อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557

คุณสมบัติของคนดี




ความหมายของ "ซื่อสัตย์" ตามพจนานุกรมฉบับราช คือ ประพฤติตรงและจริงใจ ไม่คิดคดทรยศ ไม่คดโกงและหลอกลวง

มีข่าวอื้อฉาวในขณะนี้ึคือ การที่บริษัทใหญ่ ๆ ในอเมริกาไม่ซื่อสัตย์ หลอกลวงผู้ซื้อหัุน โดยแต่งตัวเลขและกำไรของบริษัทว่ามีกำไรมากมายทั้ง ๆ ที่ขาดทุน เป็นการพูดเท็จ ไม่ซื่อสัตย์ เป็นผลทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจ ตื่นตระหนก ขายหุ้นกัน ขายเงินดอลลาร์กันเป้นแถว จึงทำให้เงินดอลลาร์ตกต่ำลง นี่แหละคือตัวอย่างของความหายนะ ของความไม่ซื่อสัตย์

มีกลอนในหนังสือเล็ก ๆ

"มุสลิมที่ดี มีความสัตย์ซื่อ
เราไม่หยิบถือ เอาของคนอื่น"
(จากหนังสือ เด็กดีของอัลเลาะห์)

ความซื่อสัตย์เป็นคุณธรรมตามแบบฉบับของท่านนบีมุฮัมมัด (ซ.ล.) ท่านนบีได้ชื่อว่า “อัลอามีน” ผู้ซื่อสัตย์ ซื่อสัตย์จนประชาชนนับถือไว้วางใจ

ความซื่อสัตย์เป็นคุณธรรมสูงสุด ใครที่ไม่ซื่อสัตย์จะเป็นอย่างไร ผลเสียนั้นมีมากมายจนถึงกับทำให้บ้านเมืองล่มจม

ชีวิตของเราทุกวันนี้มีสิ่งที่จะทำให้เราไขว้เขวมากมาย คนไม่ซื่อสัตย์ก็อยู่ได้อย่างมีหน้ามีตา เด็ก ๆ ก็รับเอาสิ่งที่ไม่ดีและเข้าใจว่าดี โกงกินก็คิดว่าดี คิดว่าก็ยังมีหน้ามีตาอยู่ได้

นอกจากนี้ยังมีคนที่ไม่ซื่อสัตย์ในการประกอบอาชีพอีก คนค้าขายคดโกง โกงตาชั่ง วัดตวง พูดพล่อย ๆ ของเสียก็บอกว่าเป็นของดี ทำจนติดเป็นนิสัย

เราต้องฝึกหัดให้เด็ก ๆ มีความซื่อสัตย์กันตั้งแต่เล็ก ๆ ต้องหัดเด็กจนติดเป็นนิสัย คือฝึกตั้งแต่เล็ก ๆ เห็นอะไรที่ไม่ใช้ของตนก็ไม่หยิบ ไม่ต้องการ ไม่ปรารถนา ถ้าเขาไปหยิบอะไรของใครมาก็ไม่ควรจะลงโทษรุนแรงนัก ต้องค่อย ๆ พูด ค่อย ๆ ชี้แจง

เวลาเด็กไปหยิบอะไรของใครเข้ามาในบ้าน แม้จะเป็นของเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็จะต้องถามว่า นี่ของใคร ? เอามาจากไหน ? ถ้าไม่ใช่ของเราก็ให้เอาไปคืนเสีย และก็ไม่ต้องทำโทษเด็ก ให้ชี้แจงให้เข้าใจ เพราะว่าเด็ก ๆ เห็นของก็อยากได้ทั้งนั้น เขาไม่รู้ว่าเป็นของคนอื่น เขาไม่ควรจะหยิบถือเข้ามาในบ้าน นิสัยนี้จะติดไปใต้จิตสำนึก คือ ติดเป็นนิสัยว่า ถ้าเป็นของคนอื่นแล้วไม่เอา

ต่อไปแม้ว่าเขาเป็นผู้ใหญ่โตขึ้น เขาก็ไม่ต้องการของของคนอื่นจะเป็นเงินเป็นทอง ข้าวของที่ไม่ใช่ของเขา เขาไม่สนใจ ไม่นิยมอยากได้ของใคร เพราะเมื่อเป็นผู้ใหญ่เขาก็จะรู้ว่าเป็นบาปหนัก อัลเลาะห์ จะทรงลงโทษ

พ่อแม่บางคน พอเด็กไปเอาของคนอื่นมา เช่น ของเล่นเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็มองเลยไป คิดว่าไม่เป็นไรหรอก คงไม่มีใครว่า เพราะว่าของเล็กนิดเดียว แต่ไม่รู้ว่าจะก่อนิสัยให้เขาเป็นคนหยิบง่าย ไม่ซื่อสัตย์ เห็นอะไรพอใจก็หยิบได้ เขาไปเห็นว่าของคนอื่นมีค่านิดเดียวไม่เป็นไร

พอเป็นผู้ใหญ่ก็มองของใหญ่ต่อไปอีก หยิบได้สบาย เพราะว่านิสัยเคยชินตามที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ล่ะ เช่น ขโมย ปล้น ฉกชิงวิ่งราว เพราะว่านิสัยเดิมทั้งนั้น พ่อแม่ก็ต้องทำเป็นแบบอย่างในบ้านตั้งแต่เล็ก ๆ คือ พ่อแม่ก็ไม่หยิบของใครง่าย ๆ เหมือนกัน จะเป็นเครื่องใช้ในบ้าน อาหารการกิน เสื้อผ้า เด็ก ๆ เขามองเราทุกเวลานาที เขาช่างสังเกต ดีกว่าผู้ใหญ่เสียอีก

คนซื่อสัตย์ แม้จะอดอยาก กินข้าวกับน้ำปลา บางเวลาไม่มีข้าวสารจะหุงกิน เขาก็ไม่เอาของใคร คุณยายเคยเจอมาแล้ว เพราะว่าในใจเขาคิดเสมอว่าเป้นของคนอื่น คนอื่นเขาไม่อนุญาต เขาไม่อยากได้ ส่วนใหญ่คนที่ไม่ซื่อสัตย์ ในวันกิยามะฮฺก็จะถูกลงโทษ ถูกไฟเผา ตกนรก โกงไป กินไป กินดิน กินอูฐ กินทราย โกงไปก็ไม่เห็นโทษทันตาเห็นของตนประสบความเสียหาย

มีหะดีษของท่านนบี (ซ.ล.) เกี่ยวกับความซื่อสัตย์ว่า

“จงมีความซื่อสัตย์แก่ผู้ที่ไว้วางใจท่าน จงอย่าบิดพลิ้วคดโกงคนที่คดโกงท่าน” (บันทึกโดย อบูดาวูด, อัตติรมีซี และอัลฮากีม)

ความซื่อสัตย์นี่ละ ดีทุกอย่าง ไว้วางใจได้ มลาอิกะฮฺก็ขอพรให้เป็นคุณประโยชน์ เป็นที่นับถือและไว้วางใจของคนทั่วไป

มีเรื่องเล่าถึงคนมือไวไม่ซื่อสัตย์ ผู้ใหญ่โบราณเขาเล่าว่า

มีเศรษฐีคนหนึ่ง ไปบ้านใครเวลาจะกลับก็หยิบอะไรติดมือกลับไปด้วยทุกครั้งเลย แม้กระทั่งก้านไม่ขีดไฟบนโต๊ะรับแขก ก็ไม่ได้เป็นโทษ ขโมยหรืออะไรหรอก เพราะว่านิสัยเคยชินนั่นเอง นิสัยที่ใต้จิตสำนึกตอนเล็ก ๆ นั่นเอง ทั้ง ๆ ที่ตนก็ร่ำรวยเหลือล้น

“มุสลิมที่ดี มีความซื่อสัตย์
เราไม่หยิบถือ เอาของคนอื่น”

กลอนนี้ดี จำไว้สอนลูกหลานแต่เล็ก ๆ ตัวเรา ครอบครัว ลูกหลาน จะได้เป็นคนซื่อสัตย์ จะได้อยู่ร่วมกับท่านนบีมุฮัมมัด (ซ.ล.) ในสวรรค์


................................................
(จากหนังสือ : ของขวัญจากคุณยาย)
ซัยหนับ เพชรทองคำ : เขียน
อดทน เพื่อชัยชนะ  โพสต์





เปรียบดั่งต้นไม้



จงเป็นดั่ง “ต้นไม้”
เป็น “ราก” ที่แข็งแรง
เป็น “ลำต้น” ที่คอยพยุง
เป็น “กิ่ง” ที่คอยชี้ทางและนำพา
เป็น “ใบไม้” ที่คอยสะสมความดีงาม
และเป็น “ยอดไม้ที่โก่งงอเข้าหาลำตัน” ที่คอยนำสัจธรรมให้เข้าถึงหัวใจผู้คน

ต้นไม้จะอยู่ได้อย่างไร “หากขาดน้ำ ขาดดิน ขาดอากาศ และขาดแสง” ที่เรียกมันว่า กำลังใจ “จากคนรอบข้าง”

และต้นไม้จะอยู่ได้อย่าง ไร “หากขาดผู้ปลูก” นั่นคือ ผู้สร้าง

“สังคม” จะประเสริฐหากมีผู้นำที่ประเสริฐ ผืนดินบนโลกนั้นมีมาก แต่ผืนน้ำย่อมมีมากกว่าผืนดิน เปรียบดั่งผู้นำที่มีน้อยแต่ผู้ตามมากล้น ปัจจุบันจะมีสังคมสักกี่แห่งที่จะพบกับผู้นำที่รับใช้ “สังคม” ไม่ใช่ดีแต่ “สั่งคน”

มีเหตุการณ์หนึ่งเป็นเหตุการณ์ที่น่าประทับใจอย่างยิ่ง ครั้งหนึ่ง ชายผู้สุภาพ อ่อนโยน สันโดษ และสมถะ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ว่าการเมืองหนึ่ง ในขณะที่เขากำลังเดินที่ริมถนนเพื่อตรวจสอบสภาพทั่วไปของบ้านเมืองและพบปะประชาชนนั้น ด้วยความธรรมดาในเครื่องแต่งกายและการดำรงชีวิตที่เรียบง่ายของท่าน ทำให้ประชาชนหลายคนไม่ทราบว่าท่านคือผู้ว่าการประจำเมืองนั้น

มีชาวอาหรับชนบทคนหนึ่งพบกับท่านในระหว่างเดินทาง อาหรับคนนี้กำลังวุ่นวายอยู่กับการเก็บรวบรวมหญ้าและใบไม้สำหรับเลี้ยงสัตว์ เมื่อคนชนบทอาหรับเห็นชายผู้นี้เดินผ่าน เขาจึงเรียกเอ่ยด้วยน้ำเสียงกระด้างว่า “เฮ้ย ! ช่วยแบกกระสอบหญ้าให้ข้าหน่อย” โดยหารู้ไม่ว่ากำลังพูดกับใคร

ชายผู้อ่อนโยนและสุภาพท่านนี้เดินเข้าไปยกกระสอบขึ้นบนหลังโดยไม่ได้โต้ตอบอะไร เขาแบกกระสอบเดินไปยังบ้านของชาวอาหรับคนนั้น ในขณะเดินทางมีประชาชนหลายคนที่เดินสวนทางกับท่านผู้ว่า และให้สลามแก่ท่าน สำหรับผู้ที่รู้จักเขาต่างก็งงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะเขาคิดว่าผู้ว่าการมน่าจะมาแบกกระสอบอยู่เช่นนี้

มีประชาชนบางคนทนดูเหตุการณ์อีกต่อไปไม่ได้ จึงเรียกอาหรับชนบทคนนั้นแล้วถามว่า
“เจ้าไม่รู้หรือว่าคนที่เจ้าใช้ให้แบกกระสอบน่ะคือใคร ?”
“ข้าไม่รู้” ชายอาหรับชนบทตอบ
“นั่นแหละคือท่านเจ้าเมืองของเรา”
“.......”

ชาวอาหรับชนบทตกใจ หน้าซีด หัวเข่าสั่นด้วยความตกใจที่เขาสั่งใช้ท่านผู้ว่าแบกกระสอบใบนั้น เขาละล่ำละลัก ขอโทษเป็นการใหญ่ ทว่าชายผู้สุภาพกลับปลอบใจเขาว่า “เอาเถอะ ไม่เป็นไรหรอก ฉันแบกจนถึงบ้านของเจ้านั่นแหละ” ชายผู้สุภาพยิ้มตอบด้วยความจริงใจ เมื่อพูดจบ เขาก็แบกกระสอบใบใหญ่ต่อไปจนถึงบ้านของชนบทอาหรับคนนั้น (มาชาอัลลอฮฺ)

ชายผู้สุภาพอ่อนโยน สันโดษ และสมถะผู้นี้ คือ ท่านซัลมาน อัลฟาริชีย์ นั่นเอง ท่านเป็นสหาย (ศอฮาบะฮฺ) ของท่านรอซูลุลลอฮฺ ท่านเป็นชาวเปอร์เซียและได้เข้ารับศาสนาอิสลามเมื่อช่วงแรก ๆ ของการเผยแผ่นั่นเอง

เรื่องสั้นเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ผู้นำที่แท้จริง คือ ผู้ที่ถ่อมตนและพร้อมจะรับใช้ประชาชนโดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ



.......................................
(จากหนังสือ : สีสันแห่งโลกใบเล็ก)
เพียงฉัน : เขียน
อดทน เพื่อชัยชนะ โพสต์




วันอีดอัฎฮาคือวันที่ถัดจากวันอารอฟะฮ์




ท่านอิมามอัชชาฟิอีย์ (ร่อหิมะฮุลลอฮ์) กล่าวว่า
"วันอีดที่สองคือวันอีดอัฎฮา
ซึ่งเป็นวันที่สิบซุลหิจญะฮ์
นั้นคือวันที่ถัดจากวันอารอฟะฮ์"
(อัลอุมม์ 1/230)

สิ่งที่เข้าใจจากคำพูดของท่านอิมามอัชชาฟิอีย์ คือ วันอีดอัฎฮา
คือวันที่สิบซุลฮิจญะฮ์ ซึ่งเป็นวันถัดจากวันอาเราะฟะฮ์




ประโยคหนึ่งจักเติมเต็ม ทั้งกายกาลเวลา ชั้นฟ้าและแผ่นดิน



ท่านนบีมูซา อะลัยฮิสลาม กล่าวว่า
"โอ้พระเจ้าของข้าพระองค์ โปรดสอนให้ข้าพระองค์กล่าวคำวิงวอนหนึ่งเถิดเพื่อที่ข้าพระองค์จะได้รำลึกถึงพระองค์และติดต่อกับพระองค์"

อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลาตรัสว่า
"โอ้มูซา จงกล่าว ลา อิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ (ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ) เถิด"

นบีมูซากล่าวว่า "ประชาชนทั้งหลายก็กล่าว ลา อิลาฮะ อิลลัลลอฮฺเหมือนกัน"

อัลลอฮฺจึงตรัสว่า "โอ้มูซา หากแม้นชั้นฟ้าทั้งเจ็ดและทุกสิ่งในโลกนี้ถูกรวมไว้บนตาชั่งข้างหนึ่ง และ ลา อิลาฮะ อิลลัลอฮฺ อยู่อีกข้างหนึ่ง ลา อิลาฮะ อิลลัลอฮฺ ย่อมหนักกว่า!"
ลา อิลาฮะ อิลลัลอฮฺ ... คือ คำกล่าวสุดประเสริฐที่จะบลล้างความผิดบาปให้หมดสิ้นไปได้ คำๆ นี้จะนำแสงสว่างมาสู่หัวใจของผู้ที่กล่าวมัน ซึ่งความสว่างนั้นแต่ละบุคคลย่อมมีมากน้อยแตกต่างกันไป จะมากหรือจะน้อยเพียงใดนั้น อัลลอฮฺผู้ทรงสูงส่งเท่านั้นที่ทรงรู้
สำหรับบางคน แสงสว่างของ ลา อิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ อาจเจิดจ้าดุจแสงตะวัน บางคนแสงของมันดั่งแสงดาวที่ส่องประกาย และกับบางคนแสงของมันอาจเป็นเหมือนคบไฟขนาดใหญ่ เป็นแสงตะเกียงที่ส่องสว่าง หรืออาจเป็นเพียงแสงไฟริบหรี่จวนมอดเท่านั้น
แสงสว่างของ ลา อิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ ยิ่งมีมากเท่าใด มันก็ยิ่งเผาผลาญความสงสัย ความคิดเพ้อเจ้อ และอารมณ์ใฝ่ต่ำในหัวใจให้มอดไหม้ไปได้มากเท่านั้น
---- **** ----
" ความสุขของผู้ศรัทธามาจากความรักที่มีต่ออัลลอฮฺ
และความรักในหนทางของอัลลอฮฺย่อมนำมาซึ่งความสุขอันล้ำลึก
ซึ่งผู้ศรัทธาที่แท้จริงเท่านั้นจะได้สัมผัส
และจะไม่ยอมแลกเปลี่ยนมันกับสิ่งอื่นใด "

