترجمه الخطيب وذكر أنه بخاري قدم بغداد حاجا سنة 341هـ ولم يذكر فيه جرحا ولا تعديلا فهو مجهول الحال ، ويبعد أن يكون هو هذا إذ أن وفاة شيخه علي بن ميمون سنة 247هـ على أكثر الأقوال فبين وفاتيهما نحو مائة سنة فيبعد أن يكون قد أن يكون قد أدركه .
وعلى كل حال فهي رواية ضعيفة لا يقوم على صحتها دليل .ا.
นี่คือรายงานเฎาะอีฟ ยิ่งไปกว่านั้น เป็นรายงานเท็จ เพราะแท้จริง (ผู้รายงานที่ชื่อ) อุมัร บิน อิสหาก บิน อิบรอฮีม เป็นบุคคลที่ไม่เป็นที่รู้จัก และสำหรับเขา ไม่มีการระบุในสิ่งใดๆจากบรรดาตำราเกี่ยวกับผู้รายงานหะดิษ

และอาจจะเป็นไปได้ว่า เขาคือ อัมริน –อ่านสระฟัตหะฮที่อักษรอัยนฺ – บิน อิสหาก บิน อิบรอฮีม บิน หุมัยดฺ บิน อัสสะกัน ,อบูมุหัมหมัด อัตตูนิสีย์ และ อัลเคาะฏิบ (อัลบัฆดาดีย) ได้ ระบุชีวประวัติของเขา และกล่าวว่า เขาเป็นชาวเบุคอรี (หมายถึงถือกำเนิดในเมืองบุคอรอ) ได้เดินทางมายังนครแบกแดด เพื่อที่จะไปประกอบหัจญ์ ในปี ฮ.ศ 341 แต่ว่าเขา(อัลเคาะฏิบ อัลบัฆดาดีย) ไม่ได้ กล่าว ว่าเขามีจุดบกพร่อง(อัลญัรหฺ) และไม่ได้ระบุว่าเขาเป็นผู้ที่ได้รับการชมเชย(อัตตะดีล) (ด้วยกรณีนี้)เขาจึงเป็นบุคคลที่ สถานภาพของเขาไม่เป็นที่รู้จัก แต่ก็ห่างใกลกันมากที่จะเป็นเขาผู้นี้(หมายถึง อัมริน บิน อิสหาก) เพราะ อาจารย์ของเขา คือ อาลี บิน มัยมูน ได้เสียชีวิต ใน ปี ฮ.ศ 247
,ตามทัศนะนักวิชาการส่วนมาก การตายของเขาทั้งสอง ห่างกัน 100 ปี มันห่างใกลกันมากที่ทั้งสองจะได้เคยพบกัน และ บนทุกๆกรณี มันคือ รายงานที่เฎาะอีฟ ไม่มีหลักฐานยืนยันถึงความถูกต้องของมันเลย – ดู สิลสิละฮอัฎเฎาะอีฟะฮ เล่ม 1 หน้า 31
...............
เพราะฉะนั้น เรื่องดังกล่าว เป็นเรื่องเท็จ ที่มีคนบางกลุ่มเอามาเป็นหลักฐานเรื่องตะวัซซุล
อิบนุกอ็ยยิม กล่าวว่า
والحكايةُ المنقولةُ عن الشافعي أنه كان يقصد الدعاءَ عند قبر أبي حنيفة من الكذب الظاهر .ا.هـ.
และเรื่องราวที่ถูกรายงานจากชาฟิอี ว่า เขาได้เจตนาดุอา (ตะวัซซุล)ณ ที่หลุมศพอบูหะนีฟะฮ นั้นเป็นส่วนหนึ่งจากการโกหกอย่างชัดเจน – อิฆอษะตุลละฮฟาน เล่ม 1 หน้า 246

والله أعلم بالصواب


อะสัน หมัดอะดัม


ใครบอกว่า วะฮบีย์ต่อต้านมัซฮับสี่



มักมีการกล่าวหา คนที่เขาเรียกกลุ่มวะฮบีย์ หรือพวกคณะใหม่ว่า เป็นพวกไม่เอาอุลามาอฮ ต่อต้านมัซฮับ ทั้งหมดล้วนเป็นการใส่ร้ายทั้งสิ้น


ขอชี้แจงว่า

กลุ่มที่ถูกเรียกว่า “วะฮาบีย์ ในอดีตและปัจจุบัน ไม่ได้คัดค้านมัซฮับทั้งสี่ แต่ไม่ได้ส่งเสริมให้ยึดติดและตักลิด(เชื่อตาม)มัซฮับทั้งสี่อย่างหลับหูหลับตาต่างหาก

มาดูคำพูดของ เช็คอับดุลลอฮ บุตร เช็คมุหัมหมัด บิน อับดุลวะฮาบ กล่าวไว้ว่า

مذهبنا في أصول الدين مذهب أهل السنة والجماعة وطريقتنا طريقة السلف وهي أنا نقر آيات الصفات وأحاديثها على ظاهرها .
ونحن أيضا في الفروع على مذهب الإمام أحمد بن حنبل ولا ننكر على من قلد أحد الأئمة الأربعة .
ولا نستحق مرتبة الاجتهاد المطلق ولا أحد لدينا يدعيها . إلا أننا في بعض المسائل إذا صح لنا نص جلي من كتـاب أو سنة غيـر منسـوخ ولا مخصص ولا معارض بأقوى منه وقال به أحد الأئمة الأربعة أخذنا به وتركنا المذهب كإرث الجد والإخوة ، فإنا نقدم الجد بالإرث وإن خالف مذهب الحنابلة
มัซฮับของเราในเรื่องอุศูลุดดีน(หมายถึงในเรืองรากฐานของศาสนา ซึ่งหมายถึงด้านอะกีดะฮ) คือ มัซฮับอะฮลุสสุนนะฮวัลญะมาอะฮ และแนวทางของเราคือ แนวทางสะลัฟ และมันคือ แท้จริงเรายอมรับบรรดาอายาตสิฟาต(อายะฮอัลกุรอ่านที่เกี่ยวกับสิฟัตอัลลอฮ) และบรรดาหะดิษสิฟัต ตามความหมายที่ปรากฏของมัน(ตามตัวบท)

และเช่นเดียวกันใน ด้านฟุรูอุดดีน(ในด้านสาขาศาสนา หมายถึงในภาคปฏิบัตศาสนกิจ) เรา
นั้นอยู่มัซฮับอิมามอะห์มัด บิน ฮัมบัล และเราไม่คัดค้านต่อผู้ที่เชื่อตามอิมามคนหนึ่งคนใดจากบรรดาอิมามทั้งสี่ และเราไม่มีสิทธิ์อยู่ในฐานะอิจญติฮาดมุฏลัก(อิจญติฮาดอิสระ)และคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกเราไม่อ้างมัน เว้นแต่ว่า ในบางประเด็น

เมื่อมีตัวบทชัดเจน เศาะเฮียะสำหรับเรา จากคัมภีร์และสุนนะฮที่ไม่ถูกยกเลิก และไม่ได้เป็นสิ่งที่ถูกจำกัดเฉพาะและไม่ได้ค้านกับหลักฐานที่แข็งแรงกว่า โดยที่คนหนึ่งคนใดจากมัซฮับทั้งสี่ได้กล่าวมันเอาไว้ เราก็เอามันมายึดถือ และเราก็จะละทิ้งมัซฮับ (ที่เราสังกัดอยู่) เช่น (มัซฮับที่มีทัศนะว่า)ปู่และบรรดาพี่น้องหญิงสืบทอดมรดกได้ เราก็เอาผู้ที่เป็นปู่มาก่อน (ผู้เป็นพี่น้องหญิงที่มีสิทธิ์รับมรดก) และแม้มันจะขัดแย้งกับมัซฮับอัลหะนาบะฮละฮ (ที่เราสังกัดอยู่)ก็ตาม - อัดดุรรุสสะนียะฮ เล่ม 1 หน้า 126

……………………….
จะเห็นได้ว่า กลุ่มที่ถูกเรียกว่า “วะฮาบีย์ในอดีต” พวกเขา ไม่ได้ต่อต้านมัซฮับ แต่พวกเขาสอนให้ตามมัซฮับอย่างมีสติ คือ ตามที่ตรงกับหลักฐานที่เศาะเฮียะ ไม่ใช่หลับตาตาม

อิหม่ามมุหัมหมัด บิน อับดุลวะฮับ เองกล่าว ว่า

عقيدتنا في جميع الصفات الثابتة في الكتاب والسنة هي عقيدة أهل السنة والجماعة، نؤمن بها ونقرها كما جاءت مع إثبات حقائقها وما دلت عليه، من غير تكييف ولا تمثيل، ومن غير تعطيل ولا تبديل ولا تأويل

อะกีดะฮของเรา ในทั้งหมดของสิฟัตที่ปรากฏยืนยันในอัลกิตาบและอัสสุนนะฮ คือ อะกีดะฮ อะฮลุสสุนนะฮ วัลญะมาอะฮ ,เราศรัทธาและยอมรับมันตามที่ปรากฏมา พร้อมทั้งยืนยันถึงความจริงของมัน และสิ่งที่มันได้แสดงบอกไว้ โดยไม่อธิบายรูปแบบวิธีการ และไม่เปรียบเทียบ และโดยไม่ปฏิเสธสิฟัต ,ไม่เปลี่ยนแปลงและไม่ตีความความ

وأما مذهبنا ، فمذهب الإمام أحمد بن حنبل إمام أهل السنة والجماعة في الفروع ولا ندعي الاجتهاد ، وإذا بانت لنا سنة
صحيحة عن رسول الله صلى الله عليه وسلم عملنا بها ، ولا نقدم عليها قول أحد ، كائناً من كان.