..................................
ฉันเชื่อมั่น ด้วย ศรัทธา


ฉันคือชัยฏอน


ชายผู้หนึ่งรีบตื่นขึ้นเพื่อที่จะไปละหมาดฟัจญรที่มัสยิด เขาเปลี่ยนเสื้อผ้า อาบน้ำละหมาดและเดินไป

มัสยิดเหมือนที่เคยทำทุกครั้ง ระหว่างทางเขาเกิดหกล้มเสื้อผ้าเปรอะเปื้อน เขาลุกขึ้นปัดฝุ่นที่ติดตัวออก

และมุ่งหน้ากลับบ้านเพื่อเปลี่ยนเสื้อผ้าแล้วกลับมามัสยิดอีกครั้ง ระหว่างทางก่อนถึงมัสยิด

เขาเผลอหกล้มอีกครั้งและเป็นที่เดิม เขารีบลุกขึ้นปัดฝุ่นที่ติดตัวออกแล้วมุ่งหน้ากลับบ้าน

เพื่อรีบเปลี่ยนเสื้อผ้าและเดินมามัสยิด คราวนี้ระหว่างทางไปมัสยิดเขาได้พบชายถือตะเกียง

เขาถามชายถือตะเกียงว่าเป็นใคร ชายถือตะเกียงตอบว่า

“ฉันเห็นท่านหกล้มระหว่างทางจะไปมัสยิดสองครั้งแล้ว ดังนั้นฉันจึงซื้อตะเกียงมาให้ท่าน

เพื่อที่ท่านจะได้มองเห็นทาง” เขาขอบคุณชายถือตะเกียงอย่างมากมาย

แล้วทั้งสองคนก็เดินไปมัสยิดด้วยกัน เมื่อไปถึงมัสยิดเขาจึงเชิญชวนชายถือตะเกียง

ให้เข้ามาละหมาดฟัจญรพร้อมเขา แต่ชายถือตะเกียงกลับดื้อดึงแม้เขาจะชักชวนหลายครั้งแล้วก็ตาม

เขาจึงถามชายถือตะเกียงถึงเหตุผล “ฉัน คือ ชัยฏอน” ชายถือตะเกียงตอบ

เขาตกใจกับคำตอบที่ได้รับ “ฉันเห็นท่านระหว่างทางมามัสยิดและฉันได้ทำให้ท่านหกล้ม

เมื่อท่านลุกขึ้นและเดินกลับบ้านเพื่อเปลี่ยนเสื้อผ้าและกลับมามัสยิดใหม่

อัลลอฮฺได้ทรงอภัยโทษในความผิดบาปให้แก่ท่าน และฉันทำให้ท่านหกล้มครั้งที่สองอีก

แต่ก็ไม่ได้ทำให้ท่านเปลี่ยนใจที่จะมามัสยิด ด้วยเหตุนี้อัลลอฮฺจึงทรงอภัยโทษ

ความผิดบาปทั้งหมดให้กับครอบครัวของท่าน...ฉันกลัวว่าถ้าฉันทำให้ท่านหกล้มอีกครั้ง

อัลลอฮฺจะทรงอภัยโทษให้กับคนทั้งหมดในหมู่บ้านของท่าน ดังนั้นฉันจึงต้องมั่นใจว่า

ท่านจะเดินทางมาถึงมัสยิดอย่างปลอดภัย” ชัยฏอนอธิบาย

ดังนั้นอย่าให้ชัยฏอนได้ประโยชน์จากการกระทำของท่าน แม้ท่านจะไม่รู้ว่า

ผลตอบแทนของมันว่ามหาศาลเพียงไร แม้ว่าท่านอาจพบกับความยากลำบากในการพยายามที่จะทำความดี

ก็ขออย่าผัดวันประกันพรุ่งในการทำความดีที่ท่านได้ตั้งใจไว้

ขออัลลอฮฺ (ซุบฮานะ ฮุวะตะอาลา) ทรงประทานหัวใจแห่งมุสลิมที่สมบูรณ์ให้กับพวกเรา

และขอให้ทุกการละหมาดของพวกเราเต็มเปี่ยมไปด้วยหัวใจและจิตวิญญาณ...อามีน



................................
ฉันเชื่อมั่น ด้วย ศรัทธา





วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557

ดีใจไหม ที่ปฏิบัติวันอีดตามสุนนะฮ์



ดีใจไหม? เมื่อเราได้ถือศิลอดวันอารอฟะฮ์ พร้อมกับวันที่ผู้ประกอบพิธีฮัจญ์ได้ทำการวุกูฟ ณ ทุ่งอารอฟะฮ์ แน่นอน เราดีใจที่ได้ปฏิบัติตามแบบอย่างสุนนะฮฺ
ทั้งที่บ้านเราไม่เคยมีการประกาศเชิญชวนให้มีการถือศิลอดสุนนะฮฺวันอารอฟะฮ์เลย นอกจากกำหนดวันอีด มุสลิมบางคนจึงไม่เคยทราบว่ามีการถือศิลอดวันอารอฟะฮ์

ดีใจไหม? ที่ได้มีวันอีดตามสุนนะฮ์ ตามแบบฉบับของท่านนบี สาวกของท่าน และชาวสลัฟทั้งหลาย
นบีไม่เคยกำหนดว่าการดูจันทร์เสี้ยวเฉพาะประเทศของตน ท่านเพียงกล่าวว่าเมื่อพวกท่านเห็นดวงจันทร์เสี้ยว(มุสลิมคนใดเห็นจันทร์เสี้ยว)

ดีใจไหม? ที่ได้ละหมาดวันอีด ณ ทุ่งละหมาดมุศ็อลลา ได้ละหมาดตั้งแต่ยามเช้า และได้รับประทานอาหารมื้อแรกด้วยเนื้อกุรบาน อันแบบอย่างสุนนะฮฺ  แน่นอน เราดีใจ
ครั้งแรกในชีวิต ครั้งนี้ที่มีความสุขมากที่สุด ที่ได้ละหมาด ณ ทุ่งมุศ็อลลา เหมือนดั่งเป็นวันอีดในสมัยของท่านรสูลุลลอฮฺ
ทั้งที่บ้านเราไม่เคยเลยที่จะหมาดอีด ณ ทุ่งมุศ็อลลา แม้วันที่ไม่มีฝนตก ไม่เคยเลยที่จะละหมาดแต่ยามเช้า ไม่เคยเลยที่จะได้รับประทานเนื้อกุรบานเป็นมื้อแรก เพราะกว่าจะได้เชือดก็เกือบเที่ยงวัน

ดีใจไหม? ที่ได้ฉลองวันอีดตามแบบสุนนะฮ์ ไม่มีสิ่งมะฮฺเซียะฮ์ หรือสิ่งที่อุตริกรรมเข้ามาปะปน
แน่นอน เราดีใจ
ซึ่งปัจจุบัน มีสิ่งมะซียะฮ์ และสิ่งใหม่ๆมาปะปนในการเฉลิมฉลองวันอีดมากมาย ไม่ว่ามีการจุดปะทัด หรือพลุตอนรับวันอีด การละเล่นที่เลยเถิด การจับมือมาอัฟกันระหว่างชายหญิงที่แต่งงานกันได้ การแต่งกายของสตรีที่ฉูดฉาด รัดรูปและบางเห็นรูปทรง ผ้าคลุมเพียงพันไว้ที่คอ แล้วนั่งซ้อนท้ายระหว่างชายหญิงไปตามถนน ใส่ชุดโต๊บแล้วตั้งวงรินเหล้า น้ำเมากัน หลังวันอีดหนึ่งวันก็แต่งกายสากล แล้วควงกันไปเที่ยวต่างสถานที่ ประเพณีเหล่านี้เกิดขึ้นในบ้านเรา จนเข้าใจไปว่าเป็นเรื่องศาสนา โต๊ะครู ผู้นำ ไม่เคยใส่ใจ ยังคงปล่อยวางให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นในสังคมมุสลิม แต่สำหรับเรื่องทำพิธีกินบุญนั้นเคร่งเครัดหนักหนา

ฉันสุดแสนดีใจเหลือเกิน เมื่อวันอีดครั้งนี้ฉันได้ปฏิบัติตามรอยสุนนะฮ์

อัลฮัมดุลิลละฮ์......อัลฮัมดุลิลละฮ์......อัลฮัมดุลิลละฮ์......อัลฮัมดุลิลละฮ์......อัลฮัมดุลิลละฮ์













รอยเท้าเล็ก ๆ ของคนแปลกหน้า



"เรือนร่างดุจปุยสำลี
ใบหน้าแจ่มใสผ่านกาลเวลา
ชีวิตเด็กน้อยถูกแต้มสีสัน
ตามเส้นทางที่อัลลอฮฺประสงค์"

มนุษย์ทุกคนเกิดมาดุจปุยสำลี เติบโตด้วยความประสงค์ของอัลลอฮฺ ถูกแต้มสีตามกาลเวลา เมื่อเวลาพัดผ่านมาระยะหนึ่ง ชีวิตก็เริ่มบรรจุความคิดที่หลากหลาย มีเส้นทางให้เลือกหลายทาง อยู่ที่ "ตน" เท่านั้นที่จะเลือกเดิน

รอยเท้าเล็ก ๆ ของคนแปลกหน้า....มิใช่รอยเท้าที่จะบ่งบอกถึงความไม่รู้ตัวตนว่าเป็นใคร เป็นรอยเท้าที่ถูกตรึงด้วย “อิสลาม” นั่นเอง

คำว่า “แปลกหน้า” ไม่ใช่แปลกตรงที่หน้าตาบิดเบี้ยว ประหลาด แต่คนแปลกหน้าบนหน้าแผ่นดินที่ฉันกำลังกล่าวถึงคือ แนวทางของผู้ยืนหยัดในหนทางแห่งอิสลาม ณ แผ่นดินนี้มากล้นคนแปลกหน้าทั้งคนแปลกหน้าที่เราไม่รู้จักเดินสวนทางบนท้องถนน ทั้งคนแปลกหน้าที่ยื่นกระป๋องใบเล็กภายในบรรจุด้วยเหรียญ และอีกทั้งคนแปลกหน้าที่ต่างสีผิว ต่างสัญชาติ และต่างความคิด

รอยเท้าที่เดินย่ำตามกาลเวลา มักพบเจอความสุขเจือปนด้วยอุปสรรค บางคนกลัว บางคนท้อแท้ และบางคนเศร้าหมอง เพราะระหว่างทางเดินนั้นมีขวากหนามมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการดูถูกใส่ไคล้จากมนุษย์ด้วยกัน แต่สำหรับ “คนแปลกหน้า” นั้น มีอัลลอฮฺสถิต ณ หัวใจให้ได้ไตร่ตรองตลอดเวลา เมื่อใดที่รำลึกถึงอัลลอฮฺ พระองค์ก็จะนึกถึงเรา และนี่เป็นคุณลักษณะสำคัญสำหรับคนแปลกหน้า ดังนั้น จงอย่ากลัว แท้จริงอัลลอฮฺทรงอยู่กับเรา

รอยเท้าเล็ก ๆ ของคนแปลกหน้ากำลังก้าวสู่ความสำเร็จตลอดเวลา หากตราบใดหัวใจยังอดทนอยู่ เรียนรู้สิ่งรอบข้างเพื่อเป็นเสบียงต่อไป พร้อมสะสมความดีเล็ก ๆ เพิ่มพูนกราฟแห่งความศรัทธาตลอดเวลา

รอยเท้าเล็ก ๆ ของคนแปลกหน้า มีเข็มทิศเดินทางที่เรียกว่า “อัลกุรอาน” รอยเท้าเล็ก ๆ ของคนแปลกหน้าที่ดำเนินชีวิตตามวิถี “บุรุษแปลกหน้าหมายเลขหนึ่ง” เพื่อเดินทางสู่เส้นชัย

รอยเท้าเล็ก ๆ ของคนแปลกหน้า มีสติปัญญา ไหวพริบที่ดี เพื่อเผฃิญหน้ากับดุนยาเพียงปีกยุง

ดังนั้น รอยเท้าเล็ก ๆ ที่ว่าด้วย “คนแปลกหน้า” หากนับเรี่ยวแรงบวกลมหายใจที่ได้รับก่อนหน้านั้น นับไม่ถ้วนเลยทีเดียว เพราะผู้สร้างแห่งสากลโลกทรงเมตตาคณานับให้เราได้สัมผัสตลอดกาล บนพื้นโลกที่เรายืน ความเมตตาที่พระองค์มีให้เพียง 1 ส่วน เท่านั้นเอง อย่างหลงกลเลยนะคนดี โอ้...ผู้เดินทาง

ชีวิต คือ การเดินทาง

นักเดินทางที่ชาญฉลาด ย่อมมีเป้าหมายในการเดินทางเสมอ เขาจะไม่สูญเสียเวลาช้างทาง และจะไม่ทอดทิ้งเพื่อนร่วมทาง

เท้าที่เดินทาง ณ เวลานี้ จงอดทนเถิด เพราะกว่าจะได้ซึ่งสวรรค์ มันต้องแลกกับบททดสอบอันหนักหน่วง เพื่อวันนั้นเราจะได้พักผ่อนอย่างนิรันดร์

“เพียงแค่อดทน” จะนำมาซึ่งชัยชนะ

“แท้จริงอิสลามเริ่มขึ้นอย่างคนแปลกหน้าและจะหวนกลับมาอย่างคนแปลกหน้าอีกครั้งหนึ่งเสมือนที่เคยเริ่มต้นไว้ ฉะนั้นจงแจ้งข่าวดีแก่ผู้แปลกหน้าเถิด” (หะดีษ บันทึกโดย มุสลิม)

รอยเท้าเล็ก ๆ ณ ปัจจุบัน จะนำพาเจ้าสู่สวรรค์อันสถาพร และคนแปลกหน้า ที่อัลลอฮฺรับรองเท่านั้นที่จะปรีดา
.......................................
(จากหนังสือ : สีสันแห่งโลกใบเล็ก)

เพียงฉัน : เขียน
.อดทน เพื่อชัยชนะ โพสต์



เมื่อคุณได้ละหมาดอิสติคอเราะฮฺแล้ว


.

โปรดจงมอบหมายต่ออัลลอฮฺเถิด ถึงแม้ว่าช่วงแรก ๆ นั้น มันจะไม่ดีพอสำหรับคุณก็ตาม เพราะแท้จริงแล้ว ผลของมันจะดีที่สุดสำหรับคุณในโลกดุนยาและอาคิเราะฮฺ
และอาจเป็นไปได้ว่า...
ช่วงแรก ๆ ของมันจะต้องทุกข์ระทม หากแต่ท้าย ๆ ของมันจะพบเจอกับความสุขสม
ช่วงแรก ๆ ของมันจะต้องพบเจอกับสารพันปัญหา หากแต่ท้าย ๆ ของมันนั้นจะพบเจอกับความดีงามและความสำเร็จ และมันเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับคุณในโลกดุนยาและอาคิเราะฮฺ
ดังนั้น...เมื่อคุณได้มอบหมายให้อัลลอฮฺทรงเลือกให้แก่คุณแล้ว เมื่อนั้นเอง จิตใจของคุณจะรู้สึกโล่งและปลอดโปร่ง และอย่าทำให้งานการใด ๆ ที่มัวหมองมาอยู่ในหัวใจของคุณ
ถ้าหากว่างานการใดที่ง่ายในการกระทำ คุณก็จงกระทำ
และถ้าหากว่างานการใดที่ง่ายสำหรับละทิ้ง คุณก็จงหันหลังให้กับมัน
ก็เพราะว่ามันเป็นการเลือกของอัลลอฮฺแล้ว และมันเป็นความโปรดปรานที่ดีงามจากพระองค์
.