สำหรับมัซอับของเรา เราดำเนินตามมัซฮับ อิหม่ามอะหมัด บิน หัมบัล อิหม่ามแห่งอะฮลุสสุนนะฮวัลญะมาอะฮ ในเรื่องสาขาของศาสนา(หมายถึงในเรื่องภาคปฏิบัติศาสนกิจ) และเราไม่กล่าวอ้างการอิจญติฮาด และเมื่อปรากฏสุนนะฮที่เศาะเฮียะจากรซูลุลลออ แก่เรา เราก็ปฏิบัติด้วยมัน และเราจะไม่นำคำพูดของคนหนึ่งคนใดล้ำหน้าสุนนะฮรซูลุลลอฮ ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม
- อัลฮะดียะฮอัสสะนียะฮ หน้า 99
........................
จากคำพูดของเช็คมุหัมหมัด บิน อับดุลวะฮับข้างต้น ชี้ให้เห็นว่า ท่านไม่ได้รังเกียจมัซฮับ แต่ท่านไม่ได้ยึดติดกับมัซฮับแบบเอามัซฮับนำหน้า แล้วเอาอัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮไว้เบื้องหลัง
ส่วนเรื่องอะกีดะฮนั้น ท่านยึดแนวทางอะฮลุสสุนนะฮ วัลญะมาอะฮ ไม่ใช่อะกีดะฮยิวตามที่คนบางกลุ่มกล่าวหา

والله أعلم بالصواب


อะสัน หมัดอะดั้ม



การสิ้นพระชนม์กษัตริย์อับดุลลอฮฺ บินอับดุลอะซีซ กับการจัดการศพที่เรียบง่าย



กษัตริย์อับดุลลาห์ บิน อับดุล อาซิซ แห่งซาอุฯ ทรงมีทรัพย์สินประมาณการที่ 21.5 พันล้านเหรียญฯ ซึ่งเป็นกษัตริย์ ราชวงศ์ที่ร่ำรวยอันดับ ๓ ของโลก ซึ่งจัดอันดับโดย นิตยสารฟอร์บ ปี ๒๐๑๔ การจัดการศพของท่านเป็นไปอย่างเรียบง่ายไม่ต่างไปจากสามัญชนธรรมดา เลยแม้แต่น้อย นี่คือ การดำเนินตามแบบอย่าง(สุนนะฮ)ของศาสดามุหัมหมัด ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
ท่านฟะฎอละฮฺ บินอุบัยด์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า
«سَمِعْتُ رَسُولَ اللهِﷺ يَأْمُرُ بِتَسْوِيَتِها» [(أي: القبور) أخرجه مسلم
“ฉันได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัมใช้ให้ปรับมัน(หลุมศพ)ให้เท่ากัน” (บันทึกโดยมุสลิม)
ท่านญาบิร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า
«نَهَى رَسُولُ اللهﷺ أَنْ يُجَصَّصُ القَبْر وَأَنْ يُقْعَد عَليهِ وَأَنْ يُبْنَى عَلَيْه» [أخرجه مسلم[
“ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้ห้ามตกแต่งหลุมศพให้สวยงามด้วยหินปูน (ห้าม)นั่งบนมัน และ(ห้าม)ปลูกสิ่งก่อสร้างบนมัน” (บันทึกโดยมุสลิม)
قَالَ الشَّافِعِيُّ أَكْرَهُ أَنْ يُرْفَعَ الْقَبْرُ إِلَّا بِقَدْرِ مَا يُعْرَفُ أَنَّهُ قَبْرٌ لِكَيْلَا يُوطَأَ وَلَا يُجْلَسَ عَلَيْهِ
อัชชาฟิอีย์ กล่าวว่า " ฉันไม่ชอบ ให้ยกหลุมศพให้สูง นอกจาก ตามขนาดที่ให้รู้ว่า คือ หลุมศพ เพื่อไม่ให้ถูกเหยียบและ ถูกนั่งบนมัน - ดู ตุหฟะตุลอะหวะซีย์ เรื่อง بَاب مَا جَاءَ فِي تَسْوِيَةِ الْقُبُورِ หะดิษหมายเลข ๑๐๔๙
มนุษย์ทุกคนต้องตาย เมื่อตายลง ทรัพย์สิน ตำแหน่ง ยศฐาบรรดาศักดิ์ ก็ไม่สามารถพาไปได้
ท่านนบี ศอ็ลฯ กล่าวว่า
يَتْبَعُ الْمَيِّتَ ثَلاَثَةٌ، فَيَرْجِعُ اثْنَانِ وَيَبْقَى وَاحِدٌ، يَتْبَعُهُ أَهْلُهُ وَمَالُهُ وَعَمَلُهُ، فَيَرْجِعُ أَهْلُهُ وَمَالُهُ، وَيَبْقَى عَمَلُهُ
“สามประการ จะติดตามผู้ตายไป โดยที่สองประการจะกลับมา และอีกหนึ่งประการจะยังคงอยู่กับเขา สิ่งที่จะติดตามเขาไป คือสมาชิกในครอบครัวของเขา ทรัพย์สินของเขา และการงานของเขา ดังนั้นสมาชิกในครอบครัว ทรัพย์สินของเขาจะกลับไป และการงาน(ผลกรรมที่เขาได้ทำไว้)จะคงอยู่กับเขา”(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลขหะดีษ 6514 และมุสลิม หมายเลขหะดีษ 2960)
والله أعلم بالصواب


อะสัน หมัดอะดั้ม



จากกระดาษแผ่นพับ..ได้เปลี่ยนแปลงทุกอย่างในชีวิต



จากกระดาษแผ่นพับ..ได้เปลี่ยนแปลงทุกอย่างในชีวิต..จากคนสักลาย(tattoo)ของแก๊งยากูซา..กลายมาเป็นอิหม่าม.ในมัสยิด และดะวะฮ์..
...เหตุเกิดเมื่อหลายปีก่อน มีมุสลิมกลุ่มหนึ่งได้ทำการดะวะฮ์ ตามถนนในย่านชิบูย่าส์ และมุสลิมกลุ่มนั้นไปแจกกระดาษแผ่นพับที่เกี่ยวกับศาสนาอิสลาม..ในตอนนั้นมีชายคนหนึ่งใส่เสื้อกัก และกางเกงขาสั้น ซึ่งทุกคนสามารถมองเห็นรอยสักเต็มบนตัวของเขา..ชายคนนั้น เดินตรงเข้าไปรับแจกแผ่นกระดาษนั้นด้วย
...ชายคนนั้นชื่อทากิ ...หลังจากนั้นอีกไม่นานทากิ ก็เข้ารับอิสลาม...และใช้ชื่อว่า อับดุลลอฮ์ ทากิ และได้ไปทำฮัจญ์..และได้รับทุนการศึกษาเกี่ยวกับอิสลามที่มักกะฮ์..หลังจากนั้นเขาได้กลับไปเป็นอิหม่ามและเผยแพร่อิสลาม ในมัสยิดเล็กๆในเขต คาบูคิโชะ.. โตเกียว ประเทศญี่ปุ่นญี่ปุ่น..เมื่อมีคนถามว่าทำไมคุณถึงเข้ารับอิสลาม..เขาตอบว่า ท่านนบี(ซ.ล)กล่าวว่า"แท้จริงแล้วเด็กๆที่เกิดมานั้นบริสุทธิ์(รู้จักอัลลอฮ์ตั้งแต่ยังไม่เกิดคือเป็นมุสลิม)..อยู่ที่พ่อแม่ของเด็กเหล่านั้น..ที่จะทำให้ลูกๆเป็น มะยูซี,ยิว,หรือคริสเตียน..เขาบอกว่าตอนนี้เขาได้ตื่นจากการนอนทียาวนานแล้วและเขาได้กลับมาสู่ที่ ที่เขาจากมาตั้งแต่เด็ก...อัลฮัมดุลิลลาฮ...ทุกวันนี้เขาเป็นคนหนึ่งที่พยายามกับงานศาสนาด้วยกับการดะวะฮ์อย่างเข้มแข็ง.ในประเทศญี่ปุ่น....

ขออัลลอฮ์ทรงประทานทางนำของพระองค์แก่พี่น้องในญี่ปุ่น...ขอให้ความพยายามของอิหม่ามอับดุลลอฮ์ ทากิ ชาวญี่ปุ่นและนักดาอีย์สำเร็จและสะดวกง่ายดายด้วยเถิด..อามีน




ท่านรู้หรือไม่นี้คือ...หลุมศพของใคร ?






สามันชนคนธรรมดา หรือ กษัตริย์ผู้มั่งมี และทรงเรืองอำนาจ ?
___________________________

พึงทราบเถิดว่า นี้คือ หลุมศพของกษัตริย์อับดุลลอฮ์ (รอฮีมาฮุลลอฮ์) ผู้มั่งมี และทรงเรืองอำนาจสุด แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาราเบีย

นอกจากจะมั่งมีทรัพสินเงินทองมากมายเกินขนานับแล้ว ท่านยังเป็นผู้นำแนวหน้าในโลกมุสลิม และก็ทรงอิธพลท่านหนึ่งของโลกอีกด้วย

แต่ฉะไหนเลย หลุดศพกษัตริย์ผู้ที่มีตำแหน่งระดับนี้ จึงดูเรียบง่ายเหมือนดั่งสามันชนคนทั่วไปธรรดาๆขนาดนี้ ?

หากเป็นกษัตริย์ หรือผู้มีอำนาจ ในศาสนิกอื่นคงไม่ต้องถามถึงความอลังกาล ใหญ่โตของพิธีจัดการศพหรอกน่ะ ท่านๆก็คงเคยเห็นมีประสบการกันมา

แต่นี้คือ "อิสลาม" ไม่ว่าศพนั้นคือ กษัตริย์ สามันชน หรือทาส ทุกคนล้วนแล้วแต่เท่าเทียมเสมอภาคกันหมด ไม่ใช่เพราะลูกหลานไม่ใส่ใจ หรือพรัทสินไม่พอจ่าย

แต่เพราะนี้คือ "หลักการ" หลัการที่ต้องตาม การปฎิบัติที่เรียบง่าย เป็นนัยยะหนึ่งให้รู้ได้ว่า ตอนมีชีวิตอยู่บนโลกใบนี้ ท่านจะใหญ่แค่ไหน มีอำนาจล้นฟ้าเพียงใด หรือจะล้มละลายในชีวิต ติดลบในธรุกิจทรัพสินอย่างไรก็ตาม

เมื่อชีวิตดุนยาจบลง ทุกอย่างก็เท่ากัน ถูกฝังอยู่ในหลุดเล็กๆ ไร้ซึ่งเครื่องอำนวยความสะดวกอันใดเหมือนกัน หมดซึ่งอำนาจแล้วทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่เหลือทรัพสินอะไรติดตัวไป เป็นแค่เพียงบ่าวผู้ต่ำต้อยเหมือนกัน ณ พระพักต์ของอัลลอฮ์

แต่มีสิ่งที่ต่างกันคือ "ผลบุญ-ผลกรรม" ที่ติดตัวไปของแต่ละคน
ต่อให้เคยยิ่งใหญ่บนพืนโลกเพียงใด แต่ไม่มีความดีติดตัวไปมันก็ไร้ค่า สูนราคา

____________________________

ถามตัวเองบ้างรึยัง ?

ว่าเรากำลังมักมากในดุนยาจนลืมชีวิตที่นิรันในอาคีเราะห์ไปหรือเปล่า ?

อย่าลืมน่ะ "จะใหญ่เพียงใด ก็เล็กกว่าหลุมศพอยู่ดี"

สุดท้ายแล้วมาจากดิน ก็ต้องกลับสู่ดิน เหมือนเดิม ...


..........................
Anas Abu Al Haq



อิสลามกับการเลี้ยงดูบุตร




  



การเลี้ยงดูบุตร คือ การดูแลผู้เยาว์หรือผู้ไร้เดียงสาและปกป้องให้พ้นจากภัยอันตรายรวมทั้งอบรมบ่มนิสัย และให้ความอุปถัมภ์ค้ำจุน เพื่อให้ดำรงอยู่ได้ด้วยตัวเอง

สิทธิในการปกครองเด็กมี  2 ประเภท
ประเภทที่ 1 พ่อมีสิทธิเหนือกว่าแม่ คือ สิทธิปกครองเรื่องทรัพย์สินและการแต่งงาน
ประเภทที่ 2  แม่มีสิทธิเหนือกว่าพ่อ คือ สิทธิปกครองเรื่องการเลี้ยงดูและการให้นม

ผู้ที่สมควรให้การเลี้ยงดูบุตร
การเลี้ยงดูบุตรเป็นหนึ่งในความดีงามของอิสลาม และอิสลามให้ความสำคัญกับผู้เยาว์ เมื่อพ่อแม่มีเรื่องทะเลาะวิวาทและเกิดเรื่องหย่ากัน ในขณะที่ทั้งสองมีบุตรที่ต้องให้การเลี้ยงดู ผู้ที่สมควรให้การเลี้ยงดูระหว่างพ่อกับแม่ คือ แม่ เนื่องจากแม่มีความเมตตาสงสาร นุ่มนวลดีกว่าใครๆ และเป็นผู้ที่มีความอดทน สามารถให้การอบรมบ่มนิสัยดีกว่า  เมื่อผู้เป็นแม่มีอุปสรรคไม่สามารถให้การเลี้ยงดูได้ ก็เป็นหน้าที่ของยายหรือผู้ที่อยู่ในลำดับที่สูงขึ้นไป  ถ้าหากยายมีอุปสรรคทำการเลี้ยงดูไม่ได้  ก็เป็นหน้าที่ของพี่สาวหรือน้องสาวของแม่(น้าหรือป้า) ถ้ามีอุปสรรค์อีกก็เปลี่ยนมาเป็นหน้าที่ของพ่อ หลังจากนั้นย่าหรือผู้ที่อยู่ในลำดับที่สูงขึ้นไป   หลังจากนั้นเป็นหน้าที่ของปู่ หลังจากนั้นแม่ของปู่ หรือผู้ที่อยู่ในลำดับที่สูงขึ้นไป   หลังจากนั้นเปลี่ยนมาเป็นหน้าที่ของพี่น้องสาวพ่อแม่เดียวกัน  พี่น้องสาวแม่เดียวกัน  พี่น้องสาวพ่อเดียวกัน ตามลำดับ  หลังจากนั้นเป็นหน้าที่ของพี่สาวหรือน้องสาวของพ่อหรือผู้ที่อยู่ลำดับใกล้ชิดหลังจากเขา

การเลิกภาระการเลี้ยงดู
ในเมื่อผู้ที่มีความเหมาะสมที่สุดปฏิเสธให้การเลี้ยงดูหรือไม่มีความสามารถหรือไม่สมควรให้การเลี้ยงดู หน้าที่การเลี้ยงดูจะถูกเลื่อนไปทางผู้เหมาะสมหลังจากเขา  และเมื่อแม่ได้แต่งงานใหม่สิทธิการเลี้ยงดูของนางจะสิ้นสุดลง และการเลี้ยงดูก็เลื่อนไปทางผู้ที่เหมาะสมหลังจากนางนอกจากสามีใหม่ของนางได้ยินยอมให้นางเลี้ยงดู

ผู้เยาว์จะอยู่กับใครเมื่อบรรลุศาสนภาวะ?
1. เมื่อเด็กอายุครบเจ็ดขวบและมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ให้เขาเลือกว่าจะอยู่กับพ่อหรือกับแม่ และไม่อนุญาตให้เด็กอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ที่ไม่สามารถจะปกป้องเด็กให้พ้นจากความชั่วร้าย และคนกาฟิรไม่อนุญาตให้การเลี้ยงดูแก่เด็กมุสลิม
2. เด็กหญิงเมื่ออายุครบเจ็ดขวบควรจะอยู่กับพ่อหากได้รับการอุปการะเลี้ยงดูอย่างดี และไม่ได้รับผลกระทบที่เสียหายจากแม่เลี้ยง ถ้าไม่แล้วควรจะกลับไปอยู่กับแม่
3. เด็กชายเมื่อบรรลุศาสนภาวะจะไปอยู่กับใครก็ได้ ส่วนเด็กหญิงนั้นต้องอยู่กับพ่อจนกว่าจะแต่งงานและสามีรับไปอยู่ด้วยกับเขา และพ่อไม่มีสิทธิที่จะหักห้ามเธอหากเธอจะไปเยี่ยมแม่ของเธอหรือแม่ของเธอจะมาเยี่ยมเธอ