.................................................
บทความดี ๆ จากเพจ : حكم وخواطر
ถอดความและเรียงคำโดย : อูลุล อัลบ๊าบ


ใครที่ไม่สามารถเดินทางไปยังบัยติลลาฮฺได้



ท่านอิบนุ เราะญับ เราะหิมะฮุลลอฮฺได้กล่าวว่า :
.
ใครที่ไม่สามารถทำการ วุกูฟ ที่ อะเราะฟะฮฺ ได้
ก็ขอให้เขา วุกูฟ (หยุด) ที่ขอบเขตของอัลลอฮฺที่ อะเราะฟะฮฺ (ที่เขารู้) รู้ว่าสิ่งใดควรกระทำหรือละทิ้ง
ใครที่ไม่สามารถพักอาศัยที่ มุซดะลิฟะฮฺ ได้
ก็ขอให้เขาพักอาศัยอยู่ภายใต้ของการฏออัตต่ออัลลอฮฺ และกระทำการ มุซดะลิฟะฮฺ (ชิดใกล้) ต่อพระองค์
ใครที่ไม่สามารถเชือดสัตว์เพื่อ ฮะดิยะฮฺ (มอบให้แก่ผู้คน) ที่ มินา ได้
ก็ขอให้เขาเชือดฮาวานัฟซูของตัวเอง เพื่อให้ถึงที่ มุนา (ความปรารถนาที่ดี)
และใครที่ไม่สามารถเดินทางไปยัง บัยติลลาฮฺ (บ้านของอัลลอฮฺ) ได้
ก็ขอให้เขาตั้งเจตนาที่ดีต่อเจ้าของบ้าน (อัลลอฮฺ) ก็เพราะว่าพระองค์ทรงอยู่ใกล้ชิดเขายิ่งกว่าเส้นเลือดชีวิตของเขาเสียอีก
.

.............................................................
บทความดี ๆ จากเพจ : إلهي أنت تعلم كيف حالي
ถอดความและเรียงคำโดย : อูลุล อัลบ๊าบ




มอบดุอาอ์ให้แก่คนที่เรารักอย่างเงียบๆ


โปรดจงมอบดุอาอ์ให้แก่คนที่เรารักอย่างเงียบๆ 
แท้จริงแล้ว ความรักนั้นก็เหมือนดุอาอ์ 
พวกคุณไม่เคยรู้เลย ว่าสิ่งที่ได้เข้ามาทาบทามพวกเขาทั้งหลายนั้น
เป็นความคับแคบหรือความเศร้าหมอง
และหวังว่าบทดุอาอฺที่ได้มอบไป
จะเป็นเยี่ยวยาที่ดี ให้แก่พวกเขาทั้งหลาย

...................
อูลุล อัลบ๊าบ



วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557

เมื่อมีการละหมาดอีดสองวัน


การที่มุสลิมในเมืองไทยมีการกำหนดวันอีดิลอัฎฮาปีนี้ไม่ตรงกัน คือ บางที่วันที่ 4 ตุลาคม บางที่ วันที่ 5 ตุลาคม ก็ส่งผลให้มุสลิมหลายท่านเกิดความสับสน ว่าออกอีดวันไหนดี จะละหมาดอีดวันไหน หากละหมาดวันอีดวันที่ 4 แล้วจะละหมาดอีดวันที่ 5 อีกได้หรือไม่? ซึ่งมุสลิมบางคนทำงานอยู่ต่างจังหวัด และมีการละหมาดอีดในวันที่ 4 ไปแล้ว เมื่อกลับไปบ้านทางครอบครัวและหมู่บ้านของเขาจะมีการละหมาดอีดในวันที่ 5 ซึ่งมุสลิมคนนั้นอาจไม่กล้าบอกความจริงว่าตนได้ละหมาดอีดไปแล้วเมื่อวันที่ 4 เพราะกลัวจะมีปัญหาทางครอบครัว จึงไปร่วมละหมาดอีดอีกครั้ง เป็นครั้งที่สองจะได้หรือไม่?

ซึ่งละหมาดอีดนั้นเป็นละหมาดสุนัต ไม่ใช่วาญิบ ดังนั้น หากมุสลิมคนใดได้ละหมาดอีดไปแล้ว ก็สามารถไปร่วมการละหมาดอีดอีกก็ได้ โดยให้เนียตละหมาดสุนัตอื่น อย่างเวลาที่มีการละหมาดอีดจะอยู่ช่วงสายๆของกลางวัน ซึ่งตรงกับช่วงเวลาละหมาดฎุฮา ก็ให้เราเนียตละหมาดดุฮา 2 ร็อกอะฮ์ และขณะมีการตักบีรฺละหมาดอีด ผู้ที่เนียตละหมาดฎุฮาก็ให้กล่าวตักบีรฺพร้อมยกมือในครั้งแรกเท่านั้น ไม่ต้องกล่าวตักบีรฺและยกมือครั้งอื่นอีก (ตักบีรกับยกมือนั้นต่างกัน ตักบีรฺคือการกล่าวอัลลอฮูอักบัรฺ การตักบีรฺมิจำเป็นต้องยกมือเสมอไป ส่วนการตักบีรฺในละหมาดอีดทั้งสอง นั้นมีทัศนะต่างกัน ทัศนะหนึ่งให้ยกมือไปพร้อมกับตักบีรฺ อีกทัศนะหนึ่งไม่ต้องยกมือพร้อมตักบีรฺยกเว้นการตักบีรฺครั้งแรก) ส่วนกริยาบทอื่นก็ให้ปฏิบัติไปตามอิมามจนกล่าวสลามออกจากละหมาด

ส่วนการนั่งฟังการกล่าวคุฏบะฮ์ ก็สามารถนั่งฟังได้ตามปกติ และร่วมกิจกรรมอื่นๆที่กระทำในวันอีดได้ตามปกติเช่นกันไม่ว่าการเยี่ยมเยียนญาติพี่น้อง หรือการเชือดกุรบานก็ตามที


والله ولي التوفيق



ท่านยะซีด บุตรของอัลอัสวัด ร่อฎียัลลอฮุอันฮ์ เล่าว่า
“ฉันอยู่กับท่านรสุลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุออะลัยฮิ วะซัลลัม ในการทำหัจญ์ของท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุออะลัยฮิ วะซัลลัม ฉันละหมาดศุบฮฺพร้อมกับท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุออะลัยฮิ วะซัลลัมที่มัสยิดอัลค็อยฟฺ ครั้นเมื่อละหมาดเสร็จ ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุออะลัยฮิ วะซัลลัม ก็หันไปเห็นชาย 2 คน ซึ่งเขาไม่ได้ละหมาดร่วมกับท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุออะลัยฮิ วะซัลลัม ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุออะลัยฮิ วะซัลลัม จึงกล่าวว่า ช่วยเรียก 2 คนนั้นมาหาฉันหน่อยซิ ชายทั้งสองก็มาหาท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุออะลัยฮิ วะซัลลัม ในสภาพที่ตัวสั่น (เนื่องจากความกลัว) ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุออะลัยฮิ วะซัลลัม ถามว่า มีสิ่งใดที่ยับยั้งท่านทั้งสองไม่ให้ละหมาดร่วมกับพวกเรา ชายทั้งสองตอบว่า ปรากฏว่าเราทั้งสองละหมาด(ศุบฮฺ) ที่บ้านของเรามาแล้ว ท่านรสูล ฮฺ ศ็อลลัลลอฮุออะลัยฮิ วะซัลลัม จึงกล่าวว่า ทีหลังท่านทั้งสองอย่าทำเช่นนี้ แต่เมื่อท่านทั้งสองละหมาดที่บ้านของท่านทั้งสองแล้ว จากนั้นทั้งสองมาที่มัสยิด(ซึ่งกำลังละหมาด)ญะมาอะฮฺ เช่นนั้นท่านทั้งสองจงละหมาดร่วมกับพวกเรา แท้จริงการละหมาดของท่านทั้งสอง(ในครั้งที่สอง) เป็นละหมาด(ที่ได้รับผลบุญเท่ากับ)สุนนัต(ไม่ใช่ฟัรฎูสำหรับเขา)”
(บันทึกหะดิษโดยอัตติรฺมีซีย์ หะดิษเลขที่203 นะสาอีย์ หะดิษเลขที่ 8491 อะหฺมัด หะดิษเลขที่ 16829 และอัดดริมีย์ หะดิษเลขที่ 1332)



การกระทำทีมีประโยช์ส่วนรวมไม่ถือเป็นบิดอะฮ์


การกระทำที่มีผลเป็นประโยชน์ส่วนรวม และไม่มีข้อเสียใดๆ ที่สิ่งนั้นไม่มีหลักฐานมาสั่งใช้หรือมาห้ามอย่างชัดเจน แต่มันเป็นเพียงสื่อที่นำไปสู่เป้าหมายตรงตามหลักการที่ศาสนาต้องการ และไม่ได้ขัดกับหลักการศาสนาแต่ประการใด เช่น การรวบรวมอัลกุรอานเป็นเล่มเดียวในยุคของท่านอาบูบักร์อัซซิดดี๊ก(ร่อฎียัลลอฮุอันฮู) และมันก็ตรงกับเป้าหมายของศาสนาในการที่จะรักษษอัลกุรอาน หรือการวางระเบียบการเมืองการปกครองในยุคของท่านอุมัร (ร่อฎียัลลอฮุอันฮู) โดยการทำบัญชีรายชื่อหรือสมุดเงินเดือนทหาร และสมุดจ่ายทรัพย์เชลยศึกแก่ผู้ออกรบ เป็นต้น

เช่นเดียวกับในยุคปัจจุบันที่ใช้การขีดเส้นตรงในมัสยิดเพื่อยืนละหมาดเป็นแถวอย่างมีระเบียบ การใช้นาฬิกาที่ช่วยบอกเวลาละหมาด การใช้ลำโพงเป็นเครื่องขยายเสียงช่วยในการอาซาน

และการที่อิสลามได้มาวางกฎชารีอะฮ์ โดยรวมก้เพื่อนำมาซึ่งประโยชน์หรือปกป้องจากสิ่งที่เกิดโทษต่อปวงบ่าว หรือช่วยในการจัดระเบียบ และมันก็จะมีสิ่งใหม่ๆพัฒนาเกิดขึ้นและแตกต่างกันไป ด้วยความแตกต่างในแต่ละยุคสมัยนั้นที่ได้สั่งให้กระทำสิ่งที่เกิดประโยชน์โดยส่วนรวม หรือห้ามมิให้ทำความเสียหาย

พระองค์อัลลอฮฺ (ศุบฮานะฮูวะตะอาลา)

 وَتَعَاوَنُوا عَلَى الْبِرِّ وَالتَّقْوَىٰ وَلَا تَعَاوَنُوا عَلَى الْإِثْمِ وَالْعُدْوَانِ وَاتَّقُوا اللَّهَ إِنَّ اللَّهَ شَدِيدُ الْعِقَابِ ( 2 )

" และพวกจงช่วยเหลือกันในสิ่งที่เป็นคุณธรรม และความยำเกรง และจงอย่าช่วยกันในสิ่งที่เป็นบาป และเป็นศัตรูกันและพึงกลัวเกรงอัลลอฮ์เถิด แท้จริงอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงรุนแรงในการลงโทษ" (อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัล-มาอิดะฮฺ 5:2)





ทำไมถึงต้องเรียกตนว่า "สะละฟียฺ"



-----------------------------------------------
อุละมาอฺ: ชัยคฺ มุหัมมัด นาศิรุดดีน อัล-อัลบานียฺ (ซีเรีย)
ที่มา: วารสาร อัล-อะซาละฮฺ Vol.9 
-----------------------------------------------

คำถาม: ทำไมถึงต้องใช้ชื่อว่า "สะละฟียะฮฺ" ? นี่คือการเรียกร้องไปสู่กลุ่ม(ฮิซบฺ) หรือ นิกายหนึ่ง(มัสฮาบียะฮฺ) หรือ นี่คือกลุ่มใหม่ในอิสลาม ?

ชัยคฺ อัล-บานียฺ ได้ตอบว่า:

แท้จริงแล้ว คำว่า "อัส-สะลัฟ" นั้นเป็นที่รู้จักกันดีในภาษาอาหรับ และในทางบทบัญญัติ(الشرع) และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับพวกเราว่ามันมาจากมุมมองของบทบัญญัติ

มีการรายงานถึงท่านนบี ศอลฯ ในช่วงที่ท่านกำลังป่วยหนัก จะก่อนที่ท่านจะเสียชีวิต ท่านได้บอกท่านหญิง ฟาฏิมะฮฺ รฎ. ว่า

فاتقي الله واصبري ، ونعم السلف أنا لك

" จงยำเกรงอัลลอฮฺ และจงอดทน ฉันนั้นเป็น 'สะลัฟ' ที่ดียิ่งสำหรับเจ้า "

และอุลามะอฺได้ใช้คำว่า "อัส-สะลัฟ" อย่างมากมาย และมากมายเกินกว่าที่จะแจกจง แต่เพียงพอแล้วสำหรับเราสำหรับตัวอย่างเดียวนี้ และมันเป็นสิ่งที่พวกเขาใช้เพื่อต่อต้านบิดอะฮฺ

وكل خير في اتباع من سلف وكل شر في ابتداع من خلف 

และทุกๆความดี คือ การดำเนินตามชนยุคสะลัฟ และทุกๆความชั่ว คือ อุตริกรรมใหม่ๆในยุคถัดมา(เคาะลัฟ)

อย่างไรก็ตามมีคนที่อ้างตนว่าเป็นผู้รู้ แต่เขาปฏิเสธที่จะอ้างตัวไปยังสิ่งนี้(สะลัฟ) โดยให้เหตุผลว่า มันไม่ใช่หลักการ ดังนั้นเขาจึงพูดว่า

"ไม่เป็นที่อนุญาตสำหรับมุสลิม ที่จะบอกว่า 'ฉันคือสะละฟียฺ " 

มันเหมือนกับการที่เขาจะพูดว่า 

"ไม่เป็นที่อนุญาตสำหรับมุสลิม ที่จะบอกว่า ฉันดำเนินตาม อัส-สะละฟุศศอลิหฺ ทั้งอะกีดะฮฺ อิบาดะฮฺ และแนวทาง"

ไม่เป็นที่สงสัยอันใดในการปฏิเสธนี้ ถ้าเขาตั้งมั่นในสิ่งนี้(การปฏิเสธสะลัฟ) มันมีผลทำให้คนๆนั้นออกจากอิสลามที่แท้จริง ที่บรรดาอัส-สะละฟุศศอลิหฺ ได้ดำรงอยู่ และหัวหน้าของพวกเขา(ชาวสะลัฟ)คือ ท่านนบี ศอลฯ และมีระบุไว้ในหะดีษ ระดับ มุตะวาตีร(เป็นหะดีษ ที่มีการรายงานเยอะมาก) อยู่ในศอฮีหฺทั้งสอง(บุคอรียฺ-มุสลิม) และอื่นๆ จากท่านรอซูลุลลอฮฺ ศอลฯ

خير الناس قرني ، ثم الذين يلونهم ، ثم الذين يلونهم

“กลุ่มชนที่ดีที่สุด คือกลุ่มชนในยุคของฉัน(เศาะหาบะฮฺ) และหลังจากนั้น(ตาบิอีน) และจากนั้น(ตาบิอิตตาบิอีน)"

แต่สำหรับคนๆหนึ่ง ที่อ้างตัวไปยังอัสสะละฟุศศอลิหฺ การอ้างตัวของเขานั้นไม่เป็นที่ผิดแต่อย่างใด ในเชิงทั่วๆไป และท่านนบี ศอลฯ ได้ระบุลักษณะของกลุ่มชนที่รอดพ้น(ฟิรเกาะตุนนาญิยะฮฺ) คือผู้ซึ่งยึดมั่นบนสิ่งที่ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศอลฯ และศอหาบะฮฺของท่านดำรงอยู่

ดังนั้น ใครก็ตามที่ยึดมั่นในสิ่งนี้ เมื่อนั้น เขาได้อยู่บนทางนำจากพระผู้อภิบาลของเขา ไม่เป็นที่ต้องสงสัยอันใด มันกระจ่าง ประจักษ์ชัด ไม่แตกต่างกัน ในการที่เราจะกล่าวว่า "ฉัน คือ มุสลิม ที่ตามกีตาบุลลอฮฺและซุนนะฮฺ บนแนวทาง(มันฮัจญ์)ของอัส-สะละฟุศศอลิหฺ" หรือเรียกสั้นๆว่า

أنا السلفي (ฉันเป็นสะละฟียฺ)

---------------------------------------------

إن كلمة السلف معروفة في لغة العرب وفي لغة الشرع ؛ وما يهمنا هنا هو بحثها من الناحية الشرعية :

فقد صح عن النبي صلى الله عليه وسلم أنه قال في مرض موته للسيدة فاطمة رضي الله عنها : "فاتقي الله واصبري ، ونعم السلف أنا لك " . ويكثر استعمال العلماء لكلمة السلف ، وهذا أكثر من أن يعد ويحصى ، وحسبنا مثالاً واحداً وهو ما يحتجون به في محاربة البدع :

وكل خير في اتباع من سلف وكل شر في ابتداع من خلف

ولكن هناك من مدعي العلم من ينكر هذه النسبة زاعماً أن لا أصل لها! فيقول : (لايجوز للمسلم أن يقول : أنا سلفي ) وكأنه يقول : (لا يجوز أن يقول مسلم : أنا متبع للسلف الصالح فيما كانوا عليه من عقيدة وعبادة وسلوك) .