.......................................
มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม บิน อับดุลลอฮฺ อัต-ตุวัยญิรีย์
محمد بن إبراهيم بن عبدالله التويجري
  
แปลโดยริซัลย์ สะอะ
ترجمة: ريزال أحمد
ตรวจทาน: ฟัยซอล อับดุลฮาดี
مراجعة: فيصل عبدالهادي
จากหนังสือ: มุคตะศ็อร อัล-ฟิกฮฺ อัล-อิสลามีย์
المصدر: كتاب مختصر الفقه الإسلامي
  
สำนักงานความร่วมมือเพื่อการเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
المكتب التعاوني للدعوة وتوعية الجاليات بالربوة بمدينة الرياض
1429 – 2008



วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558

เมื่อมนุษย์บางคนขอความคุ้มครองจากญิน


พระองค์อัลลอฮฺตะอาลา ตรัสว่า

وَأَنَّهُ كَانَ رِجَالٌ مِّنَ الْإِنسِ يَعُوذُونَ بِرِجَالٍ مِّنَ الْجِنِّ فَزَادُوهُمْ رَهَقًا ( 6 )
และแท้จริงมนุษย์บางคนเคยขอความคุ้มครองจากญินบางคน ดังนั้นพวกเขา (มนุษย์) จึงทำให้พวกเขา (ญิน)เพิ่มการหยิ่งจองหองยิ่งขึ้น (อัลกุรอาน สูเราะฮ์อัลญิณ อายะที่ 6)

การที่มนุษย์ได้วิงวอนขอจากญินซึ่งมันไม่ให้คุณให้โทษหรือมีอำนาจใดๆ มันไม่แตกต่างจากมนุษย์ เพียงแต่มนุษย์ไม่สามารถมองเห็นมันได้เท่านั้น แต่มนุษย์กลับไปวิงวอนขอสิ่งโน้สิ่งนี้จากมัน และขอความคุ้มครองให้ตัวเองปลอดภัยจากมัน เช่น วอนขอเลขเด็ด วอนขอให้สอบติด วอนขอให้ได้รับสิ่งที่ต้องการ แล้วจะเอาของมาถวายให้พวกมัน

หรือเมื่อย้ายไปสถานที่แห่งใด หรือเมื่อเกิดภัยพิบัติแก่ตนก็จะขอให้พวกญินปกป้องคุ่มครองตนนอกจากอัลลอฮฺ เมื่อพวกญินเห็นการกระทำการของมนุษย์ที่เห็นพวกมันเป็นผู้วิเศษทั้งที่พวกมันไม่มีอำนาจใด พวกมันก็ยิ่งเพิ่มความพยองตน ให้มนุษย์เห็น เช่นหากไม่มีของมาถวายก็แสดงให้มนุษย์กลัวมัน หรือทำให้เกิดอุบัติเหตุต่างๆ

ดั่งท่านอิบนุอับบาสกล่าวว่าในยุคคนโง่เขลาก่อนอิสลาม เมื่อพวกอาหรับจะต้องค้างคืนในสถานที่ที่ไม่มีผู้คนหรือในหุบเขาที่ห่างไกล พวกเขาจะตะโกนออกมาว่า "เราขอความคุ้มครองจากญินที่เป็นเจ้าของหุบเขานี้" ถ้าหากสถานที่ห่งหนึ่งไม่มีน้ำและฟางหญ้า พวกอาหรับเร่ร่อนก็จะให้คนหนึ่งออกไปยังสถานที่แห่งอื่นเพื่อดูว่ามีน้ำและฟางหญ้าหรือไม่ หลังจากนั้น เมื่อพวกเขาไปถึงสถานที่แห่งใหม่ พวกเขาก็จะตะโกนออกมาก่อนที่จะปักกระโจมว่า "เราขอความคุ้มครองต่อผู้ดูลหุบเขานี้ เพื่อที่เราจะได้อยู่ที่นี่ในความสงบจากภัยพิบัติต่างๆ"

ซึ่งความเป็นจริงนั้นพวกญินไม่มีอำนาจใดๆเลย แม้แต่การรู้สิ่งเร้นลับที่เกินวิสัยของมนุษย์จะยั่งรู้ได้ พวกมันก็ไม่สามารถรู้ได้เช่นเดียวกัน และในยุคท่านนบีสุไลมาน มีพวกญินมากมายรับใช้ท่าน ขณะที่ท่านเสียชีวิตในสภาพที่ร่างกายของท่านยังคงยืนอยู่โดยมีไม้เท้าค้ำไว้ แต่พวกญินกลับไม่ทราบว่าท่านได้เสียชีวิตไปแล้ว จนเมื่อสัตว์จำพวกมอดและปลวกกัดกินไม้เท้าของท่านจนข้างในกลวง ร่างของท่านก็ล้มลง พวกมันถึงรู้ความจริงนั้น

فَلَمَّا قَضَيْنَا عَلَيْهِ الْمَوْتَ مَا دَلَّهُمْ عَلَىٰ مَوْتِهِ إِلَّا دَابَّةُ الْأَرْضِ تَأْكُلُ مِنسَأَتَهُ فَلَمَّا خَرَّ تَبَيَّنَتِ الْجِنُّ أَن لَّوْ كَانُوا يَعْلَمُونَ الْغَيْبَ مَا لَبِثُوا فِي الْعَذَابِ الْمُهِينِ ( 14 )

"ครั้นเมื่อเราได้กำหนดความตายแก่เขา มิได้มีสิ่งใดบ่งชี้แก่พวกเขาถึงความตายของเขา นอกจากปลวกใต้ดินแทะกินไม้เท้าของเขา ดังนั้น เมื่อเขาล้มลงพวกญินก็รู้อย่างชัดแจ้งว่า หากพวกเขารู้ในสิ่งพ้นญาณวิสัยแล้ว พวกเขาจะไม่ต้องมาทนทุกข์ทรมานที่น่าอดสูเช่นนี้" (อัลกุรอาน สูเราะฮฺสะบะอ์ 34:14)

ท่านนบีสุไลมานเสียชีวิติลงในสภาพที่ร่างกายของท่านยังคงยืนอยู่โดยมีไม้เท้าค้ำไว้ และพวกญินก็ยังคงทำหน้าที่ของมันอยู่ โดยคิดว่าท่านยังคงมีชีวิต แต่ในที่สุด เมื่อสัตว์จำพวกมอดและปลวกกัดกินไม้เท้าของท่านจนข้างในกลวง ร่างของท่านนบีสุไลมานจึงล้มลง พวกญินจึงพึ่งรู้ว่าท่านนบีสุไลมานเสียชีวิตแล้ว โดยพวกญินได้ตระหนักคำกล่าวอ้างที่พวกมันรู้เรื่องสิ่งที่มองไม่เห็นนั้นผิดโดยสิ้นเชิง

ปัจจุบันเราได้วิงวอนขอและขอความครองจากญินโดยไม่รู้ตัว บางที่เราเรียกญินว่าผีบ้าง เจ้าที่บ้าง เทวดาบ้าง พวกมันไม่มีอำนาจอะไรหรอก นอกจากมนุษย์ไปขอความคุ้มครองจากพวกมันเอง มันก็เป็นมัคลูคสิ่งถูกสร้างเหมือนมนุษย์ มีกิน มีนอน มีการสืบพันธุ์เหมือนมุษย์ แต่มันต่างมนุษย์ที่ว่าจุดเริ่มของมันคือไฟ โดยปกติมนุษย์ไม่สามารถมองเห็นพวกมันได้ ญินสามารถเข้าร่างมนุษย์ ที่เรียกว่าผีเข้า