لا شك أن مثل هذا الإنكار ـ لو كان يعنيه ـ يلزم منه التبرؤ من الإسلام الصحيح الذي كان عليه سلفنا الصالح ، وعلى رأسهم النبي صلى الله عليه وسلم كما يشير الحديث المتواتر الذي في الصحيحين وغيرهما عنه صلى الله عليه وسلم : "خير الناس قرني ، ثم الذين يلونهم ، ثم الذين يلونهم " . فلا يجوز لمسلم أن يتبرأ من الانتساب إلى السلف الصالح ، بينما لو تبرأ من أية نسبة أخرى لم يمكن لأحد من أهل العلم أن ينسبه إلى كفر أو فسوق . والذي ينكر هذه التسمية نفسه ، ترى ألا ينتسب إلى مذهب من المذاهب ؟! سواء أكان هذا المذهب متعلقاً بالعقيدة أو بالفقه ؟

فهو إما أن يكون أشعرياً أو ماتريدياً ، وإما أن يكون من أهل الحديث أو حنفياً أو شافعياً أو مالكياً أو حنبلياً ؛ مما يدخل في مسمى أهل السنة والجماعة ، مع أن الذي ينتسب إلى المذهب الأشعري أو المذاهب الأربعة ، فهو ينتسب إلى أشخاص غير معصومين بلا شك ، وإن كان منهم العلماء الذين يصيبون ، فليت شعري هلا أنكر مثل هذه الانتسابات إلى الأفراد غير المعصومين ؟

وأما الذي ينتسب إلى السلف الصالح ، فإنه ينتسب إلى العصمة ـ على وجه العموم ـ وقد ذكر النبي صلى الله عليه وسلم من علامات الفرقة الناجية أنها تتمسك بما كان عليه رسول الله صلى الله عليه وسلم وما كان عليه أصحابه .

فمن تمسك به كان يقيناً على هدى من ربه ولا شك أن التسمية الواضحة الجلية المميزة البينة هي أن نقول : أنا مسلم على الكتاب والسنة وعلى منهج سلفنا الصالح ، وهي أن تقول باختصار : أنا سلفي
ที่มาคำแปลhttps://www.facebook.com/salafiyouththailand/photos/a.336428283184271.1073741828.336424913184608/342370262590073/?type=1&theater






นามนรก




1.นรก ยาฮานัม(جهنم)

2.นรก ยาฮีม( جحيم)

3.นรก ฮาวียะ(هاوية)

4.นรก วีล (ويل)

5.นรก ซาอีร(سعير)

6.นรก ลาซอ(لظي)

7.นรก ซาก้อร(سقر)

8.นรก ฮูตอมะ(حطمة).

คนทีเข้านรก(ยาฮานัม)คือ คนกาฟิร,มูนาฟิก,คนทีมีบาป.คนทีไมทำตามศาสนาและรอซูล.
คนทีเข้านรก(ยาฮีม)คือ คนทีไมจ่ายซากาต,คนทีรักทรัพย์สิ้นของเราถึงกับลลืม อัลออฮ.
และคนทีไมเชื่อฟังพระองค์.

คนทีเข้านรก(ฮาวียะ)คือ คนทีชั่งความดีและวามชั่วในวันกียามะแต่ความดีน้อยกว่า.

คนทีเข้านรก(วีล)คือ คนทีพูดโกหกและสอนโกหกในเรื่องของศาสนา,คนทีเลี้ยงเด็กกำพร้า แต่ไมให้อาหารครบมือ และไมรับผิดชอบ,คนละหมาด(หมายถึงคนทีไมนึกถึงต่ออัลออฮ),
คนทีโกงชั่งน้ำหนัก เวลาขายของ.

คนทีเข้านรก(ซาอีร)คือคนทีกินเงินทองของเด็กกำพร้าในทางคุมเข้ม(ซอเลม),และคนทีไมยอมรับในสิ่นทีพระองค์สอน.,คนกาฟิร(คนกาฟิรนันในทุกนรกมีหมดตั้งแต่1-8และพวกเค้าจะไมใด้ออกมาอีกเลย)

คนทีเข้านรก(ลาซอ)คือ คนทีหันหลังจากอิสลามและไมอยากอยู่ไกล้กับศาสนาอิสลาม,คนมุรตัด(คือคนทีออกจากศาสนาอิสลามไปเข้าศสนาอื่น)

คนทีเข้านรก(ซาก้อร)คือคนทีไมเชื่อในคำสั่งของอัลออฮ,คนทีไมเคยละหมาด,คนทีไมเคยให้ของกินกับคนลำบาก(مسكين),คนทีไมเชื่อต่อวันพิพาษา(วันกียามะ)

คนทีเข้านรก(ฮูตอมะ)คือ คนทีนินทาคนอื่น,คนทีดูถูกคนอื่น,คนทีหาความอายของคนอื่น,คนขี้เหนียวหรือคนทีไมชอบซอดาเกาะในทางของอัลออฮ,

เพื่อนๆทุกคนคับจงกลัวต่ออัลออฮเถิด และหยุดในกานทำบาปใด้แล้ว.เพราะอีกไมนานดุนยาและความสุขทีมีอยู่บนโลกนี้ก็จะหายไป.และจงกลัวต่อนรกด้วยเพราะนรกนันอัลออฮใด้เตรียบใว้ให้กับบุคคนทีผมพึ่งบอกไป.ดั้งนันจงทำดีเพื่ออัลออฮและขอดุอาให้พ้นจากไฟนรกของพระองค์ด้วยเถิด.

.จากกันด้วยดุอา

(ربناآتنا في الدنيا حسنة وفى الآخرةحسنة وقناى عذاب النار) آمين

อามีน

.................................
Cr.รักอัลออฮ ไมผิดหวัง



ชีอะฮ์ในไทยไม่ได้ตามการดูจันทร์เสี้ยว(หิล้าล)ของสำนักจุฬาฯ




ชีอะรอฟีเฎาะฮฺในอินโดนิเซียดูจันทร์เสี้ยวในวันที่ 25 กันยายน 2557 ปรากฎว่าเห็นจันทร์เสีี้ยว ชีอะฮฺในไทยจึงกำหนดวันอีดเป็นเป็นวันที่ 5 ตุลาคม (ซึ่ีงตรงกับวันที่สำนักจุฬาฯ กำหนดวันอีด) มิได้ตามการดูจันทร์เสึ้ยวของสำนักจุฬาฯแต่อย่างใด ซ้ำเป็นการกำหนดดูจันทร์เสี้ยวต่างวันกันอีก (สำนักจุฬาราชมนตรีกำหนดดูจันทร์เสี้ยว 24 กันยายน) แล้วยังมากล่าวหามุสลิมที่ถูกอุตริวาฮะบีว่าบังคับให้สำนักจุฬาฯว่ามีการเห็นจัทร์เสี้ยวออกบวชครั้งที่แล้วอีก พวกเขาจึงไม่ออกอีดตามสำนักจุฬา (หมายความว่าที่สำนักจุฬาประกำหนดวันอีดิลฟิตรีที่ผ่านมา เนื่องจากถูกบังคับ) นี้คือนิสัยพวกรอฟีเฎาะฮ์...


ประกาศการเห็นจันทร์เสียวของประเทศซาอุดิอาระเบี้ย เมื่อวันที่ 24 กันยายน ผลปรากฎว่าเห็นจันทร์เสี้ยว วันอีดจึงตรงกับวันที่ 4 ตุลาคม


สำนักจุฬาประกาศให้วันที่ 5 ตุลาคม เป็นวันอิดิลอัฎาฮา

ชีอะฮฺในประเทศไทยประกาศวันที่ 5 เป็นวันอิดิลอัฎฮา เนื่องจากการเห็นจันทร์เสี้ยวในประเทศอินโดนิเซีย เมื่อวันที่ 25 กันยายน


คำพูดของชีอะฮ์รอฟีเฎาะฮ์โดย Lovenabi Islamlibnet ว่า
"ดังนั้นเมื่อสำนักจุฬาฯประกาศออกบวชของเดือนรอมฏอนที่ผ่านมาโดยถูกพวกวะบีกดดันสร้างพยานเท็จขึ้นมาว่ามีคนเห็นเดือนบนภูเขาที่ อ.ยะหาทั้งที่ว่าทีมคนหาจันทร์เสี้ยวนับสิบคนและประชาชนอีกนับพันก็อยู่ในจุดดูเดือนด้วยเช่นกัน ซึ่งเมื่อเวลาล่วงไปก็ไม่มีใครเห็นเดือนเสี้ยวแม้ต่คนเดียว แต่หลังจากที่ลงมาจากเขาสำนักจุฬาก็ประกาศว่ามีคนเห็นเดือนที่ยะหาซึ่งกลุ่มวะบีที่ตองการออกอีดให้ตรงกับซาอุเป็นผู้ให้ข้อมูลว่ามีคนเห็นเดือน

จากจุดนี้เองที่ทำให้ชีอะรู้ทันทีว่าสำนักจุฬาฯประกาศออกอีดโดยวะบีสร้างพยานเท็จขึ้นมา เพราะจะเป็นไปได้อย่างไรในจำนวนคนนับพันมีเพียงคนเดียวที่เห็นเดอืน ซึ่งโดยปรกติหากมีใครเห็นจริงเขาก็จะตักบีรและชี้ให้คนอื่นได้เห็นอย่างดีอกอีใจ และประการที่สามนั่นก็คือสมาคมดาราศาสตร์มุมลิมก็ประกาศล่วงหน้าแล้วว่าไม่มีทางจะเห็นเดือนได้เลยในวันดังกล่าว เพราะอยู่ในช่วง”จันทร์ดับ” นอกจากนั้นเมื่อสมาคมนักดารศาสตร์มุสลิม(ถ้าจำไม่ผิด)ขอให้กลุ่มวะบีที่แจ้งสำนักจุฬาไปว่ามีคนเห็นเดือนได้เปิดเผยข้อมมูลการสัมภาษสอบสวนชายที่เห็นเดือนก็กลับไม่สามารถให้ข้อมูลหรือระบุใด้ว่าชายคนดังกล่าวเป็นใครชื่ออะไร?
ดังนั้นชีอะจึงออกชวชไม่ตรงกับสำนักจุฬาฯ เนื่องด้วยการไม่ชัดเจนในข้อมูลว่าสำนักจุฬาฯเห็นเดือนเสี้ยวจริงหรือไม่ และนี่คือจุดยืนว่าเหตุใดชีอะจึงออกบวชไม่ตรงกับสำนักจุฬาฯแต่คราวนี้กลับออกอีดตรงกัน" (แต่ยึดตามการดูจันทร์เสี้ยวของพวกตนในอินโดนิเซีย)



วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

คำฟัตวาของท่านอิบนุตัยมิยะฮฺเกี่ยวกับวันอะรอฟะห์‬



ท่านชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮฺ (ร.ฮ.) ได้ตอบว่า

وصوم اليوم الذي يشك فيه هل هو تاسع ذي الحجة أو عاشر ذي الحجة جائز بلا نزاع بين العلماء لأن الأصل عدم العاشر

และการถือศีลอดของวันซึ่งสงสัยว่าวันนั้นเป็นวันที่ 9 ซุลฮิจญะฮฺหรือวันที่ 10 ซุลฮิจญะฮฺ? 
เป็นที่อนุญาตโดยไม่มีข้อขัดแย้งระหว่างบรรดานักปราชญ์ เพราะเดิมนั้นไม่มีวันที่ 10 (มัจมูอะฮฺ อัลฟะตาวา 25/111)

มุสลิมที่ถือศีลอดในวันเสาร์ ซึ่งนับเป็น วันที่ 9 ซุลฮิจญะฮฺตามจุฬา แต่ไปตรงกับวันที่ 10 ซุลฮิจญะฮฺ วันอีดของชาวซาอุดีย์นั้นย่อมเป็นที่อนุญาตโดยไม่มีข้อโต้แย้งระหว่างนักปราชญ์ และไม่เข้าข่ายในข้อห้ามของหะดีษข้างต้น เพราะคนที่ถือศีลอดในวันเสาร์ถือศีลอดบนพื้นฐานที่ว่า วันเสาร์คือวันที่ 9 ซุลฮิจญะฮฺ
ไม่มีผู้ใดถือศีลอดในวันที่ 10 ซุลฮิจญะฮฺซึ่งเป็นวันอีดอัฎฮา อันจะเป็นเหตุนำมาอ้างว่า ฝ่าฝืนคำสั่งของท่านร่อซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ที่ห้ามถือศีลอดในวันอีดได้
ทั้งนี้เพราะเขาถือศีลอดในวันที่ 9 ซุลฮิจญะฮฺไม่ได้ถือในวันที่ 10 ซุลฮิจญะฮฺ ซึ่งเป็นอีดอัฎอาแต่อย่างใด
ชัยคุลอิสลาม อับนุตัยมียะฮฺ (ร.ฮ.)

--------------------

ชี้แจงคำฟัตวาของท่านอิบนุตัยมิยะฮฺโดย

อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้

ส่วนคำของอิบนุตัยมียะห์ ตามที่โพ้สในบทความนั้น
เป็นกรณีของคนที่ไม่ทราบข้อมูลกำหนดวันที่ชัดเจน คือสงสัยว่าจะเป็นวันที่เก้าหรือวันที่สิบ
กรณีนี้เอามาอ้างไม่ถูกต้องเนื่องจาก ขณะนี้รับรู้กันโดยทั่วไปแล้วว่าคนทำฮัจญ์เขาจะวุกูฟกันวันไหน
หรือยังมีคนที่ไม่รู้ข้อมูลอยู่อีกและยังสงสัยว่าเขาจะวุกูฟกันวันไหน จึงไปเอาคำของอิบนุตัยมียะห์มาอ้างในกรณีนี้

......................................

‎ชี้แจงโดยอาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้







วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557

ทุ่งอารอฟะฮ์มีที่เดียว และวันอารอฟะฮฺมีวันเดียว






ทุ่งอารอฟะฮ์มีที่เดียว และวันอารอฟะฮฺมีวันเดียว คือวันที่ 9 ซุลฮิจญะฮ์ เป็นวันที่ผู้ประกอบพิธีฮัจญ์ ประกอบพิธีที่ทำการวุกูฟ(หยุดอยู่) ณ ทุ่งอารอฟะฮ์ และเป็นวันที่มุสลิมทั่วโลกถือศิลอดสุนนะฮ์วันอารอฟะฮ์ (หะดิษระบุถือศิลอดในวันอาราฟะฮฺ ไม่ใช่ถือศิลอดวันที่ 9 ซุลฮิจญะฮ์ ดังนั้นวันที่ 9 ซุลฮิจญะฮ์ต้องกับวันอารอฟะฮ์) และวันที่ 10 เป็นวันอีดตามลำดับ วันอาเราะฟะฮฺและวันอีดจึงต้องต้องตรงกันกับวันที่ผู้ประกอบบพิธีฮัจญ์ ณ ทุ่งอารอฟะฮฺ อาราเบีย เป็นไปไม่ได้ที่ผู้ประกอบพิธีฮัจญ์ประกอบพิธี ณ ทุ่งอารอฟะฮ์วันหนึ่ง และมุสลิมทั่วโลกที่ไม่ประกอบพิธีฮัจญ์ถือศิลอดสุนนะฮ์วันอารอฟะฮ์อีกวันหนึ่ง หรือผู้ประกอบพิธีฮัจญ์กับมุสลิมทั่วโลกกำหนดวันอารอฟะฮ์ตรงกันแต่วันอีดกลับคนละวันกันเช่นนี้ มันไม่ใช่สูตรของศาสนา วันอารอฟะฮ์กับวันอีด ต้องติดตามกันตามลำดับ คือวันที่ 9 และวันที่ 10 ซุลฮิจญะฮ์ และต้องเชื่อมต่อกันกับวันที่ผู้ประกอบพิธีฮัจญ์  ถึงแม้เวลาแต่ละประเทศจะต่างกันไปบ้าง ก็ยังอยู่ในช่วงวันเวลาเดียวกัน เพราะวันตามปฏิทินอิสลามจะนับแต่เวลามักริบค่ำหนึ่งไปอีกเวลามักริบของอีกค่ำหนึ่งเป็นหนึ่งวัน และบางประเทศที่มีพื้นที่กว้างขวางอย่างประเทศจีนแคนาดา สหรัฐอเมริกา แต่ละพื้นที่เวลาอาจต่างกันแต่ก็กำหนดวันอีดพร้อมกันได้

ส่วนการดูจันทร์เสี้ยวมุสลิมทุกมุมโลกก็ต่างดูกัน หากมุสลิมที่ใดเห็นก่อนก็ถือว่าวันนั้นเห็นจันทร์เสี้ยวแล้ว หากประเทสไทยเห็นจันทร์เสียว ประเทศอื่นก็ต้องตามประเทศไทย ดั่งที่ท่านนบีกล่าวว่าเมื่อมุสลิมคนใดเห็นจันทร์เสี้ยว คือให้ถือว่าวันนั้นเป็นวันที่ 1 ของเดือนซุลฮิจญะฮ์ หากประเทศไทยไม่เห็น ก็ให้ดูผลการดูจันทร์เสี้ยวประเทศอื่นต่อไป เช่น ดูผลการดูดวงจันทร์ของประเทศอิยิปต์ ประเทศซาอุดิอาราเบียเป็นต้น ซึ่งปัจจุบันการรับดูผลการดูดวงจันทร์ของต่างประเทศมันไม่ยากใดเลย ต่างกับเมื่อก่อนที่มีการสื่อสารไม่ดีเช่นปัจจุบัน จะทราบว่าวันที่ผู้ประกอบพิธีฮัจญ์ทำการวุกุฟ ณ ทุ่งอารอฟะฮ์วันใด  ก็เมื่อผู้ประกอบพิธีฮัจญ์กลับมาหลังจากนั้นเป็นแรมเดือน

วัลลอฮุอะลัม   



ท่านอบูฮุรอยเราะห์ ได้รายงานว่า

أَنَّ رَسُوْلَ اللهِ صَلى اللهُ عَليْهِ وَسَلَّمَ نَهَى عَنْ صِيَامِ يَوْمَيْنِ يَوْمِ الأضْحَى وَيَوْمِ الفِطْرِ

“แท้จริงท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ห้ามถือศีลอดสองวันนี้คือ วันอีดิ้ลอัฏฮา และวันอีดิ้ลฟิตร์” บันทึกโดยอิหม่ามมุสลิม ฮะดีษเลขที่ 1921


 وَسُئِلَ عَنْ صَوْمِ يَوْمِ عَرَفَةَ فَقَالَ يُكَفِّرُ السَّنَةَ المَاضِيَّةَ وَاليَاقِيَّةَ

“ท่านนบีถูกถามเกี่ยวกับการถือศีลอดวันอะรอฟะห์ ท่านตอบว่า จะได้รับการอภัยโทษในปีที่ผ่านมาและปีถัดไป” (ศอเฮียะห์มุสลิม กิตาบุศศิยาม ฮะดีษเลขที่ 1977)


ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  กล่าวว่า

ما من يوم أكثر من أن يعتق فيه عبدا من النار  من يوم عرفة

"ไม่มีวันใดที่อัลลอฮฺจะปลดปล่อยบ่าวของพระองค์จากไฟนรก ที่จะมากไปกว่าวันอะร่อฟะฮ์" (บันทึกหะดิษโดยมุสลิม)

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  กล่าวว่า

 صِيَامُ يَوْمِ عَرَفَةَ أحْتَسِبُ عَلى اللهِ أنْ يُكَفِّرَ السَنَةَ الَّتِي قَبْلَهُ وَالسَّنَةَ الَّتِي بَعْدَهُ

“การถือศีลอดวันอะรอฟะห์นั้น หวังว่าอัลลอฮ์จะอภัยโทษปีก่อนหน้านี้และปีถัดไป” (ศอเฮียะห์มุสลิม กิตาบุศศิยาม ฮะดีษเลขที่  1976)


 عَنْ أُمِّ الفَضْلِ بِنْتِ الحَارِثِ أنَّ نَاسًا تَمَارَوْا عِنْدَهَا يَوْمَ عَرَفَةَ فِي صِيَامِ رَسُوْلِ اللهِ صَلى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ  فَقَالَ بَعْضُهُمْ : هُوَ صَائِمٌ وَقَالَ بَعْضُهُمْ : لَيْسَ بِصَائِمٍ فَأرْسَلْتُ إلَيْهِ بِقَدَّحِ لَبَنٍ وَهُوَ وَاقِفٌ عَلى بَعِيْرِهِ بِعَرَفَةَ فَشَرِبَهُ

“รายงานจากอุมมุลฟัศล์ บินติลฮาริษ ว่า บรรดาผู้คน (หมายถึงศอฮาบะห์ที่ทำการวุกูฟอยู่ที่ทุ่งอะรอฟะห์) ต่างถกเถียงกัน ณที่เธอในวันอะรอฟะห์ เกี่ยวกับการถือศีลอดของท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม โดยที่บางคนกล่าวว่า ท่านนบีถือศีลอด และบางคนก็กล่าวว่า ท่านไม่ได้ถือศีลอด ดังนั้นฉันจึงส่งเหยือกนมให้แก่ท่าน ขณะที่ท่านวุกูฟอยู่บนอูฐของท่านที่ทุ่งอะรอฟะห์ แล้วท่านก็ดื่มมัน”  (ศอเฮียะห์บุคอรี กิตาบุศเศาม์ ฮะดีษเลขที่ 1852)

           ท่านอิหม่ามนะวาวีย์ กล่าวไว้ในบทที่ว่าด้วยเรื่อง “สมควรงดถือศีลอดสำหรับผู้ทำฮัจญ์ ที่ทุ่งอะรอฟะห์ในวันอะรอฟะห์” ดังนี้

 مذهب الشافعي ومالك وأبي حنيفة وجمهور العلماء استحباب فطر يوم عرفة بعرفة للحاج

“มัซฮับชาฟีอี, มาลิกี, ฮานะฟีย์ และบรรดาญุมฮูรุ้ลอุลามาอ์ ถือว่าสมควรงดการถือศีลอดวันอะรอฟะฮฺที่ทุ่งอะรอฟะฮฺสำหรับผู้ทำฮัจญ์” อธิบายศอเฮียะห์มุสลิม โดยอิหม่ามนะวาวีย์ เล่มที่ 8 หน้าที่ 3





เรื่องการกำหนดเดือนซุลฮิยะห์



เรื่องศาสนาไม่ใช่เรื่องของชาตินิยม ที่จะถือว่าประเทศใครประเทศมัน เพราะเรื่องประเทศและขอบเขตของประเทศนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากคำสอนของศาสนาตั้งเนิ่นนาน ชนชาติไทยก็ถอยร่นมาจากลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง รวมเชื้อชาติเผ่าพันธุ์เป็นสยามก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อเป็นไทยเมื่อไม่นานมานี้เอง ทั้งไทยและซาอุดี้ได้ตั้งเป็นประเทศหลังจากที่นบีจากไปตั้งไม่รู้กี่ปี ฉะนั้นจึงไม่มีหลักฐานให้เราถือศาสนาตามประเทศหนึ่งประเทศใด

วันนี้การที่มุสลิมหันหน้าไปทางที่ตั้งของกะอ์บะห์ในขณะละหมาด ก็ไม่ได้หมายความว่าเขาตามซาอุดิอาราเบีย หรือการรับข่าวการวุกูฟที่ทุ่งอะรอฟะห์และทำการถือศีลอดนั้น ก็ไม่ใช่เป็นการตามซาอุดิอาราเบียอย่างที่หลายคนกล่าวอ้าง แต่เป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของศาสนา

หากวันข้างหน้าราชอณาจักรซาอุดิอาราเบียล่มสลาย มุสลิมมุสลิมจะย้ายกิบลัตหรือ
หรือว่าคนทำฮัจญ์ต้องเปลี่ยนที่วุกูฟกันใหม่

วันนี้เขตแดนของแต่ละประเทศมันกีดกั้นไม่ให้มุสลิมปฏิบัติศาสนกิจโดยพร้อมเพรียงกันหรือ
เขตแดนมันปิดกั้นความเป็นพี่น้องมุสลิมด้วยหรือ?

วันนี้มุสลิมจะมีเอกภาพเฉพาะประเทศใครประเทศมัน หรือจะมีเอกภาพบนคำสอนของศาสนา
เมื่อศาสนาสั่งใช้ให้มุสลิมละหมาดวันศุกร์ ก็ไม่เห็นมีมุสลิมที่ไหนโวยวายว่า เราละหมาดวันศุกร์ไม่ได้เพราะก่อนเขาตั้ง 4 ชั่วโมง ต้องย้ายไปละหมาดวันเสาร์แทน ไม่เห็นมีใครออกมาฟัตวาเช่นนี้เลย แต่พอคำสั่งให้ถือศีลอดวันวุกูฟอะรอฟะห์ เรากลับพูดว่า เวลาห่างกัน 4 ชั่วโมง เขาวันศุกร์ของเราจึงกลายเป็นวันเสาร์ เป็นไปได้อย่างไร

ถ้าเราอยู่ในวันเดียวกันตามที่ศาสนาสั่ง จะไปกังวลเรื่องเวลาทำไมละครับ ตราบใดที่เรายังละหมาดวันศุกร์ในวันศุกร์ เราก็ยังคงถือศีลอดตรงกับวันวุกูฟที่ทุ่งอะรอฟะห์ และเมื่อเราถือศีลอดวันวุฏุฟอะรอฟะห์ตรงกัน แต่พอรุ่งขึ้นกลับบอกว่ายังละหมาดอีดไม่ได้เวลาต่างกัน

...................................
Cr. Sulaimarn Darakai <======



วุกูฟตรงกับวันศุกร์เป็นฮัจญีอักบัรจริงหรือ?


คำว่าฮัจญีอักบัร แปลว่า ฮัจญ์ที่ยิ่งใหญ่

พวกเราในอดีตมักจะกล่าวกันว่า ถ้าปีไหนวันศุกร์ตรงกับวันวุกูฟ ปีนั้นจะเป็นฮัจญีอักบัร ใครที่ไปทำฮัจญ์ในปีนั้นจะได้ภาคผลเท่ากับทำฮัจญ์พร้อมท่านท่านนบี 70 ครั้ง

ความเข้าใจเช่นนี้เป็นที่โจษขานกันมาเนิ่นนาน แต่หาหลักฐานทางศาสนามายืนยันไม่ได้ การที่กล่าวอ้างว่า ทำอย่างนี้ได้เท่านั้น หรือทำอย่างนั้นได้เท่านี้ ไม่ใช่เรื่องที่เราจะมาทึกทักกันเอง และถ้าอ้างว่าท่านนบีเป็นคนกล่าว ก็ต้องหาตัวบทหลักฐานที่ศอเฮียะห์ (ฮะดีษศอเฮียะห์) มายืนยันให้ได้ หากไม่มีหรือหาไม่ได้ก็ต้องหยุดกล่าว ไม่เช่นนั้นก็จะเป็นการแอบอ้างโกหกมดเท็จต่อท่านนบี

จริงอยู่..แม้ว่าในปีที่นบีไปทำฮัจญ์ครั้งแรกและครั้งสุดท้ายนั้น วันวูกุฟของท่านจะตรงกับวันศุกร์ก็ตามแต่ก็มิใช่เป็นกรณีพิเศษ ท่านมิได้สั่งการหรือบอกกล่าวเรื่องนี้ไว้อย่างหนึ่งอย่างใดตามที่พวกเราเข้าใจ

ส่วนข้อความในอัลกุรอาน ซูเราะห์อัตเตาบะห์ อายะห์ที่ 3 ที่พระองค์อัลลอฮ์ได้กล่าวว่า

وَآذَانٌ مِنَ اللهِ وَرَسُوْلِهِ اِلىَ النَاسِ يَوْمَ الحَجِّ الأكبَرِ اِنَّ اللهَ بَرِئٌ مِنَ المُشْرِكِيْنَ وَرَسُوْلُهُ

“และนี่เป็นประกาศจากอัลลอฮ์และรอซูลของพระองค์ที่มีต่อมนุษยชาติ ณ วันฮัจญ์ที่ยิ่งใหญ่ แท้จริงอัลลอฮ์และรอซูลของพระองค์ได้พ้นจากข้อสัญญาที่มีต่อบรรดามุชรีกีน”

ผู้ที่กล่าวอ้างเรื่องฮัจญีอักบัรก็จะใช้อายะห์ข้างต้นนี้เป็นหลักฐาน แต่ข้อความในอายะห์ข้างต้นนี้ แม้จะมีคำว่า ฮัจญีอักบัร (ฮัจญ์ใหญ่) อยู่จริง แต่ก็ไม่ปรากฏรายละเอียดว่าเป็นเช่นไร จึงมีบางคนทึกทักเอาว่า น่าจะเป็นกรณีที่วันศุกร์ตรงกับวันวุกูฟมั้ง เพราะวันวุกูฟของท่านนบีตรงกับวันศุกร์ นี่เป็นการนำเอา 2 เรื่องมาประกบกันเอง และทึกทักกันเอาเอง

แต่ในหนังสือตัฟซีรทั้งหลายได้อรรถาธิบายคำว่า เยาว์มัลฮัจญิลอักบัร (วันฮัจญ์ใหญ่) ก็คือ วันอะรอฟะห์ หมายถึงวันวุกูฟที่ทุ่งอะรอฟะห์ และบางท่านก็อธิบายว่า คือวันนะฮัร หมายถึงวันเชือดวันแรกหรือวันอีดิ้ลอัฏฮานั่น ซึ่งไม่ได้เกี่ยวว่าวันอะรอฟะห์ หรือวันนะฮัร จะตรงกับวันศุกร์หรือไม่ ฉะนั้นฮัจญีอักบัรจึงหมายถึงการทำฮัจญ์ที่มีทุกปี ส่วนฮัจญ์เล็ก ก็คือการทำอุมเราะห์นั่นเอง

และเมื่อเราเข้าใจเรื่องนี้ผิดพลาด ก็จึงไปกล่าวหาซาอุดี้ว่าเลื่อนวันวุกูฟเพราะกลัวจะตรงกับวันศุกร์ เราผิดยังไม่พอ ยังต้องไปกล่าวหาผู้อื่นว่าผิดอีกด้วย

ที่สำคัญก็คือ บรรดาแซะห์ที่พาคนไปทำฮัจญ์มักจะเอาเรื่องฮัจญีอักบัร ตามนิยายปรัมปราเป็นจุดขาย แต่..

ท่านมีรายได้จากการขายศาสนา มันจะคุ้มกันหรือ?