และนอกจากนี้ญินมันจะรับใช้เจ้านายมนูษย์ของมัน ที่เลี่ยงดูมัน โดยเฉพาะโต๊ะหมอ ไม่ว่าโต๊ะหมอแขก หรือเขมร พวกมันจะคอยรับใช้อย่างใกล้ชิด และทำตามเจ้านายสั่งอย่างว่าง่าย เช่นเมือโต๊ะหมอ จะทายทักดวงชะตา หรือเมื่อของหาย หรือค้าขายไม่ได้ หากมีคนมารับจ้างดูให้ พวกมันที่รับใช้ก็จะบอกเจ้านายของมัน มันก็บอกถูกบ้างผิดบ้าง  แต่ส่วนใหญ่บอกผิดเสียมากกว่า เมื่อมีการจ้างให้ดูดวง ทายทัก หรือรับรักษาสิ่งใดจากโต๊ะหมอ ก็ต้องชำระค่าสงคลาด หรือค่าลาด ซึ่งมันก็คือค่าครู ครูในที่นี้ก็คือญินที่ได้สอนวิชาอาคมนั้นให้กับเจ้านายของมันนั้นเอง ก่อนที่เจ้านายของมันตายก็ต้องมีการสืบวิชา หรือมอบภาระที่ปลูกปักษ์ดเลี้ยงดูพวกญินให้กับลูกหลานที่มีความน่าไว้เนื้อเชื่อใจต่อไป

เราจึงต้องหลีกห่างจากการวิงวอนขอหรือขอความครองจากมัน เพื่อให้หลีกพ้นจากการทำชิริก การก่อเกิดอันตรายจากญิน และมิให้พวกญินเกิดการจองหองในตัวตนของ และจงขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺตะอาลาให้พ้นจากความชั่วร้ายของพวกมัน


โดยเฉพาะให้กล่าวดุอาอ์ประโยคต่อไปนี้ให้มากๆ

أَعُوْذُ بِاللهِ مِنَ الشَّيْطَانِ الرَّجِيْمِ
 
 “อาอูซุ บิลลาฮฺ มินัช ชัยฏอนิร รอญีม”

“ข้าขอให้อัลลอฮฺช่วยคุ้มครองให้พ้นจากการล่อลวงของชัยฏอน”





วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558

การเริ่มต้นแห่งชีวิตมนุษย์



อัลลอฮฺได้ทรงแจ้งให้มนุษย์ได้ทราบถึงการริเริ่มแห่งชีวิตของมนุษย์ไว้ในอัลกุรอานไว้หลายอายะฮฺ พระองค์ได้ให้เห็นถึงกระบวนการสร้างของพระองค์ที่มีลักษณะเป็นขั้นเป็นตอน และแสดงให้เห็นถึงกระบวนการของชีวิตมนุษย์ในครรรภ์มารดา พระองค์ทรงสร้างมนุษย์มาจากหยดอสุจิผสมกันระหว่างสเปิร์มผู้ชายกับไข่ของผู้หญิง หลังจากนั้นแล้วพระองค์องค์ทรงให้มันอยู่ในสถานที่ปลอดภัยคือมดลูกของมารดา ซึ่งในนั้นทารกจะอาศัยอยู่อย่างมั่นคงทันทีที่มีการปฏิสนธิ และที่ในมดลูกของมารดานั้นได้รับการจัดเตรียมเรื่องความปลอดภัยและการเลี้ยงดูทารกเป็นอย่างดี ซึ่งไม่สามารถเกิดการแท้งได้เว้นเสียแต่ว่าจะมีเหตุร้ายเกิดขึ้น หรือมีการใช้เครื่องมือทำแท้ง ซึ่งมีความเสี่ยงและเป็นอันตรายแก่ทารกอย่างมาก แล้วพระองค์ทรงให้ทารกอยู่ในมดลูกตามระยะเวลาที่พระองค์กำหนดไว้ หลังจากนั้นพระองค์ก็ทรงให้ทารกคลอดออกมาลืมตาดูโลก

พระองค์อัลลอฮฺ (ศุบฮานะฮูวะตะอาลา) ตรัสว่า


وَلَقَدْ خَلَقْنَا الْإِنسَانَ مِن سُلَالَةٍ مِّن طِينٍ ( 12 )
"และขอสาบานว่า แน่นอนเราได้สร้างมนุษย์มาจากธาตุแท้ของดิน"

ثُمَّ جَعَلْنَاهُ نُطْفَةً فِي قَرَارٍ مَّكِينٍ ( 13 )
"แล้วเราทำให้เขาเป็นเชื้ออสุจิ อยู่ในที่พักอันมั่นคง (คือมดลูก)"

ثُمَّ خَلَقْنَا النُّطْفَةَ عَلَقَةً فَخَلَقْنَا الْعَلَقَةَ مُضْغَةً فَخَلَقْنَا الْمُضْغَةَ عِظَامًا فَكَسَوْنَا الْعِظَامَ لَحْمًا ثُمَّ أَنشَأْنَاهُ خَلْقًا آخَرَ فَتَبَارَكَ اللَّهُ أَحْسَنُ الْخَالِقِينَ ( 14 )
"แล้วเราได้ทำให้เชื้ออสุจิกลายเป็นก้อนเลือดแล้วเราได้ทำให้ก้อนเลือดกลายเป็นก้อนเนื้อแล้วเราได้ทำให้ก้อนเนื้อกลายเป็นกระดูก แล้วเราหุ้มกระดูกนั้นด้วยเนื้อ แล้วเราได้เป่าวิญญาณให้เขากลายเป็นอีกรูปร่างหนึ่ง ดังนั้นอัลลอฮ์ทรงจำเริญยิ่ง ผู้ทรงเลิศแห่งปวงผู้สร้าง" (อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัล-มุอ์มินูน  23: 12-14)


أَيَحْسَبُ الْإِنسَانُ أَن يُتْرَكَ سُدًى ( 36 )
มนุษย์คิดหรือว่า เขาจะถูกปล่อยไว้โดยไร้จุดหมายกระนั้นหรือ ?

أَلَمْ يَكُ نُطْفَةً مِّن مَّنِيٍّ يُمْنَىٰ ( 37 )
เขามิได้เป็นน้ำกามหยดหนึ่งจากน้ำอสุจิที่ถูกพุ่งออกมากระนั้นหรือ ?

ثُمَّ كَانَ عَلَقَةً فَخَلَقَ فَسَوَّىٰ ( 38 )
แล้วเขาได้เป็นก้อนเลือดก้อนหนึ่งแล้วพระองค์ทรงบังเกิดแล้วก็ทรงทำให้ได้สัดส่วนสมบูรณ์

فَجَعَلَ مِنْهُ الزَّوْجَيْنِ الذَّكَرَ وَالْأُنثَىٰ ( 39 )
แล้วพระองค์ทรงทำให้เขาเป็นคู่ เป็นเพศชายและเพศหญิง

أَلَيْسَ ذَٰلِكَ بِقَادِرٍ عَلَىٰ أَن يُحْيِيَ الْمَوْتَىٰ ( 40 )
ดังนั้น พระองค์จะไม่สามารถที่จะให้คนตายมีชีวิตขึ้นมาอีกกระนั้นหรือ ? (อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัล-กิยามะฮฺ 75: 36-40)


إِنَّا خَلَقْنَا الْإِنسَانَ مِن نُّطْفَةٍ أَمْشَاجٍ نَّبْتَلِيهِ فَجَعَلْنَاهُ سَمِيعًا بَصِيرًا ( 2 )
"แท้จริงเราได้สร้างมนุษย์จากน้ำเชื้อผสมหยดหนึ่ง เพื่อเราได้ทดสอบเขา ดังนั้นเราจึงทำให้เขาเป็นผู้ได้ยิน เป็นผู้ได้เห็น" (อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัล-อินซาน 76:2)


أَلَمْ نَخْلُقكُّم مِّن مَّاءٍ مَّهِينٍ ( 20 )
เรามิได้สร้างพวกเจ้าจากน้ำที่ต่ำต้อยไร้ค่า (อสุจิ) ดอกหรือ ?

فَجَعَلْنَاهُ فِي قَرَارٍ مَّكِينٍ ( 21 ) 1
แล้วเราได้ให้เข้าไปอยู่ในที่อับมั่นคง (มดลูก)

إِلَىٰ قَدَرٍ مَّعْلُومٍ ( 22 )
จนถึงกำหนดอันแน่นอน

فَقَدَرْنَا فَنِعْمَ الْقَادِرُونَ ( 23 )
ดังนั้นเราได้กำหนดไว้แล้ว เราจึงเป็นผู้กำหนดที่ดีเลิศจริง ๆ (อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัล-มุรสะลาต 77: 20-23)









เมื่อเขาต้องการทำซินา




เด็กหนุ่มคนหนึ่ง...
ได้เข้าไปพบศาสนทูตมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม
และขออนุญาตท่านเพื่อไปทำซินา (ทำผิดประเวณี)
เพราะเขาขาดมันไม่ได้หลังจากที่เขาได้เข้ารับอิสลาม
ซึ่งขณะนั้นบรรดาเศาะหาบะฮฺต่างปฏิเสธ
และทำการต่อต้านเด็กหนุ่มคนดังกล่าวอย่างเต็มที่
อย่างไรก็ตามท่านนบีมุหัมมัดกลับเรียกเด็กหนุ่มให้เข้าไปหาท่านใกล้ๆ
และถามเขาว่า...
"เธอจะยอมรับได้หรือไม่... หากว่าเธอเห็นมารดาของเธอ
กระทำผิดประเวณี?’
เด็กหนุ่มได้ตอบปฏิเสธกับท่าน ดังนั้นนบีมุหัมมัดจึงกล่าวว่า...
"ด้วยเหตุนี้ ผู้คนอื่นๆ ต่างก็ปฏิเสธที่จะเห็นมารดาของพวกเขา
(หรือสตรีในครอบครัวของเขา) ยุ่งเกี่ยวกับการทำผิดประเวณี"
จากนั้นท่านจึงถามเด็กหนุ่มต่อไปว่า...
"เธอจะยอมรับได้หรือไม่หากว่าเธอเห็นพี่สาวน้องสาวของเธอ
กระทำผิดประเวณี?’
เด็กหนุ่มก็ตอบปฏิเสธเช่นเดิม
นบีมุหัมมัดจึงกล่าวว่า...
"ด้วยเหตุนี้ ผู้คนอื่นๆ ต่างก็ปฏิเสธที่จะเห็นพี่สาวน้องสาวของเขา
ยุ่งเกี่ยวกับการทำผิดประเวณีเช่นกัน"
ซึ่งท่านนบีไม่ได้แสดงความแข็งกร้าวต่อเขาแต่อย่างใด
อีกทั้งท่านยังขอดุอาอฺให้แก่เขาด้วยการกล่าวว่า...
"โอ้ อัลลอฮฺ โปรดชำระล้างหัวใจของเด็กหนุ่มคนนี้ให้สะอาดบริสุทธ์
ด้วยเถิด และปกป้องอวัยวะพึงสงวนของเขาและทำให้เขามีความสามารถ
ที่จะลดสายตาลงต่ำด้วยเถิด"
และในหะดีษได้รายงานว่าจากนั้นเด็กหนุ่มคนดังกล่าวได้กล่าวออกมาว่า...
"ขอสาบานด้วยอัลลอฮฺ กระผมจะไม่แสวงหาความสัมพันธ์ที่หะรอม
อีกต่อไปแล้วขอรับ" (รายงานโดยฏ็อบะรอนียฺ)

............................
อับดุลรอมาน หะระตี




7 จำพวกที่จะได้อยู่ภายใต้ร่มเงาของอัลลอฮ




ท่านเราะสูลุลลอฮ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ได้กล่าวว่า...
"7 จำพวกที่จะได้อยู่ภายใต้ร่มเงาของอัลลอฮ
ในวันที่ไม่มีร่มเงาใดเลย เว้นแต่ร่มเงาของพระองค์" คือ...
1 : ผู้นำที่ยุติธรรม
2 : คนหนุ่มที่เติบโตขึ้นในการ(ฏออะฮฺ)อิบาดะฮฺต่ออัลลอฮ
3 : ชายที่หัวใจของเขาผูกพันกับมัสญิด
4 : ชายสองคน ที่เขารักกันเพื่ออัลลอฮ พบเจอและจากกันเพื่ออัลลอฮ
5 : ชายที่ถูกมีฐานะดีและสวยงามเชิญชวนเพื่อทำซินา
... แต่เขา(ปฏิเสธและ)กล่าวว่า “แท้จริงฉันเกรงกลัวต่ออัลลอฮ”
6 : บุคคลที่บริจาคด้วยความปกปิด จนกระทั่ง มือซ้ายของเขา
...ไม่รับทราบถึงสิ่งที่มือขวาได้บริจาคออกไป
7 : บุคคลที่รำลึกถึงอัลลอฮเพียงลำพัง จนน้ำตาได้ไหลรินออกมา
... จากดวงตาทั้งสองของเขา"
(รายงานโดย บุคอรีย์ และ มุสลิม )
โอ้อัลลอฮ...
"โปรดให้เราเป็นหนึ่งในบ่าวที่ได้อยู่ภายใต้ร่มเงาของพระองค์ด้วยเถิด"

..........................
อับดุลรอมาน หะระตี




อัลกุรอานกำลังลูบหลัง





ปกติหลังละหมาดมัฆริบ ผมจะเปิดอัลกุรอานมาอ่าน วันนี้ก็ทำเหมือนอยู่ทุก ๆ วัน แต่ต่างกันตรงที่วันนี้ มีเรื่องที่ไม่ค่อยสบายใจ เศร้าใจ หมองใจ ทุกข์ใจ (รู้สึกสับสนไปหมด เพราะมีเรื่องหลาย ๆ อย่างที่ไม่ดีมารวมกัน)
ก่อนที่จะหยิบอัลกุรอานมาอ่าน รู้สึกว่าเดินไม่ค่อยมีแรง รู้สึกว่าหนักตัวมาก (เพราะหนักใจในหลาย ๆ เรื่อง) เมื่อเริ่มอ่านแล้ว มีความรู้สึกว่าอยากจะร้องไห้ออกมา รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่ายังไงไม่รู้ แต่พออ่านไปเรื่อย ๆ รู้สึกได้เลยว่า อัลกุรอานกำลังลูบหลังผมอยู่ แล้วบอกกับผมว่า ปล่อยให้เป็นไปตามตักดีรของอัลลอฮฺไว้เถิด เพราะการวาดวางของพระองค์นั้นดีกว่าที่คุณคาดคิดไว้เสมอ
ผมเป็นคนเรียนจบ ป.ตรี โท และเอก ในด้านภาษาอาหรับ ก็เลยทำให้ผมเข้าใจกับเนื้อหาที่ผมได้อ่าน เข้าใจในสิ่งที่อัลลอฮฺกำลังอธิบายว่า อะไรจะเกิดขึ้นกับอนาคตของผม มันก็เลยทำให้ผมสบายใจขึ้นมา
‪#‎อัลหัมดุลิลลาฮฺ‬


............................
ความในใจอูลุล อัลบ๊าบ


สิ่งที่เหลืออยู่กับเรา





แท้จริงแล้ว ความยากลำบากในการภักดีต่ออัลลอฮฺนั้น มันจะหายไป แต่สิ่งที่เหลืออยู่กับเรานั้น เป็นผลบุญ
และแท้จริงแล้ว ความสนุกสนานในการละเมิดต่อพระองค์นั้น ก็จะหายไปเช่นกัน แต่สิ่งที่เหลืออยู่กับเรานั้น เป็นบทลงโทษจากพระองค์
.



ข้อความดี ๆ โดย : شاركنا كل يوم بدعاء وأيه من كتاب الله وحديث من احاديث الرسول
ถอดความและเรียงคำโดย : อูลุล อัลบ๊าบ

ชี้แจงการบิดเบือนของ ลัทธิชีอะห์ ยกอายะฮ ที่ 24 ของ ซูเราะฮ์ อันนิซาอ์




ชี้แจงการบิดเบือนของ ลัทธิชีอะห์ ยกอายะฮ ที่ 24 ของ ซูเราะฮ์ อันนิซาอ์ เพียงครึ่งเดียว เพื่อหลอก มุตอะห์ สาวๆ รายชั่วโมง

คำกล่าวอ้างของลัทธิ ชีอะห์
“ อายะฮ์ที่ 24 ซูเราะฮ์ อันนิซาอ์ “ หมายถึง การแต่งงานแบบมุตอะฮ์ อัลลอฮ์ ตะอาลา ตรัสว่า
فَمَا اسْتَمْتَعْتُمْ بِهِ مِنْهُنَّ فَآَتُوهُنَّ أُجُورَهُنَّ فَرِيضَةً وَلَا جُنَاحَ عَلَيْكُمْ فِيمَا تَرَاضَيْتُمْ بِهِ مِنْ بَعْدِ الْفَرِيضَةِ إِنَّ اللَّهَ كَانَ عَلِيمًا حَكِيمًا
ดังนั้นหญิงใดที่พวกเจ้าได้ทำการนิกะห์มุตอะฮ์กับนางจากบรรดาหญิงเหล่านั้น ก็จงให้แก่พวกนาง ซึ่งสินตอบแทนแก่พวกนางตามที่มีกำหนดไว้
และไม่เป็นบาปใดๆแก่พวกเจ้าในสิ่งที่พวกเจ้าต่างพอใจต่อกันในสิ่งนั้น หลังจากที่มีการกำหนดนั้นขึ้น แท้จริงอัลลอฮ์ คือผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงปรีชาญาณยิ่ง
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