........................................
โดยอาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้
Sulaimarn Darakai โพสต์





เปิดมัสยิดชาวเกย์ในเมืองเคปทาวน์แอฟริกาใต้


วันกิยามะฮ์ใกล้จะถึงแล้ว

ข่าวเว็ปไซต์ BBC News
Taj Hargey นักวิชาการมุสลิม เปิดมัสยิดที่อนุญาตให้ชาวเกย์มุสลิมเข้ามาประกอบศาสนกิจ ในเมืองเคปทาวน์แอฟริกาใต้แม้จะได้รับการข่มขู่เอาชีวิต และการวิพากษ์วิจารณ์อย่างดุเดือดจากชุมชนมุสลิมในท้องถิ่น มัสยิดชื่อ Open Mosque แห่งนี้อนุญาตให้ผู้หญิงนําละหมาดได้
โดยนาย Taj Hargey ให้สัมภาษณ์สื่อว่า มัสยิดแห่งนี้เปิดสําหรับผู้มีใจกว้าง ไม่ใช่สําหรับผู้มีใจคับแคบ และเชื่อว่ามัสยิดแห่งนี้จะช่วยต่อต้านความสุดโต่งในอิสลามที่กําลังขยายตัวเพิ่มขึ้น Hargey เป็นอาจารย์ประจําศูนย์มุสลิมศึกษาแห่งอ๊อกซ์ฟอร์ด ประแทศอังกฤษ เขากล่าวว่า บัดนี้ถึงเวลาแล้วที่จะทําการปฏิวัติศาสนา และว่า เมื่อ 20 ปีที่แล้ว แอฟริกาใต้ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงจากการปกครองแบบแบ่งแยกสีผิว มาเป็นประชาธิปไตย และมีความจําเป็นต้องมีการพัฒนาในด้านศาสนาเช่นกัน
มัสยิดของ Hargey เปิดต้อนรับคนทุกเพศ ทุกศาสนา และทุกรสนิยมทางเพศ และผู้หญิงจะได้รับอนุญาตให้ละหมาดในห้องเดียวกับผู้ชาย การเปิด Open Mosque ถูกขัดขวางจากสมาชิกในชุมชนมุสลิม และสภา Muslim Judicial ซึ่งเป็นองค์กรใหญ่ที่รวบรวมองค์กรมุสลิมหลายแห่งเข้าเป็นสมาชิก กําลังตรวจสอบมัสยิดใหม่แห่งนี้ด้วยความกังวลใจ เขากล่าวกับสื่อว่า เขาต้องการฟื้นฟูมัสยิดแบบดั้งเดิมในสมัยท่านศาสดามุฮัมมัด (ซอลฯ) ซึ่งมัสยิดในสมัยนั้นไม่ได้กีดกันผู้หญิงให้ไปอยู่ข้างหลัง หรือในห้องที่ปิดทึบ และว่าการแบ่งแยกเช่นนั้นเป็นสิ่งที่คิดขึ้นใหม่หลังจากสมัยของท่านศาสดา น่าเสียดายที่กลับยึดถือกันว่าเป็นความถูกต้อง
เมื่อถูกถามถึงคุณสมบัติของเขาในการเป็นผู้นําศาสนา เขากล่าวว่าเขาจบปริญญาเอกอิสลามศึกษาจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด ไม่เหมือนคนที่ต่อต้านเขาที่เรียนตามวิทยาลัยสอนลา ในปากีสถานหรือซาอุดิอาระเบีย

เรียบเรียงโดยมุสลิมไทยโพสต์





วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

เป้าหมายการยึดครองของชีอะฮ์รอฟีเฎาะฮ์คือ มักกะฮ์และมะดีนะฮ์



การเผยแพร่ของลัทธิชีิอะฮ์รอฟีเฎาะฮ์จะยังคงเป็นภัยคกคามต่อเนื่อง เป้าหมายของพกเขาไม่ยกเว้นประเทศหรือดินแดนใดๆ ของชุมชนมุสลิมทั่วทุกแห่ง โดยเฉพาะอาณาจักแห่งนครศักดิ์สิทธิ์ทั้งสองคือมักกะฺฮ์และมะดีนะฮ์ ศึ่งอุดมด้วยทรัยพยกรและสถานที่สำคัญทางศาสนามากมาย นี้คือเป้าหมายของพวกรอฟีเฎาะฮ์

เรามาดูคำแถลงการณ์ของบรรดาผู้นำศาสนาชีอะฮ์ที่ได้เปิดโปงจุดมุ่งหมายนี้อย่างชัดเจน


ผู้นำคนหนึ่งในเตหะราน เจ้าของหนังสือ "อัล-อิสลามอะลา เฎาอ์-อัต-ตะชัยยุอฺ" ได้กล่าวว่า
"แท้จริงชีอะฮ์ทุกคนบนแผ่นดินนี้ ต่างก้หวังว่าจะได้พิชิตและปลดปล่อยมักกะฮ์และมะดีนะฮ์ และได้ขจัดการปกครองของพวกวะฮะบีย์ที่สกปรกให้พ้นออกไป"

ผู้นำศาสนาของชีอะฮ์เปอรืเซียคนหนึ่งได้กล่าวว่า
"โอ้ พี่น้องทั้งหลายของฉัน ทั้งที่อยู่ในดินแดนตะวันออกและตะวันตก ฉันขอพุดให้ชัดแก่ทุกท่านว่า ดินแดนมักกะฮฺนั้นคือสถานศักดิ์สิทธิ์ของอัลลอฮฺ ที่ถูกยึดโดยคนกลุ่มหนึ่งซึ่งชั่วช้ากว่าพวกยิวเสียอีก"

สมาชิกคนหนึ่งของกลุ่มอัล-วิฟาก ในบาห์เรนได้กล่าวว่า
"บรรดาเชคและอุละมาอ์ชาวซุนนี รวมถึงอิมามมัสยิดหะรอมทั้หงหมดเป็นนะวาศิบ(พวกนอกศาสนา) การละหมาดของพวกท่าน(ชาวชีอะฮฺ) ในมัสยิดหะรอมถือว่าเป็นการละหมาดตามหลังคนนอกศาสนา"

ร็อซันญานี อดีตประธานาธิบดีแห่งอิหร่านก็ได้เคยให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ฉับหนึ่งในปี 1987 ว่า
"แท้จริง สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน มีความพร้อมเสมอที่จะทำสงครามเพื่อปลดปล่อยมักกะฮ์"



หั๊จญฺ ที่พิเศษ เหนือกว่าพันพันหั๊จญฺ




ณ สนามบินญิดดะฮฺ คณะหั๊จญฺชาวอียิปต์หลายคณะกำลังรอเครื่องเพื่อบินกลับประเทศหลังเสร็จพิธีหั๊จญฺแล้ว ตรงนั้นผู้รับเหมาก่อสร้างกำลังนั่งคุยกับเจ้าหน้าที่กายภาพบำบัดเรื่องการทำหั๊จญฺ

ผู้รับเหมา – ทุกครั้งที่ผมได้กำไรก้อนใหญ่จากการรับเหมาก่อสร้าง ผมจะเดินทางมาทำหั๊จญฺเสมอ นี่เป็นครั้งที่สิบแล้วที่ผมมาทำหั๊จญฺ แล้วคุณล่ะทำอะไร และมาทำหั๊จญฺกี่ครั้งแล้ว

เจ้าหน้าที่กายภาพบำบัด – ตั้งแต่ผมจบมาทางกายภาพบำบัดและเริ่มทำงานเป็นนักกายภาพบำบัดเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ผมตั้งใจและเริ่มเก็บเงินเพื่อมาทำหั๊จญฺ จนปีนี้ผมเก็บเงินพอที่จะมาทำหั๊จญฺได้ ผมไม่รีรอเลยที่จะไปบริษัทบริการเรื่องหั๊จญฺ วันที่ผมจะนำเงินที่เก็บมาตลอด 30 ปีไปจ่ายแก่บริษัท วันนั้นแม่ของผู้ป่วยของผมคนหนึ่งเดินมาทักผมด้วยสีหน้าเศร้าว่า “วันนี้คงเป็นวันสุดท้ายแล้ว ที่ฉันจะพาลูกชายมารักษาทำกายภาพบำบัดกับคุณ พ่อเขาตกงาน เราไม่มีเงินค่ารักษาเขาอีกแล้ว” ผมฟังเช่นนั้น ผมบอกนางว่า “เด๋วผมจะไปขอให้ทางโรงพยาบาลรับลูกคุณเป็นคนไข้อนาถา” ผมรีบไปพบท่านผู้อำนวยการ แต่ได้รับการปฏิเสธ ผมตื้ออย่างไร ท่านก็ไม่ตอบรับ ท่านบอกว่า “ทางโรงพยาบาลของเราไม่มีนโยบายเรื่องนี้เลย” ผมสงสารนางและลูกชายของนางมาก ผมเดินออกมาจากห้องผอ.ด้วยความผิดหวัง ผมครุ่นคิดว่า จะช่วยนางและลูกอย่างไร เพราะลูกของนาง หากได้รับการกายภาพอีกไม่กี่เดือนก็น่าจะหายเป็นปกติ ด้วยความสงสารนางและลูก ผมจึงตัดสินใจนำเงินที่เก็บมา 30 ปีไปจ่ายเป็นค่ารักษาให้ลูกของนางล่วงหน้าหกเดือน แล้วผมกลับมาบอกนางว่า “ผมติดต่อให้คุณเรียบร้อยแล้วนะ คุณสามารถพาลูกชายมารักษาได้อีกหกเดือน โดยไม่ต้องเสียค่ารักษาแต่อย่างใด” นางดีใจมากๆ นางดุอาให้ผมอย่างมากมายด้วยความปีติยินดี

ผู้รับเหมา – แล้วคุณเอาเงินที่ไหนมาทำหั๊จญฺละครับ
เจ้าหน้าที่กายภาพบำบัด – วันนั้นผมเดิมกลับบ้านพร้อมน้ำตา รู้สึกผิดต่ออัลลอฮฺที่เสมือนว่าตัวเองผิดสัญญาต่อพระองค์ว่า จะไปทำหั๊จญฺที่บ้านของพระองค์ปีนี้ ผมกลับถึงบ้านคิดแต่เรื่องหั๊จญฺจนผมเผลอหลับไป คืนนั้นผมฝันว่า “มีคนเรียกผมว่า คุณหัจญีสะอี๊ด คุณได้หั๊จญฺที่ดีงามแล้ว คุณได้ทำหั๊จญฺบนฟากฟ้าก่อนที่คุณจะได้ทำหั๊จญฺบนพื้นดิน” ผมตกใจตื่น ผมรู้ตัวว่า ตัวเองคงหมดโอกาสไปทำหั๊จญฺแล้ว แต่ผมก็ดีใจนะ ที่ในฝันมีคนเรียกผมว่า หัจญีสะอี๊ด เช้าวันนั้นมีเสียงโทรศัพท์จากท่านผอ. ท่านบอกผมว่า หุ้นส่วนใหญ่ของโรงพยาบาลจะไปทำหั๊จญฺ แต่เขาต้องมีเจ้าหน้าที่กายภาพบำบัดไปด้วย คุณไปกับเขานะ ผมไม่รีรอเลยที่จะตอบตกลงท่านไป ขณะทำหั๊จญฺผมดูแลเขาอย่างดี จนเขาชื่นชมผมมาก ให้เงินผมมาส่วนหนึ่ง ผมจึงเล่าเรื่องของผมให้เขาฟัง เขาจึงตัดสินใจตั้งกองทุนอนาถาแก่ผู้ป่วยที่ยากจน และรับบุตรชายของสตรีคนนั้นเป็นคนไข้พิเศษ โดยเขาเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด และยิ่งกว่านั้นเขารับสามีของสตรีคนนั้นเป็นพนักงานในบริษัทของเขาอีกด้วย

ผู้รับเหมา – จึงลุกขึ้นมาหอมหน้าผากของเจ้าหน้าที่กายภาพบำบัดอย่างให้เกียรติ พร้อมบอกเขาว่า “ผมทำหั๊จญฺติดต่อกันมาสิบปี ผมเคยคิดว่า หั๊จญฺของผมคือสิ่งที่ยิ่งใหญ่สำหรับตัวเองมากๆ แต่วันนี้ ผมรู้สึกละอายต่อคุณมาก หั๊จญฺของคุณครั้งเดียวดีกว่าพันพันหั๊จญฺของผมเสียอีก ผมเดินทางไปบ้านของอัลลอฮฺ แต่สำหรับคุณ อัลลอฮฺทรงเชิญคุณไปที่บ้านของพระองค์”

...” หั๊จญฺ อิบาดะฮฺสำคัญยิ่งสำหรับผู้มีความสามารถทุกคน ความทุ่มเทอย่างมุ่งมั่น ความบริสุทธิ์ใจในการบำเพ็ญหั๊จญฺ และการควบคุมกายใจให้มุ่งสู่พระองค์อย่างแท้จริง คือสิ่งวัดคุณค่าของมัน มิใช่จำนวนครั้งแต่อย่างใดเลย “....


...........................
Abdulloh Nhoorag







นี่คืือ.....ผู้กล้าหาญ



มีกลอนของเด็กอยู่บทหนึ่งเรื่องพูดจริง ดังนี้

"อัลลอฮฺทรงรู้ เมื่อหนูทำผิด
จงอย่างปกปิด บอกแม้ความจริง"
(จากหนังสือ เด็กดีของอัลลอฮฺ)

ไม่ใช่พูดจริงเฉพาะเมื่อทำผิด แต่ควรพูดจริงทุกโอกาส คำว่า จริง มีความหมายว่า รู้จริง เห็นจริง เห็นจริงในเหตุการณ์ต่างๆ รู้อย่างไรก็พูดอย่างนั้น เห็นอย่างไรก็พูดอย่างนั้น ต้องไม่หลอกลวง ไม่พูดเสริมเติมต่อความ

การพูดต่อเติมเป็นเรื่องยาก การพูดจริงเป็นเรื่องง่าย ไม่ลำบากใจ จิตใจก็สบาย เป็นประโยชน์ต่อตนเองและคนอื่นด้วย มีผู้มอบความไว้วางใจ มีคนรักนับถือในคำพูด อยากจะคบหาสมาคมด้วย

"จงพูดจริงแม้มันจะขม" (รายงานโดย อะหมัด)

การพูดจริงบางทีมันขมขื่น ต้องข่มใจตนเองมาก เพราะว่าความจริงไม่ปรากฏวันนี้ ต่อไปต้องรู้เห็นไปปรากฏวันหลัง การพุูดจริงเป็นความดีในโลกนี้ ในวันโลกหน้าก็จะเป็นขาวสวรรค์

การพูดจริงต้องฝึกให้เป็นนิสัยตั้งแต่เด็ก ๆ ผู้ใหญ่ พ่อแม่ ก็ต้องทำให้ดูเป็นตัวอย่าง ผู้ใหญ่ต้องรักษาคำพูดและการกระทำ ไม่ปิดบังซ่อนเร้นหลอกลวงเด็ก เมื่อสัญญาว่าจะให้ทำอะไร หรือทำอะไรกับเด็กก็ต้องทำตามที่พูด เด็กก็จะไม่พูดเท็จ นอกจากผู้ใหญ่จะทำเป็นตัวอย่าง แม้ว่าตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม เมื่อเด็กทำสิ่งใดผิดก็ให้เขาพูดจริง

การเป็นพยานให้การไปตามความจริงเป็นสิ่งยากมาก เช่น เป็นพยานในการพิพาทระหว่างกัน เพราะว่าต่างคนก็ต้องการชนะด้วยกันทั้งสองฝ่าย

"แท้จริงอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงรู้สิ่งที่อยู่ในหัวอกทั้งหลาย" ซูเราะห์อาลิอิมรอน อายะฮห์ที่ 119

จะขอเล่าเรื่องชาวถ้ำในซูเราะห์อัลกะฟี ซึ่งพวกเขาเป็นที่พอพระทัยของอัลลอฮฺฺ (ซ.บ.) มีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน

มีเด็กหนุ่มกลุ่มหนึ่งที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ (ซ.บ.) กล้าพูดความจริงต่อหน้าพระราชาที่อธรรม เป็นเรื่องของชาวถ้่ำ คือเป็นเรื่องราวชองชายหนุ่มกลุ่มหนึ่งที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ (ซ.บ.) และะพระองค์ก็ทรงให้แนวทางและหัวใจที่เข้มแข็งแก่เขา โดยยืนพูดต่อหน้าพระราชาที่อธรรม ที่จะบังคับให้เขายึดถือพระเจ้าอืน ในซูเราะห์อัลกะฮ์ฟี อายะห์ที่ 14 มีกล่าวไว้ว่า

"และเราได้ให้ความเข้มแข็งแก่หัวใจของพวกเขาขณะที่พวกเขายืนขึ้นประกาศว่า "พระเจ้าของเราคือพระเจ้าแห่งชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน เราจะไม่วิงวอนพระเจ้าอื่นจากพระองค์ มิเช่นนั้นเราก็กล่าวเกิินความจริงอย่างแน่นอน"