คำชี้แจง
1. ตัวอย่างอายะฮ ที่ 24 ซูเราะฮ อันนิสาอฺ เต็มๆ ที่มาที่ไปอัลลอฮ ตรัสเรื่องอะไร พร้อมคำอธิยายย่อๆ จากสมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ
وَالْمُحْصَنَاتُ مِنَ النِّسَاء إِلاَّ مَا مَلَكَتْ أَيْمَانُكُمْ كِتَابَ اللَّهِ عَلَيْكُمْ وَأُحِلَّ لَكُم مَّا وَرَاء ذَلِكُمْ أَن تَبْتَغُواْ بِأَمْوَالِكُم مُّحْصِنِينَ غَيْرَ مُسَافِحِينَ فَمَا اسْتَمْتَعْتُم بِهِ مِنْهُنَّ فَآتُوهُنَّ أُجُورَهُنَّ فَرِيضَةً وَلاَ جُنَاحَ عَلَيْكُمْ فِيمَا تَرَاضَيْتُم بِهِ مِن بَعْدِ الْفَرِيضَةِ إِنَّ اللَّهَ كَانَ عَلِيمًا حَكِيمًا
24. และบรรดาหญิงที่อยู่ในปกครองของสามี(*1*)นอกจากที่มือขวาของพวกเจ้าครอบครอง(*2*) เป็นบัญญัติของอัลลอฮฺที่มีแก่พวกเจ้า และได้ถูกอนุมัติให้แก่พวกเจ้าที่นอกเหนือจากนั้น(*3*)ในการที่พวกเจ้าจะแสวงหามาด้วยทรัพย์ของพสกเจ้า(*4*) ในฐานะเป็นผู้แต่งงาน(*5*)มิใช่ในฐานะผู้ล่วงประเวณี ดังนั้นหญิงใดที่พวกเจ้าเสพสุขด้วยนางจากบรรดาหญิงเหล่านั้น(*6*) ก็จงให้แก่พวกนาง ซึ่งสินตอบแทนแก่พวกนาง(*7*) ตามที่มีกำหนดไว้และไม่เป็นบาปใด ๆแก่พวกเจ้าในสิ่งที่พวกเจ้าต่างยินยอมกันในสิ่งนั้น(*8*) หลังจากที่มีกำหนดนั้นขึ้นแท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงปรีชาญาณ
----------------
(1) เป็นหญิงที่ถูกห้ามมิให้แต่งงานด้วยเช่นเดียวกัน
(2) หญิงที่มีสามี แต่ตกเป็นเชลยศึก แล้วถูกมอบให้เป็นกรรมสิทธิในฐานะหญิงทาส หญิงประเภทนี้อนุมัติให้ผู้เป็นนายสมสู่กับนางได้หลังจากที่นางพ้นอิดดะฮ์ โดยไม่ต้องทำพิธีสมรส แต่ถ้าเป็นชายอื่นต้องต่อสู่ขอจากผู้เป็นนาย และทำพิธีสมรสโดยจ่ายสินตอบแทนให้ ทั้งนี้หลังจากนางพ้นอิดดะฮ์ แล้วเช่นเดียวกัน
(3) หมายถึงหญิงที่นอกเหนือจากที่ได้ระบุห้ามไว้
(4) หมายถึงด้วยการจ่ายสินตอบแทน(มะฮัร)ให้แก่นาง
(5) แต่งงานกับนางโดยเจตนาที่จะครองเรือนกับนาง
(6) หญิงที่อนุมัติให้แต่งงานกับนางได้
(7) ให้มะฮัรแก่พวกนาง
(8) ยินยอมที่จะลดหรือเพิ่มมะฮัรให้หรือจะยกให้ก็ได้ หลังจากที่ได้กำหนดมะฮัรแล้ว
2. มาดู การอธิบายของบรรดานักตัฟสีรที่มีชื่อเสียง ในสำนวนของอายะฮที่ว่า
فَمَا اسْتَمْتَعْتُم بِهِ مِنْهُنَّ فَآتُوهُنَّ أُجُورَهُنَّ فَرِيضَةً
1. อิบนุกะษีร (ขออัลลอฮ เมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า
وَالْعُمْدَة مَا ثَبَتَ فِي الصَّحِيحَيْنِ عَنْ أَمِير الْمُؤْمِنِينَ عَلِيّ بْن أَبِي طَالِب قَالَ : نَهَى رَسُول اللَّه صَلَّى عَنْ نِكَاح الْمُتْعَة وَعَنْ لُحُوم الْحُمُر الْأَهْلِيَّة يَوْم خَيْبَر وَلِهَذَا الْحَدِيث أَلْفَاظ مُقَرَّرَة هِيَ فِي كِتَاب الْأَحْكَام وَفِي صَحِيح مُسْلِم عَنْ الرَّبِيع بْن سَبْرَة بْن مَعْبَد الْجُهَنِيّ عَنْ أَبِيهِ أَنَّهُ غَزَا مَعَ رَسُول اللَّه صَلَّى يَوْم فَتْح مَكَّة فَقَالَ " يَا أَيّهَا النَّاس إِنِّي كُنْت أَذِنْت لَكُمْ فِي الِاسْتِمْتَاع مِنْ النِّسَاء وَإِنَّ اللَّه قَدْ حَرَّمَ ذَلِكَ إِلَى يَوْم الْقِيَامَة فَمَنْ كَانَ عِنْده مِنْهُنَّ شَيْء فَلْيُخْلِ سَبِيله وَلَا تَأْخُذُوا مِمَّا آتَيْتُمُوهُنَّ شَيْئًا
และสิ่งที่ถูกมุ่งหมายคือ สิ่งที่ปรากฏแน่นอนในเศาะเฮียะบุคอรีและมุสลิม รายงานจากผู้นำแห่งบรรดาศรัทธาชน อาลี บิน อบีฏอลิบ กล่าวว่า " รซูลุลลอฮ Solallah ได้ห้ามจากการนิกะห์มุตอะฮ และ (การบริโภค)เนื้อลาบ้าน ในวันทำสงครามคอ็ยบัร และสำหรับหะดิษนี้ มีหลายสำนวน ที่ถูกรับรอง ซึ่งมันอยู่ใน บทว่าด้วยเรื่องหุกุมต่างๆ และในเศาะเฮียะมุสลิม รายงานจากอัรรุบัยอฺ บิน สับเราะฮ บิน มุอฺบัด อัลญุฮันนีย์ จากบิดาของเขา ว่า เขาได้ออกไปทำสงครามพร้อมกับรซูลุลลอฮ Solallah ในการพิชิตมักกะฮ แล้วท่านได้กล่าวว่า "โอ้บรรดามนุษย์ทั้งหลาย แท้จริง ข้าพเจ้าได้เคยอนุญาตให้พวกท่านหาความสุขกับบรรดาผู้หญิงได้ (นิกะหมุตอะฮ) และแท้จริงอัลลอฮ ได้ทรงห้าม(นิกะหมุตอะฮ)ดังกล่าวตราบจนถึงวันกิยามะฮ ดังนั้น ผู้ใดมีสิ่งใดจากบรรดาพวกนาง ก็จงปล่อยหนทางของมัน และพวกท่านอย่าเอาสิ่งใดที่พวกท่านมอบให้กับพวกนาง - ดูตัฟสีรอิบนุกะษีร อรรถาธิบาย อายะฮที่ 24 ซูเราะฮอันนิสาอฺ
2. ท่านอิบนุญะรีร (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า
قَالَ أَبُو جَعْفَر : وَأَوْلَى التَّأْوِيلَيْنِ فِي ذَلِكَ بِالصَّوَابِ تَأْوِيل مَنْ تَأَوَّلَهُ : فَمَا نَكَحْتُمُوهُ مِنْهُنَّ فَجَامَعْتُمُوهُ فَآتُوهُنَّ أُجُورهنَّ ; لِقِيَامِ الْحُجَّة بِتَحْرِيمِ اللَّه مُتْعَة النِّسَاء عَلَى غَيْر وَجْه النِّكَاح الصَّحِيح أَوْ الْمِلْك الصَّحِيح عَلَى لِسَان رَسُوله صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ
อบูยะอฺฟัร กล่าวว่า “ บรรดาการอรรถาธิบายในเรื่องดังกล่าวที่ถูกต้องที่สุด คือ การอรรถาธิบาย ของผู้ที่อรรถาธิบายมันว่า “ ดังนั้น ผู้หญิงใดที่พวกเจ้าได้แต่งงานกับนางจากบรรดาหญิงเหล่านั้น แล้วพวกเจ้าได้ร่วมหลับนอนกับนาง ดังนั้นจงมอบสินสอดให้แก่พวกนาง” เพราะมีหลักฐานได้ยืนยันถึงการที่อัลลอฮทรงห้ามมุตอะฮ(หาความสุขชั่วคราว)กับบรรดาผู้หญิง โดยไม่ผ่านวิธีการแต่งงานที่ถูกต้อง หรือ การครอบครองที่ถูกต้อง(กรณีเป็นทาสหญิง) บนคำพูดของรอซูลของพระองค์ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม – ดูตัฟสีร อิบนุญะรีร อัฏฏอ็บรีย์ อรรถาธิบาย อายะฮที่ 24 ซูเราะฮอันนิสาอฺ
……………..
แสดงให้เห็นว่า “คำว่า “فَمَا اِسْتَمْتَعْتُمْ بِهِ مِنْهُنَّ”( ดังนั้น หญิงใดที่พวกเจ้าเสพสุขกับนาง จากบรรดาหญิงเหล่านั้น) หมายถึง การแต่งงานที่ถูกต้อง เป็นการแต่งงานเพื่ออยู่กันตลอดไป ไม่ใช่ เพื่อสนองตัญหาชั่วคราวตามความเข้าใจ ของชีอะฮ
ท่านอิบนุญะรีร ได้คัดค้านรายงานนี้ว่า
وَأَمَّا مَا رُوِيَ عَنْ أُبَيّ بْن كَعْب وَابْن عَبَّاس مِنْ قِرَاءَتهمَا : " فَمَا اِسْتَمْتَعْتُمْ بِهِ مِنْهُنَّ إِلَى أَجَل مُسَمًّى " فَقِرَاءَة بِخِلَافِ مَا جَاءَتْ بِهِ مَصَاحِف الْمُسْلِمِينَ , وَغَيْر جَائِز لِأَحَدٍ أَنْ يُلْحِق فِي كِتَاب اللَّه تَعَالَى شَيْئًا لَمْ يَأْتِ بِهِ الْخَبَر الْقَاطِع الْعُذْر عَمَّنْ لَا يَجُوز خِلَافه
และสำหรับสิ่งที่ถูกรายงานมาจากอบี อุบัย บิน กะอับ และอิบนุอับบาส เกี่ยวกับการอ่านของคนทั้งสองว่า
“فَمَا اِسْتَمْتَعْتُمْ بِهِ مِنْهُنَّ إِلَى أَجَل مُسَمًّى
(ดังนั้น หญิงใดที่พวกเจ้าเสพสุขกับนาง จากบรรดาหญิงเหล่านั้น จนถึงเวลาที่ถูกกำหนดไว้)
เป็นการอ่านที่ขัดแย้งกับสิ่งที่ บรรดาคัมภีร์ของมุสลิม ได้นำมาด้วยมัน และไม่อนุญาตแก่คนหนึ่งคนใด นำสิ่งใดๆที่ไม่ปรากฏรายงานที่ตัดข้ออ้างจากผู้ที่ไม่อนุญาตให้เห็นต่างกับมัน(คือไม่ปรากฏรายงานที่เป็นหลักฐานที่เด็ดขาด) มาเพิ่มเติมในคัมภีร์ของอัลลอฮตาอาลา - ดูตัฟสีร อิบนุญะรีร อัฏฏอ็บรีย์ อรรถาธิบาย อายะฮที่ 24 ซูเราะฮอันนิสาอฺ
............
หมายถึง รายงานสำนวนข้างต้น ไม่ปรากฏในบรรดาคัมภีร์ของอัลลอฮเล่มใดที่บรรดามุสลิมมีอยู่ และ ไม่อนุญาตให้นำสิ่งใดที่ไม่ใช่หลักฐานที่เด็ดขาดที่สามารถมาหักล้างข้ออ้างของผู้ที่เห็นต่างได้ มาเพิ่มเติมในคัมภีร์ของอัลลอฮ ตะอาลา และขอเรียนว่า รายงานที่อ้างอิบนุอับบาส ว่า ท่านได้อรรถาธิบายว่า “ เป็นการหาความสำราญกับหญิงโดยมีกำหนดเวลานั้น เป็นรายงานที่ผิดเพี้ยน(ชาซ) ไปจากรายงานอื่นๆ ซึ่งเอามาเป็นหลักฐานไม่ได้
3. อิหม่ามชิฮาบุดดีน อัลอะลูซีย์ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า
فإذا استمتعتم وهو يدل على أن المراد بالاستمتاع هو الوطء والدخول لا الاستمتاع بمعنى المتعة التي يقول بها الشيعة والقراءة التي ينقلونها عمن تقدم من الصحابة شاذة
คำว่า “ดังนั้นเมื่อพวกเจ้าเสพสุข” โดยที่ มันแสดงบอกว่า ความหมายของคำว่า “เสพสุข” คือ การร่วมเพศ ไม่ใช่เสพสุข ด้วยความหมายว่า “มุตอะฮ(การเสพสุขชั่วคราว) ตามที่ชีอะฮ กล่าว และ การอ่านที่พวกเขาได้รายงานมัน จากผู้ที่อยู่ในยุคก่อนจากเหล่าเศาะหาบะฮนั้น(หมายถึงรายงานอิบนุอับาสที่ถูกนำมาอ้างเรื่องนิกะห์มุตอะฮ) เป็นรายงานที่เพี้ยน(หมายถึง แปลกแยกไปจากรายงานอื่นๆ) – ดู ตัฟสีร อะลูซีย์ เล่ม 5 หน้า 7
4. อิหม่ามอัลกุรฏุบีย์(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า
قَالَ اِبْن الْعَرَبِيّ : وَقَدْ كَانَ اِبْن عَبَّاس يَقُول بِجَوَازِهَا , ثُمَّ ثَبَتَ رُجُوعه عَنْهَا , فَانْعَقَدَ الْإِجْمَاع عَلَى تَحْرِيمهَا ; فَإِذَا فَعَلَهَا أَحَد رُجِمَ فِي مَشْهُور الْمَذْهَب
อิบนุอะเราะบีย์ กล่าวว่า “ ปรากฏว่า อิบนุอับบาส กล่าวถึงการอนุญาตของมัน(ของนิกะหมุตอะฮ) ต่อมา ได้มีการยืนยันถึงการกลับคำของเขา(อิบนุอับบาส)จากมัน ดังนั้น จึงกลายเป็นมติของนักวิชาการ(อัลอิจญมาอฺ) ถึงการห้ามมัน ดังนั้น เมื่อคนใดได้กระทำมัน(กระทำมุตอะฮ) เขาจะถูกลงโทษด้วยการขว้างด้วยก้อนหิน ตามทัศนะของมัซฮับที่แพร่หลาย - ดูตัฟสีร อัลกุรฏุบีย์ อรรถาธิบาย อายะฮที่ 24 ซูเราะฮอันนิสาอฺ
5. อิหม่ามอัลบัฆวีย์(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า
اتفق العلماء على تحريم نكاح المتعة، وهو كالإجماع بين المسلمين، وروي عن ابن عباس شيء من الرخصة للمضطر إليه بطول الغربة، ثم رجع عنه حيث بلغه النهي
บรรดานักวิชาการเห็นฟ้องกัน ว่า การนิกะหฺมุตอะฮเป็นสิ่งต้องห้าม และมันเป็นมติเอกฉันท์ระหว่างมุสลิมทั้งหลาย และมีสิ่งหนึ่งได้ถูกรายงานจากอิบนุอับบาส ว่า ได้การผ่อนปรนแก่ผู้ที่อยู่ในภาวะจำเป็นอันเนื่องมาจากอยู่ต่างถิ่นเป็นเวลานาน ต่อมาเขา(อิบนุอับบาส)ได้กลับคำ หลังจากที่ข่าวการห้าม(การมุตอะฮ)ได้มาถึงเขา – ชัรหุสสุนนะฮ เล่ม ๙ หน้า
การโดยสรุป อายะฮ ที่ 24 ใน ซูเราะฮ อันนิสา มิได้มีความเกี่ยวข้องกับ มุตอะห์ ของลัทธิ ชีอะห์ แต่อย่างใด ขอให้ลัทธิ ชีอะห์ เลิกใช้พฤติกรรม อ้างกุรอาน เพื่อทำพฤติกรรม โฉดชั่ว หากินบนเรือนร่างสตรี เสีย
โอ้อัลลอฮ ซ.บ.ขอพระองค์ทรงให้ มุสลิมที่แท้จริง ห่างไกลจาก ความเลวทราม ของลัทธิ ชีอะห์ ด้วยเถิด อามีนนนน