เป็นคำกล่าวของเด็กหนุ่มกลุ่มหนึ่งหลังจากพูดความจริงต่อหน้าพระราชาแล้ว เด็กหนุ่มกลุ่มนี้กับสุนัขของเขาก็หลบนี้ไปอยู่ในถ้ำ อัลลอฮฺ (ซ.บ.) จึงให้เขานอนหลับไป 309 ไปแล้วก็ฟื้นขึ้นมา สุนัขที่ไปด้วยเน่าเปื่อยเป็นผุยผง เขาไม่ทราบว่าเขาหลับไปนาน คิดว่าหลับไปเพียงบางส่วนของวันเท่านั้น

อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงยกย่องความเข้มแข็งการพูดจริงของเขาเรื่องนี้อยู่ในซูเราะห์อัลกะฮ์ฟี

การพูดจริงก็ต้องดูโอกาส ดูเวลา ดูบุคคล ดูสถานที่ บางกรณี เช่น เด็กหนุ่มชาวถ้ำนี่้พระราชาถาม เขาก็พูดตามความจริงเพราะว่าต้องพูด ไม่เช่นนั้นจะถูกบังคับให้เสียการอีมาน เสียการศรัทธา แม้ว่าพระราชาพิโรธ โกรธกริ่้ว เขาก็ต้องพูด

แต่บางเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องสำคัญ คือ เรื่องศาสนา เราก็ไม่จำเป็นต้องพูด จะเลี่ยงไปสนทนาเรื่องอื่นก็ได้

เช่น มีคนถามว่า "เสื้อที่ฉันใส่สวยไหม ?" ถ้าไม่สวยไม่เหมาะสมก๋็อาจจะพูดว่า "สีดีนะ" และสีก็ดีจริง ๆ คนฟังก็พอทราบไปเอง ไม่ต้องไปบอกว่า "ไม่สวยน ไม่สวยเลย"

เพื่ือนของเรา เรามองดูว่าเขาแก่มากแล้ว พอเจอกันก็ไม่ต้องไปพูดว่า "แหม เธอดูแก่ไปมากนะ" เป็นการพูดจริงที่ไม่เกิดประโยชน์เลย มีแต่โทษ ท่านนบีมุฮัมมัด (ซ.ล.) กล่าวว่า "ใครก็ตามศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และรอซุลขงพูดแต่สิื่งดี ๆ มิฉะนั้นก็จงนิ่งเสีย" (บันทึกโดยบุคอรีและมุสลิิม)

มีนิทานเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องจริง เป็นเกร็ดความรู้ ประวัติศาสตร์ เรื่องจริงที่เป็นข้อคิด ท่านเชคอับดุลกอเดร อัลญีลานี ได้เล่าว่า วันที่ข้าพเจ้าจะเดินทางจากนครมักกะห์ไปสู่นครแบกแดดเพื่อศึกษาหาวิชาความรู้นั้น มารดาของข้าพเจ้าได้มอบเงินให้ 40 ดินาร

ท่านได้ขอคำมั่นสัญญาจกาพข้าพเจ้าอย่างหนึ่งก็คือไมให้พูดปดโดยไม่มีข้อแม้เลย กล่าวคือ แม้ข้าพเจ้าจะตกอยู่ในสถานะเช่นใดก็จะต้องพูดแต่ความจริงอย่างเดียวเท่านั้น

พอเดินทางเข้าเขตเมืองฮัมดาน ข้าพเจ้าก็ได้พบโจรผู้ร้ายพวกหนึ่งบังคับให้ข้าพเจ้าหยุด แล้วหัวหน้าก็ถามว่า

"ท่านมีเงินติดตัวมาเท่าไร"

ข้าพเจ้าก็ตอบว่า "มี 40 ดีนารเท่านั้นละ"

ชะรอยพวกโจรคงจะสังเกตเห็นเครื่องแต่งกายของข้าพเจ้าขะมุุกขะมอม จึงไม่ยอมเชื่อว่าเชื่อว่าข้าพเจ้ามีเงินตามที่บอกไปจริง พวกมันก็พากันเดินเลยไป

เดินต่ออีกสักครู่ก็ไปพบโจรอีกพวกหนึ่ง คราวนี้ข้าพเจ้าก็ถูกจับตัว ถูกนำไปหานายโจร หัวหน้าโจรถามว่า

"ท่านมีเงินเท่าไรล่ะ"

ข้าพเจ้าก็บอกตามตรงอีกว่า "40 ดินารเท่านั้นล่ะ"

เมื่อได้ฟังคำตอบโจรก็นิ่งอึ้งไปสักครู่แล้วก็ถามว่า " เอ ! เหตุใดท่านจึงกล้าบอกความจริงอย่างนี้ ท่านไม่กลัวเราแย่งเอาเงินไปหมดหรือ ?"

ข้าพเจ้าก็ตอบว่า "ข้าพเจ้าพูดปดไม่เป้นหรอหฃก พูดไม่ได้ พูดได้แต่ความจริงอย่างเดียว เพราะว่าเมื่อวัยที่จะออกจากบ้าน มารดาของข้าพเจ้าก็ได้สั่งนักสั่งหนาไม่ให้พูดปด ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะอย่างไร ข้าพเจ้าไม่สามารถที่จะละเมิดคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้กับมารดาได้"

ฝ่ายหัวหน้าโจรเมื่อได้ฟังคำตอบก็มีสีหน้าสลดลงไปทันทีแล้วก็ร้องด้วยเสียงอันดัง มือก็กระชากเสื้อของตนฉีกขาดจนหมดดูว่าเหมือนครวิกลจริต แล้วก็หันมาพูดกับข้าพเจ้าว่า

"ท่านไม่ละเมิดคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้แก่มารดาของท่าน ส่วนฉันสิ เป็นคนเลวที่สุดที่ประพฤติตัวเป็นโจรผู้ร้าย ซึ่งเป็นการละเมิดคำสั่งของพระผู้อภิบาลอย่างร้ายแรงที่สุด"

แล้วเขาก็หันไปสั่งลูกน้องของเขาให้นำทรัพย์สมบัติที่ได้ชิงวิ่งราวมาคืนให้แก่เจ้าของทั้งหมด คืนไปเท่าที่จะคืนได้ พร้อมกับเขาประกาศตัวต่อหน้าลูกน้องของเขาว่า

"ตั้งแต่นี้ต่อไป เราจะกลับเนื้อกลับตัวเป็นพลเมืองดีประกอบสัมมาอาชีพ เลิกประกอบอาชญากรรมอย่างเด็ดขาด"

ฝ่ายลูกสมุนโจรเมื่อเห็นพฤติกรรมเช่นนั้นก็พากันพูดขึ้นพร้อม ๆ กันว่า

"เออ แต่ก่อนนี้ ท่านเป็นผู้นำพวกเราทำการฉกชิงวิ่งราว มาบัดนี้ท่านก็นำพวกเราให้กลับตัวเป็นพลเมืองดีอีก"

ว่าแล้วก็พากันปฏิญาณตัวว่าจะเลิกประกอบอาชญากรรมอย่างเด็ดขาด นี่ก็เป็นผลของการพูดจริง

พูดจริงเป็นเรื่องง่าย พูดเท็จเป็นเรื่องยาก ทั้งก่อนและหลังลำบากทั้งโลกนี้และโลกหน้าทีเดียว เรามาพูดจริงกันเถอะ


...................................
(จากหนังสือ : ของขวัญจากคุณยาย)
ซัยหนับ เพชรทองคำ : เขียน
อดทน เพื่อชัยชนะ โพสต์






อิสลาม คือ ศาสนาของอัลลอฮฺ


อิสลาม คือ ศาสนาของอัลลอฮฺผู้ทรงเอกะ พระองค์จะไม่ทรงรับศาสนาอื่นจากบ่าวของพระองค์ ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือญิน พระองค์ตรัสว่า

﴿ وَمَن يَبۡتَغِ غَيۡرَ ٱلۡإِسۡلَٰمِ دِينٗا فَلَن يُقۡبَلَ مِنۡهُ﴾ [آل عمران: ٨٥]

ความว่า “และผู้ใดแสวงหาศาสนาหนึ่งศาสนาใดอื่นจากอิสลามแล้ว ศาสนานั้นก็จะไม่ถูกรับจากเขาเป็นอันขาด” (อาล อิมรอน 85)

﴿ إِنَّ ٱلدِّينَ عِندَ ٱللَّهِ ٱلۡإِسۡلَٰمُۗ ﴾ [آل عمران: ١٩]

ความว่า “แท้จริง ศาสนา ณ อัลลอฮฺนั้นคืออิสลาม” (อาล
อิมรอน 19)



แบบอย่าง....ความอดทน



คุณยายขอนำเกร็ดความรู้ประวัติศาสตร์เรื่องจริงที่เป็นข้อคิดจาก ม. ซอลิฮี ดังนี้้ ท่านนบีอัยยูบ เป็นนบีท่านหนึ่งในบรรดานบีที่ปรากฏนามในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน นักประวติศาสตร์ส่วนมากบอกว่าเป็นเชื้อสายของท่านนบีอิสหากและท่านนบียะอ์กูบ (อะลัยฮิสลาม)

ท่านนบีอัยยุูบเป็นท่านนบีที่ร่ำรวยที่สุดท่านหนึ่ง มีที่ดินเรือกสวนไร่นามหาศาล อุดมสมบูรณ์ไปด้วยลูกหลาน ญาติมิตร มีทรัพย์สินและสัตว์เลี้ยงนานาชนิิดมากมาย

แต่ท่านไม่ใช่เศรษฐีชนิดงกทรัพย์ หรือหลงลืมพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงประทานความกว้างขวางให้แก่ท่าน

กล่าวคือ ท ่านนบีอันยูบได้บริจาคทรัพย์สิินอย่างไม่กลัวหมดออกช่วยเหลือเกื้อกูลคนอนาถา เลี้ยงดูคนยากจน อุปการะหญิงหม้าย อุปถ้มภ์เด็กกำพร้า ส่งเสียผู้พลัดถิ่น และยังต้อนรับให้เกียรติแก่แขกผู้มาเยือนเป็นนิจ

ท่านนบีอัยยูบเป็นผู้เคร่งครัดในการเคารพสักการะมาก จงรักภักดีในการปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) อย่างยิ่ง

แต่แล้ว อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ก็ได้ทรงทดสอบน้ำใจและความเลื่อมใสศรัทธาของท่านนบีอัยยูบอย่างขนาดหนักที่สุด

ด้วยการให้ยากจน ตลอดจนสูญเสียลูกหลานญาติมิตร ตัวเองก็ล้มป่วยอย่างหนัก เหลือแต่ภรรยาคนเดียวที่เฝ้าปรนนิบัติรักษาพยาบาลอยู่เป็นประจำ

แม้ความมั่งคั่งความสมบูรณ์พูนสุขจะได้หลุดลอยไปแล้วทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ความเข้มแข็งแห่งจิตใจ ความเลื่อมมใสศรัทธาต่อพระผู้เป็นเจ้าก็หาได้เสื่อมคลายหรือลดน้อยตามลงไปด้วย

ท่านยังคงจงรักภักดี เคารพสักการะพระผู้เป็นเจ้าเข้มแข็งยิ่งขึ้นโดยยึดมั่นอยู่ในพระมหากรุณาปรานีของพระองค์เป็นนิจ

เสมือนหนึ่งความมั่งมีหรือความยากจนมิได้มีอำนาจเหนือจิตใจของท่านเลย ความสมบูรณ์พูนสุข หรือความยากจน ความทุกข์ยากลำบากไม่ได้มีผลกระทบต่อความรู้สึกของท่านนบีอัยยูบเลยแม้แต่น้อย

ตลอดระยะเวลา 7 ปี ที่่ท่านนบีอัยยูบป่วยหนัก ที่ท่านนบีอัยยูบป่วยหนัก ยอดภรรยาผู้ซื่อสัตย์ของท่านไม่ได้ออกห่างเลย พยายามปรนนิบัติรักษาพยาบาลด้วยจิตใจจงรักภักดี โดยมิได้รังเกียจหรือเบื่อหน่าย

นางมีจิตใจมั่นคงหนักแน่น ไม่คำนึงถึงความผันผวนของชะตาชีวิต คือไม่ยินดียินร้ายในความมั่งมีหรือความยากจน

นางตระหนักแน่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า ที่ไม่มีอำนาจใดจะเปลี่ยนแปลงและขัดขืนได้

ผลแห่งความอดทน ความมีน้ำใจหนักแน่นมั่นคงอยู่ในพระมหากรุณาธิคุณเมตตาของพระผู้เป็นเจ้า และผลแห่งการยอมรับความผันแปรแห่งชะตาชีวิตที่พระผู้เป็นเจ้าได้กำหนดมาด้วยความยินดี ตลอดจนคุณงามความดีที่ประกอบไว้แตหนหลัง

การป่วยไข้ของท่านนบีอัยยูบก็ได้ทุเลาเบาบางลงเป็นลำดับจนกระทั่งหายเป็นปกติ ร่างกายมีกำลังวังชาแข็งแรงขึ้น ความยากจน ความทุกข์ยากลำบาก ความอดอยากก็ค่อย ๆ จางหายไป

บรรยากาศความมืดมนเข้มข้นแห่งชีวิตกลับสดใสสว่างไสวขึ้น จนในที่สุดท่านนบีอัยยูบกับภรรยาก็กลับคืนสู่ภาวะอันมั่งคั่งสมบูรณ์พูนสุขเช่นเดิมทุกประการ

ด้วยพระมหากรุณาธิคุณจากพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงสุดเพียงพระองค์เดียว

จากเรื่องนี้เราได้บทเรียนยอดเยี่ยม 2 ประการ คือ

ประการที่ 1 ความร่ำรวยหรือความยากจนก็ดี เป็นภาระที่ไม่คงที่ วันนี้อาจกองอยู่ที่นี่ พรุ่งนี้อาจไปกองอยู่ที่อื่นก็ได้

ดังนั้นเมื่อชะตาชีวิตของเราหมุนมาสู่จังหวะสมบูรณ์พูนสุข เราควรสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของผู้ประสิทธิ์ประสาทให้มาก ด้วยการใช้จ่ายทรัพย์สินไปในทางที่ดี เฉลี่ยความสุขสบายไปยังบรรดาข้าของพระองค์ อันตกอยู่ในสภาพรอคอยความช่วยเหลือตามสมควร

ตรงกันข้ามเมื่ือชะตาชีวิตหมุนมาอยู่ในจังหวะมืดมน เราก็ควรก้มหน้ารับด้วยความยินดี พยายามสำรวจตัวเองว่ามีความเสื่อเสียอะไรอยู่บ้าง ยึดความอดทนเป็นหลัก มั่นในพระมหากรุณาธิคุณของพระผู้เป็นเจ้า ตั้งหน้าตั้งตาแสวงหาความโปรดปรานจากพระองค์อย่างเต็มกำลังความสามารถ ตามวิถีทางที่พระองค์โปรดปราน พยายามระมัดระวังไม่ให้ชีวิตจิตใจตกเป็นทาสอำนาจใฝ่ต่ำ ฉุดกระชากตัวเราไปสู่ทางแห่งหายนะ

ประการที่ 2 ภรรยาที่ดีตามแบบฉบับของอิสลาม คือภรรยาที่ยินดีร่วมหัวจมท้ายกับสามีในทุกจังหวะของชีวิิต ยอมเสียสละทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อสามี ไม่เห็นแก่ความสุขส่วนตน

จงรักภักดีอยู่ในโอวาทของสามี ไม่ดึงดันในสิ่งที่ผิด ไม่ก่อความเจ็บช้ำน้ำใจให้แก่สามี พยายามหาทางเพิ่มพูนความรื่นรมย์ ความสุขสงบในครอบครัวให้ทวียิ่ง ๆ ขึ้น ต้องเป็นภรรยาที่ดี เป็นแม่ที่ดี เป็นแบบอย่างที่ดีในครอบครัว

เมื่อจะเดินทางไกลเรายังต้องตะเตรียมเครื่องใช้และเสบียงอาหารไปให้พรักพร้อมเพื่อความสะดวก ใกล้จะถึงกำหนดที่เราจะต้องเดินทางไปยังดินแดนที่เราไม่มีโอกาสที่จะไปหาอะไรจากที่นั่นได้เลยแม้แต่น้อย ท่านได้ตระเตรียมอะไรไว้บ้างหรือยัง


.......................................
(จากหนังสือ : ของขวัญจากคุณยาย)
ซัยหนับ เพชรทองคำ : เขียน
อดทน เพื่อชัยชนะ โพสต์






คน.....แบบไหน



คุณยายได้ฟังคุฏบะฮฺวันศุกร์ของมัสยิดดารุลอิหฺซาน เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องมุสลิม จึงนำมาสรุปใฟ้ฟังดังนี้

หะดีษนี้ยาวมาก คุณยายไม่ได้นำมาไว้ในเล่มนี้ เป็นหะดีษของท่านนบีมุฮัมมัด (ซ.ล.) ที่อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงส่งท่านมาเผยแผ่ทางนำแก่มนุษยชาติ

เปรียบเหมือนอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงเมตตามให้ฝนโปรยปรายลงมายังพื้นดิน ดินบางแห่งรับน้ำฝนได้ดี บางแห่งก็รับได้น้อย บางแห่งแม้ว่าฝนจะตกหนักมากก็รับน้ำไม่ได้เพราะเป็นดินที่แน่นแข็ง เปรียบได้กับมนุษย์นั้นมีหลายประเภท พระองค์โปรดปรานให้เขาเป็นมุสลิม

**ประเภทที่ 1 คือคนที่อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงเมตตาให้เขาได้เรียนรู้มาก เข้าใจได้ดีต่อความโปรดปรานของพระองค์ เขาก็ปฏิบัติตามทุกอย่างที่เขาได้เรียนรู้ และแนะนำสั่งสอนผู้อื่นให้ปฏิบัติตามด้วย

คนประเภทนี้จึงได้รับผลบุญมาก เป็นที่โปรดปรานของอัลลอฮฺฺ (ซ.บ.) เหมือนฝนที่โปรยปรายลงมาบนพื้นดินที่ดี ทำความชุมชื้นให้แก่พื้นอินแล้ว พืชผักต้นไม้ใหญ่น้อยต่างก็งอกงาม เป็นประโยชน์กับคนและสัตว์ทั่วไป

**ประเภทที่ 2 คนที่อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงเมตตาให้ทางนำแก่เขาให้เขาได้เรียนรู้มาก เข้าใจดี สอนผู้อื่นมากแต่ว่าตัวเองไม่ปฏิบัติตามที่สอนไม่ปฏิบัติตามที่เรียนรู้

เปรียบเสมือนลาที่แบกของหนักไว้บนหลัง ไม่ได้รับประโยชนฺ์ใด ๆ นอกจากความหนัก

และเปรียบเสมือนดวงเทียนที่จุดให้แสงสว่างแก่คนทั่วไปให้ความสว่างแก่ผู้อื่น แต่ว่าตัวเองนั้นมอดไหม้จนดำอยู่ในแสงที่ให้คนอื่ืนแต่่ตัวเองไม่ทำ

**ประเภทที่ 3 คนที่อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงเมตตาให้ทางนำแก่เขา แต่เขาไม่ได้รับสิ่งดี เปรียบเสมือนคนเป็นใบ้ หูหนวก ตาบอด ไม่ฟังเหตุผล ไม่คิดพิจารณา ไม่เรียนรู้ ทำเป็นไม่ได้ยิน

สรุปบุคคลแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ

ประเภทที่ 1 เรียนรู้แล้วนำไปปฏิบัติ แล้วสอนผู้อื่นต่อด้วย

ประเภทที่ 2 เรียนรู้แล้วนำไปสอนผู้อื่น แต่ตัวเองไม่ปฏิบัติ

ประเภทที่ 3 ไม่เรียนรู้ ไม่รับฟัง ทำเป็นไม่ได้ยิน ไม่ทำประโยชน์ให้แก่ตนเองและผุ้อื่น

ขออัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงให้พวกเราตลอดจนพี่่น้องมุสลิมทั่วโลกเป็นบุคคลประเภทที่ 1 คือ เรียนรู้ นำไปปฏิบัติและสอนผุ้อื่นด้วย เพื่อสังคมจะได้รุ่้งเรืองต่อไป


...............................................
(จากหนังสือ : ของขวัญจากคุณยาย)
ซัยหนับ เพชรทองคำ : เขียน
อดทน เพื่อชัยชนะ โพสต์





ศาสนาที่ถูกนำเอามายึดถือปฏิบัติ


ศาสนาจะต้องไม่ถูกนำเอามายึดถือปฏิบัตินอกเสียจากต้องผ่านวะห์ยูจากอัลกุรอานและสุนนะฮฺเท่านั้น

﴿هُوَ ٱلَّذِي بَعَثَ فِي ٱلۡأُمِّيِّ‍ۧنَ رَسُولٗا مِّنۡهُمۡ يَتۡلُواْ عَلَيۡهِمۡ ءَايَٰتِهِۦ وَيُزَكِّيهِمۡ وَيُعَلِّمُهُمُ ٱلۡكِتَٰبَ وَٱلۡحِكۡمَةَ﴾ [الجمعة: ٢]

ความว่า “พระองค์ทรงเป็นผู้แต่งตั้งในหมู่ผู้ไม่รู้หนังสือซึ่งศาสนทูต(เราะสูล)ขึ้นมาคนหนึ่งจากพวกเขาเอง เพื่อให้เขาอ่านโองการต่างๆ ของพระองค์แก่พวกเขา และเพื่อให้เขาขัดเกลาจิตใจคนเหล่านั้นให้บริสุทธิ์ และให้เขาสอนคัมภีร์และให้ความรู้แก่พวกเขา” (อัล-ญุมุอะฮฺ 2)

ความรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับศาสนาที่เอามาจากสิ่งอื่นนอกจากอัลกุรอานแลอ ะสุนนะฮฺถือว่าเป็นความโง่เขลา และความเข้าใจที่ถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับวะห์ยู คือความเข้าใจของบรรดาเศาะหาบะฮฺ




วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

ลายนิ้วมือ สัญญาณการสร้างหนึ่งของอัลลอฮ์


ชายคนหนึ่งมาหาท่านศาสดา(ศ.) พร้อมกับกระดูกของผู้ตาย และถามท่านว่า "โอ้มุฮัมมัด ท่านกล่าวว่า อัลลอฮ์จะทำให้ฉันกลับมามีชีวิตหลังจากที่ฉันได้กลายเป็นกระดูกแบบนี้กระนั้นหรือ?"

ดังนั้น อัลลอฮ์(ซ.บ.) จึงตอบด้วยโองการนี้

"แน่นอนทีเดียว เราสามารถที่จะทำให้ปลายนิ้วมือของเขาอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์" (อัลกุรอาน 75: 4)

การกล่าวเน้นถึงลายนิ้วมือมีความหมายเป็นพิเศษอย่างยิ่ง นั่นเป็นเพราะว่าลายนิ้วมือของแต่ละคนมีลักษณะเฉพาะของตัวเอง ทุกคนที่มีชีวิตหรือที่เคยมีชีวิตอยู่บนโลกนี้ มีลายนิ้วมือหนึ่งชุดที่พิเศษไม่เหมือนใคร จึงทำให้ลายนิ้วมือเป็นที่ยอมรับว่าเป็นเครื่องบ่งชี้อัตลักษณ์ของบุคคลที่สำคัญมาก และมันถูกใช้เพื่อจุดประสงค์นี้ทั่วโลก

ข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์

- ลายนิ้วมือเกิดเป็นรูปร่างขึ้นในตัวอ่อนที่มีอายุสี่เดือน และจะคงอยู่อย่างชัดเจนเช่นนั้นไปตลอดชีวิตของเขา

- ลายนิ้วมือเป็นร่องรอยโค้งที่เกิดจากการเชื่อมต่อกันระหว่างหนังกำพร้ากับหนังแท้ใต้ผิวหนัง

- ร่องรอยโค้งเหล่านี้แตกต่างไปในแต่ละคน และมันไม่เคยเหมือนหรือตรงกันเลยสักคน

- ลายนิ้วมือได้กลายมาเป็นวิธีระบุอัตลักษณ์บุคคลได้ดีที่สุด ในปี 858 นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ วิลเลียม เฮอร์เชล ระบุว่า ลายนิ้วมือแยกความแตกต่างของแต่ละบุคคลได้ ดังนั้นจึงทำให้ลายนิ้วมือเป็นหลักฐานที่แสดงความโดดเด่นของแต่ละบุคคล

"ข้าสาบานต่อวันกิยามะฮฺ และข้าขอสาบานต่อชีวิตที่ประณามตนเอง มนุษย์คิดว่า เราจะไม่รวบรวมกระดูกของเขากระนั้นหรือ แน่นอนทีเดียวเราสามารถที่จะทำให้ปลายนิ้วมือของเขาอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์" (กุรอาน 75 : 1-4)

บรรดาแพทย์ที่ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับกายวิภาคอย่างกว้างขวางกับมนุษย์จำนวนมากแตกต่างกันหลายเชื้อชาติและต่างวัย และพวกเขาได้พบกับข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ที่พวกเขาต้องก้มหน้ายอมรับ และเป็นพยานว่าไม่มีใครที่จะสามารถทำให้ลายนิ้วมือของมนุษย์ทั่วจักรวาลนี้เหมือนกันได้แม้แต่ระหว่างคนสองคน เป็นที่สังเกตว่าโองการนี้ยังได้กล่าวถึงการสร้างปลายนิ้วมือขึ้นใหม่ทั้งหมดไม่ใช่เพียงนิ้วเดียว คำลายปลายนิ้วมือหมายถึงนิ้วมือทั้งหมด ดังนั้นการทำให้มันเป็นรูปร่างขึ้นมาใหม่อีกครั้งหลังจากถูกนำตัวมารวมกันในวันแห่งการฟื้นคืนชีพจึงเป็นสัญญาณหนึ่งของพลังอำนาจอันยิ่งใหญ่ของอัลลอฮ์(ซ.บ.) นี่เป็นเพียงความสามารถด้านหนึ่งของอัลลอฮ์ที่ทำให้มนุษย์ฟื้นคืนชีพขึ้นมาในวันพิพากษาพร้อมกับรูปพรรณสัณฐานในส่วนต่างๆ ของพวกเขาหลังจากที่มันถูกทำลายล้างไปหมดแล้ว

เพราะฉะนั้น จึงไม่น่าประหลาดใจเลยว่า ปลายนิ้วมือจึงเป็นหนึ่งในสัญญาณต่างๆ ของอัลลอฮ์ที่เก็บความลับแห่งการสร้างสรรค์ของพระองค์ไว้ และเป็นหลักฐานระบุอัตลักษณ์ของบุคคลได้โดยไม่มีความสับสน มันจึงเป็นประจักษณ์พยานที่จริงแท้ที่สุดทั้งในโลกนี้และปรโลก ลายนิ้วมือยังแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮ์ในการกำหนดรูปร่างลายเส้นเช่นนั้นบนเนื้อที่ที่เล็กมากๆ เพียงไม่กี่ตารางเซนติเมตรเท่านั้น

มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮ์(ซ.บ.) ผู้ทรงตรัสว่า

"เราจะให้พวกเขาได้เห็นสัญญาณทั้งหลายของเราในขอบเขตอันไกลโพ้นและในตัวของพวกเขาเอง จนกระทั่งจะเป็นประจักษ์แก่พวกเขาว่า อัลกุรอานนั้นเป็นความจริง ยังไม่พอเพียงอีกหรือที่พระเจ้าของเจ้านั้นทรงเป็นพยานต่อทุกสิ่ง" (กุรอาน 41 : 53)



บรรดาผู้ศรัทธาชายและหญิง



พระองค์องค์ทรงรับรอง สำหรับบรดาผู้ศรัทธาชายและหญิง ที่พวกเขายอมจำนนต่อพระองค์อัลลอฮฺ เป้นผู้ยอมรับอิสลามเป็นธรรมนูญชีวิต และปฏิบัติตามมันในชีวิต

พวกเขาศรัทธาเชื่อฟัง ถือว่าทางนำของอิสลามนั้นวางพื้นฐานอยู่บนความจริง ศรัทธาว่าหนทางที่อัลกุรอานและท่านรสููลุลลอฮ์ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) แสดงไว้นั้นเป็นหนทางเดียวที่ถูกต้องและเที่ยงตรงที่จะนำไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริง

พวกเขาเชื่อฟัง ด้วยการเชื่อและปฏิบัติตามสิ่งที่อัลลอฮฺและรสูลของพระองค์ได้บัญชา

พวกเขาสัตย์จริงในคำพูดและซื่อตรงในการกระทำ ไม่โกหก หลอกลวงและสร้างเรื่องเท็จ

พวกเขาจะอดทนและเพชิญอุปสรรค ความยากลำบาก ภยันตรายและความสูญเสียที่อาจะต้องพบในการปฏิบัติตามหนทางที่ถูกต้องและในการสถาปนาศาสนาของอัลลอฮฺในโลกด้วยความแน่วแน่

พวกเขาจะไม่มีความหยิ่งยโสหรือโอหัง ทั้งหัวใจและร่างกายของพวกเขาจึงยังคงโค้งคารวะต่ออัลลอฮฺด้วยความเกรงกลัวพระองค์

พวกเขาได้บริจาคและใช้จ่ายทรัพย์สินของพวกเขาอย่างเต็มที่ในหนทางของอัลลอฮฺ พวกเขาไม่ตระหนี่ถี่เหนียวในเรื่องการช่วยเหลือ

พวกเขาจะถือศิลอดทั้งในเดือนรอมาฎอน และโดยสมัครใจ

พวกเขาละเว้นจาการผิดประเวณี หลีกเลี่ยงจากการเปลือยกาย หรือที่รัดรูปเสื้อผ้าโปร่งบาง

และพวกเขาระลึกถึงอัลลอฮฺอย่างมาก พวกเขาจะเอ๋ยนามของอัลลอฮฺอยู่ตลอดเวลาในทุกย่างก้าวของชีวิต เมื่อพวกเขากล่าวด้วยคำว่า "บิสสมิลละฮฺ เมื่อเขากิน กล่าวคำว่า "อัลฮัมดุลิลลาฮฺ" เมื่อเขากินเสร็จ เขาจะระลึกถึงอัลลอฮฺ เมื่อเขานอน และเอ๋ยนามของอัลลออฺเมื่อเขาตื่น ในการสนทนาเขาจะกล่าวคำว่า บิสมิลลาฮ์, อัลฮัมดุลลิลลาฮ์ อินชาอัลลอฮฺ มาชาอัลลอฮ์ ตรงที่ที่เหมาะสมอยู่เสมอ

พวกเขาผู้ศรัทธาชายและผู้ศรัทธาหญิงเหล่านี้แหละ พระองคอัลลอฮ์ได้ทรงเตรียมการให้อภัย และรางวัลตอบแทนอันหยิ่งใหญ่นั้นคือสวนสวรรค์ไว้สำหรับพวกเขาแล้ว


พระองค์อัลลอฮฺ (ศุบฮานะฮูวะตะอาลา) ตรัสว่า

إِنَّ الْمُسْلِمِينَ وَالْمُسْلِمَاتِ وَالْمُؤْمِنِينَ وَالْمُؤْمِنَاتِ وَالْقَانِتِينَ وَالْقَانِتَاتِ وَالصَّادِقِينَ وَالصَّادِقَاتِ وَالصَّابِرِينَ وَالصَّابِرَاتِ وَالْخَاشِعِينَ وَالْخَاشِعَاتِ وَالْمُتَصَدِّقِينَ وَالْمُتَصَدِّقَاتِ وَالصَّائِمِينَ وَالصَّائِمَاتِ وَالْحَافِظِينَ فُرُوجَهُمْ وَالْحَافِظَاتِ وَالذَّاكِرِينَ اللَّهَ كَثِيرًا وَالذَّاكِرَاتِ أَعَدَّ اللَّهُ لَهُم مَّغْفِرَةً وَأَجْرًا عَظِيمًا ( 35 )

"แท้จริง บรรดาผู้นอบน้อมชายและหญิง บรรดาผู้ศรัทธาชายและหญิง บรรดาผู้ภักดีชายและหญิง บรรดาผู้สัตย์จริงชายและหญิง บรรดาผู้อดทนชายและหญิง บรรดาผู้ถ่อมตัวชายและหญิง บรรดาผู้บริจาคทานชายและหญิงบรรดาผู้ถือศีลอดชายและหญิง บรรดาผู้รักษาอวัยวะเพศของพวกเขาที่เป็นชายและหญิง บรรดาผู้รำลึกถึงอัลลอฮฺอย่างมากที่เป็นชายและหญิงนั้น" (อัลกุรอาน สูเราะฮ์อัล-อะห์ซาบ33:35)


والله ولي التوفيق